ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ
ศูนย์สื่อสังคมภาคใต้
ในท่ามกลางบรรยากาศการไล่รื้อสาธารณูปโภค และตัดฟันผลอาสินของชาวบ้านในพื้นที่เตรียมการโฉนดชุมชนบนเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง คำถามต่างๆ ก็ตามมา โดยเฉพาะคำถามในประเด็นการเมืองที่ว่า ปฏิบัติการครั้งนี้เป็นการดิสเครดิตพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ผูกขาดพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดตรังที่เป็นถิ่นของ “ชวน หลีกภัย”
หรือจะเป็นเพราะพื้นที่นี้ เป็นพื้นที่ของอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐตรี นาม “สาทิตย์ วงศ์หนองเตย” ผู้ผลักดัน “โฉนดชุมชน” ชนิดเอาการเอางาน และอีกหลากหลายข้อสงสัย
คำถาม และข้อสงสัยทั้งหมด มีคำตอบจาก “สาทิตย์ วงศ์หนองเตย” ดังต่อไปนี้
สาเหตุกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตัดฟันผลอาสินของชาวบ้านในพื้นที่เตรียมการออกโฉนดชุมชนบนเทือกเขาบรรทัดมาจากอะไร
ตอใหญ่ที่สุดคือ คนส่วนมากในกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไม่เห็นด้วยกับนโยบายโฉนดชุมชนตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เห็นได้ชัดว่า ในช่วงที่เราจัดทำร่างนโยบายโฉนดชุมชน ได้ยินเสียงติติงไม่เห็นด้วยจากคนในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมาก เพราะแนวคิดโฉนดชุมชนเป็นแนวคิดใหม่
หนึ่ง คนในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมองว่า เป็นการนิรโทษกรรมให้ชาวบ้านที่เข้าไปบุกรุกป่า เจ้าหน้าที่อุทยานฯ หรือเจ้าหน้าที่ป่าไม้ต้องการให้ยึดถือหลักฐานของทางราชการเป็นหลัก ถ้าจะพิสูจน์ว่าอยู่มาก่อนอุทยานแห่งชาติประกาศทับที่ดินทำกิน ชาวบ้านจะต้องมีหลักฐาน ขณะที่ชาวบ้านต่อสู้ด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ร่องรอยการทำประโยชน์ต่างๆ ซึ่งมักจะแพ้คดีในศาล
สอง คนในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลัวว่า ถ้าทำโฉนดชุมชนไปแล้วจะเป็นการเปิดทางให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อขอโฉนดชุมชนต่อไปเรื่อยๆ
จริงๆ ตรงนี้เราพยายามอธิบายว่า แนวคิดโฉนดชุมชนไม่ใช่การนิรโทษกรรม ถึงแม้จะออกโฉนดชุมชนไปแล้ว ที่ดินยังเป็นของรัฐอยู่เหมือนเดิม คนที่เข้าไปครอบครองได้เฉพาะสิทธิทำกิน และคุ้มครองให้เฉพาะการทำเกษตรเท่านั้น ที่ดินจะเอาไปจำนอง จำนำ ถ่ายโอนใดๆ ไม่ได้ ไม่มีกรรมสิทธิ์เป็นของส่วนตัว เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของชุมชน
เจ้าหน้าที่อุทยานฯ มักจะแย้งว่า กรมอุทยานฯ และกรมป่าไม้มีนโยบายอยู่แล้ว เช่น ออกเอกสารสิทธิให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) เราบอกว่า นโยบายเหล่านั้นมันล้มเหลว เพราะชาวบ้านได้กรรมสิทธิ์ในเชิงปัจเจก สุดท้ายเมื่อทำมาหากินไประยะหนึ่งก็จะขายสิทธิของตัวเอง ก่อให้เกิดการบุกรุกป่าต่อไปอีก จิตสำนึกในการดูแลพื้นที่ไม่มี
ขณะที่โฉนดชุมชนบังคับให้ชุมชนดูแลที่ดิน ใครคนใดคนหนึ่งออกจากที่ดินก็เป็นสิทธิของชุมชนที่จะตัดสินว่า จะให้ใครเข้ามาทำกินเป็นคนต่อไป มันแตกต่างกับเอกสารสิทธิที่ให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) โดยสิ้นเชิง แต่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็พยายามคัดค้าน นั่นคือปัญหาที่มีมาตั้งแต่ในชั้นเริ่มนโยบายโฉนดชุมชน
เหตุการณ์ครั้งนี้ ผมเข้าใจว่า กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วย อาศัยจังหวะเปลี่ยนรัฐบาลทำให้นโยบายโฉนดชุมชนเกิดความไม่แน่นอน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่ดูแลเรื่องโฉนดชุมชนก็เปลี่ยนมาแล้ว 2 คน จากนายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ เป็นนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ออกปฏิบัติการตัดฟันผลอาสินของชาวบ้าน
อย่าลืมว่า ตอนหาเสียงเลือกตั้งนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ออกมาคัดค้านนโยบายโฉนดชุมชน แต่ปัจจุบัน มาเป็นประธานคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน นายวรวัจน์เห็นด้วยในการให้กรรมสิทธิ์ที่ดินในลักษณะปัจเจกบุคคล เคยประกาศว่าควรออกเป็นโฉนดที่ดินให้แก่ปัจเจก เป็นคนที่ผมคิดว่าไม่เข้าใจหลักการโฉนดชุมชน เท่าที่ผมทราบจากเจ้าหน้าที่ในสำนักปลัดนายกรัฐมนตรีว่า ประชุมมาหลายครั้ง รัฐมนตรีไม่รู้เรื่องโฉนดชุมชน ต้องให้ชาวบ้านให้ความรู้อยู่เป็นประจำ
จังหวะนี้ อุทยานฯ ซึ่งไม่เห็นด้วยกับโฉนดชุมชนมาตั้งแต่ต้น จึงฉวยโอกาสเปิดเกมรุกขึ้นมา นายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์ เป็นอีกคนที่ไม่เห็นด้วยกับโฉนดชุมชน จึงมีท่าทีที่แข็งกร้าวในการจัดการกับคนที่อยู่กับพื้นที่ป่ามาตลอด
ทำไมเป้าหมายการปราบปรามขบวนการบุกรุกป่าของกรมอุทยานแห่งชาติฯ จึงเล็งมาที่เทือกเขาบรรทัด
ผมก็แปลกใจ ผมคิดว่าเป็นไปได้หรือไม่ เป็นเพราะชาวบ้านที่อยู่บริเวณเทือกเขาบรรทัด เป็นแกนนำของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) ซึ่งมีบทบาทมากในการเรียกร้องนโยบายโฉนดชุมชน และเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ร่วมกับเครือข่ายอื่นๆ ทั่วประเทศ
