ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เทศบาลนครภูเก็ต เดินหน้าก้าวสู่เมืองคาร์บอนต่ำ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “ยุทธศาสตร์เพื่อก้าวสู่เมืองคาร์บอนต่ำ เพื่อมุ่งสู่การเติบโตสีเขียว” ดึงผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเกาหลีใต้มาให้ข้อมูล
วันนี้ (13 พ.ย.) นายถาวร จิรพัฒนโสภณ รองนายกเทศมนตรีนครภูเก็ต กล่าวภายหลังประชุมเชิงปฏิบัติการยุทธศาสตร์เพื่อก้าวสู่เมืองคาร์บอนต่ำ เพื่อมุ่งสู่การเติบโตสีเขียว ว่า เมื่อเวลา 13.00 น. ของวันที่ 12 พ.ย.56 ที่ผ่านมา ที่ชั้น 3 ห้องประชุมสภาเทศบาลนครภูเก็ต ทางเทศบาลนครภูเก็ต ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “ยุทธศาสตร์เพื่อก้าวสู่เมืองคาร์บอนต่ำ เพื่อมุ่งสู่การเติบโตสีเขียว” โดยมี ดร.ได-ยวน-ชอง และนายไปยุน คิม จากมหาวิทยาลัยเจจู ประเทศเกาหลีใต้ มาเป็นวิทยากร ซึ่งมีหัวหน้าส่วนราชการ นักศึกษาเข้าร่วม
นายถาวร กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อน เป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคม ทั้งในและต่างประเทศให้ความสำคัญ และตื่นตัวเป็นอย่างมาก ซึ่งที่ผ่านมา ได้มีการประชุม และพยายามแสวงหาแนวทางความร่วมมือในการแก้ไข และบรรเทาปัญหาดังกล่าวจากภาคีหลายๆ ภาคี แต่ด้วยปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อนนั้น สาเหตุหลักเกิดมาจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีการใช้พลังงานทั้งโดยทางตรง และทางอ้อม เพื่อการบริโภค และผลิตสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนทุกคน
ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นก็ได้สะท้อนกลับมายังคนในเมือง ซึ่งทุกๆ ประเทศก็จะได้รับผลกระทบดังกล่าวเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล รวมทั้งภัยธรรมชาติ ทั้งน้ำท่วม ฝนแล้ง หรือพายุ ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของผู้คนต่างๆ
นายถาวร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้แล้วการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และภาวะโลกร้อนยังส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตอีกด้วย ทั้งในเรื่องของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป เพราะหากปัญหาต่างๆ เหล่านั้นเกิดขึ้น นักท่องเที่ยวอาจจะเปลี่ยนจุดหมายปลายทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่อื่นได้ ซึ่งหากการท่องเที่ยวของภูเก็ตได้รับผลกระทบ ย่อมเกิดปัญหาต่อคนภูเก็ตอย่างแน่นอน เพราะรายได้หลักของจังหวัดภูเก็ตมาจากการท่องเที่ยวเป็นหลัก
ดังนั้น หากเรานิ่งเฉย ไม่ดำเนินการหรือเตรียมมาตรการใดๆ เพื่อรับมือ หรือปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว ผลกระทบอาจทวีความรุนแรง และก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวงได้ การเตรียมการเพื่อป้องกัน หรือพร้อมรับมือต่อผลกระทบต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้าจะช่วยให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด
วันนี้ (13 พ.ย.) นายถาวร จิรพัฒนโสภณ รองนายกเทศมนตรีนครภูเก็ต กล่าวภายหลังประชุมเชิงปฏิบัติการยุทธศาสตร์เพื่อก้าวสู่เมืองคาร์บอนต่ำ เพื่อมุ่งสู่การเติบโตสีเขียว ว่า เมื่อเวลา 13.00 น. ของวันที่ 12 พ.ย.56 ที่ผ่านมา ที่ชั้น 3 ห้องประชุมสภาเทศบาลนครภูเก็ต ทางเทศบาลนครภูเก็ต ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “ยุทธศาสตร์เพื่อก้าวสู่เมืองคาร์บอนต่ำ เพื่อมุ่งสู่การเติบโตสีเขียว” โดยมี ดร.ได-ยวน-ชอง และนายไปยุน คิม จากมหาวิทยาลัยเจจู ประเทศเกาหลีใต้ มาเป็นวิทยากร ซึ่งมีหัวหน้าส่วนราชการ นักศึกษาเข้าร่วม
นายถาวร กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อน เป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคม ทั้งในและต่างประเทศให้ความสำคัญ และตื่นตัวเป็นอย่างมาก ซึ่งที่ผ่านมา ได้มีการประชุม และพยายามแสวงหาแนวทางความร่วมมือในการแก้ไข และบรรเทาปัญหาดังกล่าวจากภาคีหลายๆ ภาคี แต่ด้วยปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อนนั้น สาเหตุหลักเกิดมาจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีการใช้พลังงานทั้งโดยทางตรง และทางอ้อม เพื่อการบริโภค และผลิตสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนทุกคน
ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นก็ได้สะท้อนกลับมายังคนในเมือง ซึ่งทุกๆ ประเทศก็จะได้รับผลกระทบดังกล่าวเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล รวมทั้งภัยธรรมชาติ ทั้งน้ำท่วม ฝนแล้ง หรือพายุ ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของผู้คนต่างๆ
นายถาวร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้แล้วการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และภาวะโลกร้อนยังส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตอีกด้วย ทั้งในเรื่องของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป เพราะหากปัญหาต่างๆ เหล่านั้นเกิดขึ้น นักท่องเที่ยวอาจจะเปลี่ยนจุดหมายปลายทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่อื่นได้ ซึ่งหากการท่องเที่ยวของภูเก็ตได้รับผลกระทบ ย่อมเกิดปัญหาต่อคนภูเก็ตอย่างแน่นอน เพราะรายได้หลักของจังหวัดภูเก็ตมาจากการท่องเที่ยวเป็นหลัก
ดังนั้น หากเรานิ่งเฉย ไม่ดำเนินการหรือเตรียมมาตรการใดๆ เพื่อรับมือ หรือปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว ผลกระทบอาจทวีความรุนแรง และก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวงได้ การเตรียมการเพื่อป้องกัน หรือพร้อมรับมือต่อผลกระทบต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้าจะช่วยให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด