ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนต่อรัฐบาล โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของรัฐบาล ที่จะจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
เมื่อวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกแถลงการณ์ เรื่อง การจัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้”
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และรัฐบาลมีแนวคิดจะจัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้” ขึ้นที่กรุงเทพฯ โดยรวมหน่วยงานทั้ง 16 กระทรวงที่เกี่ยวข้อง ทั้งงานความมั่นคง และงานการพัฒนา และมีแนวคิดที่จะให้กองทัพภาค 4 เป็นผู้กำกับดูแลฝ่ายพลเรือนทุกเรื่อง รวมทั้ง ศอ.บต. ทั้งๆ ที่มี พ.ร.บ. การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 อยู่แล้ว
สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เห็นว่า ในระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มากมาย เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบ แต่ผลงานไม่เป็นที่ประจักษ์ว่าสามารถแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ได้ และจากการฟังเสียงประชาชนในพื้นที่ มีการวิพากษ์วิจารณ์ และเริ่มขาดความเชื่อมั่นต่อนโยบายของกองทัพในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการประชุมเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2555 มติเป็นเอกฉันท์ ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของรัฐบาลที่จะจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีเหตุผลประกอบดังนี้
1.นโยบายการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2555-2557 ได้ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม การรับฟัง และสะท้อนความเห็นจากภาคประชาชนกับภาครัฐ โดยมีสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการ และเห็นพ้องไปในทิศทางเดียวกัน โดยได้แยกงานระหว่างฝ่ายความมั่นคงที่มี พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 กับงานด้านการพัฒนาฝ่ายผลเรือน ที่มี พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 ไว้อย่างชัดเจน และดำเนินยุทธศาสตร์สอดคล้องกับนโยบายการบริหาร และการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งคณะรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎรรับทราบแล้ว จึงเห็นว่า รัฐบาลควรบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว
2.ไม่เห็นด้วยในการมอบหมายให้แม่ทัพภาค 4 เป็นผู้กำกับดูแลกิจการในพื้นที่ครอบคลุมไปถึงกิจการฝ่ายผลเรือน และการอำนวยความยุติธรรม โดยแยกงานการพัฒนา และความมั่นคงออกจากกัน เห็นว่า ภารกิจของกองทัพมีมากอยู่แล้ว ควรเน้นการรักษาอธิปไตย และรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนเป็นหลัก จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในอำนาจรัฐให้มากยิ่งขึ้น
3.คณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ตาม พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 น่าจะเป็นศูนย์ปฏิบัติการที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และจะต้องผลักดันให้กระทรวงต่างๆ มีความเข้มแข็ง ทั้งกำลังคน และงบประมาณ โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการรักษาความสงบภายใน รวมทั้งการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ประกอบกับ พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 มีเจตนารมณ์หลักในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมการแก้ปัญหา จึงควรรับฟังเสียงจากประชาชนเจ้าของพื้นที่ ไม่ใช่เป็นการพิจารณา และสั่งการมาจากส่วนกลางอย่างเดียว
4.ในกรณีมีการกล่าวอ้าง ว่า การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะมี พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ พ.ร.บ.ความมั่นคงแห่งชาติซ้ำซ้อนกันอยู่ ขอเรียนว่า พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ผ่านขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนมาอย่างกว้างขวาง และผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภามาแล้ว เพราะฉะนั้น พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงไม่ได้ซ้ำซ้อนกับ พ.ร.บ.ความมั่นคงแห่งชาติ เนื่องจาก พ.ร.บ.ความมั่นคงแห่งชาติ รับผิดชอบในด้านการดูแลรักษาความสงบ และอธิปไตยของชาติ ส่วน พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ รับผิดชอบเรื่องการเมือง การปกครอง และการพัฒนา จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ในทางกลับกัน ยังเป็นการหนุนเสริม พ.ร.บ.ความมั่นคงแห่งชาติอีกด้วย อีกทั้งประชาชนค่อนข้างพึงพอใจกับการดำเนินการตาม พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้
