xs
xsm
sm
md
lg

“ข้าวโพดผี GMO” เมล็ดพันธุ์แห่งการปล้นและกดขี่!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ผลงานภาพพิมพ์ โดย ประสาท นิรันดรประเสริฐ
 
(หมายเหตุกองบรรณาธิการ : ประสาท นิรันดรประเสริฐ หรือ “ตู่” ศิลปินภาพพิมพ์และภาพเขียนที่สร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อรับใช้การอนุรักษ์ และปกป้องทรัพยากรธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง)

ข้าวโพดไม่ใช่พืชที่มาจากธรรมชาติอีกต่อไปแล้ว ในธรรมชาติไม่มีข้าวโพดที่ขึ้นเองในป่า เหมือนพืชอีกหลายชนิด มันวิวัฒนาการตัวเองถึงขั้นสุดไม่สามารถขึ้นได้เองถ้าไม่มีใครปลูกมัน ต่อมา มันก็ถูกตัดต่อแต่งเติมพันธุกรรม

การตัดต่อแต่งเติมพันธุกรรมก็เพื่อให้พืชนั้นมีพิษในตัวจะได้ผลทนทานต่อโรค และแมลงที่เจาะกินมัน และเพื่อผลผลิตที่ได้เป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือข้าวโพดนี่แหละ ทั้งแป้ง และน้ำตาลในอุตสาหกรรมอาหารมาจากข้าวโพดเกือบทั้งสิ้น ข้าวโพดจึงเป็นวัตถุดิบตั้งต้นที่สำคัญที่สุด

บริษัทยักษ์ใหญ่พยามครองโลกด้วยการครอบครองอาหารทั้งหมดของโลก กฎหมายการค้าและสิทธิบัตรจึงเป็นเครื่องมือปล้นเพื่อการผูกขาดเจ้าเดียว
 

 
มีชาวไร่ปลูกข้าวโพดของตัวเองมาช้านาน พวกเขาคัดเลือก และเก็บเมล็ดพันธุ์เอง อยู่มาวันหนึ่ง ไร่ข้างๆ ก็ปลูกข้าวโพดที่ตัดต่อพันธุกรรม แน่นอนมันมีสิทธิบัตรคุ้มครองอยู่ ใครจะปลูกพันธุ์นี้ไม่ได้ถ้าไม่ได้รับอนุญาต หรือพูดง่ายๆ ถ้าไม่ได้ซื้อเมล็ดพันธุ์จากเจ้าผูกขาด สองไร่นี้ต่างคนต่างปลูกกันไป ไม่ข้องเกี่ยวกัน

ผ่านไปหลายฤดู อยู่ๆ มีเจ้าหน้าที่จากบริษัทที่ปลูกข้าวโพดไร่ข้างๆ ไปที่ไร่ที่เจ้าของเขาปลูกเองแล้วแจ้งว่า ข้าวโพดที่คุณปลูกอยู่นั้นเป็นข้าวโพดของเรา คุณไม่ได้รับอนุญาต คุณไม่มิสิทธิ เจ้าของไร่ยืนยัน เป็นข้าวโพดของเขา เขาเก็บเมล็ดพันธุ์เอง ไม่เคยขโมยของใครมาปลูก แต่เจ้าหน้าที่นั้นยืนยัน เอาแล้วสิ ทำไง ก็ต้องฟ้องร้องให้ศาลชี้ขาด

แพ้คดีครับ เพราะผลการตรวจสอบข้าวโพดนั้นมีการปนเปื้อนพันธุ์ที่ได้ตัดต่อแต่งเติมพันธุกรรมที่มีเจ้าของ

ก็ธรรมชาติของข้าวโพดมันจะปล่อยเกสรตัวผู้ลอยตามลมไปผสมกับต้นอื่นๆ ได้ไกลหลายสิบกิโลมันเป็นการปล้นอย่างง่ายดายโดยมีกฎหมายคุ้มครอง นี่คือเรื่องจริงที่เคยเกิดขึ้นแล้วในประเทศสหรัฐอเมริกา การทำแบบนี้คือการกดขี่เราให้เป็นทาสตลอดไป เป็นเรื่องโหดร้ายยิ่งเพราะการครอบครองอาหาร คือ การครอบครองโลก

แล้วยังไม่นับรวมถึงข้อกังขาที่ว่า พืชตัดต่อพันธุกรรมนั้นอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคมัน
 
 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น