สพฐ.จัดงานอำลาผู้เกษียณอายุ “ชินภัทร-เบญจลักษณ์” พร้อมข้าราชการ เจ้าหน้าที่ “ชินภัทร” ย้ำ สพฐ.เป็นหน่วยสำคัญระบุ 4 ปี ผ่านมาประสบความสำเร็จ หลายเรื่องทั้ง ร.ร.ดีประจำตำบล ร.ร.มาตรฐานสากล รับยังห่วงปัญหาแท็บเล็ตที่ล่าช้าต้องเร่งศึกษาจุดอ่อน 2 ปีที่ผ่านมา แก้ไขเพื่อปีถัดไป มั่นใจเลขาธิการ กพฐ.คนใหม่เก่งและรอบรู้งานการศึกษาโดยรวม
![นายชินภัทร ภูมิรัตน](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/556000012903201.JPEG)
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วย นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการ กพฐ.ได้เข้าร่วมอำลาตำแหน่งในโอกาสเกษียณอายุราชการ พร้อมมอบโล่ให้กับข้าราชการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่เกษียณอายุราชการ พร้อมกัน 34 ราย โดย นายชินภัทร กล่าวว่า สพฐ.นั้นมีความสำคัญมาก เป็นตัวชี้ขาดในเรื่องการพัฒนาประเทศ เพราะเด็กเยาวชนไทยทุกคนต้องผ่านการศึกษาระดับนี้ เพราะฉะนั้น คุณภาพของเด็กและเยาวชนเป็นอย่างไร ก็หมายถึงอนาคตของประเทศชาติ ตลอดระยะเวลา 4 ปี ในการทำหน้าที่ เลขาธิการ กพฐ.ตนได้พยายามใช้ความคิดและองค์ความรู้ต่างๆ ที่มี เพื่อให้งานต่างๆ เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ แต่ความคิดของผู้บริหารอย่างเดียวคงไม่ใช่จุดตัดสิน แต่การถ่ายทอดความคิดสู่การปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ใน 4 ปีที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จหลายเรื่อง ไม่ใช่มีแต่ความล้มเหลวผิดพลาด โดยเรื่องที่ประสบความสำเร็จ เช่น โรงเรียนมาตรฐานสากล โรงเรียนดีประจำตำบล การบริหารโรงเรียนรูปแบบนิติบุคคล และการพัฒนาไอซีทีเพื่อการเรียนการสอนก้าวหน้าไปมาก ซึ่งจะทำให้เราสามารถปฏิรูปการเรียนเปลี่ยนการสอนได้ก้าวหน้าต่อไป ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำการวิเคราะห์และนำเสนอไปยัง รมว.ศึกษาธิการ เป็นลำดับ และเชื่อว่าจากนี้ ข้าราชการ สพฐ.ทุกท่านที่ยังปฏิบัติหน้าที่จะสานต่ออย่างจริงจัง โดยเฉพาะเรื่องการรณรงค์การอ่านออก เขียนได้ และสื่อสารรู้เรื่อง รวมถึงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อเตรียมการทดสอบ PISA ในอีก 2 ปีข้างหน้า
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า สำหรับเลขาธิการ กพฐ.คนใหม่นั้นมีความมุ่งมั่น รอบรู้งานการศึกษาในภาพรวมอยู่แล้ว และได้เข้าร่วมประชุมองค์กรหลักมาตลอด ก็คงได้รับทราบแนวนโยบายของ รมว.ศึกษาธิการ และด้วยประสบการณ์ในการบริหารงานบุคคลของท่านก็คงจะมีวิธีการขับเคลื่อนเพื่อให้มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รมว.ศึกษาธิการ ก็ได้มอบนโยบายให้เกิดความรับผิดชอบในการประเมินความดีความชอบและวิทยฐานะนั้นจะต้องตอบคำถามในเรื่องประสิทธิภาพให้ชัดเจนด้วย ก็คิดว่าในประเด็นนี้ เลขาธิการ กพฐ.คนใหม่ก็คงจะรับมาวางระบบงานต่อไป
