ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เปิดใช้โรงเตาเผาขยะหัวที่ 2 ของภูเก็ตแล้ว รองรับการกำจัดขยะชุมชนได้ 700 ตันต่อวัน ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 10 เมกะวัตต์ หลังเตาเผาขยะหัวที่ 1 ชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ รัฐมนตรีฯ รับจะไปเร่งรัดเรื่องงบประมาณมาดำเนินการปรับปรุงเตาเผาขยะหัวที่ 1 เพื่อแก้ปัญหาขยะ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมรับปากดูแลปัญหาเรื่องของระบบบำบัดน้ำเสียในทุกพื้นที่
วันนี้ (9 ม.ค.) ที่โรงเตาเผาขยะเทศบาลนครภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีเปิดโรงเตาเผาขยะมูลฝอยชุมชน หัวที่ 2 ของเทศบาลนครภูเก็ต มีนางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดภูเก็ต นายเรวัต อารีรอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดภูเก็ต นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมส่งเสริมสิ่งแวดล้อม นางภาวิณี อินทุสุต รองอธิบดีกรมส่งเสริมสิ่งแวดล้อม นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งเทศบาล อบต. อบจ.และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชนในเขตเทศบาลนครภูเก็ตเข้าร่วมในพิธี
โดย น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต กล่าวว่า สำหรับการกำจัดขยะในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เดิมใช้พื้นที่บริเวณสะพานหิน ซึ่งอยู่ฝั่งคลองบางใหญ่ด้านทิศตะวันออกป็นที่กำจัดขยะ มีเนื้อที่ 270 ไร่ ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาเป็นสนามกีฬาสวนสาธารณะ เลในเมือง และพื้นที่นันทนาการของชาวจังหวัดภูเก็ต และได้ย้ายมาในพื้นที่ศูนย์กำจัดขยะตั้งแต่ปี 2523 ต่อมา ในปี 2535 จังหวัดภูเก็ต และเทศบาลนครภูเก็ต ได้รับการสนับสนุนจากกรมโยธาธิการและผังเมือง จัดทำแผนหลักสำหรับสร้างระบบกำจัดขยะอย่างถูกต้อง โดยเสนอขอใช้ที่ดิน และได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าชายเลน คลองเกาะผีตามประกาศกรมป่าไม้ 248/2546 ลงวันที่ 30 ก.ค.2536 จำนวนพื้นที่ 291 ไร่ 1 งาน 70 ตารางวา และได้แบ่งพื้นที่ก่อสร้างระบบกำจัดขยะแบบฝังกลบ 134 ไร่ โรงเตาเผาขยะ 46 ไร่ สร้างโรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ 33 ไร่ และพื้นที่แนวฉนวน 78 ไร่
น.ส.สมใจ กล่าวต่อไปว่า ตามที่จังหวัดมอบหมายให้เทศบาลนครภูเก็ต เป็นหน่วยงานให้บริการรับกำจัดขยะจากทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน ภายใต้การอำนวยการและกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตเป็นประธาน โดยมีการดำเนินการดังนี้ คือ ปี 2536 ได้ก่อสร้างระบบฝังกลบมูลฝอยตามหลักสุขาภิบาล 120 ไร่ จำนวน 5 บ่อ ปัจจุบัน มีการฝังกลบขยะเต็มพื้นที่ทั้ง 5 บ่อ และไม่สามารถฝังกลบขยะเพิ่มเติมได้ และได้ก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียขยะ 14 ไร่ เป็นลักษณะแบบบ่อผึ่ง และในปี 2538 กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ก่อสร้างโรงเผาขยะมูลฝอยชุมชน ขนาด 250 ตันต่อวัน สามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด 2.5 เมกะวัตต์ และได้ถ่ายโอนให้แก่เทศบาลนครภูเก็ตมาตั้งแต่ปี 2542 และได้ดำเนินการเผาขยะของจังหวัดภูเก็ต มาเป็นระยะเวลา 13 ปีเศษ ปัจจุบัน โรงเผาขยะมีสภาพชำรุดไม่สามารถใช้งานได้
