ASTVผู้จัดการรายวัน- กางแผนPDPฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 พร้อมเปิดระดมความเห็นใหญ่ 5 มิ.ย.นี้ ลดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เหลือ 2 แห่งจากเดิม 4 แห่ง ถ่านหินจาก 9 โรงเหลือ 4 โรง ดันใช้ก๊าซพุ่งจาก 47% เป็น 54% สบช่องดันเปิดเอกชนชิงเค้กขายไฟ IPP อีก 6-7 โรง
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า วันที่ 5 มิ.ย. 55 กระทรวงพลังงานได้จัดเวทีระดมความคิดเห็นการปรับปรุงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยพ.ศ. 2553-2573 หรือ PDP 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 เพื่อจัดทำเป็นแผน PDP ที่เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจและความต้องการไฟฟ้าของประเทศที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น
ขณะที่การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และถ่านหินยังไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชนโดยแผน PDP ใหม่กำหนดกำลังการผลิตไฟฟ้า ปี 2555-2573 เพิ่มขึ้นจากกำลังการผลิตติดตั้ง ณ เดือนธันวาคม 2554 จำนวน 55,065 เมกะวัตต์ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นรวมกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้นถึงปี 2573 ที่ 70,847 เมกะวัตต์จากแผนเดิม 69,557 เมกะวัตต์
“พีดีพีดังกล่าวยึดค่าสมมติฐานความต้องการใช้ไฟกรณี High ที่ 20%ของแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี(EE) โดยเมื่อสิ้นสุดแผนจะทำให้ปริมาณสำรองไฟฟ้าเป็น 16.1% โดยเพิ่มขึ้นจากเดิม 1% และยึดความต้องการใช้ที่คาดจะเพิ่มขึ้นจากแผนงานการวางโครงสร้างพื้นฐานรัฐบาลเช่น รถไฟฟ้า 10 สายหลักในกทม.และรถไฟความเร็วสูงและการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน”แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับโรงไฟฟ้าตามแผนปรับปรุงเทียบกับแผนเดิม มีดังนี้ 1.โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เหลือ 2,000 เมกะวัตต์หรือ 2 โรงจากแ ผนเดิม 4,000 เมกะวัตต์จำนวน 4 โรง โดยเดิมโรงแรกจะเข้าระบบปี 2566 จะถูกเลื่อนเข้าไปเป็นปี 2569 และปี 2570 2.โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดจากเดิม 9 โรง(โรงละ 800 เมกะวัตต์)รวม 7,740 เมกะวัตต์เหลือ 4 โรงรวม 4,400
เมกะวัตต์โดยยังเข้าระบบโรงแรกเช่นเดิมในเดือนมิ.ย. 2562 (3) โรงไฟฟ้าหมุนเวียนรวม 9,516 เมกะวัตต์จากเดิม 4,433 เมกะวัตต์ (4) โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม(ก๊าซธรรมชาติ) เป็น 25,451 เมกะวัตต์จากเดิม 18,400 เมกะวัตต์ (5)โรงไฟฟ้าระบบCogeneration เป็น6,374 เมกะวัตต์จากเดิม 8,319 เมกะวัตต์ (6)รับซื้อไฟจากต่างประเทศ 6,572 เมกะวัตต์จากเดิม 10,982 เมกะวัตต์ และ(7) โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส 750 เมกะวัตต์
อย่างไรก็ตามแผนดังกล่าวทำให้สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจะต้องเพิ่มขึ้นส่วนของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนอิสระรายใหญ่หรือ IPP ที่เป็นกำลังผลิตใหม่ปี 2562-2573 จำนวน 6 โรง(5,400 เมกะวัตต์) แต่รวมทั้งแผนจะเป็น 7 โรงกำลังผลิตโรงละ 900 เมกะวัตต์โดยจะเริ่มโรงแรกในปี 2559 และที่เหลือทยอยเข้าระบบปีละโรงตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปี 2567 ทำให้สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของIPPเพิ่มจาก 14% เป็น 21% และการใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟเพิ่มจาก 47% เป็น 54% ซึ่งตามแผนทำให้บมจ.ปตท.จะต้องไปจัดหาก๊าซฯจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นในการรองรับ ขณะที่สัดส่วนโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)เมื่อสิ้นสุดแผนจะลดลงเหลือ 43%จากเดิม 49% ซื้อไฟต่างประเทศลดลงจาก 18% เหลือ 12% ซื้อไฟจากผู้ผลิตไฟเอกชนรายเล็ก SPP และVSPP ลดลง จาก 13% เหลือ 11% และไม่ได้ระบุความเป็นเจ้าของจากเดิม 6% เป็น
