สงขลา - ชาว อ.กันตัง ร้องกรรมการสิทธิมนุษยชน โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง กระทบชุมชน และฐานทรัพยากร เผยนายทุนกำลังกว้านซื้อที่ทุ่งไพร ขัดแย้งหนัก มีการส่ง SMS ขู่ ฟันหน้ายาง ชาวบ้านบางสัก โวย ขาดข้อมูลสิ้นเชิง กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน-อบต.มุดไปดูงานเงียบ กรรมการสิทธิเตรียมเปิดเวทีใหญ่เรียก “กฟผ.-หน่วยงานเกี่ยวข้อง” สอบ
วันที่ 4 มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่ศูนย์ประสานงานเครือข่ายชุมชนรักษ์บ้านเกิด ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการสิทธิชุมชน พร้อมอนุกรรมการ ประกอบด้วย นายประสาท มีแต้ม นายแสงชัย รัตนเสรีวงษ์ และ นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี ลงพื้นที่ตรวจสอบเบื้องต้น หลังจากได้รับข้อร้องเรียนจากชาวบ้านกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง ขนาด 800 เมกะวัตต์ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งกระทบสิทธิชุมชน และฐานทรัพยากร โดยมีชาวบ้านตำบลวังวน ร่วมประมาณ 50 คน
นายวุฒิชัย หวังบริสุทธิ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายชุมชนรักษ์บ้านเกิด กล่าวว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีแผนจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง ขนาด 800 เมกะวัตต์ โดยมี 3 พื้นที่ทางเลือก คือ 1.ตำบลวังวน อำเภอกันตัง 2.ตำบลบางสัก อำเภอกันตัง 3.ตำบลนาเกลือ อำเภอกันตัง โดยเฉพาะชาวบ้านในตำบลวังวน เนื่องจากทราบข่าวมาว่า มีนายทุนมากว้านซื้อที่ดินสวนปาล์มน้ำมันริมป่าชายเลน บริเวณบ้านทุ่งไพร ตำบลวังวน ประมาณ 700 ไร่ แต่มีโฉนดที่ดินแค่ 300 ไร่ อีก 400 ไร่ ยังไม่แน่ชัดว่าอยู่ในอำนาจของกรมที่ดิน หรือกรมป่าไม้
“ชาวบ้านรู้สึกกังวลเป็นอย่างมาก หวั่นวิตกว่า จะกระทบกับชุมชนและฐานทรัพยากรในทะเลตรังที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งพืชพันธุ์ป่าไม้ และทรัพยากรสัตว์น้ำ จึงร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิ เพื่ออยากได้ข้อมูลจาก กฟผ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อมูลผลทั้งสองด้านของโรงไฟฟ้าถ่านหิน ตอนนี้เริ่มมีความขัดแย้งในชุมชน ชาวบ้านที่ต่อต้านถูกฟันหน้ายางพาราบ้าง โดนส่งข้อความขู่ทางโทรศัพท์บ้าง” นายวุฒิชัย กล่าว
ทั้งนี้ ชาวบ้านได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ นพ.นิรันดร์ ว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง ส่งผลกระทบต่อสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร ชาวบ้านจึงพา นพ.นิรันดร์ และคณะ ลงพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันอายุ 2-3 ปี ริมป่าชายเลน บริเวณบ้านทุ่งไพร ตำบลวังวน
นพ.นิรันดร์ และคณะ ได้เดินทางไปที่สำนักสงฆ์นาหว้า ตำบลบางสัก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เพื่อพบกับชาวบ้านตำบลบางสัก ซึ่งเป็นพื้นที่ 1 ใน 3 ที่มีศักยภาพสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรังของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยมีชาวบ้านร่วมประมาณ 100 คน
นายชนะชัย ศักดิ์แดหวา ชาวบ้านตำบลบางสัก กล่าวว่า เพิ่งทราบเกี่ยวกับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จากชาวบ้านในตำบลวังวนมาเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ชาวบ้านไม่ค่อยได้รับข้อมูลอะไรเลย ตนทราบมาว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นำผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ผู้บริหาร และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลต่างๆ ไปดูงาน แต่ผู้นำเหล่านั้นกลับไม่เคยนำเรื่องราวที่ไปศึกษาดูงานมาบอกเล่าชาวบ้านเลยว่าไปเจออะไรมาบ้าง
นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ต่อไปตนจะจัดเวทีสาธารณะที่ที่ว่าการอำเภอกันตัง หรืออาจจะเป็นที่ศาลากลางจังหวัดตรัง เชิญการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดตรัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากส่วนกลาง มาชี้แจงตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง เพื่อทราบถึงกระบวนการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน ข้อดีข้อเสียจากการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่ทั้งนี้ จะต้องกำหนดวัน และเวลาอีกครั้ง
