คอลัมน์ : ด้ามขวานผ่าซาก
โดย...ปิยะโชติ อินทรนิวาส
เริ่มมีเสียงบ่นจากคนสงขลา โดยเฉพาะในสื่อสังคมออนไลน์ในทำนองว่า คดีการเสียชีวิตนายพีระ ตันติเศรณี อดีตนายกเทศบาลนครสงขลา ผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ แต่ตำรวจทำคดีแบบดรามาเข้าไปทุกวัน ขนคอมมานโดแต่งชุดเลียนแบบหนังเจมส์ บอนด์ หิ้วปืนเข้าแถวบุกค้นจุดเป้าหมายพอให้พอเป็นข่าว จนเกิดเป็นคำถามตามมาหนาหูว่า ทำคดีเพื่อต้องการเอาคนผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม หรือกำลังลากคดีให้เป็นเครื่องมือทำลายล้างกันทางการเมือง
ฟังจากน้ำเสียตามสภากาแฟต่างๆ ผนวกกับการติดตามคดีของเจ้าหน้าที่ ดูเหมือนแทบทุกฝ่ายจะเทนำหนักไปในทิศทางเดียวกัน คือ ชนวนเหตุของการลอบสังหารน่าจะเกิดความขัดแย้งการเมืองในพื้นที่
มีเสียงประชดประชันให้ได้ยินด้วยว่า ไม่ว่าจะชาวสงขลา หรือพลเมืองของประเทศนี้ อย่าได้เข้าไปยุ่งอะไรกับความขัดแย้งครั้งนี้เลย ปล่อยให้เป็นเรื่องของคนในครอบครัวเขาแก้ปัญหากันเองดีกว่า ซึ่งครอบครัวตามความหมายดังว่า น่าจะเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกเสียจากความเป็นสายเลือดประชาธิปัตย์ที่เข้มข้นด้วยกัน เคยร่วมกินข้าวหม้อเดียวกัน เพียงแต่อาจจะนอนคนละมุ้ง
เป็นที่รับรู้กันว่า เวลานี้สายเลือดสะตอสีฟ้าในสงขลามี 2 มุ้งใหญ่ที่ขับเคี่ยวกันมาหลายปีแล้ว หัวแถวแต่ละคนก็จัดว่ามีตำแหน่งแห่งหนสำคัญในพรรคคือ นายถาวร เสนเนียม รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กับนายนิพนธ์ บุญญามณี รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
สำหรับนายนิพนธ์ทิ้งอาชีพทนายความเดินเข้าสู่แวดวงการเมืองก่อน ได้เป็น สจ.สงขลา 2 สมัยในปี 2528, 2533 และเคยประธานสภาจังหวัดสงขลา ไต่เต้าลง ส.ส.สงขลาได้รับเลือกถึง 5 สมัย 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2544 จากนั้นขึ้นเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ/สัดส่วนของพรรคอีก 3 สมัย 2548, 2550, 2554 ด้านตำแหน่งทางการเมืองปี 2537 เป็นเลขานุการ รมว.ยุติธรรม ปี 2541 เลขานุการ รมว.แรงงานและสวัสดิการสังคม ปี 2542-2543 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์) ปี 2543-2544 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (นายบัญญัติ บรรทัดฐาน)
หลังเลือกตั้งปี 2548 นายนิพนธ์มีชื่อว่าจะได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการพรรค แต่ก็ได้ขอถอนตัวให้แก่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ โดยยอมรับเป็นแค่รองเลขาธิการพรรค เคยถูกพรรควางตัวให้เป็น รมช.คมนาคมเงา และ ผอ.ศอ.บต.ปชป.เงา ซึ่งเทียบได้กับ รมต.เงาดูแลไฟใต้ แม่เมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จัดตั้งรัฐบาลในปี 2551 เขามีความอาวุโสที่น่าจะได้ขึ้นเป็นรัฐมนตรี แต่ความที่โตมาในสาย เสธ.หนั่นและนายบัญญัติ ขั้วตรงข้ามของนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ทำให้ชวดตำแหน่งไป ส่วนผู้นำมุ้งตรงข้ามกลับได้ผงาดขึ้นมาแทน
ด้านนายถาวร จากอาชีพทนายความที่ผันไปเป็นอัยการจังหวัดกระบี่ พัทลุง สงขลา และผู้ช่วยอัยการเขต 9 เดินเข้าสู่แวดวงการเมืองด้วยการสมัคร ส.ส.สงขลา และได้รับเลือกหลายสมัย 2538, 2539, 2544, 2548, 2550, 2554 มีตำแหน่งสำคัญๆ คือ กรรมาธิการการเงิน การคลังและสถาบันการเงิน รองประธานกรรมาธิการการยุติธรรมและมนุษยชน ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.มหาดไทย พรรคเคยมอบหมายให้เป็น รมช.มหาดไทยเงา แต่พอปี 2551 ได้เป็นตัวจริงในตำแหน่ง มท.3 ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวลานี้ก็กลับมาเป็น รมว.ยุติธรรมเงาอีกครั้ง
ภายหลังที่นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพยึดกุมประชาธิปัตย์ได้เบ็ดเสร็จ นายถาวรจัดเป็นผู้มีบทบาทในพรรคสูงมากคนหนึ่ง มีส่วนร่วมฝากผลงานไว้ในพรรค เช่น กรณีเทปลับทุจริตเลือกตั้งของนายเนวิน ชิดชอบ ฟ้อง กกต.ชุดสามหนาห้าห่วงจนติดคุก หนึ่งในผู้ว่าคดีให้พรรคพ้นการถูกยุบ เป็นต้น
ความจริงก่อนที่จะแตกเป็น 2 มุ้งใหญ่สงขลา ผู้คนในเครือข่ายล้วนแล้วแต่คือพี่น้องผองเพื่อนกันทั้งนั้น แต่ด้วยผลประโยชน์ และหนทางที่ทอดไปเบื้องหน้าของประชาธิปัตย์ถูกทำให้แคบลงเรื่อยๆ ทำให้เกิดการแย่งชิงพื้นที่การเมืองทั้งในระดับชาติ และท้องถิ่น นำไปสู่การแยกขั้วแบ่งข้างกันชัดเจนขึ้น และก็จากผลประโยชน์อีกนั่นแหละที่ทำให้เกิดการสลับขั้วสลับข้างในบางครั้ง
นายอุทิศ ชูช่วย ที่ในเวลานี้นั่งเป็นนายก อบจ.สงขลา คือเพื่อนเกลอของนายพีระ พื้นเพเป็นคน อ.ระโนดด้วยกัน สมัยใส่กางเกงขาสั้นอยู่ในรั้วโรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา ทั้งคู่ก็ได้เพื่อนซี้เพิ่มคือ นายนิพนธ์ แล้วรวมตัวกันลงชิงสมาชิกสภานักเรียนในสังกัดพรรคเยาวชนก้าวหน้า โดยนายนิพนธ์เป็นหัวหน้าพรรค จึงได้ตำแหน่งประธานสภาไป ส่วนนายอุทิศ และนายพีระได้เป็นคณะกรรมการฝ่ายตุลากร ช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ได้เคลื่อนไหวร่วมกับศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย และศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยด้วย นั่นคือจุดเริ่มต้นให้ทุกคนสนใจงานการเมือง
ในทางการเมือง นายอุทิศ และนายพีระเคยร่วมกันตั้งทีมสงขลาพัฒนาขึ้นยึดอำนาจท้องถิ่น โดยมีนายนิพนธ์อยู่เบื้องหลัง เริ่มจากยึดเทศบาลเมืองสงขลา ไล่เลียงไปสู่เทศบาลข้างเคียง แล้วขึ้นไปกุม อบจ.สงขลาได้สำเร็จแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในห้วงเวลา 8 ปี ซึ่งก็ส่งอิทธิพลถึงสนามเลือกตั้ง ส.ส.สงขลาไปโดยปริยาย จึงเป็นกลุ่มการเมืองที่ถูกจับตามองจากสังคมมาตลอด นายพีระเองได้นั่งเป็นเทศมนตรีในสมัยนายอุทิศเป็นนายกเมืองสงขลา แล้วก็ขึ้นไปเป็นรองนายก อบจ.สงขลาสมัยที่น้องชายนายนิพนธ์คือ นายนวพล บุญญามณี นั่งเป็นนายกฯ
ในทางธุรกิจก็ว่ากันว่า แต่ก่อนนายนิพนธ์กับนายอุทิศคือหุ้นส่วนอนาคตไกล เคยอาศัยคอนเน็กชันนายนิพนธ์ต่อไปยังกลุ่มทุนทีพีไอให้ตั้งเป็นตัวแทนในนามบริษัท อาคเนย์ คอนกรีต จำกัด ซึ่งลงขันตั้งขึ้นมารับงานหลักๆ จากโครงการของท้องถิ่นต่างๆ แต่ภายหลังนายนิพนธ์ต้องถอนหุ้นออกทั้งหมด พร้อมๆ กับการแปรเปลี่ยนจากเพื่อนเป็นขั้วการเมืองตรงข้าม โดยนายอุทิศได้ไปร่วมขั้วกับนายถาวร
ความไม่ลงลอยปรากฏชัดมากก็ตอนที่นายอุทิศก้าวขึ้นนายก อบจ.สงขลา นายพีระขออาสาสานต่อตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครสงขลา แต่ปรากฏว่า ยอมกันไม่ได้ นายอุทิศส่งน้องชายคือ นายกิตติ ชูช่วย เข้าสู่สนามชิงชัยด้วย โดยมีนายถาวรเป็นแบ็ก มีการกวาดเอา ส.ส.สงขลา 7 คนจากที่มีทั้งจังหวัด 8 คนมายืนเรียวแถวในฐานะผู้สนับสนุนนายกิตติ แต่ความฮึด และการเข้าถึงชุมชนท้องถิ่นของนายพีระทำให้สามารถเอาชนะจนได้ เรื่องนี้ได้กลายเป็นช้างชนช้างในหน้าประวัติศาสตร์ยุคใหม่แห่งเมืองสงขลาไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งนายก อบจ.สงขลาสมัยหน้า ซึ่งก็เหลือเวลาอีกไม่กี่เดือนแล้ว เวลานี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า นายนิพนธ์ได้ประกาศลงชิงชัยกับนายอุทิศ แล้วต่างฝ่ายต่างก็กำลังวิ่งเต้นเพื่อขอให้ได้ประทับตราเป็นผู้สมัครในนามพรรค จนเป็นที่ร่ำลือกันว่า น่าจะเป็นยุทธหัตถีที่อลังการครั้งใหญ่อีกครั้งของเมืองสงขลา
มีสำนวนไทยกล่าวไว้ทำนองว่า เมื่อช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกลาญ แต่ผมว่าประชาธิปัตย์เองก็น่าจะพลอยฟ้าพลอยฝนไปกับเขาด้วย
โดย...ปิยะโชติ อินทรนิวาส
เริ่มมีเสียงบ่นจากคนสงขลา โดยเฉพาะในสื่อสังคมออนไลน์ในทำนองว่า คดีการเสียชีวิตนายพีระ ตันติเศรณี อดีตนายกเทศบาลนครสงขลา ผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ แต่ตำรวจทำคดีแบบดรามาเข้าไปทุกวัน ขนคอมมานโดแต่งชุดเลียนแบบหนังเจมส์ บอนด์ หิ้วปืนเข้าแถวบุกค้นจุดเป้าหมายพอให้พอเป็นข่าว จนเกิดเป็นคำถามตามมาหนาหูว่า ทำคดีเพื่อต้องการเอาคนผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม หรือกำลังลากคดีให้เป็นเครื่องมือทำลายล้างกันทางการเมือง
ฟังจากน้ำเสียตามสภากาแฟต่างๆ ผนวกกับการติดตามคดีของเจ้าหน้าที่ ดูเหมือนแทบทุกฝ่ายจะเทนำหนักไปในทิศทางเดียวกัน คือ ชนวนเหตุของการลอบสังหารน่าจะเกิดความขัดแย้งการเมืองในพื้นที่
มีเสียงประชดประชันให้ได้ยินด้วยว่า ไม่ว่าจะชาวสงขลา หรือพลเมืองของประเทศนี้ อย่าได้เข้าไปยุ่งอะไรกับความขัดแย้งครั้งนี้เลย ปล่อยให้เป็นเรื่องของคนในครอบครัวเขาแก้ปัญหากันเองดีกว่า ซึ่งครอบครัวตามความหมายดังว่า น่าจะเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกเสียจากความเป็นสายเลือดประชาธิปัตย์ที่เข้มข้นด้วยกัน เคยร่วมกินข้าวหม้อเดียวกัน เพียงแต่อาจจะนอนคนละมุ้ง
เป็นที่รับรู้กันว่า เวลานี้สายเลือดสะตอสีฟ้าในสงขลามี 2 มุ้งใหญ่ที่ขับเคี่ยวกันมาหลายปีแล้ว หัวแถวแต่ละคนก็จัดว่ามีตำแหน่งแห่งหนสำคัญในพรรคคือ นายถาวร เสนเนียม รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กับนายนิพนธ์ บุญญามณี รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
สำหรับนายนิพนธ์ทิ้งอาชีพทนายความเดินเข้าสู่แวดวงการเมืองก่อน ได้เป็น สจ.สงขลา 2 สมัยในปี 2528, 2533 และเคยประธานสภาจังหวัดสงขลา ไต่เต้าลง ส.ส.สงขลาได้รับเลือกถึง 5 สมัย 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2544 จากนั้นขึ้นเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ/สัดส่วนของพรรคอีก 3 สมัย 2548, 2550, 2554 ด้านตำแหน่งทางการเมืองปี 2537 เป็นเลขานุการ รมว.ยุติธรรม ปี 2541 เลขานุการ รมว.แรงงานและสวัสดิการสังคม ปี 2542-2543 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์) ปี 2543-2544 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (นายบัญญัติ บรรทัดฐาน)
หลังเลือกตั้งปี 2548 นายนิพนธ์มีชื่อว่าจะได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการพรรค แต่ก็ได้ขอถอนตัวให้แก่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ โดยยอมรับเป็นแค่รองเลขาธิการพรรค เคยถูกพรรควางตัวให้เป็น รมช.คมนาคมเงา และ ผอ.ศอ.บต.ปชป.เงา ซึ่งเทียบได้กับ รมต.เงาดูแลไฟใต้ แม่เมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จัดตั้งรัฐบาลในปี 2551 เขามีความอาวุโสที่น่าจะได้ขึ้นเป็นรัฐมนตรี แต่ความที่โตมาในสาย เสธ.หนั่นและนายบัญญัติ ขั้วตรงข้ามของนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ทำให้ชวดตำแหน่งไป ส่วนผู้นำมุ้งตรงข้ามกลับได้ผงาดขึ้นมาแทน
ด้านนายถาวร จากอาชีพทนายความที่ผันไปเป็นอัยการจังหวัดกระบี่ พัทลุง สงขลา และผู้ช่วยอัยการเขต 9 เดินเข้าสู่แวดวงการเมืองด้วยการสมัคร ส.ส.สงขลา และได้รับเลือกหลายสมัย 2538, 2539, 2544, 2548, 2550, 2554 มีตำแหน่งสำคัญๆ คือ กรรมาธิการการเงิน การคลังและสถาบันการเงิน รองประธานกรรมาธิการการยุติธรรมและมนุษยชน ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.มหาดไทย พรรคเคยมอบหมายให้เป็น รมช.มหาดไทยเงา แต่พอปี 2551 ได้เป็นตัวจริงในตำแหน่ง มท.3 ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวลานี้ก็กลับมาเป็น รมว.ยุติธรรมเงาอีกครั้ง
ภายหลังที่นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพยึดกุมประชาธิปัตย์ได้เบ็ดเสร็จ นายถาวรจัดเป็นผู้มีบทบาทในพรรคสูงมากคนหนึ่ง มีส่วนร่วมฝากผลงานไว้ในพรรค เช่น กรณีเทปลับทุจริตเลือกตั้งของนายเนวิน ชิดชอบ ฟ้อง กกต.ชุดสามหนาห้าห่วงจนติดคุก หนึ่งในผู้ว่าคดีให้พรรคพ้นการถูกยุบ เป็นต้น
ความจริงก่อนที่จะแตกเป็น 2 มุ้งใหญ่สงขลา ผู้คนในเครือข่ายล้วนแล้วแต่คือพี่น้องผองเพื่อนกันทั้งนั้น แต่ด้วยผลประโยชน์ และหนทางที่ทอดไปเบื้องหน้าของประชาธิปัตย์ถูกทำให้แคบลงเรื่อยๆ ทำให้เกิดการแย่งชิงพื้นที่การเมืองทั้งในระดับชาติ และท้องถิ่น นำไปสู่การแยกขั้วแบ่งข้างกันชัดเจนขึ้น และก็จากผลประโยชน์อีกนั่นแหละที่ทำให้เกิดการสลับขั้วสลับข้างในบางครั้ง