อีกทั้งเครือข่ายปฏิรูปเทือกเขาบรรทัด มีปัญหากับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดมาตลอด จนกระทั่งความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นในช่วงดำเนินนโยบายโฉนดชุมชน สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ประกาศชัดเจนว่าจะเดินหน้านโยบายโฉนดชุมชน
เทือกเขาบรรทัดมีการบุกรุกป่ากันมาก การเลือกไปตัดฟันยางพาราในพื้นที่เตรียมการโฉนดชุมชน ทั้งที่เคยมีข้อตกลงในคณะกรรมการระดับชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานว่า พื้นที่ที่ชาวบ้านอยู่มาก่อนประกาศเขตป่าอนุรักษ์ให้ยุติการจับกุมไว้ก่อน จนกว่าจะจัดการได้ด้วยนโยบายโฉนดชุมชน การเข้าไปจัดการในพื้นที่เตรียมการโฉนดชุมชน ผมมองว่าเป็นการละเมิดข้อตกลง
อาจจะเป็นไปได้ว่า เป็นการเลือกพื้นที่จัดการชาวบ้านการในเชิงสัญลักษณ์ ที่ผมเป็นห่วงคือการนำนายเจิม เส้งเอียด อดีตจอมโจรมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ มองแบบผิวเผินอาจดูว่าดี เป็นการรณรงค์ให้คนรักษาป่า แต่ในทางกลับกัน มันเหมือนกับการจัดตั้งมวลชนขึ้นมาปะทะกับชาวบ้าน โดยอาศัยชื่อเสียงของคนที่เคยเป็นโจร ทำให้ชาวบ้านกลัว และหยุดยั้งการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิทำกิน ผมว่านี่เป็นการละเมิดสิทธิชุมชน
เป็นไปได้ไหมว่า นโยบายโฉนดชุมชนเกิดขึ้นในยุคประชาธิปัตย์ อีกทั้งจังหวัดตรังก็เป็นเมืองหลวงของพรรค จึงกลายเป็นพื้นที่เป้าหมายการตัดฟันสวนยางพาราของชาวบ้าน
ผมไม่เห็นคำสั่ง หรือร่องรอยชัดๆ ว่า เป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง หรือว่าเพราะผมเป็นคนผลักดันโฉนดชุมชน เป็นพื้นที่ทางการเมืองของสาทิตย์ ของพรรคประชาธิปัตย์ จะต้องรีบจัดการเสียก่อน เท่าที่ผมรู้ชัดเจนก็คือ รัฐมนตรีที่กำกับดูแลมีความพยายามจะเปลี่ยนชื่อนโยบายโฉนดชุมชนเป็นชื่ออื่น แต่ว่าชาวบ้านไม่ยอม ผมไม่คิดว่าการที่เข้ามาจัดการเป็นเรื่องการเมือง
ถ้าข้าราชการทำเอาใจเบื้องบน อันนี้ผมไม่ทราบ ผมว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ต้องเป็นผู้ตอบว่าเป็นนโยบายเอาใจนาย หรือนายสั่งให้ทำ
ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร มันไม่เป็นธรรมกับชาวบ้าน เพราะนโยบายโฉนดชุมชนของรัฐ ควรมีความต่อเนื่อง เพราะการเกิดมาของนโยบายผ่านการกลั่นกรอง ผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรี จนออกมาเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ตราบใดที่ยังไม่ยกเลิกระเบียบนี้ รัฐบาลจะต้องปฏิบัติ
จริงๆ แล้วผมคิดว่า ชาวบ้านฟ้องศาลปกครองได้นะ ฟ้องว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ มิชอบ เนื่องจากมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีรองรับนโยบายโฉนดชุมชนชัดเจน เป็นข้อผูกมัดหน่วยงานของรัฐ มีการตกลงความร่วมมือลงนามในเอ็มโอยูกันแล้ว ระหว่างสำนักนายกรัฐมนตรีกับกระทรวงต่างๆ รวมทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย
นอกจากนี้ คณะกรรมการระดับชาติในการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นคณะกรรมการอยู่ด้วย ยังมีมติให้พื้นที่ที่มีความขัดแย้งกันอยู่และขอทำโฉนดชุมชน ต้องยุติการดำเนินการใดๆ จนกว่าจะดำเนินการโฉนดชุมชนแล้วเสร็จ
คิดอย่างไรรัฐบาลชุดก่อนถึงได้ดำเนินนโยบายโฉนดชุมชน ทั้งที่รับรู้ว่า ข้าราชการในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่เห็นด้วย
บอกได้ 2 แนวทางคือ 1.ปัญหาเชิงหลักการ รัฐบาลเห็นว่าปัญหาความยากจน ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาสำคัญที่สุด จะต้องแก้ไขด้วยเรื่องที่ดินทำกิน เพราะเราเป็นสังคมเกษตร เราศึกษางานวิจัยของบรรดาอาจารย์ทั้งหลายพบว่า ปัจจัยการผลิตคือที่ดินร้อยละ 90 อยู่ในมือของคนไม่เกิน 10% ที่ดินอีกร้อยละ 10 กระจายอยู่ในคน 90%
ปี 2547 สมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีการลงทะเบียนคนจน พบว่า ประมาณ 4 ล้านกว่าครัวเรือน ไม่มีที่ทำกินเป็นของตัวเอง ปัจจัยนี้ไปสอดคล้องกับคนที่อยู่ในพื้นที่ป่า ไม่ว่าในเขตอุทยานฯ เขตป่าไม้ฯ ที่ดินของกระทรวงต่างๆ รวมถึงที่ดินของรัฐวิสาหกิจ อันเนื่องมาจากไม่มีที่ดินทำกินประมาณ 10 ล้านไร่ ประมาณ 1 ล้านครัวเรือน เฉลี่ยครัวเรือนละ 10 ไร่
ในจำนวนนี้ รวมทั้งประกาศพื้นที่ป่าบุกรุกที่ดินทำกินของคน เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านอยู่มาก่อนประกาศเขตอุทยานฯ อยู่มาก่อนประกาศเขตป่า กับพื้นที่ที่คนไร้ที่ทำกินบุกเข้าไปอยู่ในที่ที่ไม่ใช้ประโยชน์ในเชิงป่าไม้แล้ว หรือทำกินมายาวนานแล้ว เช่น อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า ก็มีชุมชนทับเขือ-ปลักหมู ที่เห็นร่องรอยทำกินมานานแล้วชัดเจน
หลักในการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายของรัฐก็คือ เราจะเอาคนพวกนี้ไปไว้ที่ไหน ถึงจะขับไล่ออกมาได้ เราก็ไม่มีพื้นที่ใหม่ให้เขาไปอยู่ สุดท้ายก็กลับมาเป็นภาระของรัฐ เรามาคิดต่อว่า ถ้าใช้นโยบายแก้ปัญหาแบบเดิมคือ ให้สิทธิแก่ปัจเจก สุดท้าย รัฐก็ไม่ได้เข้าไปส่งเสริม เมื่อไปไม่รอดก็เจ้าของสิทธิในที่ดินก็จะขายสิทธิ แล้วกลับบุกรุกป่ากันต่อ เพราะฉะนั้นกรรมสิทธิ์ร่วมในรูปของโฉนดชุมชน เลยเป็นแนวทางที่คิดว่าน่าจะแก้ไขปัญหาได้
2.ในทางประวัติศาสตร์เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย เคลื่อนไหวเรื่องที่ดินทำกินมานานแล้ว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี พูดว่าในเมื่อพวกเขาเดินทางมายังทำเนียบรัฐบาลไม่ต้องปิดประตูทำเนียบฯ เปิดประตูพูดคุยกัน มีการจัดตั้งกรรมการระดับชาติ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเอง ในการพูดคุยกันมีปัญหาหลากหลายมาก ในที่สุด เราก็ยกแนวทางโฉนดชุมชนขึ้นมาใช้แก้ไขปัญหา แล้วแต่งตั้งให้ผมเป็นอนุกรรมการไปจัดทำ นี่เป็นที่มาของการศึกษา และในที่สุด ก็ตกลงยกระดับขึ้นเป็นนโยบาย ออกประกาศเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
นอกจากโฉนดชุมชนแล้ว เราจะมีธนาคารที่ดินเป็นเครื่องมือสนับสนุนเงินทุนให้แก่คนที่อยู่ในที่ดินของรัฐ เพราะที่ดินไม่สามารถนำไปจำนองจำนำได้ ธนาคารที่ดินจะต้องมีเงินไปจัดซื้อจัดหาที่ดินทำเป็นโฉนดชุมชน ปลายสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์เรายกธนาคารที่ดินให้เป็นองค์การมหาชน รวมทั้งกฎหมายภาษีทรัพย์สินที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ที่จะเก็บภาษีอัตราก้าวหน้าสำหรับคนที่มีที่ดินแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ นำเงิน 2% ดังกล่าวไปไว้ในธนาคารที่ดิน กฎหมายถูกเสนอเข้าสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ในช่วงปลายของรัฐบาลประชาธิปัตย์ แต่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยไม่หยิบขึ้นมาพิจารณา
ล่าสุด นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังยับยั้งกฎหมายภาษีทรัพย์สินที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ไม่นำเข้าพิจารณาในสภาฯ
ส่วนธนาคารที่ดิน เราได้ผลักดันเป็นองค์การมหาชน จัดตั้งเสร็จออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อย ตอนปลายรัฐบาลประชาธิปัตย์ เราแต่งตั้งคนขึ้นมารับผิดชอบไม่ได้ เพราะติดช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถ้าจะจัดตั้งต้องผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก่อน ก็ไม่สะดวก
เรื่องนี้รัฐบาลปัจจุบัน จะต้องไปจัดตั้งผู้รับผิดชอบตามพระราชกฤษฎีกาภายในเวลาที่กำหนด แต่บัดนี้เลยเวลาไปแล้ว เท่าที่ผมทราบ ตอนนี้เรื่องถูกเสนอไปยังน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และถูกเก็บดองเอาไว้จนบัดนี้
ดูเหมือนข้อเรียกร้องเกี่ยวกับนโยบายโฉนดชุมชนของชาวบ้านยังมีหนทางอีกยาวไกล
ผมว่าภายใต้รัฐบาลชุดนี้ โฉนดชุมชนไม่มีอนาคต แต่ถ้าพูดให้เป็นธรรมกับชาวบ้าน รัฐบาลชุดนี้ควรประกาศนโยบายให้ชัดว่ามีนโยบายต่อคนกลุ่มนี้อย่างไร มันไม่เป็นธรรมกับชาวบ้านหากไม่เดินหน้านโยบายโฉนดชุมชน ชาวบ้านเขามองรัฐ ไม่ใช่มองตัวบุคคล เมื่อรัฐมีนโยบายสาธารณะออกมาแล้วก็ต้องเดินต่อ
บัดนี้ รัฐบาลยังไม่ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องโฉนดชุมชน รัฐบาลยังไม่ยกเลิกสำนักงานโฉนดชุมชน รัฐบาลยังไม่ยกเลิกงบประมาณ ซึ่งตั้งเอาไว้ในการจัดจ้างบุคลากรในสำนักงานโฉนดชุมชน รัฐบาลยังไม่มีงบประมาณดำเนินการโฉนดชุมชนที่ตั้งเอาไว้ในปีงบประมาณปี 2554 และ 2555 ผมจะคอยดูงบประมาณปี 2556 ว่า รัฐบาลจะตั้งงบประมาณไว้อีกหรือไม่
สำหรับพื้นที่โฉนดชุมชนที่ประกาศไปแล้วมี 2 แห่ง สถานะทางกฎหมายครบถ้วนคือ คลองโยง จังหวัดนครปฐม กับชุมชนแม่อาว จังหวัดลำพูน มีงบประมาณที่อนุมัติให้ซื้อที่ดินต่อเนื่องอีก 150 ล้านบาท สำหรับทำโฉนดชุมชนแม่อาว และมีเงินอีก 1,000 กว่าล้านบาท ที่อนุมัติไว้แล้วสำหรับซื้อที่ดินจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) 25 แห่ง เพื่อนำมาจัดสรรเป็นโฉนดชุมชน ซึ่งไม่มีความคืบหน้าในรัฐบาลนี้แต่อย่างใด ถ้าถึงเวลาที่เหมาะสมผมจะถามรัฐบาลว่า จะดำเนินการต่อแบบไหน
สังคมหล่อหลอมให้คนยอมรับสิทธิในเชิงปัจเจก เช่น โฉนดที่ดิน ส.ป.ก. ฯลฯ เมื่อให้ใช้สิทธิร่วมกันเป็นโฉนดชุมชน จะไม่สร้างความขัดแย้งภายในชุมชนหรือ
ดูตัวอย่างจากพื้นที่โฉนดชุมชนทั้ง 2 แห่ง ยังไม่พบความขัดแย้งภายในชุมชน พื้นที่โฉนดชุมชนสหกรณ์คลองโยง จังหวัดนครปฐม ผมไปร่วมงานวันครบรอบ 1 ปี ที่ได้โฉนดชุมชน หลังจากได้โฉนดชุมชนไปแล้ว เขาผ่านเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ปรากฎว่า กระบวนการชุมชนมีความรักสามัคคี มีการคิดโครงการธนาคารพันธุ์พืชของชุมชนโฉนดชุมชน สำหรับให้ทุกครัวเรือนจัดสรรปันส่วนรับมือน้ำท่วมปีต่อไปทันที
ข้อพิสูจน์ประการหนึ่งก็คือ คนที่ได้โฉนดชุมชนคือคนที่ไม่มีอนาคตเรื่องที่ดินมาก่อน เมื่อได้จากการประเมินหลักเกณฑ์ข้อหนึ่งในการให้โฉนดชุมชนก็คือ ชุมชนต้องเข้มแข็ง ถ้าชุมชนไม่เข้มแข็งเราจะไม่ให้โฉนดชุมชน ต้องกลับไปสร้างกระบวนการชุมชนใหม่ สร้างกฎเกณฑ์กติกาภายในชุมชนใหม่
ชุมชนแม่อาว ถือว่าเป็นต้นแบบของพื้นที่โฉนดชุมชนของประเทศไทย แม้จะได้เป็นลำดับที่ 2 ต่อจากสหกรณ์คลองโยง แม่อาวพิสูจน์ให้เราเห็นหลังจากลงไปเยี่ยม 2 ครั้ง พบว่า แม่อาวไม่มีความขัดแย้งภายใน จากการได้รับโฉนดชุมชน การรับโฉนดชุมชนมาจากการยินยอมพร้อมใจเป็นเอกฉันท์ของชุมชน มาจากคนที่จนตรอกเรื่องที่ดินทำกิน
