xs
xsm
sm
md
lg

รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ลงพื้นที่ จ.สงขลา ศึกษาดูงานแหล่งผลิตน้ำมันดิบ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ นำเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกว่า 40 คน ลงพื้นที่ จ.สงขลา เพื่อศึกษาดูงาน และเยี่ยมชมแหล่งผลิตน้ำมันดิบ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เรื่องพลังงานปิโตรเลียม

วันนี้ (27 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สถาบันฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านปิโตรเลียม อ.สิงหนคร จ.สงขลา นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ นำคณะผู้ว่าราชการจังหวัด พลังงานจังหวัด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกว่า 40 คน ลงพื้นที่ จ.สงขลา เพื่อศึกษาดูงาน และเยี่ยมชมแหล่งผลิตน้ำมันดิบของ บริษัท ซีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด สาขาประเทศไทย ผู้ผลิต และสำรวจปิโตรเลียมแปลง G5/43 นอกชายฝั่งทะเล จ.สงขลา ในระหว่างวันที่ 26-27 มี.ค.58

นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาการคัดค้านต่อต้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม มีการสร้างข้อมูลที่มีความคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงด้านพลังงาน ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญ และกำลังขยายกว้างไปยังภูมิภาคอื่นๆ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการด้านการสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศเป็นอย่างมาก จึงได้จัดโครงการศึกษาดูงาน เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านปิโตรเลียมของกระทรวงพลังงานขึ้น

ทางกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้เร่งรัดในการสร้างความเข้าใจเรื่องปิโตรเลียมอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเครือข่ายสำคัญ คือ พลังงานจังหวัด เพราะเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน และอยู่ใกล้ชิดกับคนในพื้นที่โดยตรง ซึ่งจะสามารถช่วยสนับสนุนการให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ชุมชน จึงจำเป็นต้องมีความรู้ และความเข้าใจ เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อเท็จจริงไปยังชุมชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างชัดเจน และถูกต้องมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจในการมีส่วนร่วมต่อการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ

รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวอีกว่า แหล่งผลิตน้ำมันดิบของผู้รับสัมปทานในพื้นที่ จ.สงขลา ไม่เคยส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังอยู่ใกล้ชายฝั่ง ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีที่จะให้คณะผู้บริหารระดับจังหวัดทั่วประเทศ ได้เข้ามาศึกษาดูงาน เพื่อนำข้อมูล และข้อเท็จจริงที่ได้รับไปเผยแพร่ต่อไป

ด้าน นายเสรี ศรีหะไตร ผู้ว่าราชการ จ.บุรีรัมย์ เผยว่า จ.บุรีรัมย์ มีพื้นที่ส่วนหนึ่งที่อยู่ในแผนการสำรวจพลังงานรอบที่ 21 และมีการคัดค้านจากกลุ่มมวลชนอยู่พอสมควร ซึ่งตนขอเสนอให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ยึดหลัก 4 ประการ คือ หลักวิชาการ กฎหมาย มวลชน และผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นที่ตั้ง โดยเชื่อว่าการคัดค้านจะลดลง

“พวงทิพย์” แจงตั้งผู้ทรงคุณวุฒิปิโตรเลียม เป็นไปตามหลักกฎหมายมุ่งความโปร่งใส
“พวงทิพย์” แจงตั้งผู้ทรงคุณวุฒิปิโตรเลียม เป็นไปตามหลักกฎหมายมุ่งความโปร่งใส
“พวงทิพย์” แจงตั้งผู้ทรงคุณวุฒิปิโตรเลียมเป็นไปตามหลักกฎหมาย มุ่งความโปร่งใส กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ แถลงยืนยันการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการปิโตรเลียม เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย มีความเหมาะสมทั้งคุณวุฒิ และความหลากหลายของประสบการณ์ เพื่อมุ่งสร้างความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในกิจการพลังงาน นางพวงทิพย์ ศิลปะศาสตร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวถึง ประเด็นการวิจารณ์เกี่ยวกับการแต่งตั้ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการปิโตรเลียม (ตามทีคณะรัฐมนตรีได้มีมติไปเมื่อวันที่17มี์.ค.58) ว่าอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน และผิดกฎหมาย นั้นกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ขอชี้แจงและยืนยันว่า การนำเสนอเนื้อหาดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างข้อมูลที่คลาดเคลื่อนหรือผิดไปจากข้อเท็จจริง โดยมีรายละเอียดดังนี้ การกล่าวอ้างว่าการแต่งตั้งนายบูรณวงศ์ เสาวพฤกษ์ ซึ่งเป็น 1 ใน 5 บุคคลที่ถูกเสนอชื่อร่วมเป็นกรรมการฯ ในครั้งนี้ อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะปัจจุบันทำงานให้กับบริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของเอ็กซอนโมบิล คอร์ปอเรชั่น จำกัด นั้น เป็นการนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เพราะนายบูรณวงศ์ฯไม่ได้เป็นผูบริหารหรือพนักงานของบริษัท เอ็กซอน โมบิล จำกัด ในขณะนี้ แต่อย่างใด โดยนายบูรณวงศ์ฯได้พ้นจากตำแหน่ง เพราะเหตุเกษียณอายุไปตั้งแต่เดือนเมษายน 2556 แล้ว หลังจากนั้นจึงได้กลับมาประเทศไทย. และประกอบธุรกิจส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแต่อย่างใด สำหรับ การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการปิโตรเลียม เป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรี โดยจะแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่มีความหลากหลาย เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเงิน กฎหมาย การบริหาร หรือสาขาอื่นใดอันจะเป็นประโยชน์ต่อกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม โดยผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้งจำนวน 5คนในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย อดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงการคลัง สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงกลาโหม และอดีตผู้บริหารจากภาคเอกชน อีก 2 ราย ซึ่งล้วนมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และทุกคนมีคุณวุฒิ ประสบการณ์ ความรู้ที่เหมาะสม และไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการปิโตรเลียม ตามมาตรา 16 (1) แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 อนึ่ง ในกรณีของนายบูรณวงศ์ เสาวพฤกษ์ ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการปิโตรเลียมด้วยนั้น ก็ยังเป็นบุคคลที่ได้รับการแนะนำจากประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาปฏิรูปแห่งชาติ อีกด้วย เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความซื่อตรง มีประสบการณ์จริงทางด้านธุรกิจปิโตรเลียมในต่างประเทศมากว่า 30 ปี มีความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ การเงินและเศรษฐกิจปิโตรเลียมในธุรกิจปิโตรเลียม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการให้คำปรึกษา คำแนะนำ และความคิดเห็นในคณะกรรมการปิโตรเลียมได้เป็นอย่างดี อันจะก่อประโยชน์และประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นต่อการบริหารนโยบายพลังงานของประเทศไทยด้วย ดังนั้น จากคุณสมบัติข้างต้นจึงเห็นได้ว่านายบูรณวงศ์ฯมีความเหมาะสม และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ ในการได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการปิโตรเลียมดังกล่าว.(smile)
กำลังโหลดความคิดเห็น