ศูนย์ข่าวภูเก็ต - “สมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ลงพื้นที่ท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ต พร้อมแก้ไขปัญหากรณีการสร้างอาคารเทียบเรือแห่งใหม่ และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และแก้ไขความขัดแย้งในพื้นที่เทียบจอดเรือโดยสารกับเรือขนส่งสินค้า
เมื่อเวลา 11.30 น. วันนี้ (4 พ.ค.) ที่ห้องประชุมอาคารท่าเรือน้ำลึก ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายขรจ วีระใจ รองอธิบดีกรมการท่องเที่ยว พร้อมคณะ เข้าร่วมประชุมรับฟังบรรยายสรุปกรณีการก่อสร้างโครงการขยายท่าเทียบเรือภูเก็ต จาก 360 เมตร เป็น 420 เมตร เพื่อให้สามารถจอดเรือขนาดใหญ่พร้อมกันได้ 2 ลำ รวมทั้งสร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร ลานจอดรถ และถนน เพื่อเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก โดยมีนายโสภณ เมืองประทับ ผู้จัดการท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ต นายวิชัย คำคง ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 สาขาภูเก็ต และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
นายโสภณ เมืองประทับ ผู้จัดการท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ต กล่าวว่า ปัจจุบันท่าเทียบเรือน้ำลึกจังหวัดภูเก็ต มีเนื้อที่ประมาณ 105 ไร่ สามารถรองรับเรือสินค้าได้ 360,000 ตันต่อปี และผู้โดยสาร 300,000 คนต่อปี โดยในปีที่ผ่านมา มีเรือโดยสารขนาดใหญ่มาใช้บริการท่าเทียบเรือ จำนวน 84 เที่ยวต่อปี ส่วนใหญ่จะมาแบบวันเดียว การจอดเทียบท่าแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง ขณะที่เรือขนส่งสินค้า เข้ามาใช้บริการประมาณ 43 เที่ยวต่อปี ใช้เวลาเทียบท่าแต่ละครั้งจำนวน 7-8 วัน
“สำหรับการให้บริการท่าเทียบเรือดังกล่าว โดยเฉพาะในส่วนของเรือท่องเที่ยวพบว่า ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เพียงพอ ท่าเทียบเรือไม่สามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ให้จอดพร้อมกันได้ 2 ลำ เนื่องจากความยาวหน้าที่ไม่เพียงพอ ไม่มีอาคารผู้โดยสารเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึง สิ่งเหล่านี้จึงสร้างผลกระทบต่อภาพลักษณ์ และการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะต้องได้รับการแก้ไข คือ เรื่องของการขยายความยาวหน้าท่า จาก 360 เมตร เป็น 420 เมตร หรือขยายออกไป จำนวน 60 เมตร ซึ่งจะทำให้สามารถจดเรือพร้อมกัน 2 ลำได้ รวมทั้งสร้างอาคารรองรับนักท่องเที่ยว สร้างถนน ที่จอดรถ และเพิ่มมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัย ปรับให้มีความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่เดินทางมากับเรือสำราญ ที่ต้องการจะแวะมาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต หากมีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม นักท่องเที่ยวก็จะเข้ามาเยอะกว่าที่ผ่านมา” นายโสภณกล่าว
ด้าน นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ต กล่าวระหว่างการประชุมว่า เรื่องการปรับปรุงท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ต ทางกรมเจ้าท่าได้มีการศึกษาโครงการ พร้อมกับส่งเรื่องให้ทางรัฐบาลเป็นผู้พิจารณา แต่ขณะนี้ ยังติดอยู่ที่คณะกรรมการสำนักนโยบายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเสนอไปนานกว่า 2 ปี แล้วตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา และเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2556 สผ.ได้ส่งกลับมาขอให้มีการนำปรับปรุงแผนโครงการดังกล่าวเพิ่มเติมอีก 5 ข้อ จึงขอให้ทางรัฐมนตรีท่องเที่ยวฯ ช่วยประสานพร้อมร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
