ศูนย์ข่าวภูเก็ต - จังหวัดภูเก็ต เดินหน้าจัดโซนปักร่มบริเวณชายหาดให้วางร่ม และเบาะบนหาดได้ เผยทำเสร็จทุกหาดแล้ว ผู้ว่าฯ ลั่นไม่เปลี่ยนกติกาการใช้ชายหาดเด็ดขาด จนกว่าผลการประเมินจะออกมาเป็นอย่างไร
เมื่อเวลา 13.30 น.วันนี้ (12 มี.ค.) นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมติดตามคณะทำงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบชายหาด/หน้าหาด จังหวัดภูเก็ต โดยมี นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ นายสุธี ทองแย้ม นายพัลลภ สิงห์เสนีย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายภาคภูมิ อินทรสุวรรณ ปลัดจังหวัดภูเก็ต นายอำเภอเมือง กะทู้ ถลาง พ.ต.อ.สมาน ชัยณรงค์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ประกอบการชายหาด เข้าร่วม ณ ห้องประชุมศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต
ทั้งนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้าการจัดระเบียบชายหาดโดยการแบ่งโซนให้มีการปักร่ม การประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจต่อนักท่องเที่ยวถึงการลงไปใช้ชายหาด รวมถึงความคืบหน้าการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบชายหาด
สำหรับความคืบหน้าการจัดโซนนิ่งปักร่มให้บริการนักท่องเที่ยวนั้น ขณะนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดโซนนิ่งเสร็จทั้งหมดแล้ว เช่น ที่บริเวณหาดกะรน มีการแบ่งโซนนิ่งสำหรับปักร่มออกเป็น 14 โซน แต่ละโซนกว้าง 7 เมตร ยาว 120-200 เมตร มีจุดบริการร่ม เบาะ 13 จุด จากพื้นที่ชายหาดกะกรนยาวทั้งสิ้น 3,660 เมตร แต่ละโซนห่างกัน 50 เมตร หาดกะตะ แบ่งออกเป็น 8 โซน จุดบริการ 7 จุด หาดในหาน พื้นที่ปักร่ม 375 เมตร นวดชายหาดอีก 214 เมตร หาดป่าตอง แบ่งเป็น 5 โซน แต่ละโซนห่างกัน 200 เมตร จุดบริการที่เป็นเต็นท์มีทั้งหมด 5 จุด หาดกมลาก็เช่นเดียวกัน แบ่งออกเป็น 5 โซน จุดบริการ 2 จุด
หาดสุรินทร์ แบ่งออกเป็น 4 โซนละๆ 40 เมตร จุดบริการนักท่องเที่ยว 2 จุด ส่วนหาดในยาง มีการจัดโซน 300 เมตร ที่หน้าโรงแรมในยางบีช และหาดในทอน ที่ยังไม่สามารถแบ่งโซนให้ผู้ประกอบการเข้าไปประกอบอาชีพได้ เนื่องจากอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ จะต้องได้รับการอนุญาตจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติก่อนที่จะจัดโซนนิ่ง และให้ผู้ประกอบการทั้ง 17 รายเข้าพื้นที่ได้
ในส่วนของการทำป้ายประชาสัมพันธ์ถึงการลงไปใช้ชายหาดของนักท่องเที่ยวนั้น บางท้องถิ่นก็ได้ดำเนินการปักป้ายไปแล้ว บางแห่งก็อยู่ในขั้นตอนของการจัดทำป้าย และคาดว่าจะสามารถขึ้นป้ายได้ในเร็วๆ นี้ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการโรงแรมในการนำแผ่นพับการใช้หาดให้แก่นักท่องเที่ยวได้รับทราบ
อย่างไรก็ตาม สำหรับการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบชายหาดนั้น ท้องถิ่นต่างๆ ได้ทำการพิจารณาคัดสรรจากผู้ที่เคยลงทะเบียนไว้ก่อนหน้านี้แล้วทั้งสิ้น
นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ทางจังหวัดยืนยันที่จะไม่เปลี่ยนแปลงกฎกติกาในการใช้ชายหาดตามที่ได้กำหนดมาก่อนหน้านี้แล้ว ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นก็ต้องหลังจากที่ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้ทำการประเมินแล้วเท่านั้น ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ที่ทางจังหวัดภูเก็ตได้กำหนดมาตรการในการใช้ชายหาดมีความคืบหน้าไปมากแล้ว ทั้งในเรื่องของการจัดโซนนิ่ง การประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจต่อนักท่องเที่ยว การเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบหาด แม้ว่าบางหาดจะมีปัญหาบ้าง เพราะปัญหาที่ซับซ้อน ถ้าไม่ทำอะไรก็จะไม่เกิดกาเปลี่ยนแปลง แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงในบางครั้งจะสร้างความเจ็บปวดบ้างก็ตาม แต่ก็ต้องดำเนินการไปตามกฎหมาย และกติกาที่กำหนดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
“ทางจังหวัดพยายามที่จะเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะคนที่ยากจน ทางจังหวัดได้อนุโลมให้หิ้วกระติกขายของ บริการนวด แม้กระทั่งปักร่ม และเบาะอยู่บนหาดได้ เพราะมีคนจำนวนมากที่ต้องการให้หาดปราศจากสิ่งเหล่านี้”
