นายกฯ สั่ง ศธ.ตั้งคณะทำงาน 3 ชุด ทำ Master Plan ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ขณะที่ “จาตุรนต์” เสนอประกาศการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ และเดินหน้าปฏิรูปหลักสูตรการสอนโดยใช้ไอซีทีอย่างเต็มระบบภายในปี 2020
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมปฏิรูปการศึกษา ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานโดยมีผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เข้าร่วมเมื่อเร็วๆ นี้ ว่า สศช.ได้นำเสนอทิศทางการพัฒนาการศึกษา การผลิตและพัฒนากำลัง ซึ่งในอนาคตโครงสร้างประชากรไทยจะมีความเปลี่ยนแปลง อัตราการเกิดลดลงจาก 1.62% พ.ศ.2553 เหลือ 1.30% พ.ศ.2583 มีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น แนวโน้มที่ประชากรวัยแรงงานลดลง ส่งผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายทางการศึกษา โดย สศช.ได้เสนอทิศทางการพัฒนาการศึกษา การผลิต และพัฒนากำลังคนในอนาคตเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะสั้น ให้มีการสำรวจภาพรวมความต้องการกำลังคน จัดทำข้อมูลความต้องการกำลังคนในระยะเร่งด่วน โดยใช้กรอบการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และทบทวนกฎหมายด้านแรงงานและระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ส่วนระยะยาว ให้ดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ
ในส่วนของ ศธ.ได้ประกาศให้ปี 2556 เป็นปีแห่งการรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษามีเป้าหมายเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ มีการคิดวิเคราะห์ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และวางเป้าหมายเพิ่มอันดับผลการสอบตามโครงการนานาชาติของนักเรียนระดับการ ศึกษาภาคบังคับหรือ Program for International Student Assessment (PISA) ของไทยให้ดีขึ้น สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อสามัญเพิ่มขั้นเป็น 50:50 และพัฒนามหาวิทยาลัยไทยติดอันดับโลกมากขึ้น กระจายโอกาสและเพิ่มความสามารถทางการศึกษามากขึ้น โดยเน้นการส่งเสริมภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วม
“ผมได้เสนอนโยบายต่อที่ประชุม โดยขอให้ประกาศการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ เดินหน้าปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอนโดยใช้ ICT เพื่อการศึกษาเต็มระบบภายในปี 2020 ขณะเดียวกันจะต้องปฏิรูปอาชีวศึกษา นอกจากนี้ยังได้นำเสนอเรื่องการพัฒนาการศึกษาทางเลือกต่อที่ประชุม รวมถึงการจัดการศึกษาแบบบ้านเรียน หรือโฮมสคูล ศธ.จะเสนอของบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายรายหัวให้กับโฮมสคูล แต่จะต้องเป็นโฮมสคูลที่สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ผู้เรียนสามารถสอบผ่านตามเกณฑ์ของเขตพื้นที่ ส่วนสถานประกอบการนั้น ศธ.เสนอได้จัดตั้งศูนย์การเรียนและจะ สนับสนุนค่าใช้จ่ายรายหัวรวมถึง เทียบโอนผลการเรียนด้วย” นายจาตุรนต์ กล่าว
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ขอให้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา 3 ชุด เพื่อจัดทำแผนงานให้ชัดเจน เป็นบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ และจัดทำเป็น Master Plan ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบให้เชื่อมโยงกัน แบ่งเป็นระยะสั้นตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานและบุคลากร ระยะกลาง คณะทำงานบูรณาการสร้างแรงจูงใจในการสนับสนุนทุนการศึกษาจากภาครัฐ โดยปรับแก้ไขกฎเกณฑ์การให้ทุน ซึ่งอาจเพิ่มทุนการศึกษาในสายอาชีวศึกษาให้มากขึ้น และ ระยะยาว คณะทำงานปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยมี ศธ.เป็นเจ้าภาพหลัก
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมปฏิรูปการศึกษา ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานโดยมีผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เข้าร่วมเมื่อเร็วๆ นี้ ว่า สศช.ได้นำเสนอทิศทางการพัฒนาการศึกษา การผลิตและพัฒนากำลัง ซึ่งในอนาคตโครงสร้างประชากรไทยจะมีความเปลี่ยนแปลง อัตราการเกิดลดลงจาก 1.62% พ.ศ.2553 เหลือ 1.30% พ.ศ.2583 มีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น แนวโน้มที่ประชากรวัยแรงงานลดลง ส่งผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายทางการศึกษา โดย สศช.ได้เสนอทิศทางการพัฒนาการศึกษา การผลิต และพัฒนากำลังคนในอนาคตเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะสั้น ให้มีการสำรวจภาพรวมความต้องการกำลังคน จัดทำข้อมูลความต้องการกำลังคนในระยะเร่งด่วน โดยใช้กรอบการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และทบทวนกฎหมายด้านแรงงานและระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ส่วนระยะยาว ให้ดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ
ในส่วนของ ศธ.ได้ประกาศให้ปี 2556 เป็นปีแห่งการรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษามีเป้าหมายเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ มีการคิดวิเคราะห์ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และวางเป้าหมายเพิ่มอันดับผลการสอบตามโครงการนานาชาติของนักเรียนระดับการ ศึกษาภาคบังคับหรือ Program for International Student Assessment (PISA) ของไทยให้ดีขึ้น สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อสามัญเพิ่มขั้นเป็น 50:50 และพัฒนามหาวิทยาลัยไทยติดอันดับโลกมากขึ้น กระจายโอกาสและเพิ่มความสามารถทางการศึกษามากขึ้น โดยเน้นการส่งเสริมภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วม
“ผมได้เสนอนโยบายต่อที่ประชุม โดยขอให้ประกาศการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ เดินหน้าปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอนโดยใช้ ICT เพื่อการศึกษาเต็มระบบภายในปี 2020 ขณะเดียวกันจะต้องปฏิรูปอาชีวศึกษา นอกจากนี้ยังได้นำเสนอเรื่องการพัฒนาการศึกษาทางเลือกต่อที่ประชุม รวมถึงการจัดการศึกษาแบบบ้านเรียน หรือโฮมสคูล ศธ.จะเสนอของบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายรายหัวให้กับโฮมสคูล แต่จะต้องเป็นโฮมสคูลที่สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ผู้เรียนสามารถสอบผ่านตามเกณฑ์ของเขตพื้นที่ ส่วนสถานประกอบการนั้น ศธ.เสนอได้จัดตั้งศูนย์การเรียนและจะ สนับสนุนค่าใช้จ่ายรายหัวรวมถึง เทียบโอนผลการเรียนด้วย” นายจาตุรนต์ กล่าว
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ขอให้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา 3 ชุด เพื่อจัดทำแผนงานให้ชัดเจน เป็นบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ และจัดทำเป็น Master Plan ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบให้เชื่อมโยงกัน แบ่งเป็นระยะสั้นตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานและบุคลากร ระยะกลาง คณะทำงานบูรณาการสร้างแรงจูงใจในการสนับสนุนทุนการศึกษาจากภาครัฐ โดยปรับแก้ไขกฎเกณฑ์การให้ทุน ซึ่งอาจเพิ่มทุนการศึกษาในสายอาชีวศึกษาให้มากขึ้น และ ระยะยาว คณะทำงานปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยมี ศธ.เป็นเจ้าภาพหลัก