คอลัมน์ : โลกที่ซับซ้อน
โดย...ประสาท มีแต้ม
แม้ว่ากระแสการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปพลังงานในช่วง 4-5 ปีมานี้ได้ขึ้นสู่กระแสสูงมาก แต่ก็ยังไม่มีใครให้ความสนใจกับ “กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน” ซึ่งได้รับการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติตั้งแต่ปี 2535 ในสมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน
ปัจจุบัน ผู้ใช้น้ำมันทุกประเภทต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนนี้ลิตรละ 0.25 บาท (ยกเว้นน้ำมันเตาลิตรละ 0.07 บาท) จากข้อมูลพบว่า ในปี 2556 คนไทยการใช้น้ำมันปีละ 4.2 หมื่นล้านลิตร ดังนั้น จึงมีเงินไหลเข้าสู่กองทุนนี้ปีละประมาณ 1 หมื่นล้านบาท
กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ไม่ใช่ “กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง” ซึ่งออกตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 ปัจจุบันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเรียกเก็บจากผู้เติมน้ำมันดีเซล และแก๊สโซฮอล์ (อี10) ลิตรละ 1.70 และ 4.25 บาท ตามลำดับ (หมายเหตุ มีการเก็บจากผู้ใช้น้ำมันชนิดอื่นด้วย แต่ไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ แล้วนำไปชดเชยน้ำมันอี 85 ถึงลิตรละ 8.23 บาท โดยไม่มีคำอธิบายว่า ทำไมราคาเอทานอลในประเทศไทยจึงแพงกว่าราคาตลาดโลกถึงลิตรละเกือบ 10 บาท)
คนทั่วไปให้ความสนใจต่อกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพราะมีการถกเถียงกันถึงเรื่องความไม่เป็นธรรมใหญ่ๆ 2 ประการ คือ (1) มีการเก็บเงินจากผู้ซื้อน้ำมันมาชดเชยให้ผู้ใช้ก๊าซแอลพีจี และ (2) ให้ผู้ใช้แอลพีจีในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจ่ายเงินเข้ากองทุนเชื้อเพลิง 1 บาท ในขณะที่ผู้ใช้แอลพีจีในภาคอุตสาหกรรมอื่นต้องจ่ายเข้ากองทุนถึงลิตรละ 11 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ต่อไปจะเรียกว่า “กองทุนอนุรักษ์พลังงาน”) คนยังไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร
ผมเริ่มสนใจ กองทุนอนุรักษ์พลังงาน ก็เพราะมีผู้ตั้งคำถามเชิงเสนอแนะในวงสัมมนาแห่งหนึ่งว่า องค์กรภาคประชาชนที่ทำงานเพื่อรณรงค์เกี่ยวกับการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนน่าจะขอทุนสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานมาทำกิจกรรมบ้าง แต่เมื่อลงมือสืบค้นข้อมูลก็ได้พบสิ่งแปลกๆ หลายประการ ซึ่งผมจะค่อยๆ นำเสนอดังต่อไปนี้
จากข้อมูลที่หาได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (มีข้อมูลเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากข้อมูลมีจำนวนมาก และอยู่ในลักษณะที่ไม่เอื้อต่อการทำความเข้าใจ ผมจึงเลือกเสนอเฉพาะการเก็บจากน้ำมันดีเซลอย่างเดียว) ผมได้นำมาสรุปได้ดังกราฟข้างล่าง
(1) ตั้งแต่ปี 2545 จนถึง 2549 มีการเก็บเงินเข้ากองทุนอนุรักษ์พลังงานในอัตราเท่ากันคือ ลิตรละ 0.04 บาท โดยที่ราคาน้ำมันดีเซลที่หน้าปั๊มลิตรละประมาณ 15 บาท (หรือร้อยละ 0.3 ของราคาหน้าปั๊ม) ในขณะที่ราคาหน้าโรงกลั่นประมาณ 9 บาท
(2) ในปี 2550 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 0.07 บาทต่อลิตร แต่ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 ในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้เพิ่มขึ้นเป็น 0.75 บาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัว ในขณะที่ราคาหน้าปั๊มลิตรละ 22.24 บาท (หรือเก็บร้อยละ 3.4 ของราคาหน้าปั๊ม)
