“วิทยา” ยกระยองเป็นพื้นที่พิเศษ จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ดูแลสุขภาพประชาชน ทั้งในและนอกเขตอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และทั่วถึง พัฒนาสินค้าโอทอปโซนภาคตะวันออกให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพีขั้นต้น
บ่ายวันนี้ (18 มิ.ย.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และคณะ ตรวจเยี่ยมราชการ ที่โรงพยาบาลระยอง จังหวัดระยอง เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ และเข้าเยี่ยมอาการของ นายบุญพึ่ง จิตต์ปลื้ม อายุ 48 ปี เป็นผู้ป่วยรายสุดท้ายใน 394 ราย ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์บริษัท บีเอสที อีลาสโตเมอร์ (มาบตาพุด) สารเคมีระเบิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2555 ซึ่งแพทย์รับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล 30 ราย ขณะนี้ผู้ป่วยพักรักษาตัวที่ห้องพิเศษ โรงพยาบาลระยอง จากการตรวจเยี่ยมพบผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ ยังเหลือปัญหากระดูกที่ส้นเท้าแตก ต้องฟื้นฟูต่อเนื่อง และมีปัญหาเยื่อแก้วหูทั้ง 2 ข้างทะลุ ไม่ได้ยิน จะได้รับเครื่องช่วยฟังในวันพฤหัสนี้ โดยอาการทั่วไปดีขึ้น
นายวิทยา กล่าวว่า ในกรอบของงานสาธารณสุขในจังหวัดระยอง นอกจากจะดูแลปัญหาการเจ็บป่วยทั่วๆไปเหมือนพื้นที่อื่นแล้ว ยังมีงานที่จะต้องดำเนินการเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการลงทุนภาคอุตสาหกรรม มีโรงงานประมาณ 2,235 แห่ง มีประชากรแฝงเข้าไปทำงานจำนวนมาก ทั้งคนไทยและแรงงานต่างด้าว รวมทั้งประชาชนพื้นที่ รวมทั้งจังหวัดมีมากกว่า 1 ล้านคน จะต้องให้การดูแลทั้งหมด รวมทั้งยังมีความเสี่ยงจากผลกระทบสุขภาพจากสารเคมีในระยะยาว จึงมอบนโยบายพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาล 4 แห่ง ได้แก่ รพ.ระยอง รพ.แกลง รพ.มาบตาพุด และ รพ.ปลวกแดง ให้สามารถพร้อมรับทั้งภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน โดยจะพิจารณาอย่างรอบคอบตามความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนอย่างเร็วที่สุด
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในด้านการรักษาพยาบาลได้ยกระดับโรงพยาบาลมาบตาพุดเป็นโรงพยาบาลขนาด 200 เตียง เพื่อดูแลผู้ป่วยที่เกิดจากการประกอบอาชีพ มีแพทย์เฉพาะทาง เพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่อีก 200 กว่าอัตรา และเพิ่มแพทย์อาชีวเวชศาสตร์เป็น 4 คน เพื่อเป็นศูนย์รองรับการส่งต่อผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมี และโรคจากการประกอบอาชีพอื่นๆ ซึ่งมีความจำเป็นมาก ขณะเดียวกัน ในด้านการเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ และมลพิษทางอากาศ น้ำ ดิน ได้มอบนโยบายให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชน ทั้งในเขตและนอกเขตควบคุมมลพิษอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ เพื่อตรวจสอบผลกระทบที่อาจมีต่อประชาชน ในปี 2556-2560 กระทรวงสาธารณสุข ได้วางแผนจัดบริการตรวจเฝ้าระวังปีละ 50 กว่าล้านบาท ตรวจสุขภาพประชากรปีละ 15,000 คน ในระยะยาวจะหารือการแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันผลกระทบ มีการตรวจเชิงลึก ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะมีมาตรการให้ลูกหลานแรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียนซื้อบัตรประกันสุขภาพเพิ่มเติมด้วย
ในส่วนของอาสาสมัครสาธารณสุข ได้มอบนโยบายให้ร่วมเฝ้าระวังตรวจสอบความผิดปกติของมลภาวะ มลพิษในพื้นที่ โดยให้จัดอบรม อสม.ด้านพิษภัยของสารเคมี เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันแก่ตนเองและชุมชน สามารถรองรับเมื่อเกิดวิกฤตฉุกเฉิน ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนโดยรวมด้วย นอกจากนี้ ยังมอบนโยบายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในภาคตะวันออกร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าโอทอป ยกระดับให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพีขั้นต้น รองรับครัวไทยสู่ครัวโลก ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค เนื่องจากโซนนี้มีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก หากสินค้าได้มาตรฐานจีเอ็มพีขั้นต้น ก็สามารถวางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้าได้
