เลขาธิการ กกอ.ค้านตั้งกระทรวงอุดมฯ ชงแก้กฎหมายแยกเป็นทบวงอิสระ ภายใต้กำกับ ศธ.แทน
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวถึงกรณีที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีข้อเสนอจัดทำโครงการจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษาและวิจัย และอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดเนื่องจากเห็นว่าการอยู่รวมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทำให้เกิดปัญหาในการทำงานที่ไม่คล่องตัว ว่า ตนต้องขอเข้าไปศึกษารายละเอียดต่างๆ ก่อน แต่เท่าที่ดูขณะนี้มหาวิทยาลัยเองมีอิสระในการทำงานอยู่แล้ว โดยตอนนี้ยังมองไม่เห็นงานอะไรของมหาวิทยาลัยที่จะต้องเสนอผ่าน ศธ.ยกเว้นเรื่องงบประมาณ ซึ่งต่อไปถ้าร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา มีผลบังคับใช้แล้ว ก็จะเป็นกลไกที่หนึ่งที่เข้ามาช่วยจัดสรรงบประมาณให้สอดรับกับความต้องการของมหาวิทยาลัย และทำให้คล่องตัวมากขึ้น ดังนั้นก็อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องพูดเรื่องการแยกกระทรวง ยกเว้นแต่จะมองในประเด็นที่มหาวิทยาลัยอยากนำเรื่องงานวิจัยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ก็ต้องมองภาพกว้างไปยังหน่วยงานอื่นๆ อาทิ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นต้น ซึ่งจะเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันยังมีอีกหลายโมเดลที่น่าสนใจสำคัญคือจะต้องศึกษาเรื่องดังกล่าวอย่างรอบคอบ เพราะหากแยกออกไปอาจจะมีปัญหาได้
“จริงๆ อาจจะต้องไปดูแนวทางอื่นๆ เพิ่มเติม โดยแนวทางที่น่าสนใจคือการเปลี่ยนสถานะเป็น “ทบวงอิสระ” แต่ยังอยู่ในสังกัด ศธ.ซึ่งในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินกำหนดให้มีทบวงใต้กระทรวงได้ โดยมีปลัดทบวงฯ เป็นผู้กำกับดูแล ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างที่ผ่านมาเป็นความพยายามแก้ปัญหา เพราะงานในระดับอุดมศึกษาไม่ควรจะเป็นระบบที่มีปลัดกระทรวงเป็นผู้สั่งการลงมาจากข้างบน เหมือนสมัยที่ยังเป็นทบวงมหาวิทยาลัยที่มี รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย สั่งการลงมาที่ปลัดทบวง ลงไปที่กรมต่างๆ ซึ่งก็คือมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่หลังจากมีการปรับโครงสร้าง และมีการปฏิรูปการศึกษา เป้าหมายหนึ่งคือต้องการสร้างให้องค์กรมีส่วนร่วม จึงปรับให้มีการทำงานในรูปแบบคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ขึ้น โดยมีเลขาธิการ กกอ.อยู่ในการกำกับดูแลเป็นการกระจายอำนาจให้ กกอ.เป็นผู้กำหนดนโยบาย และเลขาธิการ กกอ.เป็นคนรับไปดำเนินการบริหารจัดการ เป็นระบบที่กระจายอำนาจจาก รมว.ศึกษาธิการ ลงมานั่นเอง แต่หากจะต้องมีการปรับเปลี่ยนจริงๆ การเปลี่ยนสถานะเป็นทบวงที่อยู่ภายใต้ ศธ.ก็ถือเป็นอีกแนวทางที่น่าสนใจ” นายทศพร กล่าว
เลขาธิการ กกอ.กล่าวต่อว่า สำหรับข้อเสียหากจะต้องแยกออกมาเป็นกระทรวงอุดมศึกษาและวิจัย จะทำให้ระบบการศึกษาขาดช่วง ทั้งที่จริงๆ แล้วจะต้องสอดรับกันทั้งระดับประถมศึกษา และอุดมศึกษา รวมถึงระดับอาชีวศึกษาด้วย แต่ถ้ารวมอยู่ในกระทรวงเดียวกัน ข้อดีก็คือจะมีการบูรณาการการทำงานร่วมกัน มองภาพกว้างได้ครบวงจร เป็นผลดีของการบริหารการศึกษาของประเทศ แต่ถ้าจุดไหนที่มีปัญหาในเรื่องการบริหารงาน ก็อาจจะต้องแก้ พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีอิสระในการบริหารงานมากขึ้น
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวถึงกรณีที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีข้อเสนอจัดทำโครงการจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษาและวิจัย และอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดเนื่องจากเห็นว่าการอยู่รวมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทำให้เกิดปัญหาในการทำงานที่ไม่คล่องตัว ว่า ตนต้องขอเข้าไปศึกษารายละเอียดต่างๆ ก่อน แต่เท่าที่ดูขณะนี้มหาวิทยาลัยเองมีอิสระในการทำงานอยู่แล้ว โดยตอนนี้ยังมองไม่เห็นงานอะไรของมหาวิทยาลัยที่จะต้องเสนอผ่าน ศธ.ยกเว้นเรื่องงบประมาณ ซึ่งต่อไปถ้าร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา มีผลบังคับใช้แล้ว ก็จะเป็นกลไกที่หนึ่งที่เข้ามาช่วยจัดสรรงบประมาณให้สอดรับกับความต้องการของมหาวิทยาลัย และทำให้คล่องตัวมากขึ้น ดังนั้นก็อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องพูดเรื่องการแยกกระทรวง ยกเว้นแต่จะมองในประเด็นที่มหาวิทยาลัยอยากนำเรื่องงานวิจัยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ก็ต้องมองภาพกว้างไปยังหน่วยงานอื่นๆ อาทิ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นต้น ซึ่งจะเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันยังมีอีกหลายโมเดลที่น่าสนใจสำคัญคือจะต้องศึกษาเรื่องดังกล่าวอย่างรอบคอบ เพราะหากแยกออกไปอาจจะมีปัญหาได้
“จริงๆ อาจจะต้องไปดูแนวทางอื่นๆ เพิ่มเติม โดยแนวทางที่น่าสนใจคือการเปลี่ยนสถานะเป็น “ทบวงอิสระ” แต่ยังอยู่ในสังกัด ศธ.ซึ่งในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินกำหนดให้มีทบวงใต้กระทรวงได้ โดยมีปลัดทบวงฯ เป็นผู้กำกับดูแล ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างที่ผ่านมาเป็นความพยายามแก้ปัญหา เพราะงานในระดับอุดมศึกษาไม่ควรจะเป็นระบบที่มีปลัดกระทรวงเป็นผู้สั่งการลงมาจากข้างบน เหมือนสมัยที่ยังเป็นทบวงมหาวิทยาลัยที่มี รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย สั่งการลงมาที่ปลัดทบวง ลงไปที่กรมต่างๆ ซึ่งก็คือมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่หลังจากมีการปรับโครงสร้าง และมีการปฏิรูปการศึกษา เป้าหมายหนึ่งคือต้องการสร้างให้องค์กรมีส่วนร่วม จึงปรับให้มีการทำงานในรูปแบบคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ขึ้น โดยมีเลขาธิการ กกอ.อยู่ในการกำกับดูแลเป็นการกระจายอำนาจให้ กกอ.เป็นผู้กำหนดนโยบาย และเลขาธิการ กกอ.เป็นคนรับไปดำเนินการบริหารจัดการ เป็นระบบที่กระจายอำนาจจาก รมว.ศึกษาธิการ ลงมานั่นเอง แต่หากจะต้องมีการปรับเปลี่ยนจริงๆ การเปลี่ยนสถานะเป็นทบวงที่อยู่ภายใต้ ศธ.ก็ถือเป็นอีกแนวทางที่น่าสนใจ” นายทศพร กล่าว
เลขาธิการ กกอ.กล่าวต่อว่า สำหรับข้อเสียหากจะต้องแยกออกมาเป็นกระทรวงอุดมศึกษาและวิจัย จะทำให้ระบบการศึกษาขาดช่วง ทั้งที่จริงๆ แล้วจะต้องสอดรับกันทั้งระดับประถมศึกษา และอุดมศึกษา รวมถึงระดับอาชีวศึกษาด้วย แต่ถ้ารวมอยู่ในกระทรวงเดียวกัน ข้อดีก็คือจะมีการบูรณาการการทำงานร่วมกัน มองภาพกว้างได้ครบวงจร เป็นผลดีของการบริหารการศึกษาของประเทศ แต่ถ้าจุดไหนที่มีปัญหาในเรื่องการบริหารงาน ก็อาจจะต้องแก้ พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีอิสระในการบริหารงานมากขึ้น