ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ผู้จัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เผยปีการศึกษา 2555 ได้ดำเนินการ กรอ.ควบคู่ไปกับ กยศ. เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่นักเรียน นักศึกษา ด้านการติดตามหนี้พบว่าปีนี้ มีผู้กู้ยืมคืนชำระเพิ่มมากขึ้น
นายธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ 2555 ว่า ในปีการศึกษา 2555 กองทุนฯ ได้ดำเนินการกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ควบคู่ไปกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่นักเรียน นักศึกษา เนื่องจากเล็งเห็นว่า ทั้งสองกองทุนต่างมีข้อดี และให้โอกาสแก่เยาวชน กล่าวคือ กองทุน กรอ. เน้นการสนับสนุนให้เยาวชนเลือกเรียนต่อในหลักสูตรสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก และมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคน เฉพาะนักเรียน นักศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่า ส่วนกองทุน กยศ. เน้นการช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ครอบครัวขาดแคลนทุนทรัพย์
ผลการดำเนินงานที่สำคัญได้แก่ คณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติจัดสรรงบประมาณให้กู้ยืมกว่า 43,802 ล้านบาท โดยให้กู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตั้งแต่ชั้นมัธยมปลายทั้งสายสามัญ และสายอาชีพ จนถึงระดับปริญญาตรี จำนวน 868,354 ราย ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย และในปีนี้ กองทุนฯ มีนโยบายสนับสนุนผู้ที่เรียนในสายอาชีพ โดยการปรับเพิ่มค่าครองชีพให้แก่นักศึกษาระดับ ปวช. ให้เท่ากับระดับ ปวส. และปริญญาตรี
ด้านการติดตามหนี้ กองทุนฯ ได้นำนโยบายเชิงรุก โดยจัดทำ “โครงการบวกพลังฟื้นฟู ผู้กู้ กยศ.” ซึ่งได้รับความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.) ในการติดตามผู้กู้ยืมที่ค้างชำระ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกองทุนฯ ที่ถูกต้อง ซึ่งผู้กู้ยืมที่จบการศึกษาแล้ว 2 ปี มีหน้าที่ต้องชำระเงินคืน ทำให้มีผู้กู้ยืมมาติดต่อชำระเงินคืนแล้วทั้งสิ้น 2,030,118 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.97 ของผู้ที่ครบกำหนดชำระหนี้ โดยในจำนวนผู้ที่มาชำระเงินคืน มีผู้มาชำระเงินคืนตรงตามกำหนด และชำระเงินเพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมา โดยได้รับเงินคืนประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งกองทุนฯ จะได้นำเงินจำนวนนี้มาหมุนเวียนให้แก่นักเรียน นักศึกษารุ่นน้องต่อไป
ส่วนการดำเนินงานกองทุน กรอ. ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะลดข้อจำกัดของการเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา สำหรับปีการศึกษา 2555 ให้กู้ยืมแก่นักศึกษาที่เรียนในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก และมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคน จำนวน 1,005 สาขาวิชา มีสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 772 แห่ง ผลการดำเนินงานกองทุน กรอ. มีสาขาวิชาในระดับอุดมศึกษาที่มีผู้ขอกู้ยืมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สาขาการบัญชี สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาภาษาอังกฤษ สาขาพยาบาลศาสตร์ และสาขาธุรกิจการบิน สำหรับสาขาวิชาในระดับ ปวส. ที่มีผู้กู้ยืมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาเครื่องกล สาขาการบัญชี สาขาเทคโนโลยี-สารสนเทศ และสาขาไฟฟ้ากำลัง ตามลำดับ ทั้งนี้ ปีการศึกษา 2555 เป็นครั้งแรกที่กองทุนฯ ให้ผู้กู้ยืมกองทุน กรอ. ซึ่งมาจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำกว่า 200,000 บาทต่อปี สามารถกู้ยืมค่าครองชีพได้
สิ่งที่กองทุนฯ กำลังเร่งดำเนินการเพื่อให้ทันปีการศึกษา 2556 คือ การยกร่างกฎหมายให้การดำเนินการกู้ยืมเพื่อการศึกษามีการบูรณาการครอบคลุมการดำเนินงานของโครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต โดยควบรวมกฎหมาย กยศ. เป็นส่วนหนึ่ง เพื่อให้การกู้ยืมมีเอกภาพ และเป็นระบบเดียวกัน และนักเรียน นักศึกษา ที่จะขอกู้ยืมสามารถดำเนินการได้อย่างสะดวก โดยไม่เกิดความสับสนในการดำเนินการ ผู้จัดการกองทุนฯ กล่าวในที่สุด
นายธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ 2555 ว่า ในปีการศึกษา 2555 กองทุนฯ ได้ดำเนินการกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ควบคู่ไปกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่นักเรียน นักศึกษา เนื่องจากเล็งเห็นว่า ทั้งสองกองทุนต่างมีข้อดี และให้โอกาสแก่เยาวชน กล่าวคือ กองทุน กรอ. เน้นการสนับสนุนให้เยาวชนเลือกเรียนต่อในหลักสูตรสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก และมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคน เฉพาะนักเรียน นักศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่า ส่วนกองทุน กยศ. เน้นการช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ครอบครัวขาดแคลนทุนทรัพย์
ผลการดำเนินงานที่สำคัญได้แก่ คณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติจัดสรรงบประมาณให้กู้ยืมกว่า 43,802 ล้านบาท โดยให้กู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตั้งแต่ชั้นมัธยมปลายทั้งสายสามัญ และสายอาชีพ จนถึงระดับปริญญาตรี จำนวน 868,354 ราย ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย และในปีนี้ กองทุนฯ มีนโยบายสนับสนุนผู้ที่เรียนในสายอาชีพ โดยการปรับเพิ่มค่าครองชีพให้แก่นักศึกษาระดับ ปวช. ให้เท่ากับระดับ ปวส. และปริญญาตรี
ด้านการติดตามหนี้ กองทุนฯ ได้นำนโยบายเชิงรุก โดยจัดทำ “โครงการบวกพลังฟื้นฟู ผู้กู้ กยศ.” ซึ่งได้รับความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.) ในการติดตามผู้กู้ยืมที่ค้างชำระ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกองทุนฯ ที่ถูกต้อง ซึ่งผู้กู้ยืมที่จบการศึกษาแล้ว 2 ปี มีหน้าที่ต้องชำระเงินคืน ทำให้มีผู้กู้ยืมมาติดต่อชำระเงินคืนแล้วทั้งสิ้น 2,030,118 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.97 ของผู้ที่ครบกำหนดชำระหนี้ โดยในจำนวนผู้ที่มาชำระเงินคืน มีผู้มาชำระเงินคืนตรงตามกำหนด และชำระเงินเพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมา โดยได้รับเงินคืนประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งกองทุนฯ จะได้นำเงินจำนวนนี้มาหมุนเวียนให้แก่นักเรียน นักศึกษารุ่นน้องต่อไป
ส่วนการดำเนินงานกองทุน กรอ. ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะลดข้อจำกัดของการเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา สำหรับปีการศึกษา 2555 ให้กู้ยืมแก่นักศึกษาที่เรียนในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก และมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคน จำนวน 1,005 สาขาวิชา มีสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 772 แห่ง ผลการดำเนินงานกองทุน กรอ. มีสาขาวิชาในระดับอุดมศึกษาที่มีผู้ขอกู้ยืมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สาขาการบัญชี สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาภาษาอังกฤษ สาขาพยาบาลศาสตร์ และสาขาธุรกิจการบิน สำหรับสาขาวิชาในระดับ ปวส. ที่มีผู้กู้ยืมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาเครื่องกล สาขาการบัญชี สาขาเทคโนโลยี-สารสนเทศ และสาขาไฟฟ้ากำลัง ตามลำดับ ทั้งนี้ ปีการศึกษา 2555 เป็นครั้งแรกที่กองทุนฯ ให้ผู้กู้ยืมกองทุน กรอ. ซึ่งมาจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำกว่า 200,000 บาทต่อปี สามารถกู้ยืมค่าครองชีพได้
สิ่งที่กองทุนฯ กำลังเร่งดำเนินการเพื่อให้ทันปีการศึกษา 2556 คือ การยกร่างกฎหมายให้การดำเนินการกู้ยืมเพื่อการศึกษามีการบูรณาการครอบคลุมการดำเนินงานของโครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต โดยควบรวมกฎหมาย กยศ. เป็นส่วนหนึ่ง เพื่อให้การกู้ยืมมีเอกภาพ และเป็นระบบเดียวกัน และนักเรียน นักศึกษา ที่จะขอกู้ยืมสามารถดำเนินการได้อย่างสะดวก โดยไม่เกิดความสับสนในการดำเนินการ ผู้จัดการกองทุนฯ กล่าวในที่สุด