ประกอบกับปริมาณขยะในจังหวัดภูเก็ตเพิ่มมากกว่า 500 ตันต่อวัน และมีอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี คาดว่าในปี 2562 จะมีปริมาณขยะเกินกว่า 1,000 ตันต่อวัน ขณะที่โรงเผาขยะมูลฝอยชุดเดิม สามารถกำจัดขยะได้เพียงวันละ 250 ตัน และเกิดการชำรุดบ่อยครั้ง ทำให้ต้องนำขยะส่วนที่เหลือเทกองสะสมบนพื้นที่ฝังกลบที่มีปริมาณขยะเต็มพื้นที่ ทั้ง 5 บ่อ ปริมาณขยะมูลฝอยสะสมอยู่เดิมกว่า 1 ล้านตัน และไม่สามารถกำจัดขยะได้อย่างถูกหลักสุขาภิบาล ก่อให้เกิดกลิ่น แมลงวัน และในช่วงฝนตกเกิดการปนเปื้อนของน้ำชะขยะ ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง และเป็นเหตุเดือดร้อนต่อชุมชน และสถานศึกษาในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง
น.ส.สมใจ กล่าวต่อไปว่า จากความเดือดร้อนดังกล่าว และปัญหาข้อกำจัดด้านงบประมาณจากรัฐบาล เทศบาลนครภูเก็ต พิจารณาแล้วเห็นว่า หากไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วน จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต สุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชน รวมถึงธุรกิจการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต จึงได้ให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทำการศึกษาความเหมาะสมการกำจัดขยะของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีแนวทางการแก้ไขปัญหาหลายแนวทาง แต่จากการวิเคราะห์เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และสถานะด้านการคลังของเทศบาลนครภูเก็ตแล้ว จึงเลือกใช้เทคโนโลยีเตาเผาขยะมูลฝอยเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยให้เอกชนลงทุนก่อสร้าง และบริหารโรงเผาขยะมูลฝอย
ซึ่งบริษัท พีเจที เทคโนโลยี จำกัด เป็นเอกชนที่ได้รับสัญญาลงทุนก่อสร้าง ตามสัญญาเลขที่ 59/2552 เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2551 ดำเนินการลงทุนก่อสร้างและบริหารโรงเผาขยะมูลฝอย ขนาดไม่น้อยกว่า 300 ตันต่อวัน พร้อมระบบผลิตไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 5 เมกะวัตต์ พร้อมระบบบำบัดมลพิษตามมาตรฐานกฎหมาย กำหนดโดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากค่ากำจัดขยะ และค่าจำหน่ายกระแสไฟฟ้า ซึ่งใช้พลังงานความร้อนจากขยะมาเป็นเชื้อเพลิง โดยมีระยะเวลารับสัญญาลงทุนก่อสร้าง และบริหาร 14 ปี ซึ่งโรงเผาขยะชุมชนได้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 20 มี.ค.2555 มูลค่าก่อสร้าง 940,600,000 บาท โดยผู้ให้สัญญา บริษัท พีจีที เทคโนโลยี จำกัด ได้สร้างเตาเผาขยะชุมชนขนาด 359 ตัน 2 ชุด สามารถเผาขยะชุมชนได้ 700 ตันต่อวัน ผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 10 เมกะวัตต์ ปัจจุบันได้ทดสอบระบบ และสามารถเดินระบบได้เต็มประสิทธิภาพ เป็นไปตามสัญญาเรียบร้อยแล้ว
น.ส.สมใจ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยเป็นไปตามจำนวนนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นรายได้หลักของจังหวัด และเป็นรายได้สำคัญของประเทศ จังหวัดภูเก็ตถูกกำหนดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก จึงคาดการณ์ได้ว่า จำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และรัฐบาลมีเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวล้านคนภายในปี ซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยเช่นกัน
จุดอ่อนของการกำจัดขยะมูลฝอยจังหวัดภูเก็ตคือ การเป็นศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม ที่แต่ละท้องถิ่นมีแนวทาง ประสบการณ์ และขีดความสามารถในการจัดการขยะมูลฝอยแตกต่างกัน แม้ว่าเทศบาลนครภูเก็ตจะมุ่งเน้นการแก้ปัญหาขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด ด้วยการลด และคัดแยกขยะมูลฝอย ซึ่งทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่เทศบาลไม่เพิ่มขึ้นมากนัก ขณะที่ท้องถิ่นอื่นยังคงเน้นการเก็บรวบรวมเพื่อป้องกันขยะมูลฝอยตกค้าง ด้วยเหตุนี้ ปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยจึงยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่จังหวัดภูเก็ตต้องประสบ และมีแนวโน้มว่าภายใน 2 ปีจากนี้ไป หากไม่มีมาตรการอื่นๆ มาสนับสนุนให้เกิดกระบวนการจัดการขยะมูลฝอยในทิศทางเดียวกัน ปริมาณขยะก็จะเกินขีดความสามารถของเตาเผาใหม่ขนาด 700 ตันต่อวันอีก
ด้านนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ตนในฐานะที่กำกับดูและด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมที่จะดูแลโครงการโรงเตาเผาขยะมูลฝอยชุมชน หัวที่ 1 ที่ยังชำรุดอยู่ ทำอย่างไรที่จะมีการผลักดันงบประมาณมาเพิ่มเติมปรับปรุงเตาเผาขยะหัวดังกล่าว อาจจะเป็นงบประมาณของกองทุนส่งเสริมสิ่งแวดล้อม หรืองบประมาณในส่วนของทางรัฐบาลที่จะได้เอามาดูแลในเรื่องโรงเตาเผาขยะมูลฝอยชุมชนหัวที่ 1 ที่ยังชำรุดที่ยังไม่สามารถใช้งานได้
อย่างไรก็ตาม จะกลับไปดูแลในเรื่องนี้ และจะเร่งรัดเรื่องของงบประมาณมาดูแลในการซ่อมแซมหัวเตาเผาที่ 1 ที่มีปัญหาอยู่ เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ชาวภูเก็ตเรื่องการดูแลปัญหาขยะมูลฝอย และรวมถึงในเรื่องของระบบบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลตำบลกะรน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกหลายๆ แห่ง ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ก็จะดำเนินการผลักดันเรื่องงบประมาณมาดูแลระบบการบำบัดน้ำเสียให้ด้วย เพราะทั้งในเรื่องของการกำจัดขยะ และการบำบัดน้ำเสียจะต้องทำควบคู่กันไป
วันนี้ (9 ม.ค.) ที่โรงเตาเผาขยะเทศบาลนครภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีเปิดโรงเตาเผาขยะมูลฝอยชุมชน หัวที่ 2 ของเทศบาลนครภูเก็ต มีนางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดภูเก็ต นายเรวัต อารีรอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดภูเก็ต นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมส่งเสริมสิ่งแวดล้อม นางภาวิณี อินทุสุต รองอธิบดีกรมส่งเสริมสิ่งแวดล้อม นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งเทศบาล อบต. อบจ.และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชนในเขตเทศบาลนครภูเก็ตเข้าร่วมในพิธี
โดย น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต กล่าวว่า สำหรับการกำจัดขยะในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เดิมใช้พื้นที่บริเวณสะพานหิน ซึ่งอยู่ฝั่งคลองบางใหญ่ด้านทิศตะวันออกป็นที่กำจัดขยะ มีเนื้อที่ 270 ไร่ ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาเป็นสนามกีฬาสวนสาธารณะ เลในเมือง และพื้นที่นันทนาการของชาวจังหวัดภูเก็ต และได้ย้ายมาในพื้นที่ศูนย์กำจัดขยะตั้งแต่ปี 2523 ต่อมา ในปี 2535 จังหวัดภูเก็ต และเทศบาลนครภูเก็ต ได้รับการสนับสนุนจากกรมโยธาธิการและผังเมือง จัดทำแผนหลักสำหรับสร้างระบบกำจัดขยะอย่างถูกต้อง โดยเสนอขอใช้ที่ดิน และได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าชายเลน คลองเกาะผีตามประกาศกรมป่าไม้ 248/2546 ลงวันที่ 30 ก.ค.2536 จำนวนพื้นที่ 291 ไร่ 1 งาน 70 ตารางวา และได้แบ่งพื้นที่ก่อสร้างระบบกำจัดขยะแบบฝังกลบ 134 ไร่ โรงเตาเผาขยะ 46 ไร่ สร้างโรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ 33 ไร่ และพื้นที่แนวฉนวน 78 ไร่
