สุราษฎร์ธานี - บีโอไอสรุปลงทุนภาคใต้ตอนบนปี 55 จำนวน 65 โครงการ เงินลงทุน 15,525 ล้านบาท โครงการส่วนใหญ่อยู่ใน จ.สุราษฎร์ธานี รองมาคือ กระบี่ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรและผลิตผลการเกษตร เผยปี 56 จะมีโครงการที่ได้รับอนุมัติไม่ต่ำกว่า 70 โครงการ เงินลงทุนทะลุ 2 หมื่นล้านบาทแน่นอน
น.ส.มาลัย พงศ์ถาวรภิญโญ ผอ.ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 6 รับผิดชอบพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน เปิดเผยถึงการลงทุนในภาคใต้ตอนบน ว่า ในปี 2555 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น จำนวน 65 โครงการ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554 มีจำนวนโครงเพิ่มขึ้นร้อยละ 59 เงินลงทุน 15,525 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 42 การจ้างงาน 5,469 คน เพิ่มร้อยละ 34 โดยโครงการส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี รองมาคือ จังหวัดกระบี่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดภูเก็ต จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา และจังหวัดระนอง ตามลำดับ
โดยนักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงให้ความสนใจลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรกรรมและผลิตผลการเกษตร ซึ่งมีโครงการที่ได้รับอนุมัติในประเภทนี้ จำนวน 38 โครงการ ส่วนใหญ่เป็นกิจการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ จำนวน 21 โครงการ อุตสาหกรรมจากยางพารา จำนวน 10 โครงการ รองลงมาเป็นกิจการบริการและสาธารณูปโภค จำนวน 16 โครงการ เป็นกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า จำนวน 10 โครงการ กิจการโรงแรม จำนวน 4 โครงการ
สำหรับการลงทุนในภาคใต้ตอนบนมีกิจการใหม่ๆ ที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม เช่น เบเกอรี ชุดประตู้ม้วนและอุปกรณ์ บริการทดสอบทดสอบทางวิทยาศาสตร์ กิจการผลิตเรือยาง กิจการผลิตสะว่ายน้ำสำเร็จรูป กิจการผลิตน้ำประปา หรือน้ำเพื่ออุตสาหกรรม เม็ดพลาสติกรีไซเคิลและผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล และธุรกิจ E-Commerce เป็นต้น
น.ส.มาลัย กล่าวอีกว่า สำหรับแนวโน้มการลงทุนภาคใต้ตอนบนปี 2556 คาดว่าจะมีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนสูงกว่าปี 2555 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมไปแล้วในปี 2555 ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาอนุมัติมีมากกว่า 50 โครงการ ส่วนใหญ่อยู่ประเภทแปรรูปผลิตผลการเกษตร รองลงมาเป็นประเภทบริการ และสาธารณูปโภค ยังคงตั้งอยู่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมากที่สุด รองลงมาเป็นจังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามลำดับ ทั้งนี้ คาดว่าการลงทุนในภาคใต้ตอนบนในปี 2556 จะมีโครงการที่ได้รับอนุมัติไม่ต่ำกว่า 70 โครงการ เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนในภาคใต้ตอนบนในปี 2556 ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจทั้งใน และต่างประเทศ ปัญหาด้านแรงงาน สถานการณ์ทางการเมือง รวมถึงนโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่
น.ส.มาลัย พงศ์ถาวรภิญโญ ผอ.ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 6 รับผิดชอบพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน เปิดเผยถึงการลงทุนในภาคใต้ตอนบน ว่า ในปี 2555 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น จำนวน 65 โครงการ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554 มีจำนวนโครงเพิ่มขึ้นร้อยละ 59 เงินลงทุน 15,525 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 42 การจ้างงาน 5,469 คน เพิ่มร้อยละ 34 โดยโครงการส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี รองมาคือ จังหวัดกระบี่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดภูเก็ต จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา และจังหวัดระนอง ตามลำดับ
โดยนักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงให้ความสนใจลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรกรรมและผลิตผลการเกษตร ซึ่งมีโครงการที่ได้รับอนุมัติในประเภทนี้ จำนวน 38 โครงการ ส่วนใหญ่เป็นกิจการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ จำนวน 21 โครงการ อุตสาหกรรมจากยางพารา จำนวน 10 โครงการ รองลงมาเป็นกิจการบริการและสาธารณูปโภค จำนวน 16 โครงการ เป็นกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า จำนวน 10 โครงการ กิจการโรงแรม จำนวน 4 โครงการ
สำหรับการลงทุนในภาคใต้ตอนบนมีกิจการใหม่ๆ ที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม เช่น เบเกอรี ชุดประตู้ม้วนและอุปกรณ์ บริการทดสอบทดสอบทางวิทยาศาสตร์ กิจการผลิตเรือยาง กิจการผลิตสะว่ายน้ำสำเร็จรูป กิจการผลิตน้ำประปา หรือน้ำเพื่ออุตสาหกรรม เม็ดพลาสติกรีไซเคิลและผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล และธุรกิจ E-Commerce เป็นต้น
น.ส.มาลัย กล่าวอีกว่า สำหรับแนวโน้มการลงทุนภาคใต้ตอนบนปี 2556 คาดว่าจะมีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนสูงกว่าปี 2555 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมไปแล้วในปี 2555 ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาอนุมัติมีมากกว่า 50 โครงการ ส่วนใหญ่อยู่ประเภทแปรรูปผลิตผลการเกษตร รองลงมาเป็นประเภทบริการ และสาธารณูปโภค ยังคงตั้งอยู่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมากที่สุด รองลงมาเป็นจังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามลำดับ ทั้งนี้ คาดว่าการลงทุนในภาคใต้ตอนบนในปี 2556 จะมีโครงการที่ได้รับอนุมัติไม่ต่ำกว่า 70 โครงการ เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนในภาคใต้ตอนบนในปี 2556 ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจทั้งใน และต่างประเทศ ปัญหาด้านแรงงาน สถานการณ์ทางการเมือง รวมถึงนโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่