นายอุทิศ ชูช่วย ที่ในเวลานี้นั่งเป็นนายก อบจ.สงขลา คือเพื่อนเกลอของนายพีระ พื้นเพเป็นคน อ.ระโนดด้วยกัน สมัยใส่กางเกงขาสั้นอยู่ในรั้วโรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา ทั้งคู่ก็ได้เพื่อนซี้เพิ่มคือ นายนิพนธ์ แล้วรวมตัวกันลงชิงสมาชิกสภานักเรียนในสังกัดพรรคเยาวชนก้าวหน้า โดยนายนิพนธ์เป็นหัวหน้าพรรค จึงได้ตำแหน่งประธานสภาไป ส่วนนายอุทิศ และนายพีระได้เป็นคณะกรรมการฝ่ายตุลากร ช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ได้เคลื่อนไหวร่วมกับศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย และศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยด้วย นั่นคือจุดเริ่มต้นให้ทุกคนสนใจงานการเมือง
ในทางการเมือง นายอุทิศ และนายพีระเคยร่วมกันตั้งทีมสงขลาพัฒนาขึ้นยึดอำนาจท้องถิ่น โดยมีนายนิพนธ์อยู่เบื้องหลัง เริ่มจากยึดเทศบาลเมืองสงขลา ไล่เลียงไปสู่เทศบาลข้างเคียง แล้วขึ้นไปกุม อบจ.สงขลาได้สำเร็จแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในห้วงเวลา 8 ปี ซึ่งก็ส่งอิทธิพลถึงสนามเลือกตั้ง ส.ส.สงขลาไปโดยปริยาย จึงเป็นกลุ่มการเมืองที่ถูกจับตามองจากสังคมมาตลอด นายพีระเองได้นั่งเป็นเทศมนตรีในสมัยนายอุทิศเป็นนายกเมืองสงขลา แล้วก็ขึ้นไปเป็นรองนายก อบจ.สงขลาสมัยที่น้องชายนายนิพนธ์คือ นายนวพล บุญญามณี นั่งเป็นนายกฯ
ในทางธุรกิจก็ว่ากันว่า แต่ก่อนนายนิพนธ์กับนายอุทิศคือหุ้นส่วนอนาคตไกล เคยอาศัยคอนเน็กชันนายนิพนธ์ต่อไปยังกลุ่มทุนทีพีไอให้ตั้งเป็นตัวแทนในนามบริษัท อาคเนย์ คอนกรีต จำกัด ซึ่งลงขันตั้งขึ้นมารับงานหลักๆ จากโครงการของท้องถิ่นต่างๆ แต่ภายหลังนายนิพนธ์ต้องถอนหุ้นออกทั้งหมด พร้อมๆ กับการแปรเปลี่ยนจากเพื่อนเป็นขั้วการเมืองตรงข้าม โดยนายอุทิศได้ไปร่วมขั้วกับนายถาวร
ความไม่ลงลอยปรากฏชัดมากก็ตอนที่นายอุทิศก้าวขึ้นนายก อบจ.สงขลา นายพีระขออาสาสานต่อตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครสงขลา แต่ปรากฏว่า ยอมกันไม่ได้ นายอุทิศส่งน้องชายคือ นายกิตติ ชูช่วย เข้าสู่สนามชิงชัยด้วย โดยมีนายถาวรเป็นแบ็ก มีการกวาดเอา ส.ส.สงขลา 7 คนจากที่มีทั้งจังหวัด 8 คนมายืนเรียวแถวในฐานะผู้สนับสนุนนายกิตติ แต่ความฮึด และการเข้าถึงชุมชนท้องถิ่นของนายพีระทำให้สามารถเอาชนะจนได้ เรื่องนี้ได้กลายเป็นช้างชนช้างในหน้าประวัติศาสตร์ยุคใหม่แห่งเมืองสงขลาไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งนายก อบจ.สงขลาสมัยหน้า ซึ่งก็เหลือเวลาอีกไม่กี่เดือนแล้ว เวลานี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า นายนิพนธ์ได้ประกาศลงชิงชัยกับนายอุทิศ แล้วต่างฝ่ายต่างก็กำลังวิ่งเต้นเพื่อขอให้ได้ประทับตราเป็นผู้สมัครในนามพรรค จนเป็นที่ร่ำลือกันว่า น่าจะเป็นยุทธหัตถีที่อลังการครั้งใหญ่อีกครั้งของเมืองสงขลา
มีสำนวนไทยกล่าวไว้ทำนองว่า เมื่อช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกลาญ แต่ผมว่าประชาธิปัตย์เองก็น่าจะพลอยฟ้าพลอยฝนไปกับเขาด้วย