(3) เมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2551 ได้ลดอัตราการเก็บมาเหลือ 0.05 บาท ในเกือบหนึ่งปีต่อมา (คือใช้เวลาเกือบหนึ่งปีกว่าจะลด) และเมื่อเก็บในอัตรา 0.05 บาทต่อลิตรอยู่ได้ประมาณ 11 เดือน ก็กลับเพิ่มขึ้นเป็นลิตรละ 0.25 บาท จนถึงปัจจุบันนี้
ผมพยายามค้นหาเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงอัตราการเรียกเก็บแต่ละครั้งซึ่งถือว่าผิดปกติมาก แต่ก็ไม่พบ เพราะไม่ได้มีรายงานประจำปีของกองทุนฯ แม้แต่ปีเดียว
อย่างไรก็ตาม โดยการใช้สามัญสำนึกพื้นฐาน เราก็พอสรุปได้ว่า การบริหารกองทุนอนุรักษ์พลังงานนี้ไม่มีหลักวิชาการ เพราะการเก็บเงินที่เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัวอย่างทันทีทันใดนั้นน่าจะมีมาจากเหตุ 2 ประการเท่านั้น คือ ประเทศแพ้สงคราม ต้องการการบูรณะครั้งใหญ่เป็นการด่วน หรือประเทศตกอยู่ภายใต้อำนาจของคนที่ไม่ปกติ (ที่วิกลจริต หรือเป็นรัฐบุรุษ) เพราะไม่มีเหตุผล ไม่รับฟังความคิดเห็นของประชาชน และไม่มีใครให้ความสนใจ ฯลฯ
ก่อนจะตั้งชื่อบทความนี้ ผมได้ค้นหาความหมายของคำว่า “แดนสนธยา” ว่าคือ “แดนที่เสมือนมีบางสิ่งบางอย่างที่ลึกลับ และมีปัญหาสลับซับซ้อนแอบแฝงให้น่าสงสัยอยู่มาก”
ตรงเป๊ะเลยครับ ผมจึงเลือกใช้คำนี้ครับ พร้อมกับมีเหตุผลเพิ่มเติมดังจะกล่าวต่อไป ในขณะที่เราถูกเก็บเงินไปติดต่อกันมากว่า 20 ปี โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีหลังสุดปีละประมาณหนึ่งหมื่นล้านบาท คำถามก็คือ ผลสัมฤทธิ์ของการอนุรักษ์พลังงานได้ผลดีมากน้อยแค่ไหน (ท่านนายกรัฐมนตรีคุยเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า “ทหารเน้นถึงผลสัมฤทธิ์!”)
คำว่า “อนุรักษ์พลังงาน” ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้หมายถึง “ผลิตและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด” ซึ่งเป็นความหมายที่ชัดเจนดีมากครับ
แต่ปัญหาก็คือว่า ไม่ได้มีการประเมินผล และไม่มีตัวชี้วัดถึงผลความสำเร็จของการใช้เงินซึ่งรวมกันน่าจะมากกว่าหนึ่งแสนล้านบาท และไม่มีการเปิดเผยข้อมูล
เพื่อให้เห็นภาพเชิงเปรียบเทียบอย่างคร่าวๆ ผมจึงขอนำเสนอตัวชี้วัดที่องค์กรหนึ่งได้จัดทำไว้ ตัวชี้วัดนั้นคือ “ความเข้มของการใช้พลังงานต่อรายได้ (Energy Intensity)”
คือต้องการจะวัดว่า ถ้าต้องการสร้างรายได้ที่เท่ากัน (คือหนึ่งดอลลาร์สหรัฐที่มูลค่าในปี 2005) จะต้องใช้พลังงานเท่าใด แม้ว่ามันไม่ตรงกันนักกับเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน เพราะมันเกี่ยวข้องกับความรู้ ความสามารถในการทำงานของคนด้วย แต่อย่างน้อยก็พอได้เห็นเรื่องประสิทธิภาพและการประหยัดได้บ้าง
ผลปรากฏ (ดังแผ่นภาพ) พบว่า นับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา ค่าเฉลี่ยของความเข้มของการใช้พลังงานของชาวโลกโดยรวม และชาวเอเชียมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ของประเทศไทยนอกจากจะไม่ดีขึ้นแล้วกลับแย่ลง (ตัวเลขสูงกว่า หมายถึงการใช้พลังงานที่มากกว่าในจำนวนรายได้ที่เท่ากัน)
จากการศึกษาของกระทรวงพลังงานเอง (การศึกษาเรื่อง แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี, 2554-2573) พบว่า ค่าความเข้มของการใช้พลังงานของไทยในปี 2548 สูงกว่าในปี 2533 อย่างชัดเจน และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกค่อนข้างมากด้วย
ผมพยายามค้นดูงบรายรับรายจ่ายของกองทุนอนุรักษ์พลังงาน ในปี 2554 ก็ไม่พบอะไรดังปรากฏในแผ่นภาพที่ผมตัดมาให้ดู
แต่เมื่อค้นไปที่ปี 2557 ประจำเดือนสิงหาคมก็พบว่า มียอดยกมา ณ 31 สิงหาคม 2557 จำนวน 35,682.21 ล้านบาท