“สภาพท่าเรือน้ำลึกนั้น ไม่สามารถอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเป็นจำนวนมากได้อย่างทั่วถึง ประกอบกับยังเกิดความขัดแย้งระหว่างเรือขนส่งสินค้า กับเรือโดยสารให้บริการนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ หากภาครัฐเร่งดำเนินการในแผนงานปรับปรุง เชื่อว่าในอนาคตจะมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางมากับเรือสำราญมากขึ้น เนื่องจากว่าจังหวัดภูเก็ตเป็นสถานที่ที่น่าสนใจ หากโครงการแล้วเสร็จ ก็น่าจะรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวได้ ประกอบกับใช้ระยะเวลาเพียง 13 เดือน สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ก็จะเสร็จสิ้น รอเพียงแค่ทางภาครัฐอนุมัติงบประมาณ” นายภูริพัฒน์ กล่าว
ขณะที่นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวภายหลังการประชุมว่า ขอให้ทางกรมเจ้าท่าภูเก็ตจัดทำเอกสารเพิ่มเติม พร้อมอธิบายรายละเอียดที่จะได้รับ หากมีการดำเนินการตามแผนโครงการแล้วส่งเรื่องมา ทางกระทรวงการท่องเที่ยวฯ พร้อมจัดประชุมเชิงปฎิบัติการ (Work Shop) ร่วมกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเรื่องดังกล่าวยังติดอยู่ในหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรฯ ดังนั้น จึงต้องไปหารือในรายละเอียด เพื่อผลักดันโครงการเดินหน้าต่อไป
“อยากจะเปลี่ยนการท่องเที่ยวแบบเช้าไปเย็นกลับ เป็นการท่องเที่ยวแบบเต็มรูปแบบ หรือ Around trip พร้อมเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวเรือสำราญ เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวมีกำลังในการซื้อสูง อีกทั้งยังใช้เวลาในการท่องเที่ยวเป็นเวลานาน จึงน่าจะเปิดตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มากขึ้น อีกทั้งต้องเปลี่ยนจากการกางเต็นท์ต้อนรับนักท่องเที่ยว เป็นสร้างตึก และอาคารไว้รองรับนักท่องเที่ยวแทน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้ามาในประเทศไทย” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กล่าว
เมื่อเวลา 11.30 น. วันนี้ (4 พ.ค.) ที่ห้องประชุมอาคารท่าเรือน้ำลึก ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายขรจ วีระใจ รองอธิบดีกรมการท่องเที่ยว พร้อมคณะ เข้าร่วมประชุมรับฟังบรรยายสรุปกรณีการก่อสร้างโครงการขยายท่าเทียบเรือภูเก็ต จาก 360 เมตร เป็น 420 เมตร เพื่อให้สามารถจอดเรือขนาดใหญ่พร้อมกันได้ 2 ลำ รวมทั้งสร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร ลานจอดรถ และถนน เพื่อเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก โดยมีนายโสภณ เมืองประทับ ผู้จัดการท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ต นายวิชัย คำคง ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 สาขาภูเก็ต และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
นายโสภณ เมืองประทับ ผู้จัดการท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ต กล่าวว่า ปัจจุบันท่าเทียบเรือน้ำลึกจังหวัดภูเก็ต มีเนื้อที่ประมาณ 105 ไร่ สามารถรองรับเรือสินค้าได้ 360,000 ตันต่อปี และผู้โดยสาร 300,000 คนต่อปี โดยในปีที่ผ่านมา มีเรือโดยสารขนาดใหญ่มาใช้บริการท่าเทียบเรือ จำนวน 84 เที่ยวต่อปี ส่วนใหญ่จะมาแบบวันเดียว การจอดเทียบท่าแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง ขณะที่เรือขนส่งสินค้า เข้ามาใช้บริการประมาณ 43 เที่ยวต่อปี ใช้เวลาเทียบท่าแต่ละครั้งจำนวน 7-8 วัน
