ตรัง - กฟผ.เข้าพบพ่อเมืองตรัง ขอนำโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน แจงในที่ประชุม หน.ส่วนราชการประจำเดือน 30 ม.ค.นี้ ยันไม่กระทบสิ่งแวดล้อม-ชาวบ้าน พร้อมเตรียมเข้าพบ นายชวน หลีกภัย เร็วๆ นี้ด้วย
นายสุมิต วงศ์แสงจันทร์ ผู้ช่วยผู้ว่าการฝ่ายก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วย นายไกรโชค ผลชีวิน ผู้อำนวยการฝ่ายก่อสร้างพลังความร้อน และเจ้าหน้าที่ กฟผ.ได้เข้าพบ นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ที่ห้องทำงานศาลากลาง จ.ตรัง เพื่อหารือนำโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ อ.กันตัง จ.ตรัง ขนาด 800 เมกะวัตต์ รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักตามแผนพัฒนาภาคใต้ของรัฐบาล เข้าบรรจุในวาระการประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำเดือน ในวันที่ 30 ม.ค.นี้
เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับทุกภาค ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ขอให้ทาง กฟผ.ได้ชี้แจงข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการ และขอให้ชี้แจงทำความเข้าใจกับกลุ่มเอ็นจีโอ ที่กำลังเดินหน้าคัดค้านด้วย
สำหรับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2553-2573 นั้น จะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดของ กฟผ.9 เครื่อง เครื่องละ 800 เมกะวัตต์ รวมเป็น 7,200 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ที่มีศักยภาพอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้ เช่น ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ และตรัง
โดยในส่วนของ จ.ตรัง นั้น ได้คัดเลือกพื้นที่คลองเจ้าไหม ต.บางสัก ลุ่มแม่น้ำตรัง ต.นาเกลือ และ ลุ่มแม่น้ำปะเหลียน ต.วังวน อ.กันตัง เนื่องจากมีเรือขนส่งถ่านหินอยู่แล้ว จึงเหมาะต่อการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ซึ่งจะต้องใช้พื้นที่ 1,000 ไร่ ในการก่อสร้าง
ปัจจุบัน จ.ตรัง ใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 100 เมกะวัตต์ แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ กฟผ.จึงต้องรับซื้อไฟฟ้ามาจากทางภาคกลาง เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากมีโรงไฟฟ้าถ่านหินใน จ.ตรัง ก็จะทำให้พื้นที่มีไฟฟ้าใช้ และยังรวมไปถึงจังหวัดอื่นในภาคใต้ด้วย โดยคาดว่าปริมาณเชื้อเพลิงสำรองประเภทก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย จะมีใช้ไม่ถึง 20 ปี ขณะถ่านหินมีสำรองที่เหมืองแม่เมาะ จะมีใช้ไม่ถึง 30 ปี จึงจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าขึ้น เพราะถ้าหากไม่มีโรงไฟฟ้า รัฐบาลก็ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากทางตะวันออกกลาง ซึ่งจะทำให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นตามมา
“ส่วนแนวโน้มจะเป็นไปได้หรือไม่นั้น ตนคงตอบแทนไม่ได้ เพราะยังอยู่ในขั้นตอนของการลงพื้นที่และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แต่หากคนในพื้นที่คัดค้าน ทาง กฟผ.ก็พร้อมที่จะยอมรับฟัง และเคารพการตัดสินใจเสียงส่วนใหญ่ พร้อมเชื่อว่า ชาว อ.กันตัง คงจะไม่คัดค้านรุนแรงเหมือนในจังหวัดอื่น เพราะจากการพูดคุยกับผู้นำชุมชนก็ไม่ได้แสดงท่าทีคัดค้าน หรือให้การสนับสนุน แต่ยินดีจะเป็นผู้ประสานงานให้” นายสุมิต วงศ์แสงจันทร์ กล่าว