ในเว็บไซต์ของกองทุนอนุรักษ์พลังงาน มีคำอธิบายถึงความเป็นมา หลักธรรมาภิบาล และระเบียบต่างๆ แต่ไม่มีรายงานประจำปีซึ่งควรจะรวมไปถึงรายละเอียดของรายรับ และรายจ่าย ตลอดจนการประเมินผลการดำเนินงานตามภารกิจหลักด้วย
หลังจากมี คสช. ประธานคณะกรรมการกองทุนฯ ก็คือ เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร) โดยตำแหน่ง
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการกองทุนฯ ชุดใหม่ก็ได้เห็นชอบ “ให้ใช้งบประมาณที่มาจากการขอยุติโครงการใน ปี 2557 ไปใช้ในโครงการพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานให้เกิดประโยชน์เป็นรูปธรรม จำนวน 6 ชุด โครงการมูลค่ารวม 2,687 ล้าน” (ที่มา มติชนออนไลน์) ซึ่งโครงการดังกล่าว ได้แก่
(1) โครงการต้นแบบการบริหารจัดการโรงไฟฟ้า พลังงานก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังกลบขยะขนาดเล็ก ในพื้นที่หน่วยงานกองทัพบก และกองทัพอากาศ เป็นโครงการนำร่อง ขนาด 4 เมกะวัตต์
(2) โครงการอนุรักษ์พลังงานและใช้พลังงานทดแทนพื้นที่เสียงภัย ประกอบไปด้วย 3 โครงการย่อยพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
(3) โครงการอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการตามแนวพระราชดำริ เพื่อนำพลังงานทดแทนไปสาธิตใช้งานในพื้นที่โครงการ รวม 10 โครงการย่อย
(4) โครงการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และใช้ในหน่วยงานด้านความมั่นคง ได้แก่ กองทัพบก กองทัพอากาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
(ขออภัย ผมหาอีก 2 โครงการไม่เจอครับ)
นอกจากนี้ จากเว็บไซต์ของ “มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม” ซึ่งมีนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นประธาน พบว่า กรมพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้นำเงินของกองทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน มาให้มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมบริหารร่วมกับอีกหนึ่งหน่วยงาน จำนวน 500 ล้านบาท (ภายใต้โครงการส่งเสริมการลงทุนด้านการอนุรักษ์และพลังงานทดแทน ซึ่งมีหลักการ และวิธีการขอรับทุนด้วย)
นี่แค่โครงการเดียวนะครับ
ผมได้เล่าถึงความไม่ชอบมาพากลของการเปลี่ยนแปลงอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนได้แสดงความเห็นถึงการไม่ทำรายงาน และการประเมินผลมาแล้ว ในตอนท้ายนี้ผมอยากจะแสดงความเห็นถึงการอนุรักษ์พลังงานในทัศนะของผม ผมเข้าใจว่า การอนุรักษ์พลังงานให้ได้ผลควรจะเน้น หรือให้ความสำคัญที่กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนซึ่งเป็นประเด็นทางสังคมมากกว่าความสำคัญทางเทคโนโลยี พูดอีกหนึ่งคือเน้นที่การใช้มากกว่าการผลิต
จริงอยู่ครับ ประเด็นทางเทคโนโลยีก็มีความสำคัญที่จะต้องวิจัย และปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่หากประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ และไม่มีจิตสำนึกแล้วทุกอย่างก็ล้มเหลว
เท่าที่ผมทราบ จากโครงการ Harvard Green Campus Initiative ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กว่าที่จะได้รับการอนุมัติในแต่ละโครงการ ผู้ที่ทำงานในแต่ละอาคารเพื่ออนุรักษ์พลังงานจะต้องลงประชามติกันก่อนจึงจะได้โครงการไปทำพร้อมกับมีการกำหนดตัวชี้วัดด้วย
โครงการอนุรักษ์พลังงาน น่าจะเป็นโครงการที่ลงทุนน้อยๆ แต่สามารถขยายผลให้เกิด “พลังอนุรักษ์ในคน” เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง มันไม่ใช่โครงการที่คล้ายกับการแจกผ้าห่มซึ่งอีกไม่นานก็ต้องแจกกันใหม่ แต่มันควรจะเป็นโครงการที่สามารถขยายผลไปสู่การสร้างนโยบายของรัฐได้ เป็นโครงการที่สามารถสร้าง “ดีเอ็นเอใหม่ของสังคม” ที่มีจิตสำนึกเพื่อสาธารณะทั้งในปัจจุบัน และในอนาคตที่ยั่งยืน ผมขอขยายความสักเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ใช้ไฟฟ้าปีละประมาณ 150 ล้านบาท สิ่งที่กองทุนอนุรักษ์พลังงานควรจะทำก็คือ มาตกลงร่วมกันกับประชาคมในวิทยาเขตว่า ถ้าจะลดการใช้ไฟฟ้าลงมาสัก 10% หรือ 15 ล้านบาทต่อปี โดยทางกองทุนฯ จะสนับสนุนงบดำเนินการให้ 5 ล้านบาท และทางมหาวิทยาลัยสมทบอีก 5 ล้านบาท รายจ่ายที่ประหยัดได้สามารถนำไปใช้ในปีต่อๆไป พร้อมกับการค่อยๆ ลดการสนับสนุน และถอนตัวของกองทุนในระยะต่อๆ ไป
ลองจินตนาการดูว่า ถ้าประชาคมมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น แล้วผ่านกระบวนการประชามติคล้ายๆ กับที่ชาวสกอตแลนด์เพิ่งทำไป จะสนุก และสร้างสรรค์ขนาดไหน? เพราะนี่คือกิจกรรมที่เป็นพันธกิจที่ผูกมัดหัวใจของประชาคมไว้กับวิทยาเขต
บทเรียนที่ได้จากการดำเนินการดังกล่าวสามารถนำไปเผยแพร่ และขยายผลในวงกว้างต่อไป (หมายเหตุ ผมเคยลงมือผลักดันในลักษณะนี้มาแล้ว โดยผ่านวิชาวิทยาเขตสีเขียว แต่ไม่สำเร็จ เพราะพลังของผมอ่อนแอเกินไป ในขณะที่ผู้บริหารก็ไม่สนใจเรื่องทำนองนี้)
ในความเห็นของผมโครงการทั้ง 4 ที่เพิ่งอนุมัติไป (ที่มีเลขาธิการ คสช.เป็นประธาน) นั้น ไม่น่าจะอยู่ในข่ายของการอนุรักษ์พลังงาน แต่น่าจะเป็นโครงการที่อยู่ในระบบงบประมาณปกติ และเน้นเทคโนโลยี
เท่าที่ผมได้ศึกษาจาก “แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี 2554 ถึง 2573” ซึ่งถือว่าเป็นงานศึกษาที่ดีมากชิ้นหนึ่ง ผมขอนำมากล่าวถึงในที่นี้ 2 ประการ คือ
หนึ่ง มีการเสนอให้จัดงบประมาณในช่วง 5 ปีๆ ละ 5,900 ล้านบาท โดยจำแนกเป็นด้านการอุดหนุนผลประหยัด 68% งบสนับสนุนงานวิจัยและสาธิต 12% งบบริหารจัดการและประชาสัมพันธ์ 10% และงบพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับมาตรการด้านมาตรฐานและฉลากประสิทธิภาพพลังงาน 5% และพัฒนาบุคลากร 5%
แต่แค่ 6 โครงการที่เพิ่งอนุมัติไปเรียบร้อยโรงเรียน คสช.นี้ก็ปาเข้าไปถึง 46% ทั้งๆ ที่ด้านการวิจัย และสาธิตมีแค่ 12% เท่านั้น
นั่นคือมากกว่ากรอบที่กำหนดไว้อย่างน้อย 4 เท่าตัว
สอง ในแผนอนุรักษ์ฯ ได้กำหนดจุดเด่นไว้ 10 ข้อ โดยที่ในข้อแรกต้องการจะลดความเข้มของการใช้พลังงานในปี 2573 ให้ได้ 25% ของปี 2548 แต่เมื่อแผนนี้ดำเนินการไปได้ 3 ปี แทนที่จะลดลงแต่กลับเพิ่มขึ้น และหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป การใช้พลังงานของประเทศไทยก็จะฟุ่มเฟือยสักขนาดไหน
โดยสรุป การใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ และประหยัด (หรือการอนุรักษ์พลังงาน) เป็นสิ่งที่ดีและมีความจำเป็นมากสำหรับสังคมไทย แต่สิ่งที่กระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินการมาแล้วโดยผ่านกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานนั้น “เสมือนมีบางสิ่งบางอย่างที่ลึกลับและมีปัญหาสลับซับซ้อนแอบแฝงให้น่าสงสัยอยู่มาก” ซึ่งเขาเรียกว่า แดนสนธยา
ในขณะเดียวกัน น่าเสียดายที่กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้ตกหล่นไปจากความสนใจของประชาชนโดยไม่ได้ตั้งใจ ทั้งๆ ที่จริงๆ ประชาชนได้เรียกร้องต้องการให้มีการปฏิรูปพลังงานอย่างเป็นระบบครบถ้วนมาอย่างยาวนาน ไม่ใช่แค่ประเด็นปิโตรเลียมไทยมีน้อยหรือมีมาก ดังที่ท่านนายกฯ ประยุทธ์ จับมาเป็นประเด็นตั้งคำถามต่อสังคมให้หลงทาง
รวมทั้งการปฏิรูปด้านอื่นๆ ด้วย