น.ส.สมใจ กล่าวต่อไปว่า ตามที่จังหวัดมอบหมายให้เทศบาลนครภูเก็ต เป็นหน่วยงานให้บริการรับกำจัดขยะจากทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน ภายใต้การอำนวยการและกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตเป็นประธาน โดยมีการดำเนินการดังนี้ คือ ปี 2536 ได้ก่อสร้างระบบฝังกลบมูลฝอยตามหลักสุขาภิบาล 120 ไร่ จำนวน 5 บ่อ ปัจจุบัน มีการฝังกลบขยะเต็มพื้นที่ทั้ง 5 บ่อ และไม่สามารถฝังกลบขยะเพิ่มเติมได้ และได้ก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียขยะ 14 ไร่ เป็นลักษณะแบบบ่อผึ่ง และในปี 2538 กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ก่อสร้างโรงเผาขยะมูลฝอยชุมชน ขนาด 250 ตันต่อวัน สามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด 2.5 เมกะวัตต์ และได้ถ่ายโอนให้แก่เทศบาลนครภูเก็ตมาตั้งแต่ปี 2542 และได้ดำเนินการเผาขยะของจังหวัดภูเก็ต มาเป็นระยะเวลา 13 ปีเศษ ปัจจุบัน โรงเผาขยะมีสภาพชำรุดไม่สามารถใช้งานได้
ประกอบกับปริมาณขยะในจังหวัดภูเก็ตเพิ่มมากกว่า 500 ตันต่อวัน และมีอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี คาดว่าในปี 2562 จะมีปริมาณขยะเกินกว่า 1,000 ตันต่อวัน ขณะที่โรงเผาขยะมูลฝอยชุดเดิม สามารถกำจัดขยะได้เพียงวันละ 250 ตัน และเกิดการชำรุดบ่อยครั้ง ทำให้ต้องนำขยะส่วนที่เหลือเทกองสะสมบนพื้นที่ฝังกลบที่มีปริมาณขยะเต็มพื้นที่ ทั้ง 5 บ่อ ปริมาณขยะมูลฝอยสะสมอยู่เดิมกว่า 1 ล้านตัน และไม่สามารถกำจัดขยะได้อย่างถูกหลักสุขาภิบาล ก่อให้เกิดกลิ่น แมลงวัน และในช่วงฝนตกเกิดการปนเปื้อนของน้ำชะขยะ ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง และเป็นเหตุเดือดร้อนต่อชุมชน และสถานศึกษาในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง
น.ส.สมใจ กล่าวต่อไปว่า จากความเดือดร้อนดังกล่าว และปัญหาข้อกำจัดด้านงบประมาณจากรัฐบาล เทศบาลนครภูเก็ต พิจารณาแล้วเห็นว่า หากไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วน จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต สุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชน รวมถึงธุรกิจการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต จึงได้ให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทำการศึกษาความเหมาะสมการกำจัดขยะของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีแนวทางการแก้ไขปัญหาหลายแนวทาง แต่จากการวิเคราะห์เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และสถานะด้านการคลังของเทศบาลนครภูเก็ตแล้ว จึงเลือกใช้เทคโนโลยีเตาเผาขยะมูลฝอยเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยให้เอกชนลงทุนก่อสร้าง และบริหารโรงเผาขยะมูลฝอย