วันที่ 4 มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่ศูนย์ประสานงานเครือข่ายชุมชนรักษ์บ้านเกิด ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการสิทธิชุมชน พร้อมอนุกรรมการ ประกอบด้วย นายประสาท มีแต้ม นายแสงชัย รัตนเสรีวงษ์ และ นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี ลงพื้นที่ตรวจสอบเบื้องต้น หลังจากได้รับข้อร้องเรียนจากชาวบ้านกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง ขนาด 800 เมกะวัตต์ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งกระทบสิทธิชุมชน และฐานทรัพยากร โดยมีชาวบ้านตำบลวังวน ร่วมประมาณ 50 คน
นายวุฒิชัย หวังบริสุทธิ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายชุมชนรักษ์บ้านเกิด กล่าวว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีแผนจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง ขนาด 800 เมกะวัตต์ โดยมี 3 พื้นที่ทางเลือก คือ 1.ตำบลวังวน อำเภอกันตัง 2.ตำบลบางสัก อำเภอกันตัง 3.ตำบลนาเกลือ อำเภอกันตัง โดยเฉพาะชาวบ้านในตำบลวังวน เนื่องจากทราบข่าวมาว่า มีนายทุนมากว้านซื้อที่ดินสวนปาล์มน้ำมันริมป่าชายเลน บริเวณบ้านทุ่งไพร ตำบลวังวน ประมาณ 700 ไร่ แต่มีโฉนดที่ดินแค่ 300 ไร่ อีก 400 ไร่ ยังไม่แน่ชัดว่าอยู่ในอำนาจของกรมที่ดิน หรือกรมป่าไม้
“ชาวบ้านรู้สึกกังวลเป็นอย่างมาก หวั่นวิตกว่า จะกระทบกับชุมชนและฐานทรัพยากรในทะเลตรังที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งพืชพันธุ์ป่าไม้ และทรัพยากรสัตว์น้ำ จึงร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิ เพื่ออยากได้ข้อมูลจาก กฟผ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อมูลผลทั้งสองด้านของโรงไฟฟ้าถ่านหิน ตอนนี้เริ่มมีความขัดแย้งในชุมชน ชาวบ้านที่ต่อต้านถูกฟันหน้ายางพาราบ้าง โดนส่งข้อความขู่ทางโทรศัพท์บ้าง” นายวุฒิชัย กล่าว
ทั้งนี้ ชาวบ้านได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ นพ.นิรันดร์ ว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง ส่งผลกระทบต่อสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร ชาวบ้านจึงพา นพ.นิรันดร์ และคณะ ลงพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันอายุ 2-3 ปี ริมป่าชายเลน บริเวณบ้านทุ่งไพร ตำบลวังวน
นพ.นิรันดร์ และคณะ ได้เดินทางไปที่สำนักสงฆ์นาหว้า ตำบลบางสัก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เพื่อพบกับชาวบ้านตำบลบางสัก ซึ่งเป็นพื้นที่ 1 ใน 3 ที่มีศักยภาพสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรังของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยมีชาวบ้านร่วมประมาณ 100 คน
นายชนะชัย ศักดิ์แดหวา ชาวบ้านตำบลบางสัก กล่าวว่า เพิ่งทราบเกี่ยวกับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จากชาวบ้านในตำบลวังวนมาเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ชาวบ้านไม่ค่อยได้รับข้อมูลอะไรเลย ตนทราบมาว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นำผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ผู้บริหาร และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลต่างๆ ไปดูงาน แต่ผู้นำเหล่านั้นกลับไม่เคยนำเรื่องราวที่ไปศึกษาดูงานมาบอกเล่าชาวบ้านเลยว่าไปเจออะไรมาบ้าง
นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ต่อไปตนจะจัดเวทีสาธารณะที่ที่ว่าการอำเภอกันตัง หรืออาจจะเป็นที่ศาลากลางจังหวัดตรัง เชิญการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดตรัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากส่วนกลาง มาชี้แจงตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง เพื่อทราบถึงกระบวนการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน ข้อดีข้อเสียจากการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่ทั้งนี้ จะต้องกำหนดวัน และเวลาอีกครั้ง