13%
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า วันที่ 5 มิ.ย. 55 กระทรวงพลังงานได้จัดเวทีระดมความคิดเห็นการปรับปรุงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยพ.ศ. 2553-2573 หรือ PDP 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 เพื่อจัดทำเป็นแผน PDP ที่เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจและความต้องการไฟฟ้าของประเทศที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น
ขณะที่การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และถ่านหินยังไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชนโดยแผน PDP ใหม่กำหนดกำลังการผลิตไฟฟ้า ปี 2555-2573 เพิ่มขึ้นจากกำลังการผลิตติดตั้ง ณ เดือนธันวาคม 2554 จำนวน 55,065 เมกะวัตต์ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นรวมกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้นถึงปี 2573 ที่ 70,847 เมกะวัตต์จากแผนเดิม 69,557 เมกะวัตต์
“พีดีพีดังกล่าวยึดค่าสมมติฐานความต้องการใช้ไฟกรณี High ที่ 20%ของแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี(EE) โดยเมื่อสิ้นสุดแผนจะทำให้ปริมาณสำรองไฟฟ้าเป็น 16.1% โดยเพิ่มขึ้นจากเดิม 1% และยึดความต้องการใช้ที่คาดจะเพิ่มขึ้นจากแผนงานการวางโครงสร้างพื้นฐานรัฐบาลเช่น รถไฟฟ้า 10 สายหลักในกทม.และรถไฟความเร็วสูงและการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน”แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับโรงไฟฟ้าตามแผนปรับปรุงเทียบกับแผนเดิม มีดังนี้ 1.โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เหลือ 2,000 เมกะวัตต์หรือ 2 โรงจากแ ผนเดิม 4,000 เมกะวัตต์จำนวน 4 โรง โดยเดิมโรงแรกจะเข้าระบบปี 2566 จะถูกเลื่อนเข้าไปเป็นปี 2569 และปี 2570 2.โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดจากเดิม 9 โรง(โรงละ 800 เมกะวัตต์)รวม 7,740 เมกะวัตต์เหลือ 4 โรงรวม 4,400
เมกะวัตต์โดยยังเข้าระบบโรงแรกเช่นเดิมในเดือนมิ.ย. 2562 (3) โรงไฟฟ้าหมุนเวียนรวม 9,516 เมกะวัตต์จากเดิม 4,433 เมกะวัตต์ (4) โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม(ก๊าซธรรมชาติ) เป็น 25,451 เมกะวัตต์จากเดิม 18,400 เมกะวัตต์ (5)โรงไฟฟ้าระบบCogeneration เป็น6,374 เมกะวัตต์จากเดิม 8,319 เมกะวัตต์ (6)รับซื้อไฟจากต่างประเทศ 6,572 เมกะวัตต์จากเดิม 10,982 เมกะวัตต์ และ(7) โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส 750 เมกะวัตต์
อย่างไรก็ตามแผนดังกล่าวทำให้สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจะต้องเพิ่มขึ้นส่วนของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนอิสระรายใหญ่หรือ IPP ที่เป็นกำลังผลิตใหม่ปี 2562-2573 จำนวน 6 โรง(5,400 เมกะวัตต์) แต่รวมทั้งแผนจะเป็น 7 โรงกำลังผลิตโรงละ 900 เมกะวัตต์โดยจะเริ่มโรงแรกในปี 2559 และที่เหลือทยอยเข้าระบบปีละโรงตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปี 2567 ทำให้สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของIPPเพิ่มจาก 14% เป็น 21% และการใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟเพิ่มจาก 47% เป็น 54% ซึ่งตามแผนทำให้บมจ.ปตท.จะต้องไปจัดหาก๊าซฯจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นในการรองรับ ขณะที่สัดส่วนโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)เมื่อสิ้นสุดแผนจะลดลงเหลือ 43%จากเดิม 49% ซื้อไฟต่างประเทศลดลงจาก 18% เหลือ 12% ซื้อไฟจากผู้ผลิตไฟเอกชนรายเล็ก SPP และVSPP ลดลง จาก 13% เหลือ 11% และไม่ได้ระบุความเป็นเจ้าของจากเดิม 6% เป็น
13%