โดย...ประสาท มีแต้ม
แม้ว่ากระแสการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปพลังงานในช่วง 4-5 ปีมานี้ได้ขึ้นสู่กระแสสูงมาก แต่ก็ยังไม่มีใครให้ความสนใจกับ “กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน” ซึ่งได้รับการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติตั้งแต่ปี 2535 ในสมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน
ปัจจุบัน ผู้ใช้น้ำมันทุกประเภทต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนนี้ลิตรละ 0.25 บาท (ยกเว้นน้ำมันเตาลิตรละ 0.07 บาท) จากข้อมูลพบว่า ในปี 2556 คนไทยการใช้น้ำมันปีละ 4.2 หมื่นล้านลิตร ดังนั้น จึงมีเงินไหลเข้าสู่กองทุนนี้ปีละประมาณ 1 หมื่นล้านบาท
กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ไม่ใช่ “กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง” ซึ่งออกตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 ปัจจุบันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเรียกเก็บจากผู้เติมน้ำมันดีเซล และแก๊สโซฮอล์ (อี10) ลิตรละ 1.70 และ 4.25 บาท ตามลำดับ (หมายเหตุ มีการเก็บจากผู้ใช้น้ำมันชนิดอื่นด้วย แต่ไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ แล้วนำไปชดเชยน้ำมันอี 85 ถึงลิตรละ 8.23 บาท โดยไม่มีคำอธิบายว่า ทำไมราคาเอทานอลในประเทศไทยจึงแพงกว่าราคาตลาดโลกถึงลิตรละเกือบ 10 บาท)
คนทั่วไปให้ความสนใจต่อกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพราะมีการถกเถียงกันถึงเรื่องความไม่เป็นธรรมใหญ่ๆ 2 ประการ คือ (1) มีการเก็บเงินจากผู้ซื้อน้ำมันมาชดเชยให้ผู้ใช้ก๊าซแอลพีจี และ (2) ให้ผู้ใช้แอลพีจีในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจ่ายเงินเข้ากองทุนเชื้อเพลิง 1 บาท ในขณะที่ผู้ใช้แอลพีจีในภาคอุตสาหกรรมอื่นต้องจ่ายเข้ากองทุนถึงลิตรละ 11 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ต่อไปจะเรียกว่า “กองทุนอนุรักษ์พลังงาน”) คนยังไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร
ผมเริ่มสนใจ กองทุนอนุรักษ์พลังงาน ก็เพราะมีผู้ตั้งคำถามเชิงเสนอแนะในวงสัมมนาแห่งหนึ่งว่า องค์กรภาคประชาชนที่ทำงานเพื่อรณรงค์เกี่ยวกับการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนน่าจะขอทุนสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานมาทำกิจกรรมบ้าง แต่เมื่อลงมือสืบค้นข้อมูลก็ได้พบสิ่งแปลกๆ หลายประการ ซึ่งผมจะค่อยๆ นำเสนอดังต่อไปนี้
จากข้อมูลที่หาได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (มีข้อมูลเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากข้อมูลมีจำนวนมาก และอยู่ในลักษณะที่ไม่เอื้อต่อการทำความเข้าใจ ผมจึงเลือกเสนอเฉพาะการเก็บจากน้ำมันดีเซลอย่างเดียว) ผมได้นำมาสรุปได้ดังกราฟข้างล่าง
(1) ตั้งแต่ปี 2545 จนถึง 2549 มีการเก็บเงินเข้ากองทุนอนุรักษ์พลังงานในอัตราเท่ากันคือ ลิตรละ 0.04 บาท โดยที่ราคาน้ำมันดีเซลที่หน้าปั๊มลิตรละประมาณ 15 บาท (หรือร้อยละ 0.3 ของราคาหน้าปั๊ม) ในขณะที่ราคาหน้าโรงกลั่นประมาณ 9 บาท
(2) ในปี 2550 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 0.07 บาทต่อลิตร แต่ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 ในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้เพิ่มขึ้นเป็น 0.75 บาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัว ในขณะที่ราคาหน้าปั๊มลิตรละ 22.24 บาท (หรือเก็บร้อยละ 3.4 ของราคาหน้าปั๊ม)