“สำหรับการให้บริการท่าเทียบเรือดังกล่าว โดยเฉพาะในส่วนของเรือท่องเที่ยวพบว่า ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เพียงพอ ท่าเทียบเรือไม่สามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ให้จอดพร้อมกันได้ 2 ลำ เนื่องจากความยาวหน้าที่ไม่เพียงพอ ไม่มีอาคารผู้โดยสารเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึง สิ่งเหล่านี้จึงสร้างผลกระทบต่อภาพลักษณ์ และการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะต้องได้รับการแก้ไข คือ เรื่องของการขยายความยาวหน้าท่า จาก 360 เมตร เป็น 420 เมตร หรือขยายออกไป จำนวน 60 เมตร ซึ่งจะทำให้สามารถจดเรือพร้อมกัน 2 ลำได้ รวมทั้งสร้างอาคารรองรับนักท่องเที่ยว สร้างถนน ที่จอดรถ และเพิ่มมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัย ปรับให้มีความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่เดินทางมากับเรือสำราญ ที่ต้องการจะแวะมาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต หากมีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม นักท่องเที่ยวก็จะเข้ามาเยอะกว่าที่ผ่านมา” นายโสภณกล่าว
ด้าน นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ต กล่าวระหว่างการประชุมว่า เรื่องการปรับปรุงท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ต ทางกรมเจ้าท่าได้มีการศึกษาโครงการ พร้อมกับส่งเรื่องให้ทางรัฐบาลเป็นผู้พิจารณา แต่ขณะนี้ ยังติดอยู่ที่คณะกรรมการสำนักนโยบายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเสนอไปนานกว่า 2 ปี แล้วตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา และเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2556 สผ.ได้ส่งกลับมาขอให้มีการนำปรับปรุงแผนโครงการดังกล่าวเพิ่มเติมอีก 5 ข้อ จึงขอให้ทางรัฐมนตรีท่องเที่ยวฯ ช่วยประสานพร้อมร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
“สภาพท่าเรือน้ำลึกนั้น ไม่สามารถอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเป็นจำนวนมากได้อย่างทั่วถึง ประกอบกับยังเกิดความขัดแย้งระหว่างเรือขนส่งสินค้า กับเรือโดยสารให้บริการนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ หากภาครัฐเร่งดำเนินการในแผนงานปรับปรุง เชื่อว่าในอนาคตจะมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางมากับเรือสำราญมากขึ้น เนื่องจากว่าจังหวัดภูเก็ตเป็นสถานที่ที่น่าสนใจ หากโครงการแล้วเสร็จ ก็น่าจะรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวได้ ประกอบกับใช้ระยะเวลาเพียง 13 เดือน สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ก็จะเสร็จสิ้น รอเพียงแค่ทางภาครัฐอนุมัติงบประมาณ” นายภูริพัฒน์ กล่าว
ขณะที่นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวภายหลังการประชุมว่า ขอให้ทางกรมเจ้าท่าภูเก็ตจัดทำเอกสารเพิ่มเติม พร้อมอธิบายรายละเอียดที่จะได้รับ หากมีการดำเนินการตามแผนโครงการแล้วส่งเรื่องมา ทางกระทรวงการท่องเที่ยวฯ พร้อมจัดประชุมเชิงปฎิบัติการ (Work Shop) ร่วมกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเรื่องดังกล่าวยังติดอยู่ในหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรฯ ดังนั้น จึงต้องไปหารือในรายละเอียด เพื่อผลักดันโครงการเดินหน้าต่อไป
“อยากจะเปลี่ยนการท่องเที่ยวแบบเช้าไปเย็นกลับ เป็นการท่องเที่ยวแบบเต็มรูปแบบ หรือ Around trip พร้อมเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวเรือสำราญ เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวมีกำลังในการซื้อสูง อีกทั้งยังใช้เวลาในการท่องเที่ยวเป็นเวลานาน จึงน่าจะเปิดตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มากขึ้น อีกทั้งต้องเปลี่ยนจากการกางเต็นท์ต้อนรับนักท่องเที่ยว เป็นสร้างตึก และอาคารไว้รองรับนักท่องเที่ยวแทน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้ามาในประเทศไทย” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กล่าว