ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ควงแขนผู้นำท่องเที่ยวแถลงความคืบหน้าจัดระเบียบชายหาด พบยังมีอีกหลายจุดที่ยังจัดระเบียบไม่แล้วเสร็จจนเป็นที่กังขาของประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ ตำบลเชิงทะเล อ้างต้องดำเนินการตามกฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
เมื่อเวลา 11.00 น. วันนี้ (12 ก.พ.) ที่ห้องประชุมทัพเรือภาคที่ 3 พล.ร.ท.สายันต์ ประสงค์สำเร็จ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยรองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ภาคโดยมี น.ส.เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ นายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง นายมาแอน สำราญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล นายอิทธิพร สังข์แก้ว รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลกะรน เข้าร่วม
นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีแผนร่างทดลองการบริหารจัดการหาด และมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการหาดอย่างยั่งยืน ได้มีการแบ่งโซนให้มีการปักร่มในพื้นที่ 10% ของชายหาด เพราะบริหารจัดการง่าย ทุกวันนี้มีร่มเต็มหาด แต่ไม่ได้มีการปักจอง ใครนำร่มไปปักจองเพื่อรอให้นักท่องเที่ยวไปใช้บริการก็จะมีการจับกุมทันที ผู้ประกอบการนำร่มไปปักรอไม่ได้ ซึ่งขณะนี้เป็นการทดลอง โดยมอบหมายทางมหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์ สำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอีกครั้งว่าเห็นด้วยต่อวิธีการที่มีการดำเนินการหรือไม่
ผวจ.ภูเก็ต กล่าวอีกว่า สำหรับการจัดระเบียบชายหาดของภูเก็ตนั้น มีการดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรก เป็นเรื่องของการจัดระเบียบซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว ขั้นตอนที่ 2 เป็นเรื่องของการบริหารจัดการในการที่จะทำอย่างไรให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบ รวมทั้งนักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปได้เข้าใจกติกาที่กำหนดขึ้นมา และปฏิบัติตามกติกาดังกล่าว และขั้นตอนที่ 3 คือ เรื่องของการสถาปนาความยั่งยืนของการจัดระเบียบชายหาดให้เกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้ตนได้แต่งตั้งคณะทำงานบริหารจัดการชายหาดขึ้นมาดูแลแต่ละหาดแล้ว โดยมีการประสานความร่วมมือกับทุกหน่วยในการเข้าดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม ได้มีการประชุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ออกข้อบัญญัติ หรือเทศบาลออกเทศบัญญัติมาบังคับใช้ แต่ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งน่าจะทำได้ โดยหาดเป็นพื้นที่สาธารณะใครจะครอบครองจับจองไม่ได้เด็ดขาด จะเห็นว่าที่ผ่านมา มีการพูดเฉพาะเรื่องของร่มเท่านั้น ที่จะให้ลงไปชายหาด ส่วนนักท่องเที่ยวจะนำมาเองก็ได้ หรือเช่ามาก็ได้เพียงแต่ให้พักในจุดที่กำหนดเท่านั้น ส่วนเรื่องของการดำเนินการต่อนักท่องเที่ยวนั้นต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบขึ้นต่อการท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นเรื่องของการประชาสัมพันธ์จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ
ด้าน น.อ.ธรรมวรรต มาลัยสุขรินทร์ ผอ.กพร.บก.ทรภ.3 กล่าวว่า หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยึดอำนาจการปกครองทางการเมือง เป็นระยะเวลาประมาณ 8 เดือนเศษ โดยระหว่างนั้นทางจังหวัดภูเก็ต ได้มีการจัดระเบียบปัญหามาเฟีย ผู้มีอิทธิพล รวมทั้งจัดระเบียบรถแท็กซี่ ที่บริเวณท่าอากาศยานภูเก็ต หลังจากที่มีการจัดระเบียบก็ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ 80% แล้ว ทำให้ภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตดีขึ้น
ส่วนเรื่องการจัดระเบียบชายหาด แก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่สาธารณะเพื่อประโยชน์ ที่ผ่านมา ได้มีการดำเนินการทุกหาดของจังหวัด มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำพื้นที่สาธารณะ แต่การดำเนินการทำได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ยังพบว่า มีอีกหลายพื้นที่ที่ไม่สามารถทำการรื้อถอนได้ เช่น ที่หาดเลพัง หาดสุรินทร์ ยังมีผู้ประกอบการไม่ยอมรื้อถอน โดยอ้างเอกสารสิทธิในการครอบครอง บางส่วน อบต.เชิงทะเล ได้มีการแจ้งความดำเนินคดีต่อผู้ประกอบการดังกล่าวแล้ว แต่อยู่ระหว่างขั้นตอนของข้อกฎหมาย ซึ่งไม่สามารถทำอะไรได้ ต้องรอให้กระบวนการทางกฎหมายสิ้นสุดก็จะดำเนินการเด็ดขาดต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของปัญหาการบุกรุกชายหาดในพื้นที่ ต.เชิงทะเล ทั้งหาดสุรินทร์ หาดบางเทา หาดเลพัง และอื่นๆ ซึ่งพบว่า ยังมีอาคารสิ่งปลูกสร้าง และร้านอาหารอีกหลายร้านที่ยังไม่มีการรื้อถอนนั้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายมาแอน สำราญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล กล่าวว่า ในส่วนของพื้นที่ที่มีการบุกรุกที่ยังมาสามารถรื้อถอนได้นั้น กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ โดยจะใช้ พ.รบ.ควบคุมอาคารมาใช้ และมีบางรายที่ประกาศไปแล้ว ซึ่งต้องรอให้มีการสิ้นสุดเรื่องของระยะเวลาจึงจะดำเนินการต่อไป ซึ่งการดำเนินการนั้นจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
