กระบี่ - ชาวบ้านใกล้โรงไฟฟ้ากระบี่ ไม่มั่นใจผลกระทบโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ ระบุที่ผ่านมา บอกแต่ข้อดี ไม่เคยพูดถึงผลกระทบ
นายไพโรจน์ บุตรเผียน ประธานกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนและสิ่งแวดล้อม ต.ปกาสัย อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ เปิดเผยว่า ตามที่ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ในจังหวัดกระบี่ ที่จะสร้างในพื้นที่โรงไฟฟ้าเดิม เพื่อรองรับแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าของไทย ปี 2553-2573 โดยใช้ถ่านหินคุณภาพสูง ซับบิทูบินัส นำเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย ขนาดกำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้โครงการอยู่ระหว่าง การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA สร้างความรู้ ความเข้าใจ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับความจำเป็นของโครงการกับชุมชน หมู่ 2 ต.ปกาสัย อ.เหนือคลอง และพื้นที่ใกล้เคียง
การก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่นั้น ตนและชาวบ้านไม่มั่นใจถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน ทั้งด้านสุภาพ และสิ่งแวดล้อม ที่จะตามมาในอนาคต หลังจากที่ทางโรงไฟฟ้าเดินเครื่องไปแล้ว เพราะที่ผ่านมา พื้นที่ที่มีโรงไฟฟ้าส่วนมากจะได้รับผลกระทบตามมาแทบทุกพื้นที่ เนื่องจากที่ผ่านมา ประชาชนได้รับผลกระทบจากมลพิษจากโรงไฟฟ้าเดิมที่ใช้ถ่านหินลิกไนต์และน้ำมัน มีประชาชนป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ หอบหืด และพืชผลทางการเกษตร ต้นปาล์มน้ำมัน ยางพารา เสียหายเป็นจำนวนมาก จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงให้ข้อมูลความจริงถึงผลกระทบต่อชุมชน อย่าพูดแต่สิ่งที่ดีจนลืมพูดถึงผลเสีย
นายไพโรจน์ ยังกล่าวอีกว่า หากมีการตั้งโรงไฟฟ้าขึ้นปัญหาที่ตามมาคือ เรื่องของมลพิษทางอากาศ เพราะที่ผ่านมาในทุกๆ จังหวัดในประเทศไทย ชาวบ้านต่างก็ต่อต้านกันทุกพื้นที่ ในส่วนของจังหวัดกระบี่ถ้ามีการจัดตั้งโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ขึ้นอีก คาดว่าจะกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพราะปัจจุบันนี้สามารถสังเกตได้ว่า เวลาโรงไฟฟ้าผลิตกระแสไฟฟ้าแต่ละครั้ง จะมีคราบน้ำมันระเหยติดตามใบไม้และเสื้อผ้าในพื้นที่ใกล้เคียง และการขนย้ายถ่านหินเข้ามายังโรงไฟฟ้ากระบี่ก็ต้องนำเข้ามาทางคลองปกาสัย ซึ่งในขณะนี้ลำคลองตื้นเขินมาก เพราะทางโรงไฟฟ้าได้ปล่อยกากแร่ ที่ผ่านกระบวนการผลิตลงในลำคลองสามารถตรวจสอบได้ และที่สำคัญ หากมีการขุดลอกลำคลองก็จะกระทบในเรื่องของการดำรงชีวิตของชาวบ้านในชุมชนใกล้ลำคลอง และชาวประมง เพราะทำให้ระบบนิเวศทางธรรมชาติ รวมทั้งพื้นที่ป่าไม้ และสัตว์น้ำก็จะสูญหายไปในที่สุด
นายสมศักดิ์ นบนอบ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ต.ปกาสัย กล่าวว่า ขณะนี้ชาวบ้านในชุมชน และพื้นที่ใกล้เคียงไม่ค่อยมีข้อมูลข่าวสารในเรื่องของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าหลังใหม่ เพราะทางเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ชาวบ้าน จะพูดให้เห็นเป็นไปในทิศทางที่ดี ไม่ค่อยนำเสนอในเรื่องของผลกระทบที่จะตามมา หลังจากมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าหลังใหม่ ที่ผ่านมาตั้งแต่มีการก่อตั้งโรงไฟฟ้าขึ้น ชาวบ้านก็ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องของระบบทางเดินหายใจ และทรัพย์สินทางการเกษตรมาโดยตลอด แต่ชาวบ้านก็ยอมรับได้เพราะประโยชน์โดยรวม แต่ถ้ามีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มอีกชาวบ้านในพื้นที่และใกล้เคียงไม่สามารถรับได้
นายสุรพล วงศ์ธัญญกรณ์ ผอ.โรงไฟฟ้าภาคใต้ กล่าวว่า สำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ และฝั่งอันดามัน ที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 1 ปี ระหว่างปี 2555-2556 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน จำนวน 3 ครั้ง โดยครั้งแรกได้กำหนดขอบเขต และแนวทางการศึกษา ครั้งที่สองเพื่อประเมินผลการศึกษา และครั้งที่สาม เพื่อทบทวนร่างมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบ คาดว่าจะสร้างได้เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีโรงไฟฟ้าเดิมอยู่แล้ว และชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นด้วย และจะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างเคร่งครัด
