นครศรีธรรมราช - สกว.หนุนทุนวิจัยบริหารจัดการน้ำคลองท่าดี หลังเทศบาลนครนครศรีธรรมราชวิกฤตขาดน้ำดิบผลิตน้ำประปา เพื่อจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำคลองท่าดี ทำการศึกษาพื้นที่ 9 อบต.เพื่อร่วมในการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
นายคณพัฒน์ ทองคำ หัวหน้าโครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบบูรณาการความร่วมมือในระดับพื้นที่ กรณีเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำและภัยพิบัติจากน้ำอย่างมีส่วนร่วม ลุ่มน้ำย่อยคลองท่าดี จังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ได้มีการเร่งรัดและสร้างการมีส่วนร่วมของหลายฝ่ายในพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจโครงการ เพื่อศึกษาการสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีที่เกี่ยวข้องต่อการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การเกษตร และการจัดการภัยพิบัติ ผ่านการจัดทำระบบสารสนเทศเรื่องน้ำ และกิจกรรมการฟื้นฟูรักษาและใช้ประโยชน์จากน้ำ บูรณาการระบบฐานข้อมูลท้องถิ่นกับหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักเรื่องน้ำ และการจัดการภัยพิบัติ สร้างแนวทางการประสาน หรือบูรณาการแผนการจัดการทรัพยากรน้ำและภัยพิบัติในระดับจังหวัด รวมถึงแผนปฏิบัติการระดับพื้นที่ รวมทั้งพัฒนารูปแบบการจัดการน้ำระดับลุ่มน้ำย่อยในนครศรีธรรมราช
นายคณพัฒน์ ทองคำ หัวหน้าโครงการวิจัยนี้ ยังกล่าวอีกว่า สำหรับพื้นที่ที่ทำการศึกษาได้แก่พื้นที่คลองท่าดี ซึ่งเป็นคลองสายหลักที่การประปาส่วนภูมิภาคนำมาผลิตน้ำประปาเพื่อคนในเขตเมือง มีระยะทางยาวประมาณ 63 กิโลเมตร โดยทำการศึกษาในพื้นที่ 9 อบต. ประกอบด้วยพื้นที่ต้นน้ำได้แก่ ตำบลกำโลน ท่าดี กำแพงเซา พื้นที่กลางน้ำได้แก่ นาสาร ไชยมนตรี โพธิ์เสด็จ มะม่วงสองต้น ช้างซ้าย ท่าเรือ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช และตำบลนาทราย ส่วนปลายน้ำ คือ ตำบลท่าไร่ ปากนคร ท่าซัก ซึ่งเป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำแล้ง และโดยเฉพาะชุมชนเมืองถึงกับวิกฤตหนัก
เนื่องจากเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ขาดน้ำดิบอย่างรุนแรงในการผลิตน้ำประปาสู่ระบบการจำหน่าย หลังการประชุมคณะทำงานแล้ว จะลงพื้นที่ดูงานพื้นที่ต้นแบบ คือ พื้นที่ปากพูน และบางจาก ก่อนจะจัดทำเวทีปรับปรุงแผนแม่บทชุมชน การจัดทำข้อมูลน้ำ จัดทำระบบสารสนเทศเรื่องน้ำ สรุปการขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนแม่บทชุมชน จัดเวทีเรียนรู้จากข้อมูลและสารสนเทศนำสู่การปรับปรุงแผนแม่บท และแผนการจัดการน้ำในระดับตำบล สุดท้าย มีการจัดทำแผนแม่บทจัดการน้ำระดับลุ่มน้ำย่อย
ขณะที่นายยงยุทธ นาทะชัย ปลัดเทศบาลตำบลบางจาก ซึ่งได้นำเสนอพื้นที่ตัวอย่างในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วม กล่าวว่า ในส่วนของเทศบาลตำบลบางจาก ซึ่งได้ดำเนินการเรื่องนี้ยาวนานประมาณ 3 ปี ปรากฏผลเรื่องการบริหารจัดการน้ำอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะอุทกภัย และภัยแล้งที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา โดยในช่วงที่เกิดภาวะอุทกภัย สามารถนำระบบ GIS มาตรวจสอบพื้นที่ประสบภัยที่แท้จริง บ้านเรือนของประชาชนที่อาศัยอยู่จริง ซึ่งเป็นข้อมูลต่างจากฐานของทางราชการ การจ่ายเงินชดเชยให้แก่บ้านที่ประสบภัย ส่วนในช่วงน้ำแล้ง ซึ่งประชาชนมีปัญหาทั้งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค น้ำเพื่อการเกษตร การจัดการอย่างเป็นระบบ ทำให้ประชาชนมีน้ำเพื่อการใช้สอยอย่างพอเพียงตามความจำเป็น ไม่เกิดปัญหาความขัดแย้งในสังคมตามเส้นทางน้ำนั่นเอง