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า ส่วนงานที่ยังเป็นห่วง ก็มีหลายเรื่อง เพราะงานบางเรื่องติดขัดกับระเบียบ เนื่องจากเป็นงานใหม่ เช่น เรื่องแท็บเล็ต ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับปรุงวิธีการ ซึ่ง รมว.ศธ.ก็เคยบอกให้ สพฐ.ประมวลประสบการณ์ของปีที่ 1 และปีที่ 2 เพื่อให้รู้ว่าจุดอ่อนของกระบวนการคืออะไร เพราะเจตนารมณ์ก็เพื่อต้องการใช้เทคโนโลยีไปพัฒนาการเรียนการสอน แต่เรากลับต้องมาติดขั้นกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างอยู่นาน เนื่องจากระเบียบต่างๆ และการตรวจสอบมีการวางระบบไว้ ซึ่งเราจะต้องผ่านทุกขั้นตอนตามระเบียบและระบบการตรวจสอบ แต่ในปีต่อๆ ไป หากเรามีการสรุปบทเรียนและทำให้มีความกระชับมากขึ้น ก็จะทำให้การจัดสรรเครื่องแท็บเล็ตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และประโยชน์จากการใช้ก็จะคุ้มค่ามากกว่าปีที่ผ่านมา
“วันนี้ถือว่าเป็นวันที่มีความรู้สึกปะปนกันทั้งระหว่างสิ่งที่เรารอคอย กับสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น และเป็นวันที่รวมกำลังใจของข้าราชการทุกฝ่ายมาให้กำลังใจกับผู้ที่กำลังจะพ้นจากหน้าที่ราชการไปเป็นบทสรุปฉากหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ส่วนที่ว่าหลังจากเกษียณแล้วจะทำอะไรนั้น ในช่วงแรกก็จะขอไปสูดอากาศลึกๆ ให้เต็มปอดก่อน แต่จะกลับมามีบทบาทหรือทำหน้าที่ที่ ศธ.หรือไม่ คงต้องขึ้นอยู่กับ รมว.ศึกษาธิการ ว่าท่านอยากให้ผมกลับมาช่วยทำเรื่องอะไร ซึ่งก่อนหน้านั้น นายจาตุรนต์ ได้เคยพูดไว้เมื่อครั้งมามอบนโยบายที่ สพฐ.ว่าประสบการณ์ความรู้ผมน่าจะเป็นประโยชน์กับกระทรวง” นายชินภัทร กล่าว
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วย นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการ กพฐ.ได้เข้าร่วมอำลาตำแหน่งในโอกาสเกษียณอายุราชการ พร้อมมอบโล่ให้กับข้าราชการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่เกษียณอายุราชการ พร้อมกัน 34 ราย โดย นายชินภัทร กล่าวว่า สพฐ.นั้นมีความสำคัญมาก เป็นตัวชี้ขาดในเรื่องการพัฒนาประเทศ เพราะเด็กเยาวชนไทยทุกคนต้องผ่านการศึกษาระดับนี้ เพราะฉะนั้น คุณภาพของเด็กและเยาวชนเป็นอย่างไร ก็หมายถึงอนาคตของประเทศชาติ ตลอดระยะเวลา 4 ปี ในการทำหน้าที่ เลขาธิการ กพฐ.ตนได้พยายามใช้ความคิดและองค์ความรู้ต่างๆ ที่มี เพื่อให้งานต่างๆ เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ แต่ความคิดของผู้บริหารอย่างเดียวคงไม่ใช่จุดตัดสิน แต่การถ่ายทอดความคิดสู่การปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ใน 4 ปีที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จหลายเรื่อง ไม่ใช่มีแต่ความล้มเหลวผิดพลาด โดยเรื่องที่ประสบความสำเร็จ เช่น โรงเรียนมาตรฐานสากล โรงเรียนดีประจำตำบล การบริหารโรงเรียนรูปแบบนิติบุคคล และการพัฒนาไอซีทีเพื่อการเรียนการสอนก้าวหน้าไปมาก ซึ่งจะทำให้เราสามารถปฏิรูปการเรียนเปลี่ยนการสอนได้ก้าวหน้าต่อไป ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำการวิเคราะห์และนำเสนอไปยัง รมว.ศึกษาธิการ เป็นลำดับ และเชื่อว่าจากนี้ ข้าราชการ สพฐ.ทุกท่านที่ยังปฏิบัติหน้าที่จะสานต่ออย่างจริงจัง โดยเฉพาะเรื่องการรณรงค์การอ่านออก เขียนได้ และสื่อสารรู้เรื่อง รวมถึงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อเตรียมการทดสอบ PISA ในอีก 2 ปีข้างหน้า
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า สำหรับเลขาธิการ กพฐ.คนใหม่นั้นมีความมุ่งมั่น รอบรู้งานการศึกษาในภาพรวมอยู่แล้ว และได้เข้าร่วมประชุมองค์กรหลักมาตลอด ก็คงได้รับทราบแนวนโยบายของ รมว.ศึกษาธิการ และด้วยประสบการณ์ในการบริหารงานบุคคลของท่านก็คงจะมีวิธีการขับเคลื่อนเพื่อให้มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รมว.ศึกษาธิการ ก็ได้มอบนโยบายให้เกิดความรับผิดชอบในการประเมินความดีความชอบและวิทยฐานะนั้นจะต้องตอบคำถามในเรื่องประสิทธิภาพให้ชัดเจนด้วย ก็คิดว่าในประเด็นนี้ เลขาธิการ กพฐ.คนใหม่ก็คงจะรับมาวางระบบงานต่อไป
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า ส่วนงานที่ยังเป็นห่วง ก็มีหลายเรื่อง เพราะงานบางเรื่องติดขัดกับระเบียบ เนื่องจากเป็นงานใหม่ เช่น เรื่องแท็บเล็ต ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับปรุงวิธีการ ซึ่ง รมว.ศธ.ก็เคยบอกให้ สพฐ.ประมวลประสบการณ์ของปีที่ 1 และปีที่ 2 เพื่อให้รู้ว่าจุดอ่อนของกระบวนการคืออะไร เพราะเจตนารมณ์ก็เพื่อต้องการใช้เทคโนโลยีไปพัฒนาการเรียนการสอน แต่เรากลับต้องมาติดขั้นกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างอยู่นาน เนื่องจากระเบียบต่างๆ และการตรวจสอบมีการวางระบบไว้ ซึ่งเราจะต้องผ่านทุกขั้นตอนตามระเบียบและระบบการตรวจสอบ แต่ในปีต่อๆ ไป หากเรามีการสรุปบทเรียนและทำให้มีความกระชับมากขึ้น ก็จะทำให้การจัดสรรเครื่องแท็บเล็ตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และประโยชน์จากการใช้ก็จะคุ้มค่ามากกว่าปีที่ผ่านมา
“วันนี้ถือว่าเป็นวันที่มีความรู้สึกปะปนกันทั้งระหว่างสิ่งที่เรารอคอย กับสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น และเป็นวันที่รวมกำลังใจของข้าราชการทุกฝ่ายมาให้กำลังใจกับผู้ที่กำลังจะพ้นจากหน้าที่ราชการไปเป็นบทสรุปฉากหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ส่วนที่ว่าหลังจากเกษียณแล้วจะทำอะไรนั้น ในช่วงแรกก็จะขอไปสูดอากาศลึกๆ ให้เต็มปอดก่อน แต่จะกลับมามีบทบาทหรือทำหน้าที่ที่ ศธ.หรือไม่ คงต้องขึ้นอยู่กับ รมว.ศึกษาธิการ ว่าท่านอยากให้ผมกลับมาช่วยทำเรื่องอะไร ซึ่งก่อนหน้านั้น นายจาตุรนต์ ได้เคยพูดไว้เมื่อครั้งมามอบนโยบายที่ สพฐ.ว่าประสบการณ์ความรู้ผมน่าจะเป็นประโยชน์กับกระทรวง” นายชินภัทร กล่าว