xs
xsm
sm
md
lg

พม่าล้มโรงไฟฟ้าถ่านหินทวาย-อิตัลไทย ห่วงใยสภาพแวดล้อม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>สตรีชาวพม่าดึงสายอวนที่หาดมองมะกาน (Maungmagan) ใกล้กับเมืองทวายในภาคใต้พม่า ภาพถ่ายวันที่ 19 พ.ย.2554 อาณาบริเวณราว 250 ตารางกิโลเมตรในย่านนี้กำลังจะกลายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ พร้อมโครงการพัฒนามูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ของกลุ่มอิตัลไทย บริษัทก่อสร้างใหญ่ที่สุดของไทย เจ้าหน้าที่ในกรุงย่างกุ้งเปิดเผยในวันจันทร์ 9 ม.ค.นี้ว่ากระทรวงการไฟฟ้าได้ตัดสินใจยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนจากถ่านหินของบริษัทไทยในเขตพัฒนาแห่งนี้ แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องของฝ่ายไทยยังไม่ทราบอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้. -- REUTERS/Staff/Files. </b>

ย่างกุ้ง (เอเอฟพี) -- พม่าได้ยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนจากถ่านหินที่แหล่งอุตสาหกรรมที่มีไทยเป็นผู้นำในการพัฒนา โดยอ้าง “ปัญหาสภาพแวดล้อม” เจ้าหน้าที่ด้านพลังงานพม่า กล่าวในวันจันทร์ 9 ม.ค.นี้ ซึ่งเป็นขีดหมายล่าสุดที่แสดงถึงการปฏิรูปที่กำลังรุดหน้าไป

ความเคลื่อนไหวนี้ได้สะท้อนการตัดสินใจเมื่อปีที่แล้ว หยุดโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ของจีนที่ไม่ค่อยได้รับการสนับสนุน ในขณะที่รัฐบาลที่นำโดยพลเรือนของพม่าได้แสดงให้เห็นความเป็นประชาธิปไตย หลังจากขึ้นบริหารประเทศสืบต่อจากคณะปกครองทหาร

นายคินหม่องโซ รัฐมนตรีกระทรวงการไฟฟ้า กล่าวว่า การตัดสินใจไม่อนุญาตให้โรงไฟฟ้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาทวายนั้น มีขึ้นหลังจากได้ “รับฟังเสียงของประชาชน” เจ้าหน้าที่อาวุโสในคณะกรรมการจัดหาไฟฟ้าแห่งกรุงย่างกุ้งบอกเรื่องนี้กับเอเอฟพี

โครงการพัฒนามูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในภาคใต้ของประเทศ ซึ่งลงทุนโดยกลุ่มอิตัลไทย ได้ทำให้บรรดานักเคลื่อนไหววิตกว่า อุตสาหกรรม “สกปรก” จะหลั่งไหลเข้าไป และจะมีการอพยพโยกย้ายประชาชนนับหมื่น

นายตินออง ผู้อำนวยการใหญ่ของบริษัทพัฒนาทวายของบริษัทไทย กล่าวว่า กลุ่มของเขายังไม่ทราบเกี่ยวกับการตัดสินใจดังกล่าว และการพบหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยและพม่าเมื่อวันเสาร์ก็ “ดำเนินไปด้วยดี”

เขายังกล่าวอีกว่า พวกนักเคลื่อนไหว “ขยายความจนเกินเหตุ” เกี่ยวกับความเสี่ยงของโรงไฟฟ้า

“เราได้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญจีนแล้ว ผมต้องขอพูดว่าไม่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ไหนปลอดภัย 100% แต่มันจะปลอดภัยอย่างเพียงพอ ดังนั้นจึงไม่มีอะไรจะต้องเป็นห่วง” นายตินออง กล่าว

แผนการในเขตพัฒนายังรวมทั้งท่าเรือน้ำลึก โรงถลุงเหล็ก โรงงานผลิตปุ๋ย และโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างดีต่อประเทศไทยที่ต้องการพลังงานอย่างมาก และอาจจะเป็นทำให้เขตชายฝั่งทะเลที่เงียบเหงาซึ่งเผชิญหน้ากับมหาสมุทรอินเดียเปลี่ยนรูปแปรร่างไป
.
<bR><FONT color=#000033>ราษฎรในพื้นที่ควบรถจักรยานยนต์ผ่านแผ่นป้ายที่แสดงข้อความเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษใกล้กับทวาย ในเขตตะนาวศรี ภาพวันที่ 19 พ.ย.2554 ที่นี่กำลังจะแปรสภาพเป็นเขตอุตสาหกรรมใหญ่ที่สุดประกอบด้วยท่าเรือน้ำลึก โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานผลิตปุ๋ย โรงไฟฟ้าอีก 2 โรง ฯลฯ  แต่เจ้าหน้าที่ในย่างกุ้งเปิดเผยในวันจันทร์ 9 ม.ค.นี้ว่า กระทรวงการไฟฟ้าได้ตัดสินใจในวันเดียวกันล้มเลิกโรงไฟฟ้าพลังถ่านหินของกลุ่มผู้ลงทุนจากประเทศไทยแล้วหลังจากได้ ฟังเสียงประชาชนชน ที่ห่วงใยด้านสภาพแวดล้อม.--  REUTERS/Staff/Files. </b>
.
อิตัลไทย กล่าวว่า จะมีประชาชนราว 10,000 คน ถูกโยกย้ายออกไป เนื่องจากการพัฒนา แต่ก็ยืนยันจะมีการจัดหาแหล่งตั้งถิ่นฐานใหม่ให้

ไม่กี่เดือนมานี้ รัฐบาลพม่าที่มีกองทัพสนับสนุนได้สร้างความแปลกใจให้บรรดาผู้สังเกตการณ์ โดยได้แสดงออกหลายอย่างรวมทั้งการพูดจากับนางอองซาน ซูจี สัญลักษณ์ของประชาธิปไตย

ในเดือน ก.ย.ประธานาธิบดี เต็งเส่ง ได้สั่งให้หยุดการพัฒนาเขื่อนมี๊ตโสน มูลค่า 3.,600 ล้านดอลลาร์ของนักลงทุนจีน หลังจากมีแรงกดดันจากราษฎรในพื้นที่ ซึ่งได้สร้างความโกรธแค้นให้กับปักกิ่ง

จีนได้ให้การสนับสนุนทางการทูตแก่พม่าที่ถูกโดดเดี่ยวขากประชาคมระหว่างประเทศ และยังเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในพม่า ติดตามด้วยประเทศไทย

เจ้าหน้าที่กรุงย่างกุ้ง กล่าวว่า รัฐมนตรีกระทรวงการไฟฟ้าได้เสนอว่าจะต้องหาแหล่งพลังงานสำหรับโรงงานจากแหล่งอื่น และยังกล่าวด้วยว่า พม่าจะ “คิดอย่างจริงจัง” เกี่ยวกับการใช้ถ่านหินสำหรับโรงไฟฟ้าแห่งอื่นๆ ด้วย

นายตินออง ของกลุ่มอิตัลไทย กล่าวว่า ข้อเสนอแรกเริ่ม ก็คือ จะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนจากถ่านหิน 1 แห่ง กับโรงไฟฟ้าพลังน้ำอีก 1 แห่ง เพื่อผลิตไฟฟ้าสำหรับการพัฒนาที่ใหญ่โต.
กำลังโหลดความคิดเห็น