นายคณพัฒน์ ทองคำ หัวหน้าโครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบบูรณาการความร่วมมือในระดับพื้นที่ กรณีเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำและภัยพิบัติจากน้ำอย่างมีส่วนร่วม ลุ่มน้ำย่อยคลองท่าดี จังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ได้มีการเร่งรัดและสร้างการมีส่วนร่วมของหลายฝ่ายในพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจโครงการ เพื่อศึกษาการสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีที่เกี่ยวข้องต่อการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การเกษตร และการจัดการภัยพิบัติ ผ่านการจัดทำระบบสารสนเทศเรื่องน้ำ และกิจกรรมการฟื้นฟูรักษาและใช้ประโยชน์จากน้ำ บูรณาการระบบฐานข้อมูลท้องถิ่นกับหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักเรื่องน้ำ และการจัดการภัยพิบัติ สร้างแนวทางการประสาน หรือบูรณาการแผนการจัดการทรัพยากรน้ำและภัยพิบัติในระดับจังหวัด รวมถึงแผนปฏิบัติการระดับพื้นที่ รวมทั้งพัฒนารูปแบบการจัดการน้ำระดับลุ่มน้ำย่อยในนครศรีธรรมราช
นายคณพัฒน์ ทองคำ หัวหน้าโครงการวิจัยนี้ ยังกล่าวอีกว่า สำหรับพื้นที่ที่ทำการศึกษาได้แก่พื้นที่คลองท่าดี ซึ่งเป็นคลองสายหลักที่การประปาส่วนภูมิภาคนำมาผลิตน้ำประปาเพื่อคนในเขตเมือง มีระยะทางยาวประมาณ 63 กิโลเมตร โดยทำการศึกษาในพื้นที่ 9 อบต. ประกอบด้วยพื้นที่ต้นน้ำได้แก่ ตำบลกำโลน ท่าดี กำแพงเซา พื้นที่กลางน้ำได้แก่ นาสาร ไชยมนตรี โพธิ์เสด็จ มะม่วงสองต้น ช้างซ้าย ท่าเรือ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช และตำบลนาทราย ส่วนปลายน้ำ คือ ตำบลท่าไร่ ปากนคร ท่าซัก ซึ่งเป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำแล้ง และโดยเฉพาะชุมชนเมืองถึงกับวิกฤตหนัก
เนื่องจากเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ขาดน้ำดิบอย่างรุนแรงในการผลิตน้ำประปาสู่ระบบการจำหน่าย หลังการประชุมคณะทำงานแล้ว จะลงพื้นที่ดูงานพื้นที่ต้นแบบ คือ พื้นที่ปากพูน และบางจาก ก่อนจะจัดทำเวทีปรับปรุงแผนแม่บทชุมชน การจัดทำข้อมูลน้ำ จัดทำระบบสารสนเทศเรื่องน้ำ สรุปการขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนแม่บทชุมชน จัดเวทีเรียนรู้จากข้อมูลและสารสนเทศนำสู่การปรับปรุงแผนแม่บท และแผนการจัดการน้ำในระดับตำบล สุดท้าย มีการจัดทำแผนแม่บทจัดการน้ำระดับลุ่มน้ำย่อย
ขณะที่นายยงยุทธ นาทะชัย ปลัดเทศบาลตำบลบางจาก ซึ่งได้นำเสนอพื้นที่ตัวอย่างในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วม กล่าวว่า ในส่วนของเทศบาลตำบลบางจาก ซึ่งได้ดำเนินการเรื่องนี้ยาวนานประมาณ 3 ปี ปรากฏผลเรื่องการบริหารจัดการน้ำอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะอุทกภัย และภัยแล้งที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา โดยในช่วงที่เกิดภาวะอุทกภัย สามารถนำระบบ GIS มาตรวจสอบพื้นที่ประสบภัยที่แท้จริง บ้านเรือนของประชาชนที่อาศัยอยู่จริง ซึ่งเป็นข้อมูลต่างจากฐานของทางราชการ การจ่ายเงินชดเชยให้แก่บ้านที่ประสบภัย ส่วนในช่วงน้ำแล้ง ซึ่งประชาชนมีปัญหาทั้งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค น้ำเพื่อการเกษตร การจัดการอย่างเป็นระบบ ทำให้ประชาชนมีน้ำเพื่อการใช้สอยอย่างพอเพียงตามความจำเป็น ไม่เกิดปัญหาความขัดแย้งในสังคมตามเส้นทางน้ำนั่นเอง