ตรัง - ม็อบต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน อ.กันตัง จ.ตรัง ร่วม 1,000 คน ลุกฮือบุกศาลากลางยื่นหนังสือค้านสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เรียกร้องให้ยกเลิกโครงการ หวั่นผลกระทบสิ่งแวดล้อม และชุมชน
วันนี้ (14 มิ.ย.) ที่หน้าศาลากลาง จ.ตรัง เครือข่ายชุมชนรักษ์บ้านเกิดและชาวบ้าน ต.วังวน ต.บางสัก และ ต.นาเกลือ อ.กันตัง ประมาณ 1,000 คน นำโดย นายวุฒิชัย หวังบริสุทธิ์ ได้เดินทางมาชุมนุมประท้วง เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านขอให้ยุติการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ อ.กันตัง ต่อนายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง โดยทางแกนนำได้มีการเปิดเวทีไฮด์ปาร์กผ่านเครื่องขยายเสียงบนรถบรรทุก 6 ล้อ โจมตีการทำงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และผลกระทบที่จะเกิดจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ ท่ามกลางการตรึงกำลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชน อส. และฝ่ายปกครองกว่า 100 คนอย่างเข้มงวด หวั่นเกิดเหตุบานปลายรุนแรง
นายวุฒิชัย แกนนำชาวบ้าน กล่าวว่า จากการที่ กฟผ.เข้ามาดำเนินการสำรวจเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินขนาด 800 เมกะวัตต์ในพื้นที่ ต.วังวน ต.นาเกลือ และ ต.บางสัก โดยเลือกพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งไม่ได้ดำเนินการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ประชาชนมีสิทธิ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อโครงการอันจะส่งผลกระทบต่อชุมชน จากนโยบายดังกล่าวของ กฟผ.ได้ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ เกิดความขัดแย้งแตกแยกกันอย่างเห็นได้ชัด
ประชาชนจึงกังวลว่า หากก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ จะเกิดผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชุมชน สุขภาพอนามัย วิถีชีวิต และการประกอบอาชีพของคนในชุมชนอย่างร้ายแรง เพราะเท่าที่ผ่านมา ทาง กฟผ.ไม่สามารถแก้ไขปัญหาผลกระทบ และเยียวยาประชาชนที่เป็นเหยื่อของโรงงานในพื้นที่ได้ ดังหลักฐานที่ปรากฏที่โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จ.ลำปาง เป็นต้น
โดยขณะนี้ กฟผ.ได้ดำเนินการเชิงรุกสร้างฐานมวลชน เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งล่าสุด ได้เข้าไปในพื้นที่ ต.วังวน และถูกขับไล่ออกมา จนไม่สามารถกลับเข้าไปในพื้นที่ได้อีก กฟผ.จึงเบนเข็มเข้าไปพื้นที่ ต.บางสัก แทน โดยมีการให้ผลประโยชน์แก่ผู้นำบางกลุ่ม บางองค์กรอย่างมหาศาล และสร้างอิทธิพลคุกคามชาวบ้านที่ต่อต้าน หรือเพิกเฉยต่อความคิดเห็นของชาวบ้าน พร้อมทั้งให้ข้อมูลเพียงด้านเดียวเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นจริง แต่ในความเป็นจริงนั้น โรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นพลังงานที่สกปรกที่สุด
ดังนั้น จึงเรียกร้องให้รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกเลิกโครงการทันที ทั้งนี้ ชาวบ้านทั้ง 3 ตำบลขอยืนกรานว่า จะไม่เอาโรงไฟฟ้า และได้จัดทำบัญชีรายชื่อชาวบ้านใน ต.วังวน และ ต.กันตังใต้ ที่คัดค้านแล้วมีประมาณ 2,000 กว่าคน ส่วนในพื้นที่ ต.นาเกลือ และ ต.บางสัก กำลังอยู่ในระหว่างรวบรวม และจัดทำข้อมูลอยู่ แต่หากภาครัฐไม่รับฟังเสียงของประชาชน ยืนยันว่าชาว อ.กันตัง จะเพิ่มมาตรการกดดัน และยกระดับการชุมนุมให้รุนแรงยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ในวันที่ 22 มิ.ย.นี้ กลุ่มชาวบ้านจาก ต.บางสัก จะรวมตัวเดินทางมายื่นหนังสือคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดตรังอีกครั้ง