ดังนั้น สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมาจากภาคประชาชน จึงแสดงจุดยืนมายังรัฐบาล เพื่อโปรดพิจารณา
เมื่อวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกแถลงการณ์ เรื่อง การจัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้”
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และรัฐบาลมีแนวคิดจะจัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้” ขึ้นที่กรุงเทพฯ โดยรวมหน่วยงานทั้ง 16 กระทรวงที่เกี่ยวข้อง ทั้งงานความมั่นคง และงานการพัฒนา และมีแนวคิดที่จะให้กองทัพภาค 4 เป็นผู้กำกับดูแลฝ่ายพลเรือนทุกเรื่อง รวมทั้ง ศอ.บต. ทั้งๆ ที่มี พ.ร.บ. การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 อยู่แล้ว
สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เห็นว่า ในระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มากมาย เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบ แต่ผลงานไม่เป็นที่ประจักษ์ว่าสามารถแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ได้ และจากการฟังเสียงประชาชนในพื้นที่ มีการวิพากษ์วิจารณ์ และเริ่มขาดความเชื่อมั่นต่อนโยบายของกองทัพในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการประชุมเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2555 มติเป็นเอกฉันท์ ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของรัฐบาลที่จะจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีเหตุผลประกอบดังนี้
1.นโยบายการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2555-2557 ได้ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม การรับฟัง และสะท้อนความเห็นจากภาคประชาชนกับภาครัฐ โดยมีสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการ และเห็นพ้องไปในทิศทางเดียวกัน โดยได้แยกงานระหว่างฝ่ายความมั่นคงที่มี พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 กับงานด้านการพัฒนาฝ่ายผลเรือน ที่มี พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 ไว้อย่างชัดเจน และดำเนินยุทธศาสตร์สอดคล้องกับนโยบายการบริหาร และการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งคณะรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎรรับทราบแล้ว จึงเห็นว่า รัฐบาลควรบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว
2.ไม่เห็นด้วยในการมอบหมายให้แม่ทัพภาค 4 เป็นผู้กำกับดูแลกิจการในพื้นที่ครอบคลุมไปถึงกิจการฝ่ายผลเรือน และการอำนวยความยุติธรรม โดยแยกงานการพัฒนา และความมั่นคงออกจากกัน เห็นว่า ภารกิจของกองทัพมีมากอยู่แล้ว ควรเน้นการรักษาอธิปไตย และรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนเป็นหลัก จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในอำนาจรัฐให้มากยิ่งขึ้น
3.คณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ตาม พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 น่าจะเป็นศูนย์ปฏิบัติการที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และจะต้องผลักดันให้กระทรวงต่างๆ มีความเข้มแข็ง ทั้งกำลังคน และงบประมาณ โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการรักษาความสงบภายใน รวมทั้งการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ประกอบกับ พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 มีเจตนารมณ์หลักในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมการแก้ปัญหา จึงควรรับฟังเสียงจากประชาชนเจ้าของพื้นที่ ไม่ใช่เป็นการพิจารณา และสั่งการมาจากส่วนกลางอย่างเดียว
4.ในกรณีมีการกล่าวอ้าง ว่า การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะมี พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ พ.ร.บ.ความมั่นคงแห่งชาติซ้ำซ้อนกันอยู่ ขอเรียนว่า พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ผ่านขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนมาอย่างกว้างขวาง และผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภามาแล้ว เพราะฉะนั้น พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงไม่ได้ซ้ำซ้อนกับ พ.ร.บ.ความมั่นคงแห่งชาติ เนื่องจาก พ.ร.บ.ความมั่นคงแห่งชาติ รับผิดชอบในด้านการดูแลรักษาความสงบ และอธิปไตยของชาติ ส่วน พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ รับผิดชอบเรื่องการเมือง การปกครอง และการพัฒนา จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ในทางกลับกัน ยังเป็นการหนุนเสริม พ.ร.บ.ความมั่นคงแห่งชาติอีกด้วย อีกทั้งประชาชนค่อนข้างพึงพอใจกับการดำเนินการตาม พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้
ดังนั้น สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมาจากภาคประชาชน จึงแสดงจุดยืนมายังรัฐบาล เพื่อโปรดพิจารณา