ซึ่งบริษัท พีเจที เทคโนโลยี จำกัด เป็นเอกชนที่ได้รับสัญญาลงทุนก่อสร้าง ตามสัญญาเลขที่ 59/2552 เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2551 ดำเนินการลงทุนก่อสร้างและบริหารโรงเผาขยะมูลฝอย ขนาดไม่น้อยกว่า 300 ตันต่อวัน พร้อมระบบผลิตไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 5 เมกะวัตต์ พร้อมระบบบำบัดมลพิษตามมาตรฐานกฎหมาย กำหนดโดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากค่ากำจัดขยะ และค่าจำหน่ายกระแสไฟฟ้า ซึ่งใช้พลังงานความร้อนจากขยะมาเป็นเชื้อเพลิง โดยมีระยะเวลารับสัญญาลงทุนก่อสร้าง และบริหาร 14 ปี ซึ่งโรงเผาขยะชุมชนได้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 20 มี.ค.2555 มูลค่าก่อสร้าง 940,600,000 บาท โดยผู้ให้สัญญา บริษัท พีจีที เทคโนโลยี จำกัด ได้สร้างเตาเผาขยะชุมชนขนาด 359 ตัน 2 ชุด สามารถเผาขยะชุมชนได้ 700 ตันต่อวัน ผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 10 เมกะวัตต์ ปัจจุบันได้ทดสอบระบบ และสามารถเดินระบบได้เต็มประสิทธิภาพ เป็นไปตามสัญญาเรียบร้อยแล้ว
น.ส.สมใจ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยเป็นไปตามจำนวนนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นรายได้หลักของจังหวัด และเป็นรายได้สำคัญของประเทศ จังหวัดภูเก็ตถูกกำหนดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก จึงคาดการณ์ได้ว่า จำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และรัฐบาลมีเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวล้านคนภายในปี ซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยเช่นกัน
จุดอ่อนของการกำจัดขยะมูลฝอยจังหวัดภูเก็ตคือ การเป็นศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม ที่แต่ละท้องถิ่นมีแนวทาง ประสบการณ์ และขีดความสามารถในการจัดการขยะมูลฝอยแตกต่างกัน แม้ว่าเทศบาลนครภูเก็ตจะมุ่งเน้นการแก้ปัญหาขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด ด้วยการลด และคัดแยกขยะมูลฝอย ซึ่งทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่เทศบาลไม่เพิ่มขึ้นมากนัก ขณะที่ท้องถิ่นอื่นยังคงเน้นการเก็บรวบรวมเพื่อป้องกันขยะมูลฝอยตกค้าง ด้วยเหตุนี้ ปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยจึงยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่จังหวัดภูเก็ตต้องประสบ และมีแนวโน้มว่าภายใน 2 ปีจากนี้ไป หากไม่มีมาตรการอื่นๆ มาสนับสนุนให้เกิดกระบวนการจัดการขยะมูลฝอยในทิศทางเดียวกัน ปริมาณขยะก็จะเกินขีดความสามารถของเตาเผาใหม่ขนาด 700 ตันต่อวันอีก
ด้านนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ตนในฐานะที่กำกับดูและด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมที่จะดูแลโครงการโรงเตาเผาขยะมูลฝอยชุมชน หัวที่ 1 ที่ยังชำรุดอยู่ ทำอย่างไรที่จะมีการผลักดันงบประมาณมาเพิ่มเติมปรับปรุงเตาเผาขยะหัวดังกล่าว อาจจะเป็นงบประมาณของกองทุนส่งเสริมสิ่งแวดล้อม หรืองบประมาณในส่วนของทางรัฐบาลที่จะได้เอามาดูแลในเรื่องโรงเตาเผาขยะมูลฝอยชุมชนหัวที่ 1 ที่ยังชำรุดที่ยังไม่สามารถใช้งานได้
อย่างไรก็ตาม จะกลับไปดูแลในเรื่องนี้ และจะเร่งรัดเรื่องของงบประมาณมาดูแลในการซ่อมแซมหัวเตาเผาที่ 1 ที่มีปัญหาอยู่ เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ชาวภูเก็ตเรื่องการดูแลปัญหาขยะมูลฝอย และรวมถึงในเรื่องของระบบบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลตำบลกะรน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกหลายๆ แห่ง ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ก็จะดำเนินการผลักดันเรื่องงบประมาณมาดูแลระบบการบำบัดน้ำเสียให้ด้วย เพราะทั้งในเรื่องของการกำจัดขยะ และการบำบัดน้ำเสียจะต้องทำควบคู่กันไป