เอเอฟพี - “ความบ้าเรียน” กำลังทำร้ายเกาหลีใต้ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม กระทั่งรัฐบาลต้องเรียกร้องให้เยาวชนเข้าสู่ตลาดแรงงานเร็วขึ้น แทนการตั้งหน้าเข้ามหาวิทยาลัยโดยไร้เป้าหมายชัดเจนเพื่อจบออกมาแย่งชิงงานในบริษัทใหญ่ๆ พร้อมกันนี้ทางการยังรณรงค์ให้ภาคธุรกิจอ้าแขนรับผู้จบมัธยมปลายเข้าทำงานมากขึ้น
ซอง เอฮุน เคยมั่นใจว่าจะเดินตามรอยเท้าพ่อ เรียนจบจากมหาวิทยาลัยหัวกะทิของประเทศ ได้งานดีๆ ในบริษัทชั้นนำและมีความก้าวหน้าในอาชีพ
แต่ความฝันของหญิงสาววัย 23 ปีผู้นี้ริบหรี่ลงทุกขณะ หลังจากใบสมัครพร้อมประวัติย่อที่ส่งไปยังกว่า 40 บริษัทเมื่อปีที่แล้วก่อนที่จะเรียนจบในเดือนนี้ ถูกปฏิเสธทั้งหมด
ซองบอกว่า เกรด 3.7 จากมหาวิทยาลัยอีฮวา มหาวิทยาลัยสตรีชื่อดังของประเทศ บวกประสบการณ์การเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนไปเรียนฮ่องกง 1 ปี ทักษะภาษาอังกฤษไร้ที่ติ และการฝึกงานในบริษัท 2 แห่ง ของเธอ ในปัจจุบันเป็นเพียงคุณสมบัติพื้นๆ เท่านั้น
“ฉันทุ่มเทอย่างหนัก แต่กลับพบว่า มีคนที่มีคุณสมบัติพอๆ กับฉันมากเกินไป แต่งานที่เปิดรับสมัครมีน้อยเกินไป”
ซองเป็นเพียงหนึ่งในบัณฑิตหนุ่มสาวเรียนดีที่มีอยู่มากมายในเกาหลีใต้ พวกเขาเผชิญกับอนาคตการทำงานอันมืดมนเนื่องจากมีบัณฑิตจบใหม่ล้นตลาดแรงงาน ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวหลังจากโตเร็วมาหลายทศวรรษ
ความบ้าเรียนของชาวกิมจิเป็นตัวขับเคลื่อนประเทศยากจนหลังสงครามให้กลายมาเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจโลก แต่วันนี้เยาวชนเกาหลีใต้ต่างมีประสบการณ์วัยเด็กที่เต็มไปด้วยความเครียดจากการแข่งกันเรียนเพื่อให้สอบติดมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง โดยคาดหวังว่ามันจะเป็นตัวแปรสำคัญสำหรับความร่ำรวย สถานะทางสังคม และกระทั่งแนวโน้มการแต่งงาน
มหาวิทยาลัยทรงเกียรติที่สุดของประเทศ ซึ่งหนุ่มสาวเกาหลีใต้ ต่างหวังที่จะสอบเข้าไปเรียน รู้จักกันในนามว่า SKY ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (Seoul National University) มหาวิทยาลัยเกาหลี (Korea University) และมหาวิทยาลัยยอนเซ (Yonsei University)
ทว่า จากสถิติว่างงานที่ขยับขึ้นทำให้รัฐบาลต้องออกมารณรงค์ให้เยาวชนยกเลิกแผนการเข้ามหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย ควบคู่กับผลักดันธุรกิจให้เปิดรับผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาเท่านั้น
ปีที่ผ่านมา นักเรียนมัธยมปลาย 72% เรียนต่อในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย เทียบกับสถิติสูงสุด 83.8% ในปี 2008 แต่ยังคงถือเป็นหนึ่งในสถิติสูงที่สุดในโลก