ถ้าเกิดความขัดแย้งภายในชุมชน
ชาวบ้านจะกลับสู่สถานะดั้งเดิม ถูกยึดโฉนดชุมชนคืน กลับสู่สถานะผู้บุกรุก นี่คือข้อตกลง
ประเด็นที่เห็นได้ชัดว่า โฉนดชุมชนเป็นที่ยอมรับอย่างมากก็คือ มีการยื่นขอโฉนดชุมชนจากทั่วประเทศเกือบ 600 ชุมชน คิดเป็นเนื้อที่นับหมื่นไร่ กว่า 4 แสนครัวเรือน
ตอนนั้น คณะกรรมการฯ ทำงานกันไม่หวาดไม่ไหว จังหวัดน่านยื่นขอโฉนดชุมชนมากที่สุด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่านบอกว่า นี่คือทางออกเดียวที่มี ไม่งั้นชาวบ้านกับรัฐพิพาทกันตลอดเวลา
ในฐานะฝ่ายค้าน จะดำเนินการเรื่องโฉนดชุมชนอย่างไร
สิ่งที่ผมพยายามทำ 1.พยายามสร้างความเข้าใจกับฝ่ายนโยบาย ผมมีโอกาสคุยกับคนวงในรัฐบาลหลายคน ผมชี้ให้เห็นถึงข้อดีของโฉนดชุมชน ดูเหมือนเขาเข้าใจแต่ไม่มีอำนาจตัดสินใจ ผมไม่รู้ว่าใครมีอำนาจตัดสินใจ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก
2.เราผลักดันผ่านทางกรรมาธิการฯ ผมได้พูดคุยเรื่องโฉนดชุมชน ในกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขปัญหาที่ดิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็นั่งอยู่ แต่ท่านไม่เคยแสดงความคิดเห็นอะไรเลย
กรรมาธิการวิสามัญแก้ไขปัญหาที่ดิน เข้าใจเรื่องโฉนดชุมชนหรือไม่
มีคนเข้าใจ แต่ก็เสียงคนจากรัฐบาลบางคนไปไกลกว่านั้น บอกว่า อย่าออกโฉนดชุมชน ให้โฉนดที่ดินไปเลย เขาไม่เข้าใจหลักการ ถ้าให้โฉนดที่ดินไปเลยก็จบกัน ผมพยายามชี้แจงตลอดว่า ผมไม่เห็นด้วยกับการเอาที่ดินของรัฐไปออกเอกสารสิทธิ โฉนดที่ดินให้คนบุกรุกป่า ในเมื่อที่ดินตรงนั้นรัฐไม่สามารถเอาคืนมาได้ ก็ให้ชาวบ้านทำการเกษตร ให้เขาทำกิน โดยมีเงื่อนไขจะต้องดูแลสิ่งแวดล้อม จำกัดเขตการใช้ประโยชน์ ไม่ให้บุกรุกป่าเพิ่ม สร้างชาวบ้านให้เป็นมวลชนที่มีจิตสำนึกรักษ์ธรรมชาติ รักษ์ป่าไม้ ถ้าขับไล่ชาวบ้านออกไปก็ไม่มีที่ให้เขาอยู่ เจ้าหน้าที่รัฐใช้เวลาที่รัฐมาไล่จับชาวบ้าน ขณะที่ขบวนการตัดไม้ทำลายป่าไม่เคยหยุด ขบวนการใหญ่ๆ ทั้งนั้น
จะแนะนำชาวบ้านให้ต่อสู้เรื่องโฉนดชุมชนอย่างไร
ผมจะพยายามไปพบชาวบ้าน เพราะเห็นว่ามีที่พึ่งอยู่ 3 กระบวนการคือ 1.การรุกไปทำความเข้าใจกับคนของรัฐ ต้องไปทำความเข้าใจกับฝ่ายนโยบาย เช่น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินระดับชาติ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลนโยบายโฉนดชุมชน และรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผมคิดว่าจำเป็นที่จะต้องไปยื่นหนังสือ ไปขอพบทำความเข้าใจ ไปชี้แจงเกี่ยวกับโฉนดชุมชน อันนี้จำเป็นมาก
2.ถ้ามีการละเมิดข้อตกลง ละเมิดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ละเมิดเอ็มโอยูที่ลงนามร่วมกับกระทรวงต่างๆ ระหว่างรัฐต่อรัฐ ชาวบ้านต้องพึ่งศาลปกครอง ไม่มีทางเลือกอื่น มีคดีบางคดีที่ศาลให้ชะลอการลงโทษ ในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องบุกรุกป่า อ้างว่ากำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการขอโฉนดชุมชน สุดท้ายศาลก็ชะลอให้ เพื่อรอผลการสืบข้อเท็จจริง
3.ผมคิดว่าชาวบ้านต้องรวมตัวกันของชาวบ้าน ผลักดันผ่านช่องทางที่จำเป็น เช่น กรรมาธิการวิสามัญแก้ไขปัญหาที่ดิน สภาผู้แทนราษฎร ผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐสภา และช่องทางอื่นๆ
การที่แกนนำสำคัญเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ที่พยายามผลักดันนโยบายโฉนดชุมชนบางคนอยู่ในจังหวัดตรัง ทำให้รัฐบาลเกิดความระแวงหรือไม่ก็อาจเป็นไปได้ แต่คงจะไม่ทุกคน จริงๆ แล้วคนที่ทำงานในเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประทศไทย ก็มีคนจากกรุงเทพฯ มาจากสลัม 4 ภาคก็มี จากภาคเหนือก็มี จากภาคอีสานก็มี คนเหล่านี้อยู่ในคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชนด้วย
ถ้ารัฐบาลคิดว่าภาคใต้ หรือจังหวัดตรังคือพื้นที่พรรคประชาธิปัตย์ ผมว่ามันเป็นวิธีคิดที่ไม่เป็นธรรมกับชาวบ้าน เพราะรัฐบาลกำลังใช้อคติทางการเมืองมาตัดสินความชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ละเมิดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งออกโดยรัฐ ละเมิดมติคณะรัฐมนตรีซึ่งออกโดยรัฐ ละเมิดเอ็มโอยูซึ่งรัฐเป็นผู้ลงนาม รัฐบาลทำไม่ได้
พัฒนาการของโฉนดชุมชนมาถึงวันนี้ เป็นอย่างไร
ผมพอใจนะครับ พื้นที่ที่ได้โฉนดชุมชนไปแล้วมีความก้าวหน้าในเชิงการจัดการที่ดิน เป้าหมายหนึ่งที่วางเอาไว้ของโฉนดชุมชนก็คือ โฉนดชุมชนควรเป็นแค่วิธีการ แต่เป้าหมายจริงๆ คือการรวมตัวกันของชุมชนในการจัดการพื้นที่ของตัวเอง ทั้ง 2 แห่ง ได้ผลลัพธ์ที่ลงตัวในการรวมตัวของชุมชนในการจัดการพื้นที่ของตัวเอง ซึ่งหลักการนี้ เมืองไทยไม่เคยปรากฏมาก่อน
จริงๆ แล้วที่คลองโยง เราถึงขั้นไปริเริ่มไว้เลยว่า ถ้าให้ชุมชนอยู่กันเองแล้วรัฐไม่ส่งเสริม เช่น สาธารณูปโภคก็ดี อาชีพก็ดี ช่องทางการตลาดของภาคเกษตรก็ดี เขาอยู่ไม่ได้ วันที่เราไปเยี่ยมพื้นที่โฉนดชุมชนคลองโยง เราจึงจัดสัมมนาร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดให้นำแผนพัฒนาพื้นที่โฉนดชุมชน มาร่วมกับแผนพัฒนาจังหวัด เนื่องจากมีงบพัฒนาจังหวัดอยู่แล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมขณะนั้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็น
คลองโยงวางตัวเองเป็นชุมชนเกษตรอินทรีย์ สิ่งที่เขาต้องการคือ ตลาดขายพืชผักเกษตรอินทรีย์ วันนี้เขาเดินได้ดี พื้นที่แม่อาวก็เช่นกัน ผมเห็นพัฒนาการทั้ง 2 แห่ง ผมเสียดายที่พื้นที่อื่นๆ ไม่ทันได้เดินเต็มรูปแบบ ถ้าได้เดินเต็มรูปแบบทุกจังหวัด ทั้งแผนพัฒนาชุมชน แผนพัฒนาโฉนดชุมชน แผนพัฒนาจังหวัด จะมีส่วนเกื้อหนุนกันและกัน ผมว่าตรงนี้จะตอบโจทย์ได้ว่า เมื่อได้ที่ดินไปแล้วชาวบ้านจะไม่ทิ้งที่ดินทำกินก็ต่อเมื่อที่ดินทำกินตรงนั้นสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เขา ถ้ารัฐบาลทอดทิ้งชาวบ้านตามยถากรรม เหมือนกับที่ให้เอกสารสิทธิ ส.ป.ก. วันหนึ่งที่ดินก็หลุดมือ พื้นที่ป่าก็หมด
ศูนย์สื่อสังคมภาคใต้
ในท่ามกลางบรรยากาศการไล่รื้อสาธารณูปโภค และตัดฟันผลอาสินของชาวบ้านในพื้นที่เตรียมการโฉนดชุมชนบนเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง คำถามต่างๆ ก็ตามมา โดยเฉพาะคำถามในประเด็นการเมืองที่ว่า ปฏิบัติการครั้งนี้เป็นการดิสเครดิตพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ผูกขาดพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดตรังที่เป็นถิ่นของ “ชวน หลีกภัย”
หรือจะเป็นเพราะพื้นที่นี้ เป็นพื้นที่ของอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐตรี นาม “สาทิตย์ วงศ์หนองเตย” ผู้ผลักดัน “โฉนดชุมชน” ชนิดเอาการเอางาน และอีกหลากหลายข้อสงสัย
คำถาม และข้อสงสัยทั้งหมด มีคำตอบจาก “สาทิตย์ วงศ์หนองเตย” ดังต่อไปนี้
สาเหตุกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตัดฟันผลอาสินของชาวบ้านในพื้นที่เตรียมการออกโฉนดชุมชนบนเทือกเขาบรรทัดมาจากอะไร
ตอใหญ่ที่สุดคือ คนส่วนมากในกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไม่เห็นด้วยกับนโยบายโฉนดชุมชนตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เห็นได้ชัดว่า ในช่วงที่เราจัดทำร่างนโยบายโฉนดชุมชน ได้ยินเสียงติติงไม่เห็นด้วยจากคนในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมาก เพราะแนวคิดโฉนดชุมชนเป็นแนวคิดใหม่
หนึ่ง คนในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมองว่า เป็นการนิรโทษกรรมให้ชาวบ้านที่เข้าไปบุกรุกป่า เจ้าหน้าที่อุทยานฯ หรือเจ้าหน้าที่ป่าไม้ต้องการให้ยึดถือหลักฐานของทางราชการเป็นหลัก ถ้าจะพิสูจน์ว่าอยู่มาก่อนอุทยานแห่งชาติประกาศทับที่ดินทำกิน ชาวบ้านจะต้องมีหลักฐาน ขณะที่ชาวบ้านต่อสู้ด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ร่องรอยการทำประโยชน์ต่างๆ ซึ่งมักจะแพ้คดีในศาล
สอง คนในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลัวว่า ถ้าทำโฉนดชุมชนไปแล้วจะเป็นการเปิดทางให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อขอโฉนดชุมชนต่อไปเรื่อยๆ
จริงๆ ตรงนี้เราพยายามอธิบายว่า แนวคิดโฉนดชุมชนไม่ใช่การนิรโทษกรรม ถึงแม้จะออกโฉนดชุมชนไปแล้ว ที่ดินยังเป็นของรัฐอยู่เหมือนเดิม คนที่เข้าไปครอบครองได้เฉพาะสิทธิทำกิน และคุ้มครองให้เฉพาะการทำเกษตรเท่านั้น ที่ดินจะเอาไปจำนอง จำนำ ถ่ายโอนใดๆ ไม่ได้ ไม่มีกรรมสิทธิ์เป็นของส่วนตัว เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของชุมชน
เจ้าหน้าที่อุทยานฯ มักจะแย้งว่า กรมอุทยานฯ และกรมป่าไม้มีนโยบายอยู่แล้ว เช่น ออกเอกสารสิทธิให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) เราบอกว่า นโยบายเหล่านั้นมันล้มเหลว เพราะชาวบ้านได้กรรมสิทธิ์ในเชิงปัจเจก สุดท้ายเมื่อทำมาหากินไประยะหนึ่งก็จะขายสิทธิของตัวเอง ก่อให้เกิดการบุกรุกป่าต่อไปอีก จิตสำนึกในการดูแลพื้นที่ไม่มี
ขณะที่โฉนดชุมชนบังคับให้ชุมชนดูแลที่ดิน ใครคนใดคนหนึ่งออกจากที่ดินก็เป็นสิทธิของชุมชนที่จะตัดสินว่า จะให้ใครเข้ามาทำกินเป็นคนต่อไป มันแตกต่างกับเอกสารสิทธิที่ให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) โดยสิ้นเชิง แต่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็พยายามคัดค้าน นั่นคือปัญหาที่มีมาตั้งแต่ในชั้นเริ่มนโยบายโฉนดชุมชน
เหตุการณ์ครั้งนี้ ผมเข้าใจว่า กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วย อาศัยจังหวะเปลี่ยนรัฐบาลทำให้นโยบายโฉนดชุมชนเกิดความไม่แน่นอน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่ดูแลเรื่องโฉนดชุมชนก็เปลี่ยนมาแล้ว 2 คน จากนายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ เป็นนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ออกปฏิบัติการตัดฟันผลอาสินของชาวบ้าน
อย่าลืมว่า ตอนหาเสียงเลือกตั้งนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ออกมาคัดค้านนโยบายโฉนดชุมชน แต่ปัจจุบัน มาเป็นประธานคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน นายวรวัจน์เห็นด้วยในการให้กรรมสิทธิ์ที่ดินในลักษณะปัจเจกบุคคล เคยประกาศว่าควรออกเป็นโฉนดที่ดินให้แก่ปัจเจก เป็นคนที่ผมคิดว่าไม่เข้าใจหลักการโฉนดชุมชน เท่าที่ผมทราบจากเจ้าหน้าที่ในสำนักปลัดนายกรัฐมนตรีว่า ประชุมมาหลายครั้ง รัฐมนตรีไม่รู้เรื่องโฉนดชุมชน ต้องให้ชาวบ้านให้ความรู้อยู่เป็นประจำ
จังหวะนี้ อุทยานฯ ซึ่งไม่เห็นด้วยกับโฉนดชุมชนมาตั้งแต่ต้น จึงฉวยโอกาสเปิดเกมรุกขึ้นมา นายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์ เป็นอีกคนที่ไม่เห็นด้วยกับโฉนดชุมชน จึงมีท่าทีที่แข็งกร้าวในการจัดการกับคนที่อยู่กับพื้นที่ป่ามาตลอด
ทำไมเป้าหมายการปราบปรามขบวนการบุกรุกป่าของกรมอุทยานแห่งชาติฯ จึงเล็งมาที่เทือกเขาบรรทัด
ผมก็แปลกใจ ผมคิดว่าเป็นไปได้หรือไม่ เป็นเพราะชาวบ้านที่อยู่บริเวณเทือกเขาบรรทัด เป็นแกนนำของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) ซึ่งมีบทบาทมากในการเรียกร้องนโยบายโฉนดชุมชน และเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ร่วมกับเครือข่ายอื่นๆ ทั่วประเทศ
อีกทั้งเครือข่ายปฏิรูปเทือกเขาบรรทัด มีปัญหากับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดมาตลอด จนกระทั่งความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นในช่วงดำเนินนโยบายโฉนดชุมชน สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ประกาศชัดเจนว่าจะเดินหน้านโยบายโฉนดชุมชน
เทือกเขาบรรทัดมีการบุกรุกป่ากันมาก การเลือกไปตัดฟันยางพาราในพื้นที่เตรียมการโฉนดชุมชน ทั้งที่เคยมีข้อตกลงในคณะกรรมการระดับชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานว่า พื้นที่ที่ชาวบ้านอยู่มาก่อนประกาศเขตป่าอนุรักษ์ให้ยุติการจับกุมไว้ก่อน จนกว่าจะจัดการได้ด้วยนโยบายโฉนดชุมชน การเข้าไปจัดการในพื้นที่เตรียมการโฉนดชุมชน ผมมองว่าเป็นการละเมิดข้อตกลง
อาจจะเป็นไปได้ว่า เป็นการเลือกพื้นที่จัดการชาวบ้านการในเชิงสัญลักษณ์ ที่ผมเป็นห่วงคือการนำนายเจิม เส้งเอียด อดีตจอมโจรมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ มองแบบผิวเผินอาจดูว่าดี เป็นการรณรงค์ให้คนรักษาป่า แต่ในทางกลับกัน มันเหมือนกับการจัดตั้งมวลชนขึ้นมาปะทะกับชาวบ้าน โดยอาศัยชื่อเสียงของคนที่เคยเป็นโจร ทำให้ชาวบ้านกลัว และหยุดยั้งการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิทำกิน ผมว่านี่เป็นการละเมิดสิทธิชุมชน
เป็นไปได้ไหมว่า นโยบายโฉนดชุมชนเกิดขึ้นในยุคประชาธิปัตย์ อีกทั้งจังหวัดตรังก็เป็นเมืองหลวงของพรรค จึงกลายเป็นพื้นที่เป้าหมายการตัดฟันสวนยางพาราของชาวบ้าน
ผมไม่เห็นคำสั่ง หรือร่องรอยชัดๆ ว่า เป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง หรือว่าเพราะผมเป็นคนผลักดันโฉนดชุมชน เป็นพื้นที่ทางการเมืองของสาทิตย์ ของพรรคประชาธิปัตย์ จะต้องรีบจัดการเสียก่อน เท่าที่ผมรู้ชัดเจนก็คือ รัฐมนตรีที่กำกับดูแลมีความพยายามจะเปลี่ยนชื่อนโยบายโฉนดชุมชนเป็นชื่ออื่น แต่ว่าชาวบ้านไม่ยอม ผมไม่คิดว่าการที่เข้ามาจัดการเป็นเรื่องการเมือง
ถ้าข้าราชการทำเอาใจเบื้องบน อันนี้ผมไม่ทราบ ผมว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ต้องเป็นผู้ตอบว่าเป็นนโยบายเอาใจนาย หรือนายสั่งให้ทำ
ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร มันไม่เป็นธรรมกับชาวบ้าน เพราะนโยบายโฉนดชุมชนของรัฐ ควรมีความต่อเนื่อง เพราะการเกิดมาของนโยบายผ่านการกลั่นกรอง ผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรี จนออกมาเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ตราบใดที่ยังไม่ยกเลิกระเบียบนี้ รัฐบาลจะต้องปฏิบัติ
จริงๆ แล้วผมคิดว่า ชาวบ้านฟ้องศาลปกครองได้นะ ฟ้องว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ มิชอบ เนื่องจากมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีรองรับนโยบายโฉนดชุมชนชัดเจน เป็นข้อผูกมัดหน่วยงานของรัฐ มีการตกลงความร่วมมือลงนามในเอ็มโอยูกันแล้ว ระหว่างสำนักนายกรัฐมนตรีกับกระทรวงต่างๆ รวมทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย
นอกจากนี้ คณะกรรมการระดับชาติในการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นคณะกรรมการอยู่ด้วย ยังมีมติให้พื้นที่ที่มีความขัดแย้งกันอยู่และขอทำโฉนดชุมชน ต้องยุติการดำเนินการใดๆ จนกว่าจะดำเนินการโฉนดชุมชนแล้วเสร็จ
คิดอย่างไรรัฐบาลชุดก่อนถึงได้ดำเนินนโยบายโฉนดชุมชน ทั้งที่รับรู้ว่า ข้าราชการในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่เห็นด้วย
บอกได้ 2 แนวทางคือ 1.ปัญหาเชิงหลักการ รัฐบาลเห็นว่าปัญหาความยากจน ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาสำคัญที่สุด จะต้องแก้ไขด้วยเรื่องที่ดินทำกิน เพราะเราเป็นสังคมเกษตร เราศึกษางานวิจัยของบรรดาอาจารย์ทั้งหลายพบว่า ปัจจัยการผลิตคือที่ดินร้อยละ 90 อยู่ในมือของคนไม่เกิน 10% ที่ดินอีกร้อยละ 10 กระจายอยู่ในคน 90%
ปี 2547 สมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีการลงทะเบียนคนจน พบว่า ประมาณ 4 ล้านกว่าครัวเรือน ไม่มีที่ทำกินเป็นของตัวเอง ปัจจัยนี้ไปสอดคล้องกับคนที่อยู่ในพื้นที่ป่า ไม่ว่าในเขตอุทยานฯ เขตป่าไม้ฯ ที่ดินของกระทรวงต่างๆ รวมถึงที่ดินของรัฐวิสาหกิจ อันเนื่องมาจากไม่มีที่ดินทำกินประมาณ 10 ล้านไร่ ประมาณ 1 ล้านครัวเรือน เฉลี่ยครัวเรือนละ 10 ไร่
