โดย...“กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า”
บทความชี้แจงทำความเข้าใจต่อสาธารณชน และประชาคมโลก เรื่อง “ขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้”
อนึ่ง การใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมีทั้งหมด 3 ฉบับคือ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก, พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยมีเหตุผลความจำเป็นที่ต้องใช้คือ
1) เพื่อเปิดโอกาส และให้อภัยแก่ผู้ที่หลงผิดแล้วกลับใจ แทนที่จะถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา
2) เพื่อต้องการเวลาในการซักถาม และขยายผล เนื่องจากการก่อเหตุรุนแรงที่ปรากฏ เป็นการกระทำในลักษณะปิดลับ มีการวางแผนหลายขั้นตอน การก่อเหตุแต่ละครั้งจึงมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก ดังนั้นการซักถาม และขยายผลไปสู่ผู้เกี่ยวข้องต้องใช้เวลานานพอสมควร
3) เพื่อต้องการข้อมูลขยายผลไปสู่การหยุดยั้งการก่อเหตุที่อาจเกิดขึ้น จากผลการซักถาม สามารถขยายผลนำไปสู่กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง, สถานที่เก็บอาวุธ สถานที่เตรียมการก่อเหตุ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจยึดอาวุธ และยุทโธปกรณ์ที่เตรียมการก่อเหตุ และขัดขวางการก่อเหตุได้ทันท่วงที
การใช้กฎหมายพิเศษทั้ง 3 ฉบับไม่ได้ใช้เจาะจงเฉพาะไทยมลายู แต่มีผลบังคับใช้กับคนไทยทุกคนทั้งพุทธ และมุสลิม หากพบว่าผู้นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุรุนแรง แต่ถ้าตรวจสอบแล้วผู้นั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ก็จะถูกปล่อยตัวไปทันที โดยไม่ต้องควบคุมตัวให้ครบ 7 วัน หรือ 30 วัน
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้ออกระเบียบว่าด้วยวิธีปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการจับกุม และควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ห้ามซ้อม หรือทรมานโดยเด็ดขาด
สาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้คดีใช้เวลานาน หรือถูกยกฟ้อง คือ ประชาชนไม่กล้าเป็นพยาน พยานออกนอกพื้นที่ หรือพยานเสียชีวิตแล้ว เป็นต้น และนโยบายข้อหนึ่งของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 คือ อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนทุกหมู่เหล่าที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ เดินทางกลับมาอยู่อาศัยในภูมิลำเนาเดิมอย่างปกติสุข เพื่อร่วมกันสร้างสันติสุขด้วยกัน
โดยที่ผ่านมา ได้ดำเนินการด้วยความระมัดระวัง และใช้อำนาจเพียงบางส่วนเท่าที่จำเป็นเท่านั้น บนพื้นฐานของสิทธิของประชาชนและความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ทุกคนสามารถใช้ชีวิตประจำวันไปตามปกติ สามารถเดินทางไปทำงาน ไปทำสวน ไปทำไร่ ไปค้าขาย ไปทำธุรกิจ หรือไปประกอบศาสนกิจ ได้โดยไม่มีการจำกัดสิทธิแต่อย่างใด
ปัจจุบัน ได้มีการยกเลิก พ.ร.บ.กฎอัยการศึก และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วใน 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา และได้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินในอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานีแล้ว และขณะนี้ อยู่ในระหว่างประเมินผลเพื่อพิจารณายกเลิกกฎหมายพิเศษในอำเภออื่นๆ ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป โดยจะพิจารณาอำเภอที่มีความพร้อม ไม่มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นมานาน และประชาชนส่วนใหญ่ในอำเภอนั้นสนับสนุน
คำชี้แจงเพิ่มเติม