บ่ายวันนี้ (18 มิ.ย.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และคณะ ตรวจเยี่ยมราชการ ที่โรงพยาบาลระยอง จังหวัดระยอง เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ และเข้าเยี่ยมอาการของ นายบุญพึ่ง จิตต์ปลื้ม อายุ 48 ปี เป็นผู้ป่วยรายสุดท้ายใน 394 ราย ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์บริษัท บีเอสที อีลาสโตเมอร์ (มาบตาพุด) สารเคมีระเบิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2555 ซึ่งแพทย์รับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล 30 ราย ขณะนี้ผู้ป่วยพักรักษาตัวที่ห้องพิเศษ โรงพยาบาลระยอง จากการตรวจเยี่ยมพบผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ ยังเหลือปัญหากระดูกที่ส้นเท้าแตก ต้องฟื้นฟูต่อเนื่อง และมีปัญหาเยื่อแก้วหูทั้ง 2 ข้างทะลุ ไม่ได้ยิน จะได้รับเครื่องช่วยฟังในวันพฤหัสนี้ โดยอาการทั่วไปดีขึ้น
นายวิทยา กล่าวว่า ในกรอบของงานสาธารณสุขในจังหวัดระยอง นอกจากจะดูแลปัญหาการเจ็บป่วยทั่วๆไปเหมือนพื้นที่อื่นแล้ว ยังมีงานที่จะต้องดำเนินการเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการลงทุนภาคอุตสาหกรรม มีโรงงานประมาณ 2,235 แห่ง มีประชากรแฝงเข้าไปทำงานจำนวนมาก ทั้งคนไทยและแรงงานต่างด้าว รวมทั้งประชาชนพื้นที่ รวมทั้งจังหวัดมีมากกว่า 1 ล้านคน จะต้องให้การดูแลทั้งหมด รวมทั้งยังมีความเสี่ยงจากผลกระทบสุขภาพจากสารเคมีในระยะยาว จึงมอบนโยบายพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาล 4 แห่ง ได้แก่ รพ.ระยอง รพ.แกลง รพ.มาบตาพุด และ รพ.ปลวกแดง ให้สามารถพร้อมรับทั้งภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน โดยจะพิจารณาอย่างรอบคอบตามความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนอย่างเร็วที่สุด
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในด้านการรักษาพยาบาลได้ยกระดับโรงพยาบาลมาบตาพุดเป็นโรงพยาบาลขนาด 200 เตียง เพื่อดูแลผู้ป่วยที่เกิดจากการประกอบอาชีพ มีแพทย์เฉพาะทาง เพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่อีก 200 กว่าอัตรา และเพิ่มแพทย์อาชีวเวชศาสตร์เป็น 4 คน เพื่อเป็นศูนย์รองรับการส่งต่อผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมี และโรคจากการประกอบอาชีพอื่นๆ ซึ่งมีความจำเป็นมาก ขณะเดียวกัน ในด้านการเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ และมลพิษทางอากาศ น้ำ ดิน ได้มอบนโยบายให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชน ทั้งในเขตและนอกเขตควบคุมมลพิษอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ เพื่อตรวจสอบผลกระทบที่อาจมีต่อประชาชน ในปี 2556-2560 กระทรวงสาธารณสุข ได้วางแผนจัดบริการตรวจเฝ้าระวังปีละ 50 กว่าล้านบาท ตรวจสุขภาพประชากรปีละ 15,000 คน ในระยะยาวจะหารือการแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันผลกระทบ มีการตรวจเชิงลึก ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะมีมาตรการให้ลูกหลานแรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียนซื้อบัตรประกันสุขภาพเพิ่มเติมด้วย
ในส่วนของอาสาสมัครสาธารณสุข ได้มอบนโยบายให้ร่วมเฝ้าระวังตรวจสอบความผิดปกติของมลภาวะ มลพิษในพื้นที่ โดยให้จัดอบรม อสม.ด้านพิษภัยของสารเคมี เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันแก่ตนเองและชุมชน สามารถรองรับเมื่อเกิดวิกฤตฉุกเฉิน ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนโดยรวมด้วย นอกจากนี้ ยังมอบนโยบายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในภาคตะวันออกร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าโอทอป ยกระดับให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพีขั้นต้น รองรับครัวไทยสู่ครัวโลก ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค เนื่องจากโซนนี้มีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก หากสินค้าได้มาตรฐานจีเอ็มพีขั้นต้น ก็สามารถวางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้าได้