ในจำนวนนี้ รวมทั้งประกาศพื้นที่ป่าบุกรุกที่ดินทำกินของคน เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านอยู่มาก่อนประกาศเขตอุทยานฯ อยู่มาก่อนประกาศเขตป่า กับพื้นที่ที่คนไร้ที่ทำกินบุกเข้าไปอยู่ในที่ที่ไม่ใช้ประโยชน์ในเชิงป่าไม้แล้ว หรือทำกินมายาวนานแล้ว เช่น อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า ก็มีชุมชนทับเขือ-ปลักหมู ที่เห็นร่องรอยทำกินมานานแล้วชัดเจน
หลักในการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายของรัฐก็คือ เราจะเอาคนพวกนี้ไปไว้ที่ไหน ถึงจะขับไล่ออกมาได้ เราก็ไม่มีพื้นที่ใหม่ให้เขาไปอยู่ สุดท้ายก็กลับมาเป็นภาระของรัฐ เรามาคิดต่อว่า ถ้าใช้นโยบายแก้ปัญหาแบบเดิมคือ ให้สิทธิแก่ปัจเจก สุดท้าย รัฐก็ไม่ได้เข้าไปส่งเสริม เมื่อไปไม่รอดก็เจ้าของสิทธิในที่ดินก็จะขายสิทธิ แล้วกลับบุกรุกป่ากันต่อ เพราะฉะนั้นกรรมสิทธิ์ร่วมในรูปของโฉนดชุมชน เลยเป็นแนวทางที่คิดว่าน่าจะแก้ไขปัญหาได้
2.ในทางประวัติศาสตร์เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย เคลื่อนไหวเรื่องที่ดินทำกินมานานแล้ว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี พูดว่าในเมื่อพวกเขาเดินทางมายังทำเนียบรัฐบาลไม่ต้องปิดประตูทำเนียบฯ เปิดประตูพูดคุยกัน มีการจัดตั้งกรรมการระดับชาติ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเอง ในการพูดคุยกันมีปัญหาหลากหลายมาก ในที่สุด เราก็ยกแนวทางโฉนดชุมชนขึ้นมาใช้แก้ไขปัญหา แล้วแต่งตั้งให้ผมเป็นอนุกรรมการไปจัดทำ นี่เป็นที่มาของการศึกษา และในที่สุด ก็ตกลงยกระดับขึ้นเป็นนโยบาย ออกประกาศเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
นอกจากโฉนดชุมชนแล้ว เราจะมีธนาคารที่ดินเป็นเครื่องมือสนับสนุนเงินทุนให้แก่คนที่อยู่ในที่ดินของรัฐ เพราะที่ดินไม่สามารถนำไปจำนองจำนำได้ ธนาคารที่ดินจะต้องมีเงินไปจัดซื้อจัดหาที่ดินทำเป็นโฉนดชุมชน ปลายสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์เรายกธนาคารที่ดินให้เป็นองค์การมหาชน รวมทั้งกฎหมายภาษีทรัพย์สินที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ที่จะเก็บภาษีอัตราก้าวหน้าสำหรับคนที่มีที่ดินแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ นำเงิน 2% ดังกล่าวไปไว้ในธนาคารที่ดิน กฎหมายถูกเสนอเข้าสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ในช่วงปลายของรัฐบาลประชาธิปัตย์ แต่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยไม่หยิบขึ้นมาพิจารณา
ล่าสุด นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังยับยั้งกฎหมายภาษีทรัพย์สินที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ไม่นำเข้าพิจารณาในสภาฯ
ส่วนธนาคารที่ดิน เราได้ผลักดันเป็นองค์การมหาชน จัดตั้งเสร็จออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อย ตอนปลายรัฐบาลประชาธิปัตย์ เราแต่งตั้งคนขึ้นมารับผิดชอบไม่ได้ เพราะติดช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถ้าจะจัดตั้งต้องผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก่อน ก็ไม่สะดวก
เรื่องนี้รัฐบาลปัจจุบัน จะต้องไปจัดตั้งผู้รับผิดชอบตามพระราชกฤษฎีกาภายในเวลาที่กำหนด แต่บัดนี้เลยเวลาไปแล้ว เท่าที่ผมทราบ ตอนนี้เรื่องถูกเสนอไปยังน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และถูกเก็บดองเอาไว้จนบัดนี้
ดูเหมือนข้อเรียกร้องเกี่ยวกับนโยบายโฉนดชุมชนของชาวบ้านยังมีหนทางอีกยาวไกล
ผมว่าภายใต้รัฐบาลชุดนี้ โฉนดชุมชนไม่มีอนาคต แต่ถ้าพูดให้เป็นธรรมกับชาวบ้าน รัฐบาลชุดนี้ควรประกาศนโยบายให้ชัดว่ามีนโยบายต่อคนกลุ่มนี้อย่างไร มันไม่เป็นธรรมกับชาวบ้านหากไม่เดินหน้านโยบายโฉนดชุมชน ชาวบ้านเขามองรัฐ ไม่ใช่มองตัวบุคคล เมื่อรัฐมีนโยบายสาธารณะออกมาแล้วก็ต้องเดินต่อ
บัดนี้ รัฐบาลยังไม่ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องโฉนดชุมชน รัฐบาลยังไม่ยกเลิกสำนักงานโฉนดชุมชน รัฐบาลยังไม่ยกเลิกงบประมาณ ซึ่งตั้งเอาไว้ในการจัดจ้างบุคลากรในสำนักงานโฉนดชุมชน รัฐบาลยังไม่มีงบประมาณดำเนินการโฉนดชุมชนที่ตั้งเอาไว้ในปีงบประมาณปี 2554 และ 2555 ผมจะคอยดูงบประมาณปี 2556 ว่า รัฐบาลจะตั้งงบประมาณไว้อีกหรือไม่
สำหรับพื้นที่โฉนดชุมชนที่ประกาศไปแล้วมี 2 แห่ง สถานะทางกฎหมายครบถ้วนคือ คลองโยง จังหวัดนครปฐม กับชุมชนแม่อาว จังหวัดลำพูน มีงบประมาณที่อนุมัติให้ซื้อที่ดินต่อเนื่องอีก 150 ล้านบาท สำหรับทำโฉนดชุมชนแม่อาว และมีเงินอีก 1,000 กว่าล้านบาท ที่อนุมัติไว้แล้วสำหรับซื้อที่ดินจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) 25 แห่ง เพื่อนำมาจัดสรรเป็นโฉนดชุมชน ซึ่งไม่มีความคืบหน้าในรัฐบาลนี้แต่อย่างใด ถ้าถึงเวลาที่เหมาะสมผมจะถามรัฐบาลว่า จะดำเนินการต่อแบบไหน
สังคมหล่อหลอมให้คนยอมรับสิทธิในเชิงปัจเจก เช่น โฉนดที่ดิน ส.ป.ก. ฯลฯ เมื่อให้ใช้สิทธิร่วมกันเป็นโฉนดชุมชน จะไม่สร้างความขัดแย้งภายในชุมชนหรือ