ในตอนต้นของการเกิดเหตุรุนแรงเมื่อต้นปี 2547 ยอมรับว่าเราไม่ทราบแน่ชัดว่า ใครเป็นผู้ก่อเหตุรุนแรง จึงได้เชิญตัว หรือควบคุมตัวประชาชนไว้จำนวนมาก แต่การควบคุมตัวก็ได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาตามลำดับ โดยขณะนี้ จะควบคุมตัวตามกฎหมายและยึดหลักสิทธิมนุษยชน และมีคู่มือการปฏิบัติในทุกขั้นตอน ทั้งนี้ ก่อนการควบคุมตัวจะต้องได้รับความยินยอมจากฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจ และฝ่ายทหารก่อน และจะเชิญผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ญาติพี่น้องมารับทราบ และร่วมสังเกตการณ์ด้วย
สำหรับในปี 2555 นี้ เราได้ควบคุมตัวเพียง 109 คน ปัจจุบันยังอยู่ในความดูแลประมาณ 10 คน นั่นหมายความว่า เราได้ดำเนินการไปด้วยความรอบคอบ ไม่เหวี่ยงแห แต่มีหลักฐานที่ชัดเจน และถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ก็จะไม่มีการควบคุมตัว สำหรับผู้ที่ถูกควบคุมตัวจะได้รับการดูแลและการเยียวยาเป็นอย่างดี และในปัจจุบันได้มีการยกเลิกบัญชีรายชื่อผู้ต้องสงสัยไปทั้งหมดแล้ว
ส่วนความห่วงใยเรื่องการซ้อมทรมานในระหว่างควบคุมตัวนั้นจะเห็นได้ว่าในห้วง 2 ปีที่ผ่านมา ไม่ปรากฏการร้องเรียนในเรื่องการซ้อมทรมานที่สำคัญ บางกรณีที่นำมากล่าวอ้างนั้น เป็นเรื่องเก่าทั้งสิ้น ซึ่งก็ได้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมไปแล้ว เจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดก็ถูกลงโทษ และผู้ที่ได้รับผลกระทบก็ได้รับการเยียวยาเป็นที่เรียบร้อย
เกี่ยวกับการจะยกเลิกกฎหมายพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ก็ได้ชี้แจงไปแล้วในตอนต้นนั้น
ก็ขอทวนอีกครั้งว่า ขณะนี้กำลังประเมินผล โดยการลงไปสอบถามประชาชนในพื้นที่ และประเมินผลสถานการณ์ในแต่ละอำเภอ หากปรากฏว่าอำเภอใดมีความพร้อม กล่าวคือ ไม่ปรากฏเหตุการณ์รุนแรงมาเป็นเวลานาน ประชาชนให้ความร่วมมือกับรัฐ ก็จะยกเลิกกฎหมายพิเศษในอำเภอนั้นๆ
(โปรดติดตามอ่านตอนแรก...“ขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ในชายแดนใต้ 1”)
บทความชี้แจงทำความเข้าใจต่อสาธารณชน และประชาคมโลก เรื่อง “ขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้”
อนึ่ง การใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมีทั้งหมด 3 ฉบับคือ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก, พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยมีเหตุผลความจำเป็นที่ต้องใช้คือ
1) เพื่อเปิดโอกาส และให้อภัยแก่ผู้ที่หลงผิดแล้วกลับใจ แทนที่จะถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา
2) เพื่อต้องการเวลาในการซักถาม และขยายผล เนื่องจากการก่อเหตุรุนแรงที่ปรากฏ เป็นการกระทำในลักษณะปิดลับ มีการวางแผนหลายขั้นตอน การก่อเหตุแต่ละครั้งจึงมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก ดังนั้นการซักถาม และขยายผลไปสู่ผู้เกี่ยวข้องต้องใช้เวลานานพอสมควร
3) เพื่อต้องการข้อมูลขยายผลไปสู่การหยุดยั้งการก่อเหตุที่อาจเกิดขึ้น จากผลการซักถาม สามารถขยายผลนำไปสู่กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง, สถานที่เก็บอาวุธ สถานที่เตรียมการก่อเหตุ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจยึดอาวุธ และยุทโธปกรณ์ที่เตรียมการก่อเหตุ และขัดขวางการก่อเหตุได้ทันท่วงที
การใช้กฎหมายพิเศษทั้ง 3 ฉบับไม่ได้ใช้เจาะจงเฉพาะไทยมลายู แต่มีผลบังคับใช้กับคนไทยทุกคนทั้งพุทธ และมุสลิม หากพบว่าผู้นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุรุนแรง แต่ถ้าตรวจสอบแล้วผู้นั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ก็จะถูกปล่อยตัวไปทันที โดยไม่ต้องควบคุมตัวให้ครบ 7 วัน หรือ 30 วัน
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้ออกระเบียบว่าด้วยวิธีปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการจับกุม และควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ห้ามซ้อม หรือทรมานโดยเด็ดขาด
สาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้คดีใช้เวลานาน หรือถูกยกฟ้อง คือ ประชาชนไม่กล้าเป็นพยาน พยานออกนอกพื้นที่ หรือพยานเสียชีวิตแล้ว เป็นต้น และนโยบายข้อหนึ่งของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 คือ อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนทุกหมู่เหล่าที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ เดินทางกลับมาอยู่อาศัยในภูมิลำเนาเดิมอย่างปกติสุข เพื่อร่วมกันสร้างสันติสุขด้วยกัน
โดยที่ผ่านมา ได้ดำเนินการด้วยความระมัดระวัง และใช้อำนาจเพียงบางส่วนเท่าที่จำเป็นเท่านั้น บนพื้นฐานของสิทธิของประชาชนและความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ทุกคนสามารถใช้ชีวิตประจำวันไปตามปกติ สามารถเดินทางไปทำงาน ไปทำสวน ไปทำไร่ ไปค้าขาย ไปทำธุรกิจ หรือไปประกอบศาสนกิจ ได้โดยไม่มีการจำกัดสิทธิแต่อย่างใด
ปัจจุบัน ได้มีการยกเลิก พ.ร.บ.กฎอัยการศึก และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วใน 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา และได้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินในอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานีแล้ว และขณะนี้ อยู่ในระหว่างประเมินผลเพื่อพิจารณายกเลิกกฎหมายพิเศษในอำเภออื่นๆ ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป โดยจะพิจารณาอำเภอที่มีความพร้อม ไม่มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นมานาน และประชาชนส่วนใหญ่ในอำเภอนั้นสนับสนุน
คำชี้แจงเพิ่มเติม
ในตอนต้นของการเกิดเหตุรุนแรงเมื่อต้นปี 2547 ยอมรับว่าเราไม่ทราบแน่ชัดว่า ใครเป็นผู้ก่อเหตุรุนแรง จึงได้เชิญตัว หรือควบคุมตัวประชาชนไว้จำนวนมาก แต่การควบคุมตัวก็ได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาตามลำดับ โดยขณะนี้ จะควบคุมตัวตามกฎหมายและยึดหลักสิทธิมนุษยชน และมีคู่มือการปฏิบัติในทุกขั้นตอน ทั้งนี้ ก่อนการควบคุมตัวจะต้องได้รับความยินยอมจากฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจ และฝ่ายทหารก่อน และจะเชิญผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ญาติพี่น้องมารับทราบ และร่วมสังเกตการณ์ด้วย
สำหรับในปี 2555 นี้ เราได้ควบคุมตัวเพียง 109 คน ปัจจุบันยังอยู่ในความดูแลประมาณ 10 คน นั่นหมายความว่า เราได้ดำเนินการไปด้วยความรอบคอบ ไม่เหวี่ยงแห แต่มีหลักฐานที่ชัดเจน และถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ก็จะไม่มีการควบคุมตัว สำหรับผู้ที่ถูกควบคุมตัวจะได้รับการดูแลและการเยียวยาเป็นอย่างดี และในปัจจุบันได้มีการยกเลิกบัญชีรายชื่อผู้ต้องสงสัยไปทั้งหมดแล้ว
ส่วนความห่วงใยเรื่องการซ้อมทรมานในระหว่างควบคุมตัวนั้นจะเห็นได้ว่าในห้วง 2 ปีที่ผ่านมา ไม่ปรากฏการร้องเรียนในเรื่องการซ้อมทรมานที่สำคัญ บางกรณีที่นำมากล่าวอ้างนั้น เป็นเรื่องเก่าทั้งสิ้น ซึ่งก็ได้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมไปแล้ว เจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดก็ถูกลงโทษ และผู้ที่ได้รับผลกระทบก็ได้รับการเยียวยาเป็นที่เรียบร้อย
เกี่ยวกับการจะยกเลิกกฎหมายพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ก็ได้ชี้แจงไปแล้วในตอนต้นนั้น
ก็ขอทวนอีกครั้งว่า ขณะนี้กำลังประเมินผล โดยการลงไปสอบถามประชาชนในพื้นที่ และประเมินผลสถานการณ์ในแต่ละอำเภอ หากปรากฏว่าอำเภอใดมีความพร้อม กล่าวคือ ไม่ปรากฏเหตุการณ์รุนแรงมาเป็นเวลานาน ประชาชนให้ความร่วมมือกับรัฐ ก็จะยกเลิกกฎหมายพิเศษในอำเภอนั้นๆ
(โปรดติดตามอ่านตอนแรก...“ขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ในชายแดนใต้ 1”)