(3) เมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2551 ได้ลดอัตราการเก็บมาเหลือ 0.05 บาท ในเกือบหนึ่งปีต่อมา (คือใช้เวลาเกือบหนึ่งปีกว่าจะลด) และเมื่อเก็บในอัตรา 0.05 บาทต่อลิตรอยู่ได้ประมาณ 11 เดือน ก็กลับเพิ่มขึ้นเป็นลิตรละ 0.25 บาท จนถึงปัจจุบันนี้
ผมพยายามค้นหาเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงอัตราการเรียกเก็บแต่ละครั้งซึ่งถือว่าผิดปกติมาก แต่ก็ไม่พบ เพราะไม่ได้มีรายงานประจำปีของกองทุนฯ แม้แต่ปีเดียว
อย่างไรก็ตาม โดยการใช้สามัญสำนึกพื้นฐาน เราก็พอสรุปได้ว่า การบริหารกองทุนอนุรักษ์พลังงานนี้ไม่มีหลักวิชาการ เพราะการเก็บเงินที่เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัวอย่างทันทีทันใดนั้นน่าจะมีมาจากเหตุ 2 ประการเท่านั้น คือ ประเทศแพ้สงคราม ต้องการการบูรณะครั้งใหญ่เป็นการด่วน หรือประเทศตกอยู่ภายใต้อำนาจของคนที่ไม่ปกติ (ที่วิกลจริต หรือเป็นรัฐบุรุษ) เพราะไม่มีเหตุผล ไม่รับฟังความคิดเห็นของประชาชน และไม่มีใครให้ความสนใจ ฯลฯ
ก่อนจะตั้งชื่อบทความนี้ ผมได้ค้นหาความหมายของคำว่า “แดนสนธยา” ว่าคือ “แดนที่เสมือนมีบางสิ่งบางอย่างที่ลึกลับ และมีปัญหาสลับซับซ้อนแอบแฝงให้น่าสงสัยอยู่มาก”
ตรงเป๊ะเลยครับ ผมจึงเลือกใช้คำนี้ครับ พร้อมกับมีเหตุผลเพิ่มเติมดังจะกล่าวต่อไป ในขณะที่เราถูกเก็บเงินไปติดต่อกันมากว่า 20 ปี โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีหลังสุดปีละประมาณหนึ่งหมื่นล้านบาท คำถามก็คือ ผลสัมฤทธิ์ของการอนุรักษ์พลังงานได้ผลดีมากน้อยแค่ไหน (ท่านนายกรัฐมนตรีคุยเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า “ทหารเน้นถึงผลสัมฤทธิ์!”)
คำว่า “อนุรักษ์พลังงาน” ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้หมายถึง “ผลิตและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด” ซึ่งเป็นความหมายที่ชัดเจนดีมากครับ
แต่ปัญหาก็คือว่า ไม่ได้มีการประเมินผล และไม่มีตัวชี้วัดถึงผลความสำเร็จของการใช้เงินซึ่งรวมกันน่าจะมากกว่าหนึ่งแสนล้านบาท และไม่มีการเปิดเผยข้อมูล
เพื่อให้เห็นภาพเชิงเปรียบเทียบอย่างคร่าวๆ ผมจึงขอนำเสนอตัวชี้วัดที่องค์กรหนึ่งได้จัดทำไว้ ตัวชี้วัดนั้นคือ “ความเข้มของการใช้พลังงานต่อรายได้ (Energy Intensity)”
คือต้องการจะวัดว่า ถ้าต้องการสร้างรายได้ที่เท่ากัน (คือหนึ่งดอลลาร์สหรัฐที่มูลค่าในปี 2005) จะต้องใช้พลังงานเท่าใด แม้ว่ามันไม่ตรงกันนักกับเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน เพราะมันเกี่ยวข้องกับความรู้ ความสามารถในการทำงานของคนด้วย แต่อย่างน้อยก็พอได้เห็นเรื่องประสิทธิภาพและการประหยัดได้บ้าง
ผลปรากฏ (ดังแผ่นภาพ) พบว่า นับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา ค่าเฉลี่ยของความเข้มของการใช้พลังงานของชาวโลกโดยรวม และชาวเอเชียมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ของประเทศไทยนอกจากจะไม่ดีขึ้นแล้วกลับแย่ลง (ตัวเลขสูงกว่า หมายถึงการใช้พลังงานที่มากกว่าในจำนวนรายได้ที่เท่ากัน)
จากการศึกษาของกระทรวงพลังงานเอง (การศึกษาเรื่อง แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี, 2554-2573) พบว่า ค่าความเข้มของการใช้พลังงานของไทยในปี 2548 สูงกว่าในปี 2533 อย่างชัดเจน และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกค่อนข้างมากด้วย
ผมพยายามค้นดูงบรายรับรายจ่ายของกองทุนอนุรักษ์พลังงาน ในปี 2554 ก็ไม่พบอะไรดังปรากฏในแผ่นภาพที่ผมตัดมาให้ดู
แต่เมื่อค้นไปที่ปี 2557 ประจำเดือนสิงหาคมก็พบว่า มียอดยกมา ณ 31 สิงหาคม 2557 จำนวน 35,682.21 ล้านบาท
ในเว็บไซต์ของกองทุนอนุรักษ์พลังงาน มีคำอธิบายถึงความเป็นมา หลักธรรมาภิบาล และระเบียบต่างๆ แต่ไม่มีรายงานประจำปีซึ่งควรจะรวมไปถึงรายละเอียดของรายรับ และรายจ่าย ตลอดจนการประเมินผลการดำเนินงานตามภารกิจหลักด้วย
หลังจากมี คสช. ประธานคณะกรรมการกองทุนฯ ก็คือ เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร) โดยตำแหน่ง
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการกองทุนฯ ชุดใหม่ก็ได้เห็นชอบ “ให้ใช้งบประมาณที่มาจากการขอยุติโครงการใน ปี 2557 ไปใช้ในโครงการพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานให้เกิดประโยชน์เป็นรูปธรรม จำนวน 6 ชุด โครงการมูลค่ารวม 2,687 ล้าน” (ที่มา มติชนออนไลน์) ซึ่งโครงการดังกล่าว ได้แก่
(1) โครงการต้นแบบการบริหารจัดการโรงไฟฟ้า พลังงานก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังกลบขยะขนาดเล็ก ในพื้นที่หน่วยงานกองทัพบก และกองทัพอากาศ เป็นโครงการนำร่อง ขนาด 4 เมกะวัตต์
(2) โครงการอนุรักษ์พลังงานและใช้พลังงานทดแทนพื้นที่เสียงภัย ประกอบไปด้วย 3 โครงการย่อยพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
(3) โครงการอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการตามแนวพระราชดำริ เพื่อนำพลังงานทดแทนไปสาธิตใช้งานในพื้นที่โครงการ รวม 10 โครงการย่อย
(4) โครงการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และใช้ในหน่วยงานด้านความมั่นคง ได้แก่ กองทัพบก กองทัพอากาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
(ขออภัย ผมหาอีก 2 โครงการไม่เจอครับ)
นอกจากนี้ จากเว็บไซต์ของ “มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม” ซึ่งมีนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นประธาน พบว่า กรมพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้นำเงินของกองทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน มาให้มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมบริหารร่วมกับอีกหนึ่งหน่วยงาน จำนวน 500 ล้านบาท (ภายใต้โครงการส่งเสริมการลงทุนด้านการอนุรักษ์และพลังงานทดแทน ซึ่งมีหลักการ และวิธีการขอรับทุนด้วย)
นี่แค่โครงการเดียวนะครับ
ผมได้เล่าถึงความไม่ชอบมาพากลของการเปลี่ยนแปลงอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนได้แสดงความเห็นถึงการไม่ทำรายงาน และการประเมินผลมาแล้ว ในตอนท้ายนี้ผมอยากจะแสดงความเห็นถึงการอนุรักษ์พลังงานในทัศนะของผม ผมเข้าใจว่า การอนุรักษ์พลังงานให้ได้ผลควรจะเน้น หรือให้ความสำคัญที่กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนซึ่งเป็นประเด็นทางสังคมมากกว่าความสำคัญทางเทคโนโลยี พูดอีกหนึ่งคือเน้นที่การใช้มากกว่าการผลิต
จริงอยู่ครับ ประเด็นทางเทคโนโลยีก็มีความสำคัญที่จะต้องวิจัย และปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่หากประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ และไม่มีจิตสำนึกแล้วทุกอย่างก็ล้มเหลว
เท่าที่ผมทราบ จากโครงการ Harvard Green Campus Initiative ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กว่าที่จะได้รับการอนุมัติในแต่ละโครงการ ผู้ที่ทำงานในแต่ละอาคารเพื่ออนุรักษ์พลังงานจะต้องลงประชามติกันก่อนจึงจะได้โครงการไปทำพร้อมกับมีการกำหนดตัวชี้วัดด้วย