แต่งานซึ่งเป็นที่ต้องการของเหล่าบัณฑิตกลับมีจำนวนลดลง เนื่องจากระยะแห่งการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วกำลังเปิดทางให้แก่ช่วงแห่งการขับเคลื่อนในจังหวะที่นิ่งขึ้น นอกจากนั้นแล้ว หนุ่มสาวจำนวนมากขึ้นยังพากันหลีกเลี่ยงบริษัทขนาดกลางหรือเล็กที่เสนอเงินเดือนต่ำกว่า
คิม ไฮซัม นักวิจัยของสถาบันพัฒนาเกาหลี ชี้ว่าการมีคนจบการศึกษาขั้นสูงจำนวนมากเป็นสิ่งที่ดี แต่ปัญหาสำหรับเกาหลีใต้คือมีคนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้มากเกินไปเมื่อเทียบกับตำแหน่งงานที่เหมาะสม กลุ่มกิจการขนาดใหญ่อย่างซัมซุง แอลจี หรือฮุนได รองรับคนกลุ่มนี้ได้เพียง 10% ทว่า นักศึกษาเกือบทุกคนต่างบอกว่า พวกเขาเหมาะสมกับงานในบริษัทใหญ่เหล่านี้เท่านั้น
ประธานาธิบดี อี มย็องบั๊ก พยายามเรียกร้องให้นักศึกษาลดมาตรฐานลง และทำงานในบริษัทธรรมดาๆ รวมทั้งสนับสนุนโรงเรียนอาชีวศึกษา เนื่องจากเล็งเห็นว่า 'การเฟ้อทางการศึกษา’ กำลังสร้างปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
อี ยังเสนอให้หน่วยงานรัฐบาลกำหนดโควตาการจ้างงานผู้จบแค่ชั้นมัธยมปลาย เพื่อส่งเสริมให้วัยรุ่นหันมาหางานทำหลังจบมัธยมแทนที่จะตั้งหน้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษาโดยปราศจากเป้าหมายชัดเจน
ด้านกระทรวงแรงงานก็กำลังพยายามให้มีแผนการสนับสนุนเยาวชนเข้าสู่ตลาดแรงงานเร็วขึ้น เพื่อลดจำนวนผู้เข้าเรียนระดับอุดมศึกษา และผ่อนคลายการเลือกปฏิบัติกับผู้จบมัธยมปลายในด้านค่าแรงและการเลื่อนตำแหน่ง
แม้อัตราว่างงานโดยรวมของทางการอยู่ที่ราว 3% ทว่าสำหรับกลุ่มคนอายุ 25-29 ปี ตัวเลขกลับเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2 เท่า นอกจากนี้ในไตรมาส 2 จำนวนบัณฑิตตกงานที่คาดว่ามีทั้งสิ้น 373,000 คน ยังแซงหน้าจำนวนผู้จบมัธยมปลายที่ว่างงานเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี
ขณะเดียวกัน ดูเหมือนบริษัทใหญ่ๆ ตอบรับเสียงเรียกร้องของรัฐบาลเป็นอย่างดี โดยมีการว่าจ้างหรือสัญญาว่าจะจ้างผู้ที่จบมัธยมปลายและเลื่อนตำแหน่งคนเหล่านี้มากขึ้น
ปีนี้ซัมซุงจ้างผู้จบมัธยมปลาย 700 คนทำงานนั่งโต๊ะ ซึ่งไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก ขณะที่เอสเค กรุ๊ปประกาศเปิดรับสมัครผู้จบมัธยมปลาย 2,100 คนในปีนี้ หรือเพิ่มขึ้น 30%
บริษัทชั้นนำอื่นๆ เช่น แอลจีและฮุนได มอเตอร์เปิดแผนว่าจ้างผู้จบมัธยมปลายจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเช่นเดียวกัน
แต่สำหรับวันนี้ บัณฑิตอย่างซอง กำลังอยู่ในอาการสิ้นหวัง
“ถ้าฉันมีลูก ฉันจะไม่กดดันให้ลูกเข้ามหาวิทยาลัยเหมือนพ่อแม่ของฉัน แต่จะให้พวกเขาค้นหาสิ่งที่ต้องการอย่างแท้จริงแทนที่จะไล่ตามกระแสสังคม
“แต่สำหรับตอนนี้ การแต่งงานและมีลูกคงเป็นไปไม่ได้ จนกว่าฉันจะหางานทำให้ได้เสียก่อน”
ซอง เอฮุน เคยมั่นใจว่าจะเดินตามรอยเท้าพ่อ เรียนจบจากมหาวิทยาลัยหัวกะทิของประเทศ ได้งานดีๆ ในบริษัทชั้นนำและมีความก้าวหน้าในอาชีพ
แต่ความฝันของหญิงสาววัย 23 ปีผู้นี้ริบหรี่ลงทุกขณะ หลังจากใบสมัครพร้อมประวัติย่อที่ส่งไปยังกว่า 40 บริษัทเมื่อปีที่แล้วก่อนที่จะเรียนจบในเดือนนี้ ถูกปฏิเสธทั้งหมด
ซองบอกว่า เกรด 3.7 จากมหาวิทยาลัยอีฮวา มหาวิทยาลัยสตรีชื่อดังของประเทศ บวกประสบการณ์การเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนไปเรียนฮ่องกง 1 ปี ทักษะภาษาอังกฤษไร้ที่ติ และการฝึกงานในบริษัท 2 แห่ง ของเธอ ในปัจจุบันเป็นเพียงคุณสมบัติพื้นๆ เท่านั้น
“ฉันทุ่มเทอย่างหนัก แต่กลับพบว่า มีคนที่มีคุณสมบัติพอๆ กับฉันมากเกินไป แต่งานที่เปิดรับสมัครมีน้อยเกินไป”
ซองเป็นเพียงหนึ่งในบัณฑิตหนุ่มสาวเรียนดีที่มีอยู่มากมายในเกาหลีใต้ พวกเขาเผชิญกับอนาคตการทำงานอันมืดมนเนื่องจากมีบัณฑิตจบใหม่ล้นตลาดแรงงาน ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวหลังจากโตเร็วมาหลายทศวรรษ
ความบ้าเรียนของชาวกิมจิเป็นตัวขับเคลื่อนประเทศยากจนหลังสงครามให้กลายมาเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจโลก แต่วันนี้เยาวชนเกาหลีใต้ต่างมีประสบการณ์วัยเด็กที่เต็มไปด้วยความเครียดจากการแข่งกันเรียนเพื่อให้สอบติดมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง โดยคาดหวังว่ามันจะเป็นตัวแปรสำคัญสำหรับความร่ำรวย สถานะทางสังคม และกระทั่งแนวโน้มการแต่งงาน
มหาวิทยาลัยทรงเกียรติที่สุดของประเทศ ซึ่งหนุ่มสาวเกาหลีใต้ ต่างหวังที่จะสอบเข้าไปเรียน รู้จักกันในนามว่า SKY ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (Seoul National University) มหาวิทยาลัยเกาหลี (Korea University) และมหาวิทยาลัยยอนเซ (Yonsei University)
ทว่า จากสถิติว่างงานที่ขยับขึ้นทำให้รัฐบาลต้องออกมารณรงค์ให้เยาวชนยกเลิกแผนการเข้ามหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย ควบคู่กับผลักดันธุรกิจให้เปิดรับผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาเท่านั้น
ปีที่ผ่านมา นักเรียนมัธยมปลาย 72% เรียนต่อในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย เทียบกับสถิติสูงสุด 83.8% ในปี 2008 แต่ยังคงถือเป็นหนึ่งในสถิติสูงที่สุดในโลก
แต่งานซึ่งเป็นที่ต้องการของเหล่าบัณฑิตกลับมีจำนวนลดลง เนื่องจากระยะแห่งการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วกำลังเปิดทางให้แก่ช่วงแห่งการขับเคลื่อนในจังหวะที่นิ่งขึ้น นอกจากนั้นแล้ว หนุ่มสาวจำนวนมากขึ้นยังพากันหลีกเลี่ยงบริษัทขนาดกลางหรือเล็กที่เสนอเงินเดือนต่ำกว่า
คิม ไฮซัม นักวิจัยของสถาบันพัฒนาเกาหลี ชี้ว่าการมีคนจบการศึกษาขั้นสูงจำนวนมากเป็นสิ่งที่ดี แต่ปัญหาสำหรับเกาหลีใต้คือมีคนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้มากเกินไปเมื่อเทียบกับตำแหน่งงานที่เหมาะสม กลุ่มกิจการขนาดใหญ่อย่างซัมซุง แอลจี หรือฮุนได รองรับคนกลุ่มนี้ได้เพียง 10% ทว่า นักศึกษาเกือบทุกคนต่างบอกว่า พวกเขาเหมาะสมกับงานในบริษัทใหญ่เหล่านี้เท่านั้น
ประธานาธิบดี อี มย็องบั๊ก พยายามเรียกร้องให้นักศึกษาลดมาตรฐานลง และทำงานในบริษัทธรรมดาๆ รวมทั้งสนับสนุนโรงเรียนอาชีวศึกษา เนื่องจากเล็งเห็นว่า 'การเฟ้อทางการศึกษา’ กำลังสร้างปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
อี ยังเสนอให้หน่วยงานรัฐบาลกำหนดโควตาการจ้างงานผู้จบแค่ชั้นมัธยมปลาย เพื่อส่งเสริมให้วัยรุ่นหันมาหางานทำหลังจบมัธยมแทนที่จะตั้งหน้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษาโดยปราศจากเป้าหมายชัดเจน
ด้านกระทรวงแรงงานก็กำลังพยายามให้มีแผนการสนับสนุนเยาวชนเข้าสู่ตลาดแรงงานเร็วขึ้น เพื่อลดจำนวนผู้เข้าเรียนระดับอุดมศึกษา และผ่อนคลายการเลือกปฏิบัติกับผู้จบมัธยมปลายในด้านค่าแรงและการเลื่อนตำแหน่ง
แม้อัตราว่างงานโดยรวมของทางการอยู่ที่ราว 3% ทว่าสำหรับกลุ่มคนอายุ 25-29 ปี ตัวเลขกลับเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2 เท่า นอกจากนี้ในไตรมาส 2 จำนวนบัณฑิตตกงานที่คาดว่ามีทั้งสิ้น 373,000 คน ยังแซงหน้าจำนวนผู้จบมัธยมปลายที่ว่างงานเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี
ขณะเดียวกัน ดูเหมือนบริษัทใหญ่ๆ ตอบรับเสียงเรียกร้องของรัฐบาลเป็นอย่างดี โดยมีการว่าจ้างหรือสัญญาว่าจะจ้างผู้ที่จบมัธยมปลายและเลื่อนตำแหน่งคนเหล่านี้มากขึ้น
ปีนี้ซัมซุงจ้างผู้จบมัธยมปลาย 700 คนทำงานนั่งโต๊ะ ซึ่งไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก ขณะที่เอสเค กรุ๊ปประกาศเปิดรับสมัครผู้จบมัธยมปลาย 2,100 คนในปีนี้ หรือเพิ่มขึ้น 30%
บริษัทชั้นนำอื่นๆ เช่น แอลจีและฮุนได มอเตอร์เปิดแผนว่าจ้างผู้จบมัธยมปลายจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเช่นเดียวกัน
แต่สำหรับวันนี้ บัณฑิตอย่างซอง กำลังอยู่ในอาการสิ้นหวัง
“ถ้าฉันมีลูก ฉันจะไม่กดดันให้ลูกเข้ามหาวิทยาลัยเหมือนพ่อแม่ของฉัน แต่จะให้พวกเขาค้นหาสิ่งที่ต้องการอย่างแท้จริงแทนที่จะไล่ตามกระแสสังคม
“แต่สำหรับตอนนี้ การแต่งงานและมีลูกคงเป็นไปไม่ได้ จนกว่าฉันจะหางานทำให้ได้เสียก่อน”