xs
xsm
sm
md
lg

มรภ.สงขลาเข้าเจรจาความร่วมมือด้านวิชาการดาราศาสตร์กับญี่ปุ่น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผู้ช่วยผู้อำนวยการ Instrumental Analysis Center  ตอบข้อซักถาม
ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - มรภ.สงขลา เจรจาความร่วมมือด้านวิชาการดาราศาสตร์กับประเทศญี่ปุ่น หารือความเป็นไปได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการวิจัย เล็งร่วมมือทำวิจัยกับเอกชน

วันนี้ (2 เม.ย.) ดร.ไพบูลย์ นวลนิล รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ รศ.ดร.สุนทร โสตถิพันธุ์ อธิการบดี มรภ.สงขลา พร้อมคณะ ได้เดินทางไปเจรจาความร่วมมือด้านวิชาการดาราศาสตร์กับหน่วยงานของประเทศญี่ปุ่น กับ National Astronomical Observatory of Japan (NAOJ) และ Gunma Astronomical Observatory (GAO) เพื่อยืนยันนโยบายของทีมบริหารชุดใหม่ในการสนับสนุนกิจกรรมทางวิชาการด้านดาราศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กับอธิการบดี มรภ.สงขลา และคณะ โดย NAOJ และ GAO ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรและงานวิจัยทางดาราศาสตร์แก่ มรภ.สงขลา
ผู้อำนวยการ Instrumental Analysis Center
ดร.ไพบูลย์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ได้มีนโยบายในการพัฒนามาตรฐานการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่ หมายรวมถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 40 แห่ง ซึ่ง มรภ.สงขลา มีนโยบายที่จะพัฒนาห้องปฏิบัติการวิจัย เพื่อให้คณาจารย์ และนักวิจัยได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือวิจัยที่ มรภ.สงขลา จัดหา ภายใต้โครงการศูนย์ปฏิบัติการวิจัย (Research Facilities Center) โดยใช้งบประมาณในโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่ ซึ่งเป็นงบประมาณพิเศษต่อเนื่อง 5 ปี (2558-2562) ดังนั้น การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการห้องปฏิบัติวิจัยที่ใช้เครื่องมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น จึงน่าจะเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ และมีความสำคัญ จึงได้เดินทางไปศึกษาดูงานศูนย์เครื่องมือวิเคราะห์ (Analytical Center) ที่ The University of Tokyo และ Instrumental Analysis Center ที่ Yokohama National University
ดร.ไพบูลย์ นวลนิล รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มรภ.สงขลา
องอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มรภ.สงขลา กล่าวว่า การเดินทางไปศึกษาดูงานดังกล่าว เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการเครื่องมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และศึกษาการจัดระบบการให้บริการแก่ผู้ใช้ ซึ่งเป็นอาจารย์ นักศึกษา และบุคคลภายนอก ตลอดจนศึกษาการออกแบบระบบห้องปฏิบัติการเพื่อรองรับเครื่องมือวิจัยฯ และเจรจาหาแนวทางความร่วมมือการพัฒนาบุคลากรของ มรภ.สงขลา

โดยเฉพาะการเยี่ยมชมศูนย์เครื่องมือวิเคราะห์ของ The University of Tokyo ที่มีรูปแบบความร่วมมือกับบริษัทผลิตเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ซึ่ง มรภ.สงขลา ได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการวิจัย ซึ่งในอนาคต มรภ.สงขลา อาจร่วมมือทำวิจัยกับเอกชน โดยฝ่ายเอกชนลงทุนจัดหาเครื่องมือ และอุปกรณ์ ส่วน มรภ.สงขลา มีนักวิจัยที่สามารถพัฒนาผลผลิตในเชิงการค้าได้ และมีโอกาสที่จะส่งบุคลากรไปฝึกอบรมระยะสั้นด้านการใช้เครื่องมือ การเตรียมตัวอย่าง และการแปลผลที่ Yokohama National University ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมีความร่วมมือกับกลุ่มประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น อาจารย์จาก มรภ.สงขลา ที่ทำวิจัยทางวัสดุนาโน สามารถไปทำวิจัยระยะสั้นโดยใช้เครื่องมือวิจัยชั้นสูงที่ The University of Tokyo จากความร่วมมือดังกล่าวจะนำไปสู่การสร้างข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ในการพัฒนาด้านวิชาการ และบุคลากรต่อไป
 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น