ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จัดงานประชุมวิชาการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 3 ดึงนักวิชาการไทย-จีน ร่วมมือกันวิจัยรับมือลมมรสุม และโลกร้อน

เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (28 ต.ค.) ที่โรงแรมกะตะธานี ภูเก็ต บีช รีสอร์ท จ.ภูเก็ต ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการร่วมไทย-จีน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 3 (The Third China - Thailand Joint Seminar on Climate Change)” ซึ่งทาง สกว. ร่วมกับ National Natural Science Foundation of China (NSFC) และศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน จ.ภูเก็ต (PMBC) จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 28-29 ต.ค.56 ณ โรงแรมกะตะธานี ภูเก็ต บีช รีสอร์ท จ.ภูเก็ต มีนายอุกกฤต สตภูมินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน Dr.Wei LI, ผู้จัดการโครงการ, National Natural Science Foundation of China (NSFC) จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ตลอดจนนักวิชาการจากประเทศไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน และผู้เกี่ยวข้องร่วมประชุม

ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. กล่าวว่า การจัดประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้งานวิชาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระหว่างนักวิชาการไทย และนักวิชาการสาธารณรัฐประชาชนจีน ตลอดจนร่วมระดมความคิดเห็นความสนใจทางวิชาการและความเชี่ยวชาญที่เป็นประเด็นวิจัยที่เป็นความสนใจร่วมกัน โดยในงานประชุมประกอบด้วยการบรรยายพิเศษในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมการนำเสนอผลงานวิจัยของนักวิชาการไทย และนักวิชาการจีน
ทั้งนี้ ในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนจำเป็นต้องมีความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทย และจีนอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน จึงสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ซึ่งกันและกันได้ โดยที่ผ่านมา ประเทศจีนได้ทำการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวไปจำนวนมาก ซึ่งประเทศไทยเองสามารถเรียนรู้จากจีนได้ เพราะภูมิอากาศบางส่วนมีความคล้ายคลึงกัน

“การจัดงานประชุมดังกล่าว จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 แล้ว โดยกำหนดจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี โดยหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการ และประเด็นวิจัยที่สนใจร่วมกันระหว่างนักวิชาการไทย และนักวิชาการจีนในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเป้าประสงค์ของการจัดประชุมในครั้งนี้ มุ่งหวังให้เกิดความร่วมมือกันเพื่อให้ทราบ และหาแนวทางการรับมือการเกิดลมมรสุมในเขตเอเชีย และการคาดการณ์การเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชีย” ศ.นพ.สุทธิพันธ์ กล่าวในที่สุด
เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (28 ต.ค.) ที่โรงแรมกะตะธานี ภูเก็ต บีช รีสอร์ท จ.ภูเก็ต ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการร่วมไทย-จีน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 3 (The Third China - Thailand Joint Seminar on Climate Change)” ซึ่งทาง สกว. ร่วมกับ National Natural Science Foundation of China (NSFC) และศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน จ.ภูเก็ต (PMBC) จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 28-29 ต.ค.56 ณ โรงแรมกะตะธานี ภูเก็ต บีช รีสอร์ท จ.ภูเก็ต มีนายอุกกฤต สตภูมินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน Dr.Wei LI, ผู้จัดการโครงการ, National Natural Science Foundation of China (NSFC) จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ตลอดจนนักวิชาการจากประเทศไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน และผู้เกี่ยวข้องร่วมประชุม
ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. กล่าวว่า การจัดประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้งานวิชาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระหว่างนักวิชาการไทย และนักวิชาการสาธารณรัฐประชาชนจีน ตลอดจนร่วมระดมความคิดเห็นความสนใจทางวิชาการและความเชี่ยวชาญที่เป็นประเด็นวิจัยที่เป็นความสนใจร่วมกัน โดยในงานประชุมประกอบด้วยการบรรยายพิเศษในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมการนำเสนอผลงานวิจัยของนักวิชาการไทย และนักวิชาการจีน
ทั้งนี้ ในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนจำเป็นต้องมีความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทย และจีนอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน จึงสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ซึ่งกันและกันได้ โดยที่ผ่านมา ประเทศจีนได้ทำการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวไปจำนวนมาก ซึ่งประเทศไทยเองสามารถเรียนรู้จากจีนได้ เพราะภูมิอากาศบางส่วนมีความคล้ายคลึงกัน
“การจัดงานประชุมดังกล่าว จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 แล้ว โดยกำหนดจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี โดยหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการ และประเด็นวิจัยที่สนใจร่วมกันระหว่างนักวิชาการไทย และนักวิชาการจีนในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเป้าประสงค์ของการจัดประชุมในครั้งนี้ มุ่งหวังให้เกิดความร่วมมือกันเพื่อให้ทราบ และหาแนวทางการรับมือการเกิดลมมรสุมในเขตเอเชีย และการคาดการณ์การเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชีย” ศ.นพ.สุทธิพันธ์ กล่าวในที่สุด