“ความบ้าเรียน” กำลังทำร้ายเกาหลีใต้ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม กระทั่งรัฐบาลต้องเรียกร้องให้เยาวชนเข้าสู่ตลาดแรงงานเร็วขึ้น แทนการตั้งหน้าเข้ามหาวิทยาลัยโดยไร้เป้าหมายชัดเจนเพื่อจบออกมาแย่งชิงงานในบริษัทใหญ่ๆ พร้อมกันนี้ทางการยังรณรงค์ให้ภาคธุรกิจอ้าแขนรับผู้จบมัธยมปลายเข้าทำงานมากขึ้น
ความบ้าเรียนของชาวกิมจิเป็นตัวขับเคลื่อนประเทศยากจนหลังสงครามให้กลายมาเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจโลก แต่วันนี้เยาวชนเกาหลีใต้ต่างมีประสบการณ์วัยเด็กที่เต็มไปด้วยความเครียดจากการแข่งกันเรียนเพื่อให้สอบติดมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง โดยคาดหวังว่ามันจะเป็นตัวแปรสำคัญสำหรับความร่ำรวย สถานะทางสังคม และกระทั่งแนวโน้มการแต่งงาน
มหาวิทยาลัยทรงเกียรติที่สุดของประเทศ ซึ่งหนุ่มสาวเกาหลีใต้ ต่างหวังที่จะสอบเข้าไปเรียน รู้จักกันในนามว่า SKY ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (Seoul National University) มหาวิทยาลัยเกาหลี (Korea University) และมหาวิทยาลัยยอนเซ (Yonsei University)
ทว่า จากสถิติว่างงานที่ขยับขึ้นทำให้รัฐบาลต้องออกมารณรงค์ให้เยาวชนยกเลิกแผนการเข้ามหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย ควบคู่กับผลักดันธุรกิจให้เปิดรับผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาเท่านั้น
ปีที่ผ่านมา นักเรียนมัธยมปลาย 72% เรียนต่อในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย เทียบกับสถิติสูงสุด 83.8% ในปี 2008 แต่ยังคงถือเป็นหนึ่งในสถิติสูงที่สุดในโลก
แต่งานซึ่งเป็นที่ต้องการของเหล่าบัณฑิตกลับมีจำนวนลดลง เนื่องจากระยะแห่งการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วกำลังเปิดทางให้แก่ช่วงแห่งการขับเคลื่อนในจังหวะที่นิ่งขึ้น นอกจากนั้นแล้ว หนุ่มสาวจำนวนมากขึ้นยังพากันหลีกเลี่ยงบริษัทขนาดกลางหรือเล็กที่เสนอเงินเดือนต่ำกว่า
ความบ้าเรียนของชาวกิมจิเป็นตัวขับเคลื่อนประเทศยากจนหลังสงครามให้กลายมาเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจโลก แต่วันนี้เยาวชนเกาหลีใต้ต่างมีประสบการณ์วัยเด็กที่เต็มไปด้วยความเครียดจากการแข่งกันเรียนเพื่อให้สอบติดมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง โดยคาดหวังว่ามันจะเป็นตัวแปรสำคัญสำหรับความร่ำรวย สถานะทางสังคม และกระทั่งแนวโน้มการแต่งงาน
มหาวิทยาลัยทรงเกียรติที่สุดของประเทศ ซึ่งหนุ่มสาวเกาหลีใต้ ต่างหวังที่จะสอบเข้าไปเรียน รู้จักกันในนามว่า SKY ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (Seoul National University) มหาวิทยาลัยเกาหลี (Korea University) และมหาวิทยาลัยยอนเซ (Yonsei University)
ทว่า จากสถิติว่างงานที่ขยับขึ้นทำให้รัฐบาลต้องออกมารณรงค์ให้เยาวชนยกเลิกแผนการเข้ามหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย ควบคู่กับผลักดันธุรกิจให้เปิดรับผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาเท่านั้น
ปีที่ผ่านมา นักเรียนมัธยมปลาย 72% เรียนต่อในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย เทียบกับสถิติสูงสุด 83.8% ในปี 2008 แต่ยังคงถือเป็นหนึ่งในสถิติสูงที่สุดในโลก
แต่งานซึ่งเป็นที่ต้องการของเหล่าบัณฑิตกลับมีจำนวนลดลง เนื่องจากระยะแห่งการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วกำลังเปิดทางให้แก่ช่วงแห่งการขับเคลื่อนในจังหวะที่นิ่งขึ้น นอกจากนั้นแล้ว หนุ่มสาวจำนวนมากขึ้นยังพากันหลีกเลี่ยงบริษัทขนาดกลางหรือเล็กที่เสนอเงินเดือนต่ำกว่า