โครงการอนุรักษ์พลังงาน น่าจะเป็นโครงการที่ลงทุนน้อยๆ แต่สามารถขยายผลให้เกิด “พลังอนุรักษ์ในคน” เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง มันไม่ใช่โครงการที่คล้ายกับการแจกผ้าห่มซึ่งอีกไม่นานก็ต้องแจกกันใหม่ แต่มันควรจะเป็นโครงการที่สามารถขยายผลไปสู่การสร้างนโยบายของรัฐได้ เป็นโครงการที่สามารถสร้าง “ดีเอ็นเอใหม่ของสังคม” ที่มีจิตสำนึกเพื่อสาธารณะทั้งในปัจจุบัน และในอนาคตที่ยั่งยืน ผมขอขยายความสักเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ใช้ไฟฟ้าปีละประมาณ 150 ล้านบาท สิ่งที่กองทุนอนุรักษ์พลังงานควรจะทำก็คือ มาตกลงร่วมกันกับประชาคมในวิทยาเขตว่า ถ้าจะลดการใช้ไฟฟ้าลงมาสัก 10% หรือ 15 ล้านบาทต่อปี โดยทางกองทุนฯ จะสนับสนุนงบดำเนินการให้ 5 ล้านบาท และทางมหาวิทยาลัยสมทบอีก 5 ล้านบาท รายจ่ายที่ประหยัดได้สามารถนำไปใช้ในปีต่อๆไป พร้อมกับการค่อยๆ ลดการสนับสนุน และถอนตัวของกองทุนในระยะต่อๆ ไป
ลองจินตนาการดูว่า ถ้าประชาคมมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น แล้วผ่านกระบวนการประชามติคล้ายๆ กับที่ชาวสกอตแลนด์เพิ่งทำไป จะสนุก และสร้างสรรค์ขนาดไหน? เพราะนี่คือกิจกรรมที่เป็นพันธกิจที่ผูกมัดหัวใจของประชาคมไว้กับวิทยาเขต
บทเรียนที่ได้จากการดำเนินการดังกล่าวสามารถนำไปเผยแพร่ และขยายผลในวงกว้างต่อไป (หมายเหตุ ผมเคยลงมือผลักดันในลักษณะนี้มาแล้ว โดยผ่านวิชาวิทยาเขตสีเขียว แต่ไม่สำเร็จ เพราะพลังของผมอ่อนแอเกินไป ในขณะที่ผู้บริหารก็ไม่สนใจเรื่องทำนองนี้)
ในความเห็นของผมโครงการทั้ง 4 ที่เพิ่งอนุมัติไป (ที่มีเลขาธิการ คสช.เป็นประธาน) นั้น ไม่น่าจะอยู่ในข่ายของการอนุรักษ์พลังงาน แต่น่าจะเป็นโครงการที่อยู่ในระบบงบประมาณปกติ และเน้นเทคโนโลยี
เท่าที่ผมได้ศึกษาจาก “แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี 2554 ถึง 2573” ซึ่งถือว่าเป็นงานศึกษาที่ดีมากชิ้นหนึ่ง ผมขอนำมากล่าวถึงในที่นี้ 2 ประการ คือ
หนึ่ง มีการเสนอให้จัดงบประมาณในช่วง 5 ปีๆ ละ 5,900 ล้านบาท โดยจำแนกเป็นด้านการอุดหนุนผลประหยัด 68% งบสนับสนุนงานวิจัยและสาธิต 12% งบบริหารจัดการและประชาสัมพันธ์ 10% และงบพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับมาตรการด้านมาตรฐานและฉลากประสิทธิภาพพลังงาน 5% และพัฒนาบุคลากร 5%
แต่แค่ 6 โครงการที่เพิ่งอนุมัติไปเรียบร้อยโรงเรียน คสช.นี้ก็ปาเข้าไปถึง 46% ทั้งๆ ที่ด้านการวิจัย และสาธิตมีแค่ 12% เท่านั้น
นั่นคือมากกว่ากรอบที่กำหนดไว้อย่างน้อย 4 เท่าตัว
สอง ในแผนอนุรักษ์ฯ ได้กำหนดจุดเด่นไว้ 10 ข้อ โดยที่ในข้อแรกต้องการจะลดความเข้มของการใช้พลังงานในปี 2573 ให้ได้ 25% ของปี 2548 แต่เมื่อแผนนี้ดำเนินการไปได้ 3 ปี แทนที่จะลดลงแต่กลับเพิ่มขึ้น และหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป การใช้พลังงานของประเทศไทยก็จะฟุ่มเฟือยสักขนาดไหน
โดยสรุป การใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ และประหยัด (หรือการอนุรักษ์พลังงาน) เป็นสิ่งที่ดีและมีความจำเป็นมากสำหรับสังคมไทย แต่สิ่งที่กระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินการมาแล้วโดยผ่านกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานนั้น “เสมือนมีบางสิ่งบางอย่างที่ลึกลับและมีปัญหาสลับซับซ้อนแอบแฝงให้น่าสงสัยอยู่มาก” ซึ่งเขาเรียกว่า แดนสนธยา
ในขณะเดียวกัน น่าเสียดายที่กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้ตกหล่นไปจากความสนใจของประชาชนโดยไม่ได้ตั้งใจ ทั้งๆ ที่จริงๆ ประชาชนได้เรียกร้องต้องการให้มีการปฏิรูปพลังงานอย่างเป็นระบบครบถ้วนมาอย่างยาวนาน ไม่ใช่แค่ประเด็นปิโตรเลียมไทยมีน้อยหรือมีมาก ดังที่ท่านนายกฯ ประยุทธ์ จับมาเป็นประเด็นตั้งคำถามต่อสังคมให้หลงทาง
รวมทั้งการปฏิรูปด้านอื่นๆ ด้วย