ส่วน นายพิศิษฐ์ ชาญเสนาะ นายกสมาคมหยาดฝน จ.ตรัง นั้น ที่ผ่านมา ทาง กฟผ.เคยพาไปศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้เห็นสภาพโรงไฟฟ้าและกระบวนการผลิตมาแล้ว จึงเชื่อว่า หากกลุ่มเอ็นจีโอจะคัดค้านก็คงจะมีเหตุมีผล และทาง กฟผ.ยินดีให้ความร่วมมือ หากจะเปิดเวทีร่วมชี้แจงข้อมูลให้กับคนในพื้นที่ได้เข้าใจ
“ขณะที่กระแสข่าว นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ส.ส.ตรัง เขต 4 พรรคประชาธิปัตย์ ออกโรงต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่นั้น จากการพูดคุยกับนายสมบูรณ์ พบว่า ไม่ได้ต่อต้าน แต่ข่าวที่ออกมาน่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดมากกว่า สำหรับข่าวที่กลุ่มเอ็นจีโอออกมาระบุว่า มีการกว้านซื้อที่ดินไว้ล่วงหน้านั้น ตนไม่ทราบ เพราะเป็นเรื่องของเอกชน แต่หากจะมีการซื้อขายที่ดินจริง จะต้องมีประกาศจากสำนักงานที่ดินก่อน ซึ่งสามารถไปตรวจสอบข้อมูลดูได้ โดยไม่มีการหมกเม็ดอย่างแน่นอน” นายสุมิต กล่าวต่อ และเสริมอีกว่า
อย่างไรก็ตาม โรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่สำหรับโรงไฟฟ้าที่จะสร้างใน จ.ตรัง นั้น จะใช้เทคโนโลยีทีทันสมัย เพื่อป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่กระบวนการขนส่งถ่านหินทางทะเล จนถึงกระบวนการผลิตในโรงไฟฟ้า ซึ่งจะใช้ระบบปิดทั้งหมด โดยเฉพาะการติดตั้งเครื่องดักจับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ออกไซด์ และฝุ่น ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการสูบน้ำมาใช้ หรือการปล่อยน้ำทิ้ง ก็จะไม่มีผลกระทบหรือมีอันตรายต่อคน สัตว์ ระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ ทาง กฟผ.เตรียมนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือ และชี้แจงต่อ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัย ที่บ้านพักใน จ.ตรัง เร็วๆ นี้
นายสุมิต วงศ์แสงจันทร์ ผู้ช่วยผู้ว่าการฝ่ายก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วย นายไกรโชค ผลชีวิน ผู้อำนวยการฝ่ายก่อสร้างพลังความร้อน และเจ้าหน้าที่ กฟผ.ได้เข้าพบ นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ที่ห้องทำงานศาลากลาง จ.ตรัง เพื่อหารือนำโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ อ.กันตัง จ.ตรัง ขนาด 800 เมกะวัตต์ รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักตามแผนพัฒนาภาคใต้ของรัฐบาล เข้าบรรจุในวาระการประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำเดือน ในวันที่ 30 ม.ค.นี้
เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับทุกภาค ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ขอให้ทาง กฟผ.ได้ชี้แจงข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการ และขอให้ชี้แจงทำความเข้าใจกับกลุ่มเอ็นจีโอ ที่กำลังเดินหน้าคัดค้านด้วย
สำหรับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2553-2573 นั้น จะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดของ กฟผ.9 เครื่อง เครื่องละ 800 เมกะวัตต์ รวมเป็น 7,200 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ที่มีศักยภาพอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้ เช่น ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ และตรัง
โดยในส่วนของ จ.ตรัง นั้น ได้คัดเลือกพื้นที่คลองเจ้าไหม ต.บางสัก ลุ่มแม่น้ำตรัง ต.นาเกลือ และ ลุ่มแม่น้ำปะเหลียน ต.วังวน อ.กันตัง เนื่องจากมีเรือขนส่งถ่านหินอยู่แล้ว จึงเหมาะต่อการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ซึ่งจะต้องใช้พื้นที่ 1,000 ไร่ ในการก่อสร้าง
