สุราษฎร์ธานี - มูลนิธิรักษ์สิ่งแวดล้อมและนักวิชาการ ติงขนขยะออกจากจากเกาะสมุย มาเผาที่โรงไฟฟ้าชีวมวลบ้านหลวงลุง หวั่นกระทบสิ่งแวดล้อม ชี้ควรกำจัดที่ต้นทาง ด้านนายอำเภอเร่งชี้แจงถึงมาตรฐานความปลอดภัยโรงงานมี ISO รับรอง
จากปัญหาขยะตกค้างที่เกาะสมุยกว่า 2 แสนตัน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดได้สั่งการเทศบาลนครเกาะสมุย จัดการแก้ปัญหาโดยเร็ว ซึ่งขณะนี้ทางเทศบาลนครเกาะสมุย ได้ว่าจ้างบริษัทสมุทรปราการรีนิวเจเบิ้ล เอนส์จี้ จำกัด (SRE) ให้เป็นผู้ดำเนินการฝังกลบบนเกาะสมุยเป็นการชั่วคราวมีกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน จากนั้นจะต้องนำขยะทั้งหมดออกจากเกาะสมุย โดยนำมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะมีการตั้งโรงไฟฟ้าขยะขึ้นในพื้นที่ ต.ท่าสะท้อน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ภายหลังจากชาวบ้านทราบเรื่องดังกล่าว ปรากฏว่า ได้สร้างความไม่พอใจเป็นอย่างมากได้มีการเคลื่อนไหวแสดงการต่อต้านอย่างต่อเนื่อง และเตรียมยื่นเรื่องฟ้องต่อศาลปกครอง
ล่าสุด ทางตัวแทนกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ อ.พุนพิน ร่วมกับมูลนิธิรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสิทธิชุมชนเพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.สุราษฎร์ธานี ณ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย สาขาภาคใต้ ต.ท่าสะท้อน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ ต.ท่าสะท้อน เข้าร่วมประมาณ 100 คน โดยมีการเชิญนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม และนักวิชาการด้านการพลังงานมาให้ความรู้ และข้อมูลที่เป็นจริงเกี่ยวกับพลังงานโรงไฟฟ้าชีวมวล พร้อมแจกหนังสือ “อุดรูรั่ว...โรงไฟฟ้าชีวมวล” ซึ่งจัดพิมพ์โดยศูนย์ประสานงานการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) แก่ชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการ
นักวิชาการที่เข้าร่วมโครงการ และให้ความรู้ ข้อเท็จจริงเรื่องการขนขยะจากเกาะสมุย ขึ้นฝั่งมาผลิตกระแสไฟฟ้าชีวมวล กำลังผลิตกระแสไฟฟ้า 9.9 เมกะวัตต์ ที่ ต.ท่าสะท้อน ซึ่งเป็นพื้นที่ริมคลองท่าสะท้อน และเป็นสาขาของแม่น้ำตาปีนั้น มองว่ายังไม่เหมาะสม เพราะเป็นแหล่งต้นน้ำและไม่สามารถรับประกันได้ว่า ระบบการจัดเก็บขยะรองรับการผลิตกระแสไฟฟ้าจะปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน โดยหลักการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ปราศจากมลพิษแบบต่างประเทศให้ได้นั้นต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล เป็นหมื่นล้าน และขยะต้องเพียงพอ บางประเทศมีการนำเข้าขยะจากต่างประเทศ แต่ต้องปลอดภัย 100% หากตรวจสอบพบว่าไม่ปลอดภัยจะต้องปรับประเทศเหล่านั้นเป็น 2 เท่า
