ศูนย์ข่าวภูเก็ต - จังหวัดภูเก็ต แก้ไขปัญหาเด็ก และสตรี จัดประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือแรงงานหญิงและเด็กเพื่อติดตามผลการดำเนินงานในพื้นที่ พบในเดือน ก.พ.ยังมีไม่การแจ้งร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาเด็ก และสตรี
วันนี้ (20 ก.พ.) ที่ห้องประชุมสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ต น.ส.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ประธานการประชุมติดตามการดำเนินงานของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือแรงงานหญิงและเด็กจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 1/2557 เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน โดยมีคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือแรงงานหญิงและเด็กจังหวัดภูเก็ต และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ซึ่งสถานการณ์ด้านแรงงานหญิงและเด็กจังหวัดภูเก็ต ในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 นั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรจังหวัดไม่ได้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวแต่อย่างใด
นายยุทธการ โอวาสิทธ์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการดำเนินงานของหน่วยงานว่า สถานการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีผลกระทบต่อการใช้แรงงานเด็ก และสตรี โดยพบว่า แรงงานเด็กในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมลดลง แต่คาดว่ามีแรงงานเด็กในภาคเกษตรกรรม และบริการเพิ่มขึ้น และกระจายตัวสู่ชนบทมากขึ้น
นอกจากนี้ การที่เศรษฐกิจถดถอยยังมีผลกระทบต่อรายได้ของครอบครัวทำให้เด็กต้องออกจากระบบการศึกษา และเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้นมีการใช้แรงงานเด็กต่างชาติชาวพม่า เขมร และลาว ซึ่งเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมายส่วนใหญ่จะเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการขนาดเล็ก และงานรับใช้ตามบ้าน เด็กหญิงมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกชักนำเข้าสู่งานบริการทางเพศ ปัจจุบัน สังคมส่วนใหญ่ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาแรงงานเด็กมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งนี้ที่ประชุมร่วมพิจารณาการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อขจัดการใช้แรงงานหญิง และเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายในระดับจังหวัด ประจำปี 2558 ทั้งนี้ เพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานหญิง และเด็ก
ขณะที่ น.ส.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จากรายงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ต ในการจัดงานนัดพบแรงงานเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พบว่าสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในจังหวัดภูเก็ตได้ โดยสามารถบรรจุแรงงานเข้าทำงานกว่า 200 คน
ในส่วนปัญหาด้านการสื่อสารภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษของแรงงายในสถานประกอบการร้านอาหารซึ่งถือเป็นจุดด้อยของแรงงานไทยนั้น ทั้งนี้ ประธานในที่ประชุมได้มอบหมายให้ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดภูเก็ต จัดฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้แก่แรงงานในการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาที่เกี่ยวกับเทคนิคอาชีพโดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดแรงงานอาเซียนต่อไปในอนาคต
วันนี้ (20 ก.พ.) ที่ห้องประชุมสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ต น.ส.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ประธานการประชุมติดตามการดำเนินงานของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือแรงงานหญิงและเด็กจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 1/2557 เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน โดยมีคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือแรงงานหญิงและเด็กจังหวัดภูเก็ต และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ซึ่งสถานการณ์ด้านแรงงานหญิงและเด็กจังหวัดภูเก็ต ในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 นั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรจังหวัดไม่ได้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวแต่อย่างใด
นายยุทธการ โอวาสิทธ์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการดำเนินงานของหน่วยงานว่า สถานการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีผลกระทบต่อการใช้แรงงานเด็ก และสตรี โดยพบว่า แรงงานเด็กในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมลดลง แต่คาดว่ามีแรงงานเด็กในภาคเกษตรกรรม และบริการเพิ่มขึ้น และกระจายตัวสู่ชนบทมากขึ้น
นอกจากนี้ การที่เศรษฐกิจถดถอยยังมีผลกระทบต่อรายได้ของครอบครัวทำให้เด็กต้องออกจากระบบการศึกษา และเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้นมีการใช้แรงงานเด็กต่างชาติชาวพม่า เขมร และลาว ซึ่งเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมายส่วนใหญ่จะเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการขนาดเล็ก และงานรับใช้ตามบ้าน เด็กหญิงมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกชักนำเข้าสู่งานบริการทางเพศ ปัจจุบัน สังคมส่วนใหญ่ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาแรงงานเด็กมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งนี้ที่ประชุมร่วมพิจารณาการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อขจัดการใช้แรงงานหญิง และเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายในระดับจังหวัด ประจำปี 2558 ทั้งนี้ เพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานหญิง และเด็ก
ขณะที่ น.ส.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จากรายงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ต ในการจัดงานนัดพบแรงงานเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พบว่าสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในจังหวัดภูเก็ตได้ โดยสามารถบรรจุแรงงานเข้าทำงานกว่า 200 คน
ในส่วนปัญหาด้านการสื่อสารภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษของแรงงายในสถานประกอบการร้านอาหารซึ่งถือเป็นจุดด้อยของแรงงานไทยนั้น ทั้งนี้ ประธานในที่ประชุมได้มอบหมายให้ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดภูเก็ต จัดฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้แก่แรงงานในการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาที่เกี่ยวกับเทคนิคอาชีพโดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดแรงงานอาเซียนต่อไปในอนาคต