เมื่อเวลา 13.30 น.วันนี้ (12 มี.ค.) นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมติดตามคณะทำงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบชายหาด/หน้าหาด จังหวัดภูเก็ต โดยมี นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ นายสุธี ทองแย้ม นายพัลลภ สิงห์เสนีย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายภาคภูมิ อินทรสุวรรณ ปลัดจังหวัดภูเก็ต นายอำเภอเมือง กะทู้ ถลาง พ.ต.อ.สมาน ชัยณรงค์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ประกอบการชายหาด เข้าร่วม ณ ห้องประชุมศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต
ทั้งนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้าการจัดระเบียบชายหาดโดยการแบ่งโซนให้มีการปักร่ม การประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจต่อนักท่องเที่ยวถึงการลงไปใช้ชายหาด รวมถึงความคืบหน้าการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบชายหาด
สำหรับความคืบหน้าการจัดโซนนิ่งปักร่มให้บริการนักท่องเที่ยวนั้น ขณะนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดโซนนิ่งเสร็จทั้งหมดแล้ว เช่น ที่บริเวณหาดกะรน มีการแบ่งโซนนิ่งสำหรับปักร่มออกเป็น 14 โซน แต่ละโซนกว้าง 7 เมตร ยาว 120-200 เมตร มีจุดบริการร่ม เบาะ 13 จุด จากพื้นที่ชายหาดกะกรนยาวทั้งสิ้น 3,660 เมตร แต่ละโซนห่างกัน 50 เมตร หาดกะตะ แบ่งออกเป็น 8 โซน จุดบริการ 7 จุด หาดในหาน พื้นที่ปักร่ม 375 เมตร นวดชายหาดอีก 214 เมตร หาดป่าตอง แบ่งเป็น 5 โซน แต่ละโซนห่างกัน 200 เมตร จุดบริการที่เป็นเต็นท์มีทั้งหมด 5 จุด หาดกมลาก็เช่นเดียวกัน แบ่งออกเป็น 5 โซน จุดบริการ 2 จุด
หาดสุรินทร์ แบ่งออกเป็น 4 โซนละๆ 40 เมตร จุดบริการนักท่องเที่ยว 2 จุด ส่วนหาดในยาง มีการจัดโซน 300 เมตร ที่หน้าโรงแรมในยางบีช และหาดในทอน ที่ยังไม่สามารถแบ่งโซนให้ผู้ประกอบการเข้าไปประกอบอาชีพได้ เนื่องจากอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ จะต้องได้รับการอนุญาตจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติก่อนที่จะจัดโซนนิ่ง และให้ผู้ประกอบการทั้ง 17 รายเข้าพื้นที่ได้
ในส่วนของการทำป้ายประชาสัมพันธ์ถึงการลงไปใช้ชายหาดของนักท่องเที่ยวนั้น บางท้องถิ่นก็ได้ดำเนินการปักป้ายไปแล้ว บางแห่งก็อยู่ในขั้นตอนของการจัดทำป้าย และคาดว่าจะสามารถขึ้นป้ายได้ในเร็วๆ นี้ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการโรงแรมในการนำแผ่นพับการใช้หาดให้แก่นักท่องเที่ยวได้รับทราบ
อย่างไรก็ตาม สำหรับการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบชายหาดนั้น ท้องถิ่นต่างๆ ได้ทำการพิจารณาคัดสรรจากผู้ที่เคยลงทะเบียนไว้ก่อนหน้านี้แล้วทั้งสิ้น
นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ทางจังหวัดยืนยันที่จะไม่เปลี่ยนแปลงกฎกติกาในการใช้ชายหาดตามที่ได้กำหนดมาก่อนหน้านี้แล้ว ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นก็ต้องหลังจากที่ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้ทำการประเมินแล้วเท่านั้น ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ที่ทางจังหวัดภูเก็ตได้กำหนดมาตรการในการใช้ชายหาดมีความคืบหน้าไปมากแล้ว ทั้งในเรื่องของการจัดโซนนิ่ง การประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจต่อนักท่องเที่ยว การเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบหาด แม้ว่าบางหาดจะมีปัญหาบ้าง เพราะปัญหาที่ซับซ้อน ถ้าไม่ทำอะไรก็จะไม่เกิดกาเปลี่ยนแปลง แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงในบางครั้งจะสร้างความเจ็บปวดบ้างก็ตาม แต่ก็ต้องดำเนินการไปตามกฎหมาย และกติกาที่กำหนดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
“ทางจังหวัดพยายามที่จะเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะคนที่ยากจน ทางจังหวัดได้อนุโลมให้หิ้วกระติกขายของ บริการนวด แม้กระทั่งปักร่ม และเบาะอยู่บนหาดได้ เพราะมีคนจำนวนมากที่ต้องการให้หาดปราศจากสิ่งเหล่านี้”