ปัจจุบัน จ.ตรัง ใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 100 เมกะวัตต์ แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ กฟผ.จึงต้องรับซื้อไฟฟ้ามาจากทางภาคกลาง เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากมีโรงไฟฟ้าถ่านหินใน จ.ตรัง ก็จะทำให้พื้นที่มีไฟฟ้าใช้ และยังรวมไปถึงจังหวัดอื่นในภาคใต้ด้วย โดยคาดว่าปริมาณเชื้อเพลิงสำรองประเภทก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย จะมีใช้ไม่ถึง 20 ปี ขณะถ่านหินมีสำรองที่เหมืองแม่เมาะ จะมีใช้ไม่ถึง 30 ปี จึงจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าขึ้น เพราะถ้าหากไม่มีโรงไฟฟ้า รัฐบาลก็ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากทางตะวันออกกลาง ซึ่งจะทำให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นตามมา
“ส่วนแนวโน้มจะเป็นไปได้หรือไม่นั้น ตนคงตอบแทนไม่ได้ เพราะยังอยู่ในขั้นตอนของการลงพื้นที่และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แต่หากคนในพื้นที่คัดค้าน ทาง กฟผ.ก็พร้อมที่จะยอมรับฟัง และเคารพการตัดสินใจเสียงส่วนใหญ่ พร้อมเชื่อว่า ชาว อ.กันตัง คงจะไม่คัดค้านรุนแรงเหมือนในจังหวัดอื่น เพราะจากการพูดคุยกับผู้นำชุมชนก็ไม่ได้แสดงท่าทีคัดค้าน หรือให้การสนับสนุน แต่ยินดีจะเป็นผู้ประสานงานให้” นายสุมิต วงศ์แสงจันทร์ กล่าว
ส่วน นายพิศิษฐ์ ชาญเสนาะ นายกสมาคมหยาดฝน จ.ตรัง นั้น ที่ผ่านมา ทาง กฟผ.เคยพาไปศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้เห็นสภาพโรงไฟฟ้าและกระบวนการผลิตมาแล้ว จึงเชื่อว่า หากกลุ่มเอ็นจีโอจะคัดค้านก็คงจะมีเหตุมีผล และทาง กฟผ.ยินดีให้ความร่วมมือ หากจะเปิดเวทีร่วมชี้แจงข้อมูลให้กับคนในพื้นที่ได้เข้าใจ
“ขณะที่กระแสข่าว นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ส.ส.ตรัง เขต 4 พรรคประชาธิปัตย์ ออกโรงต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่นั้น จากการพูดคุยกับนายสมบูรณ์ พบว่า ไม่ได้ต่อต้าน แต่ข่าวที่ออกมาน่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดมากกว่า สำหรับข่าวที่กลุ่มเอ็นจีโอออกมาระบุว่า มีการกว้านซื้อที่ดินไว้ล่วงหน้านั้น ตนไม่ทราบ เพราะเป็นเรื่องของเอกชน แต่หากจะมีการซื้อขายที่ดินจริง จะต้องมีประกาศจากสำนักงานที่ดินก่อน ซึ่งสามารถไปตรวจสอบข้อมูลดูได้ โดยไม่มีการหมกเม็ดอย่างแน่นอน” นายสุมิต กล่าวต่อ และเสริมอีกว่า
อย่างไรก็ตาม โรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่สำหรับโรงไฟฟ้าที่จะสร้างใน จ.ตรัง นั้น จะใช้เทคโนโลยีทีทันสมัย เพื่อป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่กระบวนการขนส่งถ่านหินทางทะเล จนถึงกระบวนการผลิตในโรงไฟฟ้า ซึ่งจะใช้ระบบปิดทั้งหมด โดยเฉพาะการติดตั้งเครื่องดักจับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ออกไซด์ และฝุ่น ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการสูบน้ำมาใช้ หรือการปล่อยน้ำทิ้ง ก็จะไม่มีผลกระทบหรือมีอันตรายต่อคน สัตว์ ระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ ทาง กฟผ.เตรียมนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือ และชี้แจงต่อ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัย ที่บ้านพักใน จ.ตรัง เร็วๆ นี้