ดร.สมนึก จงมีวศิน นักวิจัยชุมชน เครือข่ายเพื่อนตะวันออก วาระเปลี่ยนตะวันออก กล่าวเกี่ยวกับความมั่นคงทางพลังงานและสิทธิชุมชน ว่า ปัญหาขยะในประเทศไทย รวมทั้งที่เกาะสมุย หรือในหลายๆ ที่ของประเทศไทย ควรจะแก้ไขปัญหาที่ต้นทาง หรือต้นเหตุ ควรจะมีระบบการจัดการในแต่ละชุมชน ให้ความรู้ความเข้าใจต่อคนในชุมชน ที่สำคัญคนในชุมชนจะต้องรู้หน้าที่ของตัวเองและต้องปกป้องสิ่งแวดล้อมในชุมชน ทั้งนี้ มองว่าการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจากขยะในประเทศไทย ยังไม่มีการวิจัยว่าพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี มีความเหมาะสมที่จะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจากขยะ เพราะการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจำเป็นต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำ และใช้ปริมาณขยะจำนวนมาก ซึ่งหากบริหารจัดการไม่ดีปัญหาย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ มองว่าควรที่จะทางแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการอื่น ซึ่งอาจจะใช้วิธีการฝังกลบแบบเดิม ยังเป็นวิธีการดีที่สุดแต่ต้องมีระบบการจัดการที่ดี ต้องมีการขุดหลุม และปูรองพื้นให้ดี คัดแยกขยะ และมีการตรวจสอบวิธีดำเนินการอย่างละเอียด และที่สำคัญ ควรส่งเสริมให้แต่ละชุมชนมีวิธีการจัดการด้วยตัวเอง เชื่อว่าปัญหาดังกล่าวค่อยๆ หมดไป ยังไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจากขยะ โดยที่ยังเป็นห่วงคือ เรื่องของขยะพิษและการรั่วซึมของระบบการจัดการควรจะเน้นการป้องกันมากกว่าการแก้ปัญหาปลายเหตุ
ด้านนายไพศาล ตรีธัญญา นายอำเภอพุนพิน ได้ชี้แจงว่า ปัญหาเรื่องขยะที่อำเภอเกาะสมุย ซึ่งทางเทศบาลนครเกาะสมุย ได้จัดการไว้มีปัญหาที่จะต้องแก้ไข เนื่องจากขยะล้นเกาะสมุย ส่งกลิ่นเหม็น ทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้รีบดำเนินการแก้ไขได้จัดการให้มีการจัดจ้างบริษัทสมุทรปราการรีนิวเจเบิ้ล เอนส์จี้ จำกัด (SRE) ให้เป็นผู้จัดการแก้ไขชั่วคราว โดยได้มอบหมายให้บริษัทขุดฝังกลบเป็นการชั่วคราวให้เสร็จภายใน 6 เดือน หลังจากนั้น จังหวัดจะต้องจัดการนำขยะในเกาะสมุยทั้งหมด ซึ่งมีประมาณ 200,000 ตัน ออกจากเกาะสมุยต่อไปโดยเร็ว
เนื่องจากปัญหาขยะเป็นปัญหาเร่งด่วน คสช. ซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติ ที่รัฐบาลต้องจัดการให้เรียบร้อย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จะต้องยึดหลัก และต้องปฏิบัติเรื่องขยะให้แล้วเสร็จโดยเร็ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาแล้วเห็นปัญหาเรื่องขยะที่เกาะสมุย จะแก้ปัญหาให้สำเร็จเด็ดขาดจำเป็นต้องจัดการนำขยะออกจากพื้นที่เกาะสมุยให้หมด ซึ่งทางจังหวัดได้มอบหมายให้เทศบาลนครเกาะสมุย ศึกษาหาผู้ที่ชำนาญในเรื่องขยะมาดำเนินการโดยเร็วที่สุด และได้ข้อสรุปว่าจะต้องจัดการขนออกจากเกาะแล้วนำมาใช้ประโยชน์ที่ตัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยนำมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยการตั้งโรงไฟฟ้าขยะที่ตัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี การนำขยะมาฝังกลบในพื้นที่อำเภอพุนพิน จะเป็นการแก้ไขปัญหาล้นเกาะแบบเบ็ดเสร็จ
สำหรับการจัดเก็บขยะโดยการรื้อร่อน ที่เกาะสมุย เป็นการแก้ไขที่ยังไม่สมบูรณ์แบบ เพราะขยะที่ตกค้างอยู่อีก 2 แสนกว่าตันเมื่อรื้อร่อน เอาพลาสติกออก จะได้พลาสติกประมาณ 20% ของขยะทั้งหมด ขยะส่วนอื่นก็ยังตกค้างที่เกาะสมุยอยู่อีกจำนวนหนึ่ง จึงเห็นว่าการจัดเก็บโดยวิธีรื้อร่อนไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง หากจะต้องการแก้ไขปัญหานี้คงมีวิธีเดียวคือ การขนขยะออกจากเกาะสมุยให้หมด และให้ดำเนินการวิธีการนี้ต่อไป ซึ่งทางจังหวัดก็เห็นชอบต่อข้อเสนอนี้
นายอำเภอเกาะสมุย ยังได้กล่าวถึงกรณีที่มีราษฎรที่ตำบลท่าสะท้อน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ออกมาร้องเรียน และคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะที่ตำบลท่าสะท้อน เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2558 ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไม่ได้นิ่งนอนใจ เมื่อทราบข่าวได้เดินทางไปดูสถานที่เกิดเหตุ พร้อมกับนายอำเภอพุนพิน กำนัน และนายก อบต.ท่าสะท้อน เพื่อขอดูข้อเท็จจริง ก็พบว่าบริษัทได้มาซื้อที่ดินจากเอกชนที่ตำบลท่าสะท้อนประมาณ 360 ไร่ เพื่อจะรองรับขยะจาก อ.เกาะสมุย และจะนำขยะเป็นเชื้อเพลิงเพื่อก่อสร้างเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ และได้ตรวจสอบกับอุตสาหกรรมจังหวัด และสำนักงานสิ่งแวดล้อมของจังหวัดแล้ว ที่ดินดังกล่าวสามารถสร้างเป็นโรงงานได้ อยู่ห่างจากชุมชนพอสมควร ลักษณะเนื้อที่กว้างสามารถขุดบ่อฝังกลบขยะและสร้างโรงงานได้
ประกอบกับบริษัทได้มาทำประชาคมหมู่บ้าน และ อบต.ท่าสะท้อน ก็ได้มีมติเห็นชอบให้ทางบริษัทเข้ามาดำเนินการได้แล้ว ทางจังหวัดได้มอบหมายให้นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และนายก อบต. เร่งเข้าพื้นที่ทำความเข้าใจต่อราษฎรในท้องที่ ว่า ที่บริษัทดังกล่าวมีมาตรฐานความปลอดภัย ISO รับรอง เป็นการดำเนินการเป็นนโยบายของจังหวัด ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติที่จัดการต่อขยะ สิ่งที่ราษฎรเป็นห่วงว่าจะมีผลกระทบต่อชุมชนเป็นเรื่องที่จังหวัดต้องจัดการแก้ไข การดำเนินการของบริษัทมีหน่วยงานของจังหวัด คือ อุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานสิ่งแวดล้อมของจังหวัด อบต.ท่าสะท้อน ต้องกำกับดูแลอยู่ หากมีปัญหาเกิดขึ้นก็สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระงับยับยั้งได้ ซึ่งทางจังหวัดคงจะไม่ปล่อยปละละเลย การที่บริษัทมาตั้งโรงไฟฟ้าขยะ นอกจากจะเกิดประโยชน์ในหมู่บ้าน และภาครัฐแล้ว ยังเป็นการแก้ไขปัญหาขยะใน อ.เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้อย่างสมบูรณ์อีกด้วย
การดำเนินการขุดบ่อฝังกลบขยะ บริษัทจะต้องดำเนินการโดยถูกสุขลักษณะอนามัยไม่มีมลพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในบ่อฝังกลบจะต้องปูผ้าพลาสติกตามมาตรฐานของทางราชการกำหนด น้ำจากบ่อจะต้องบำบัดในบ่อบำบัดให้สะอาด และไม่ให้ไหล หรือรั่วซึมเข้าไปที่อื่นได้ สำหรับขยะในพื้นที่ของจังหวัดที่อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ที่ประกอบด้วย (เทศบาลเมือง) อ.พุนิน อ.นาสาร อ.เวียงสระ อ.ไชยา และอำเภออื่นๆ ขณะนี้ได้มีการจัดเก็บอย่างไม่ถูกวิธี เช่น การนำไปทิ้งในบ่อดิน และใต้สายไฟฟ้าแรงสูง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และในสถานที่อื่นๆ ซึ่งมีรายงานว่ามีการจัดเก็บอย่างไม่ถูกวิธี หากเป็นเช่นนี้จริงเชื่อว่าทางจังหวัดจะต้องเข้าไปจัดการแก้ไข และทบทวนสัญญาที่ได้ทำไว้แล้วของเทศบาล และ อบต.ซึ่งต่อไปทุกหน่วยงาน จะต้องดำเนินการจัดการเก็บขยะอย่างถูกวิธี และถูกสุขลักษณะอนามัยตามมาตรฐานของสถานที่ราชการ หรืออาจนำมาเก็บรวมไว้ในที่แห่งเดียวตามนโยบายเร่งด่วนของ คสช. ที่นำขยะเป็นนโยบาย และเป็นวาระแห่งชาติที่จะต้องดำเนินการจัดการอย่างเร่งด่วน
จากปัญหาขยะตกค้างที่เกาะสมุยกว่า 2 แสนตัน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดได้สั่งการเทศบาลนครเกาะสมุย จัดการแก้ปัญหาโดยเร็ว ซึ่งขณะนี้ทางเทศบาลนครเกาะสมุย ได้ว่าจ้างบริษัทสมุทรปราการรีนิวเจเบิ้ล เอนส์จี้ จำกัด (SRE) ให้เป็นผู้ดำเนินการฝังกลบบนเกาะสมุยเป็นการชั่วคราวมีกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน จากนั้นจะต้องนำขยะทั้งหมดออกจากเกาะสมุย โดยนำมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะมีการตั้งโรงไฟฟ้าขยะขึ้นในพื้นที่ ต.ท่าสะท้อน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ภายหลังจากชาวบ้านทราบเรื่องดังกล่าว ปรากฏว่า ได้สร้างความไม่พอใจเป็นอย่างมากได้มีการเคลื่อนไหวแสดงการต่อต้านอย่างต่อเนื่อง และเตรียมยื่นเรื่องฟ้องต่อศาลปกครอง
ล่าสุด ทางตัวแทนกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ อ.พุนพิน ร่วมกับมูลนิธิรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสิทธิชุมชนเพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.สุราษฎร์ธานี ณ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย สาขาภาคใต้ ต.ท่าสะท้อน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ ต.ท่าสะท้อน เข้าร่วมประมาณ 100 คน โดยมีการเชิญนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม และนักวิชาการด้านการพลังงานมาให้ความรู้ และข้อมูลที่เป็นจริงเกี่ยวกับพลังงานโรงไฟฟ้าชีวมวล พร้อมแจกหนังสือ “อุดรูรั่ว...โรงไฟฟ้าชีวมวล” ซึ่งจัดพิมพ์โดยศูนย์ประสานงานการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) แก่ชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการ
นักวิชาการที่เข้าร่วมโครงการ และให้ความรู้ ข้อเท็จจริงเรื่องการขนขยะจากเกาะสมุย ขึ้นฝั่งมาผลิตกระแสไฟฟ้าชีวมวล กำลังผลิตกระแสไฟฟ้า 9.9 เมกะวัตต์ ที่ ต.ท่าสะท้อน ซึ่งเป็นพื้นที่ริมคลองท่าสะท้อน และเป็นสาขาของแม่น้ำตาปีนั้น มองว่ายังไม่เหมาะสม เพราะเป็นแหล่งต้นน้ำและไม่สามารถรับประกันได้ว่า ระบบการจัดเก็บขยะรองรับการผลิตกระแสไฟฟ้าจะปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน โดยหลักการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ปราศจากมลพิษแบบต่างประเทศให้ได้นั้นต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล เป็นหมื่นล้าน และขยะต้องเพียงพอ บางประเทศมีการนำเข้าขยะจากต่างประเทศ แต่ต้องปลอดภัย 100% หากตรวจสอบพบว่าไม่ปลอดภัยจะต้องปรับประเทศเหล่านั้นเป็น 2 เท่า
ดร.สมนึก จงมีวศิน นักวิจัยชุมชน เครือข่ายเพื่อนตะวันออก วาระเปลี่ยนตะวันออก กล่าวเกี่ยวกับความมั่นคงทางพลังงานและสิทธิชุมชน ว่า ปัญหาขยะในประเทศไทย รวมทั้งที่เกาะสมุย หรือในหลายๆ ที่ของประเทศไทย ควรจะแก้ไขปัญหาที่ต้นทาง หรือต้นเหตุ ควรจะมีระบบการจัดการในแต่ละชุมชน ให้ความรู้ความเข้าใจต่อคนในชุมชน ที่สำคัญคนในชุมชนจะต้องรู้หน้าที่ของตัวเองและต้องปกป้องสิ่งแวดล้อมในชุมชน ทั้งนี้ มองว่าการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจากขยะในประเทศไทย ยังไม่มีการวิจัยว่าพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี มีความเหมาะสมที่จะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจากขยะ เพราะการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจำเป็นต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำ และใช้ปริมาณขยะจำนวนมาก ซึ่งหากบริหารจัดการไม่ดีปัญหาย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ มองว่าควรที่จะทางแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการอื่น ซึ่งอาจจะใช้วิธีการฝังกลบแบบเดิม ยังเป็นวิธีการดีที่สุดแต่ต้องมีระบบการจัดการที่ดี ต้องมีการขุดหลุม และปูรองพื้นให้ดี คัดแยกขยะ และมีการตรวจสอบวิธีดำเนินการอย่างละเอียด และที่สำคัญ ควรส่งเสริมให้แต่ละชุมชนมีวิธีการจัดการด้วยตัวเอง เชื่อว่าปัญหาดังกล่าวค่อยๆ หมดไป ยังไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจากขยะ โดยที่ยังเป็นห่วงคือ เรื่องของขยะพิษและการรั่วซึมของระบบการจัดการควรจะเน้นการป้องกันมากกว่าการแก้ปัญหาปลายเหตุ
ด้านนายไพศาล ตรีธัญญา นายอำเภอพุนพิน ได้ชี้แจงว่า ปัญหาเรื่องขยะที่อำเภอเกาะสมุย ซึ่งทางเทศบาลนครเกาะสมุย ได้จัดการไว้มีปัญหาที่จะต้องแก้ไข เนื่องจากขยะล้นเกาะสมุย ส่งกลิ่นเหม็น ทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้รีบดำเนินการแก้ไขได้จัดการให้มีการจัดจ้างบริษัทสมุทรปราการรีนิวเจเบิ้ล เอนส์จี้ จำกัด (SRE) ให้เป็นผู้จัดการแก้ไขชั่วคราว โดยได้มอบหมายให้บริษัทขุดฝังกลบเป็นการชั่วคราวให้เสร็จภายใน 6 เดือน หลังจากนั้น จังหวัดจะต้องจัดการนำขยะในเกาะสมุยทั้งหมด ซึ่งมีประมาณ 200,000 ตัน ออกจากเกาะสมุยต่อไปโดยเร็ว
เนื่องจากปัญหาขยะเป็นปัญหาเร่งด่วน คสช. ซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติ ที่รัฐบาลต้องจัดการให้เรียบร้อย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จะต้องยึดหลัก และต้องปฏิบัติเรื่องขยะให้แล้วเสร็จโดยเร็ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาแล้วเห็นปัญหาเรื่องขยะที่เกาะสมุย จะแก้ปัญหาให้สำเร็จเด็ดขาดจำเป็นต้องจัดการนำขยะออกจากพื้นที่เกาะสมุยให้หมด ซึ่งทางจังหวัดได้มอบหมายให้เทศบาลนครเกาะสมุย ศึกษาหาผู้ที่ชำนาญในเรื่องขยะมาดำเนินการโดยเร็วที่สุด และได้ข้อสรุปว่าจะต้องจัดการขนออกจากเกาะแล้วนำมาใช้ประโยชน์ที่ตัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยนำมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยการตั้งโรงไฟฟ้าขยะที่ตัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี การนำขยะมาฝังกลบในพื้นที่อำเภอพุนพิน จะเป็นการแก้ไขปัญหาล้นเกาะแบบเบ็ดเสร็จ
สำหรับการจัดเก็บขยะโดยการรื้อร่อน ที่เกาะสมุย เป็นการแก้ไขที่ยังไม่สมบูรณ์แบบ เพราะขยะที่ตกค้างอยู่อีก 2 แสนกว่าตันเมื่อรื้อร่อน เอาพลาสติกออก จะได้พลาสติกประมาณ 20% ของขยะทั้งหมด ขยะส่วนอื่นก็ยังตกค้างที่เกาะสมุยอยู่อีกจำนวนหนึ่ง จึงเห็นว่าการจัดเก็บโดยวิธีรื้อร่อนไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง หากจะต้องการแก้ไขปัญหานี้คงมีวิธีเดียวคือ การขนขยะออกจากเกาะสมุยให้หมด และให้ดำเนินการวิธีการนี้ต่อไป ซึ่งทางจังหวัดก็เห็นชอบต่อข้อเสนอนี้
นายอำเภอเกาะสมุย ยังได้กล่าวถึงกรณีที่มีราษฎรที่ตำบลท่าสะท้อน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ออกมาร้องเรียน และคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะที่ตำบลท่าสะท้อน เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2558 ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไม่ได้นิ่งนอนใจ เมื่อทราบข่าวได้เดินทางไปดูสถานที่เกิดเหตุ พร้อมกับนายอำเภอพุนพิน กำนัน และนายก อบต.ท่าสะท้อน เพื่อขอดูข้อเท็จจริง ก็พบว่าบริษัทได้มาซื้อที่ดินจากเอกชนที่ตำบลท่าสะท้อนประมาณ 360 ไร่ เพื่อจะรองรับขยะจาก อ.เกาะสมุย และจะนำขยะเป็นเชื้อเพลิงเพื่อก่อสร้างเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ และได้ตรวจสอบกับอุตสาหกรรมจังหวัด และสำนักงานสิ่งแวดล้อมของจังหวัดแล้ว ที่ดินดังกล่าวสามารถสร้างเป็นโรงงานได้ อยู่ห่างจากชุมชนพอสมควร ลักษณะเนื้อที่กว้างสามารถขุดบ่อฝังกลบขยะและสร้างโรงงานได้
ประกอบกับบริษัทได้มาทำประชาคมหมู่บ้าน และ อบต.ท่าสะท้อน ก็ได้มีมติเห็นชอบให้ทางบริษัทเข้ามาดำเนินการได้แล้ว ทางจังหวัดได้มอบหมายให้นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และนายก อบต. เร่งเข้าพื้นที่ทำความเข้าใจต่อราษฎรในท้องที่ ว่า ที่บริษัทดังกล่าวมีมาตรฐานความปลอดภัย ISO รับรอง เป็นการดำเนินการเป็นนโยบายของจังหวัด ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติที่จัดการต่อขยะ สิ่งที่ราษฎรเป็นห่วงว่าจะมีผลกระทบต่อชุมชนเป็นเรื่องที่จังหวัดต้องจัดการแก้ไข การดำเนินการของบริษัทมีหน่วยงานของจังหวัด คือ อุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานสิ่งแวดล้อมของจังหวัด อบต.ท่าสะท้อน ต้องกำกับดูแลอยู่ หากมีปัญหาเกิดขึ้นก็สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระงับยับยั้งได้ ซึ่งทางจังหวัดคงจะไม่ปล่อยปละละเลย การที่บริษัทมาตั้งโรงไฟฟ้าขยะ นอกจากจะเกิดประโยชน์ในหมู่บ้าน และภาครัฐแล้ว ยังเป็นการแก้ไขปัญหาขยะใน อ.เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้อย่างสมบูรณ์อีกด้วย
การดำเนินการขุดบ่อฝังกลบขยะ บริษัทจะต้องดำเนินการโดยถูกสุขลักษณะอนามัยไม่มีมลพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในบ่อฝังกลบจะต้องปูผ้าพลาสติกตามมาตรฐานของทางราชการกำหนด น้ำจากบ่อจะต้องบำบัดในบ่อบำบัดให้สะอาด และไม่ให้ไหล หรือรั่วซึมเข้าไปที่อื่นได้ สำหรับขยะในพื้นที่ของจังหวัดที่อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ที่ประกอบด้วย (เทศบาลเมือง) อ.พุนิน อ.นาสาร อ.เวียงสระ อ.ไชยา และอำเภออื่นๆ ขณะนี้ได้มีการจัดเก็บอย่างไม่ถูกวิธี เช่น การนำไปทิ้งในบ่อดิน และใต้สายไฟฟ้าแรงสูง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และในสถานที่อื่นๆ ซึ่งมีรายงานว่ามีการจัดเก็บอย่างไม่ถูกวิธี หากเป็นเช่นนี้จริงเชื่อว่าทางจังหวัดจะต้องเข้าไปจัดการแก้ไข และทบทวนสัญญาที่ได้ทำไว้แล้วของเทศบาล และ อบต.ซึ่งต่อไปทุกหน่วยงาน จะต้องดำเนินการจัดการเก็บขยะอย่างถูกวิธี และถูกสุขลักษณะอนามัยตามมาตรฐานของสถานที่ราชการ หรืออาจนำมาเก็บรวมไว้ในที่แห่งเดียวตามนโยบายเร่งด่วนของ คสช. ที่นำขยะเป็นนโยบาย และเป็นวาระแห่งชาติที่จะต้องดำเนินการจัดการอย่างเร่งด่วน