นายไพโรจน์ บุตรเผียน ประธานกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนและสิ่งแวดล้อม ต.ปกาสัย อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ เปิดเผยว่า ตามที่ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ในจังหวัดกระบี่ ที่จะสร้างในพื้นที่โรงไฟฟ้าเดิม เพื่อรองรับแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าของไทย ปี 2553-2573 โดยใช้ถ่านหินคุณภาพสูง ซับบิทูบินัส นำเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย ขนาดกำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้โครงการอยู่ระหว่าง การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA สร้างความรู้ ความเข้าใจ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับความจำเป็นของโครงการกับชุมชน หมู่ 2 ต.ปกาสัย อ.เหนือคลอง และพื้นที่ใกล้เคียง
การก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่นั้น ตนและชาวบ้านไม่มั่นใจถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน ทั้งด้านสุภาพ และสิ่งแวดล้อม ที่จะตามมาในอนาคต หลังจากที่ทางโรงไฟฟ้าเดินเครื่องไปแล้ว เพราะที่ผ่านมา พื้นที่ที่มีโรงไฟฟ้าส่วนมากจะได้รับผลกระทบตามมาแทบทุกพื้นที่ เนื่องจากที่ผ่านมา ประชาชนได้รับผลกระทบจากมลพิษจากโรงไฟฟ้าเดิมที่ใช้ถ่านหินลิกไนต์และน้ำมัน มีประชาชนป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ หอบหืด และพืชผลทางการเกษตร ต้นปาล์มน้ำมัน ยางพารา เสียหายเป็นจำนวนมาก จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงให้ข้อมูลความจริงถึงผลกระทบต่อชุมชน อย่าพูดแต่สิ่งที่ดีจนลืมพูดถึงผลเสีย
นายไพโรจน์ ยังกล่าวอีกว่า หากมีการตั้งโรงไฟฟ้าขึ้นปัญหาที่ตามมาคือ เรื่องของมลพิษทางอากาศ เพราะที่ผ่านมาในทุกๆ จังหวัดในประเทศไทย ชาวบ้านต่างก็ต่อต้านกันทุกพื้นที่ ในส่วนของจังหวัดกระบี่ถ้ามีการจัดตั้งโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ขึ้นอีก คาดว่าจะกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพราะปัจจุบันนี้สามารถสังเกตได้ว่า เวลาโรงไฟฟ้าผลิตกระแสไฟฟ้าแต่ละครั้ง จะมีคราบน้ำมันระเหยติดตามใบไม้และเสื้อผ้าในพื้นที่ใกล้เคียง และการขนย้ายถ่านหินเข้ามายังโรงไฟฟ้ากระบี่ก็ต้องนำเข้ามาทางคลองปกาสัย ซึ่งในขณะนี้ลำคลองตื้นเขินมาก เพราะทางโรงไฟฟ้าได้ปล่อยกากแร่ ที่ผ่านกระบวนการผลิตลงในลำคลองสามารถตรวจสอบได้ และที่สำคัญ หากมีการขุดลอกลำคลองก็จะกระทบในเรื่องของการดำรงชีวิตของชาวบ้านในชุมชนใกล้ลำคลอง และชาวประมง เพราะทำให้ระบบนิเวศทางธรรมชาติ รวมทั้งพื้นที่ป่าไม้ และสัตว์น้ำก็จะสูญหายไปในที่สุด
นายสมศักดิ์ นบนอบ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ต.ปกาสัย กล่าวว่า ขณะนี้ชาวบ้านในชุมชน และพื้นที่ใกล้เคียงไม่ค่อยมีข้อมูลข่าวสารในเรื่องของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าหลังใหม่ เพราะทางเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ชาวบ้าน จะพูดให้เห็นเป็นไปในทิศทางที่ดี ไม่ค่อยนำเสนอในเรื่องของผลกระทบที่จะตามมา หลังจากมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าหลังใหม่ ที่ผ่านมาตั้งแต่มีการก่อตั้งโรงไฟฟ้าขึ้น ชาวบ้านก็ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องของระบบทางเดินหายใจ และทรัพย์สินทางการเกษตรมาโดยตลอด แต่ชาวบ้านก็ยอมรับได้เพราะประโยชน์โดยรวม แต่ถ้ามีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มอีกชาวบ้านในพื้นที่และใกล้เคียงไม่สามารถรับได้
นายสุรพล วงศ์ธัญญกรณ์ ผอ.โรงไฟฟ้าภาคใต้ กล่าวว่า สำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ และฝั่งอันดามัน ที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 1 ปี ระหว่างปี 2555-2556 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน จำนวน 3 ครั้ง โดยครั้งแรกได้กำหนดขอบเขต และแนวทางการศึกษา ครั้งที่สองเพื่อประเมินผลการศึกษา และครั้งที่สาม เพื่อทบทวนร่างมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบ คาดว่าจะสร้างได้เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีโรงไฟฟ้าเดิมอยู่แล้ว และชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นด้วย และจะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างเคร่งครัด