เมื่อเวลา 11.00 น. วันนี้ (12 ก.พ.) ที่ห้องประชุมทัพเรือภาคที่ 3 พล.ร.ท.สายันต์ ประสงค์สำเร็จ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยรองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ภาคโดยมี น.ส.เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ นายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง นายมาแอน สำราญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล นายอิทธิพร สังข์แก้ว รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลกะรน เข้าร่วม
นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีแผนร่างทดลองการบริหารจัดการหาด และมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการหาดอย่างยั่งยืน ได้มีการแบ่งโซนให้มีการปักร่มในพื้นที่ 10% ของชายหาด เพราะบริหารจัดการง่าย ทุกวันนี้มีร่มเต็มหาด แต่ไม่ได้มีการปักจอง ใครนำร่มไปปักจองเพื่อรอให้นักท่องเที่ยวไปใช้บริการก็จะมีการจับกุมทันที ผู้ประกอบการนำร่มไปปักรอไม่ได้ ซึ่งขณะนี้เป็นการทดลอง โดยมอบหมายทางมหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์ สำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอีกครั้งว่าเห็นด้วยต่อวิธีการที่มีการดำเนินการหรือไม่
ผวจ.ภูเก็ต กล่าวอีกว่า สำหรับการจัดระเบียบชายหาดของภูเก็ตนั้น มีการดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรก เป็นเรื่องของการจัดระเบียบซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว ขั้นตอนที่ 2 เป็นเรื่องของการบริหารจัดการในการที่จะทำอย่างไรให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบ รวมทั้งนักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปได้เข้าใจกติกาที่กำหนดขึ้นมา และปฏิบัติตามกติกาดังกล่าว และขั้นตอนที่ 3 คือ เรื่องของการสถาปนาความยั่งยืนของการจัดระเบียบชายหาดให้เกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้ตนได้แต่งตั้งคณะทำงานบริหารจัดการชายหาดขึ้นมาดูแลแต่ละหาดแล้ว โดยมีการประสานความร่วมมือกับทุกหน่วยในการเข้าดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม ได้มีการประชุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ออกข้อบัญญัติ หรือเทศบาลออกเทศบัญญัติมาบังคับใช้ แต่ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งน่าจะทำได้ โดยหาดเป็นพื้นที่สาธารณะใครจะครอบครองจับจองไม่ได้เด็ดขาด จะเห็นว่าที่ผ่านมา มีการพูดเฉพาะเรื่องของร่มเท่านั้น ที่จะให้ลงไปชายหาด ส่วนนักท่องเที่ยวจะนำมาเองก็ได้ หรือเช่ามาก็ได้เพียงแต่ให้พักในจุดที่กำหนดเท่านั้น ส่วนเรื่องของการดำเนินการต่อนักท่องเที่ยวนั้นต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบขึ้นต่อการท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นเรื่องของการประชาสัมพันธ์จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ
ด้าน น.อ.ธรรมวรรต มาลัยสุขรินทร์ ผอ.กพร.บก.ทรภ.3 กล่าวว่า หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยึดอำนาจการปกครองทางการเมือง เป็นระยะเวลาประมาณ 8 เดือนเศษ โดยระหว่างนั้นทางจังหวัดภูเก็ต ได้มีการจัดระเบียบปัญหามาเฟีย ผู้มีอิทธิพล รวมทั้งจัดระเบียบรถแท็กซี่ ที่บริเวณท่าอากาศยานภูเก็ต หลังจากที่มีการจัดระเบียบก็ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ 80% แล้ว ทำให้ภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตดีขึ้น
ส่วนเรื่องการจัดระเบียบชายหาด แก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่สาธารณะเพื่อประโยชน์ ที่ผ่านมา ได้มีการดำเนินการทุกหาดของจังหวัด มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำพื้นที่สาธารณะ แต่การดำเนินการทำได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ยังพบว่า มีอีกหลายพื้นที่ที่ไม่สามารถทำการรื้อถอนได้ เช่น ที่หาดเลพัง หาดสุรินทร์ ยังมีผู้ประกอบการไม่ยอมรื้อถอน โดยอ้างเอกสารสิทธิในการครอบครอง บางส่วน อบต.เชิงทะเล ได้มีการแจ้งความดำเนินคดีต่อผู้ประกอบการดังกล่าวแล้ว แต่อยู่ระหว่างขั้นตอนของข้อกฎหมาย ซึ่งไม่สามารถทำอะไรได้ ต้องรอให้กระบวนการทางกฎหมายสิ้นสุดก็จะดำเนินการเด็ดขาดต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของปัญหาการบุกรุกชายหาดในพื้นที่ ต.เชิงทะเล ทั้งหาดสุรินทร์ หาดบางเทา หาดเลพัง และอื่นๆ ซึ่งพบว่า ยังมีอาคารสิ่งปลูกสร้าง และร้านอาหารอีกหลายร้านที่ยังไม่มีการรื้อถอนนั้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายมาแอน สำราญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล กล่าวว่า ในส่วนของพื้นที่ที่มีการบุกรุกที่ยังมาสามารถรื้อถอนได้นั้น กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ โดยจะใช้ พ.รบ.ควบคุมอาคารมาใช้ และมีบางรายที่ประกาศไปแล้ว ซึ่งต้องรอให้มีการสิ้นสุดเรื่องของระยะเวลาจึงจะดำเนินการต่อไป ซึ่งการดำเนินการนั้นจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย