นายอับดุลอาซิซ ตาเดร์อิน อุปนายกหัวหน้าฝ่ายสิทธิมนุษยชน สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย (ยมท.) กล่าวยอมรับในแนวทางที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ก่อเหตุความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้ามอบตัว และพิจารณาให้เป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ตามแนวทางที่เปิดเผยโดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย และยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า นับเป็นเรื่องที่ดีในการคลี่คลายสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น แต่ย้ำเตือนว่า การพิจารณาตามมาตรา 21 ของ พ.ร.บ.ความมั่นคงนั้น ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการพิจารณารายบุคคล เนื่องจากผู้ก่อเหตุความไม่สงบในภาคใต้อาจต้องโทษหนักในบางคดี
มีรายงานว่า การลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ กปต.เพื่อย้ำนโยบายปรับการทำงานแก้ปัญหาภาคใต้ของรัฐบาลวานนี้ มีการหารือถึงกรณีผู้ก่อความไม่สงบ 40 คน ที่ยื่นข้อเสนอขอเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่รัฐ โดยอยู่ระหว่างการตรวจสอบรายละเอียด ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับมาตรา 21 พ.ร.บ.ความมั่นคง หรือไม่เชื่อมโยง เนื่องจากมาตรา 21 ตาม พ.ร.บ.ความมั่นคง ที่มีสาระสำคัญให้ผู้ก่อความไม่สงบที่หลงผิดกลับตัว และเข้ารับการอบรม มีข้อจำกัด และเงื่อนไขการบังคับใช้ตามกฎหมายอยู่ ซึ่งเบื้องต้นการตรวจสอบรายชื่อ 40 คน ที่ยื่นข้อเสนอเข้ามอบตัวมีบางคนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในพื้นที่ ขณะที่มาตรา 21 ตาม พ.ร.บ.ความมั่นคง มีความคล้ายและแตกต่างจากคำสั่ง 66/23 ที่ประกาศใช้เพื่อให้ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เข้ามอบตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยในอดีต เนื่องจากมาตรา 21 มีการกำหนดฐานความผิด และเงื่อนไขพื้นที่ ขณะที่คำสั่ง 66/23 ในขณะนั้นประกาศใช้ทุกพื้นที่ รวมทั้งลักษณะของผู้ก่อความไม่สงบภาคใต้กับกลุ่มคอมมิวนิสต์ต่างกัน ซึ่งผู้ก่อความไม่สงบภาคใต้ก่อเหตุกับทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชน ขณะที่คอมมิวนิสต์ในอดีตจะมุ่งต่อสู้เจ้าหน้าที่รัฐ แต่ไม่ทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์
มีรายงานว่า การลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ กปต.เพื่อย้ำนโยบายปรับการทำงานแก้ปัญหาภาคใต้ของรัฐบาลวานนี้ มีการหารือถึงกรณีผู้ก่อความไม่สงบ 40 คน ที่ยื่นข้อเสนอขอเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่รัฐ โดยอยู่ระหว่างการตรวจสอบรายละเอียด ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับมาตรา 21 พ.ร.บ.ความมั่นคง หรือไม่เชื่อมโยง เนื่องจากมาตรา 21 ตาม พ.ร.บ.ความมั่นคง ที่มีสาระสำคัญให้ผู้ก่อความไม่สงบที่หลงผิดกลับตัว และเข้ารับการอบรม มีข้อจำกัด และเงื่อนไขการบังคับใช้ตามกฎหมายอยู่ ซึ่งเบื้องต้นการตรวจสอบรายชื่อ 40 คน ที่ยื่นข้อเสนอเข้ามอบตัวมีบางคนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในพื้นที่ ขณะที่มาตรา 21 ตาม พ.ร.บ.ความมั่นคง มีความคล้ายและแตกต่างจากคำสั่ง 66/23 ที่ประกาศใช้เพื่อให้ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เข้ามอบตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยในอดีต เนื่องจากมาตรา 21 มีการกำหนดฐานความผิด และเงื่อนไขพื้นที่ ขณะที่คำสั่ง 66/23 ในขณะนั้นประกาศใช้ทุกพื้นที่ รวมทั้งลักษณะของผู้ก่อความไม่สงบภาคใต้กับกลุ่มคอมมิวนิสต์ต่างกัน ซึ่งผู้ก่อความไม่สงบภาคใต้ก่อเหตุกับทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชน ขณะที่คอมมิวนิสต์ในอดีตจะมุ่งต่อสู้เจ้าหน้าที่รัฐ แต่ไม่ทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์