วันนี้ (14 มิ.ย.) ที่หน้าศาลากลาง จ.ตรัง เครือข่ายชุมชนรักษ์บ้านเกิดและชาวบ้าน ต.วังวน ต.บางสัก และ ต.นาเกลือ อ.กันตัง ประมาณ 1,000 คน นำโดย นายวุฒิชัย หวังบริสุทธิ์ ได้เดินทางมาชุมนุมประท้วง เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านขอให้ยุติการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ อ.กันตัง ต่อนายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง โดยทางแกนนำได้มีการเปิดเวทีไฮด์ปาร์กผ่านเครื่องขยายเสียงบนรถบรรทุก 6 ล้อ โจมตีการทำงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และผลกระทบที่จะเกิดจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ ท่ามกลางการตรึงกำลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชน อส. และฝ่ายปกครองกว่า 100 คนอย่างเข้มงวด หวั่นเกิดเหตุบานปลายรุนแรง
นายวุฒิชัย แกนนำชาวบ้าน กล่าวว่า จากการที่ กฟผ.เข้ามาดำเนินการสำรวจเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินขนาด 800 เมกะวัตต์ในพื้นที่ ต.วังวน ต.นาเกลือ และ ต.บางสัก โดยเลือกพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งไม่ได้ดำเนินการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ประชาชนมีสิทธิ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อโครงการอันจะส่งผลกระทบต่อชุมชน จากนโยบายดังกล่าวของ กฟผ.ได้ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ เกิดความขัดแย้งแตกแยกกันอย่างเห็นได้ชัด
ประชาชนจึงกังวลว่า หากก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ จะเกิดผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชุมชน สุขภาพอนามัย วิถีชีวิต และการประกอบอาชีพของคนในชุมชนอย่างร้ายแรง เพราะเท่าที่ผ่านมา ทาง กฟผ.ไม่สามารถแก้ไขปัญหาผลกระทบ และเยียวยาประชาชนที่เป็นเหยื่อของโรงงานในพื้นที่ได้ ดังหลักฐานที่ปรากฏที่โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จ.ลำปาง เป็นต้น
โดยขณะนี้ กฟผ.ได้ดำเนินการเชิงรุกสร้างฐานมวลชน เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งล่าสุด ได้เข้าไปในพื้นที่ ต.วังวน และถูกขับไล่ออกมา จนไม่สามารถกลับเข้าไปในพื้นที่ได้อีก กฟผ.จึงเบนเข็มเข้าไปพื้นที่ ต.บางสัก แทน โดยมีการให้ผลประโยชน์แก่ผู้นำบางกลุ่ม บางองค์กรอย่างมหาศาล และสร้างอิทธิพลคุกคามชาวบ้านที่ต่อต้าน หรือเพิกเฉยต่อความคิดเห็นของชาวบ้าน พร้อมทั้งให้ข้อมูลเพียงด้านเดียวเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นจริง แต่ในความเป็นจริงนั้น โรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นพลังงานที่สกปรกที่สุด
ดังนั้น จึงเรียกร้องให้รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกเลิกโครงการทันที ทั้งนี้ ชาวบ้านทั้ง 3 ตำบลขอยืนกรานว่า จะไม่เอาโรงไฟฟ้า และได้จัดทำบัญชีรายชื่อชาวบ้านใน ต.วังวน และ ต.กันตังใต้ ที่คัดค้านแล้วมีประมาณ 2,000 กว่าคน ส่วนในพื้นที่ ต.นาเกลือ และ ต.บางสัก กำลังอยู่ในระหว่างรวบรวม และจัดทำข้อมูลอยู่ แต่หากภาครัฐไม่รับฟังเสียงของประชาชน ยืนยันว่าชาว อ.กันตัง จะเพิ่มมาตรการกดดัน และยกระดับการชุมนุมให้รุนแรงยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ในวันที่ 22 มิ.ย.นี้ กลุ่มชาวบ้านจาก ต.บางสัก จะรวมตัวเดินทางมายื่นหนังสือคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดตรังอีกครั้ง