ดูตัวอย่างจากพื้นที่โฉนดชุมชนทั้ง 2 แห่ง ยังไม่พบความขัดแย้งภายในชุมชน พื้นที่โฉนดชุมชนสหกรณ์คลองโยง จังหวัดนครปฐม ผมไปร่วมงานวันครบรอบ 1 ปี ที่ได้โฉนดชุมชน หลังจากได้โฉนดชุมชนไปแล้ว เขาผ่านเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ปรากฎว่า กระบวนการชุมชนมีความรักสามัคคี มีการคิดโครงการธนาคารพันธุ์พืชของชุมชนโฉนดชุมชน สำหรับให้ทุกครัวเรือนจัดสรรปันส่วนรับมือน้ำท่วมปีต่อไปทันที
ข้อพิสูจน์ประการหนึ่งก็คือ คนที่ได้โฉนดชุมชนคือคนที่ไม่มีอนาคตเรื่องที่ดินมาก่อน เมื่อได้จากการประเมินหลักเกณฑ์ข้อหนึ่งในการให้โฉนดชุมชนก็คือ ชุมชนต้องเข้มแข็ง ถ้าชุมชนไม่เข้มแข็งเราจะไม่ให้โฉนดชุมชน ต้องกลับไปสร้างกระบวนการชุมชนใหม่ สร้างกฎเกณฑ์กติกาภายในชุมชนใหม่
ชุมชนแม่อาว ถือว่าเป็นต้นแบบของพื้นที่โฉนดชุมชนของประเทศไทย แม้จะได้เป็นลำดับที่ 2 ต่อจากสหกรณ์คลองโยง แม่อาวพิสูจน์ให้เราเห็นหลังจากลงไปเยี่ยม 2 ครั้ง พบว่า แม่อาวไม่มีความขัดแย้งภายใน จากการได้รับโฉนดชุมชน การรับโฉนดชุมชนมาจากการยินยอมพร้อมใจเป็นเอกฉันท์ของชุมชน มาจากคนที่จนตรอกเรื่องที่ดินทำกิน
ถ้าเกิดความขัดแย้งภายในชุมชน
ชาวบ้านจะกลับสู่สถานะดั้งเดิม ถูกยึดโฉนดชุมชนคืน กลับสู่สถานะผู้บุกรุก นี่คือข้อตกลง
ประเด็นที่เห็นได้ชัดว่า โฉนดชุมชนเป็นที่ยอมรับอย่างมากก็คือ มีการยื่นขอโฉนดชุมชนจากทั่วประเทศเกือบ 600 ชุมชน คิดเป็นเนื้อที่นับหมื่นไร่ กว่า 4 แสนครัวเรือน
ตอนนั้น คณะกรรมการฯ ทำงานกันไม่หวาดไม่ไหว จังหวัดน่านยื่นขอโฉนดชุมชนมากที่สุด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่านบอกว่า นี่คือทางออกเดียวที่มี ไม่งั้นชาวบ้านกับรัฐพิพาทกันตลอดเวลา
ในฐานะฝ่ายค้าน จะดำเนินการเรื่องโฉนดชุมชนอย่างไร
สิ่งที่ผมพยายามทำ 1.พยายามสร้างความเข้าใจกับฝ่ายนโยบาย ผมมีโอกาสคุยกับคนวงในรัฐบาลหลายคน ผมชี้ให้เห็นถึงข้อดีของโฉนดชุมชน ดูเหมือนเขาเข้าใจแต่ไม่มีอำนาจตัดสินใจ ผมไม่รู้ว่าใครมีอำนาจตัดสินใจ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก
2.เราผลักดันผ่านทางกรรมาธิการฯ ผมได้พูดคุยเรื่องโฉนดชุมชน ในกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขปัญหาที่ดิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็นั่งอยู่ แต่ท่านไม่เคยแสดงความคิดเห็นอะไรเลย
กรรมาธิการวิสามัญแก้ไขปัญหาที่ดิน เข้าใจเรื่องโฉนดชุมชนหรือไม่
มีคนเข้าใจ แต่ก็เสียงคนจากรัฐบาลบางคนไปไกลกว่านั้น บอกว่า อย่าออกโฉนดชุมชน ให้โฉนดที่ดินไปเลย เขาไม่เข้าใจหลักการ ถ้าให้โฉนดที่ดินไปเลยก็จบกัน ผมพยายามชี้แจงตลอดว่า ผมไม่เห็นด้วยกับการเอาที่ดินของรัฐไปออกเอกสารสิทธิ โฉนดที่ดินให้คนบุกรุกป่า ในเมื่อที่ดินตรงนั้นรัฐไม่สามารถเอาคืนมาได้ ก็ให้ชาวบ้านทำการเกษตร ให้เขาทำกิน โดยมีเงื่อนไขจะต้องดูแลสิ่งแวดล้อม จำกัดเขตการใช้ประโยชน์ ไม่ให้บุกรุกป่าเพิ่ม สร้างชาวบ้านให้เป็นมวลชนที่มีจิตสำนึกรักษ์ธรรมชาติ รักษ์ป่าไม้ ถ้าขับไล่ชาวบ้านออกไปก็ไม่มีที่ให้เขาอยู่ เจ้าหน้าที่รัฐใช้เวลาที่รัฐมาไล่จับชาวบ้าน ขณะที่ขบวนการตัดไม้ทำลายป่าไม่เคยหยุด ขบวนการใหญ่ๆ ทั้งนั้น
จะแนะนำชาวบ้านให้ต่อสู้เรื่องโฉนดชุมชนอย่างไร
ผมจะพยายามไปพบชาวบ้าน เพราะเห็นว่ามีที่พึ่งอยู่ 3 กระบวนการคือ 1.การรุกไปทำความเข้าใจกับคนของรัฐ ต้องไปทำความเข้าใจกับฝ่ายนโยบาย เช่น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินระดับชาติ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลนโยบายโฉนดชุมชน และรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผมคิดว่าจำเป็นที่จะต้องไปยื่นหนังสือ ไปขอพบทำความเข้าใจ ไปชี้แจงเกี่ยวกับโฉนดชุมชน อันนี้จำเป็นมาก
2.ถ้ามีการละเมิดข้อตกลง ละเมิดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ละเมิดเอ็มโอยูที่ลงนามร่วมกับกระทรวงต่างๆ ระหว่างรัฐต่อรัฐ ชาวบ้านต้องพึ่งศาลปกครอง ไม่มีทางเลือกอื่น มีคดีบางคดีที่ศาลให้ชะลอการลงโทษ ในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องบุกรุกป่า อ้างว่ากำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการขอโฉนดชุมชน สุดท้ายศาลก็ชะลอให้ เพื่อรอผลการสืบข้อเท็จจริง
3.ผมคิดว่าชาวบ้านต้องรวมตัวกันของชาวบ้าน ผลักดันผ่านช่องทางที่จำเป็น เช่น กรรมาธิการวิสามัญแก้ไขปัญหาที่ดิน สภาผู้แทนราษฎร ผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐสภา และช่องทางอื่นๆ
การที่แกนนำสำคัญเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ที่พยายามผลักดันนโยบายโฉนดชุมชนบางคนอยู่ในจังหวัดตรัง ทำให้รัฐบาลเกิดความระแวงหรือไม่ก็อาจเป็นไปได้ แต่คงจะไม่ทุกคน จริงๆ แล้วคนที่ทำงานในเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประทศไทย ก็มีคนจากกรุงเทพฯ มาจากสลัม 4 ภาคก็มี จากภาคเหนือก็มี จากภาคอีสานก็มี คนเหล่านี้อยู่ในคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชนด้วย
ถ้ารัฐบาลคิดว่าภาคใต้ หรือจังหวัดตรังคือพื้นที่พรรคประชาธิปัตย์ ผมว่ามันเป็นวิธีคิดที่ไม่เป็นธรรมกับชาวบ้าน เพราะรัฐบาลกำลังใช้อคติทางการเมืองมาตัดสินความชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ละเมิดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งออกโดยรัฐ ละเมิดมติคณะรัฐมนตรีซึ่งออกโดยรัฐ ละเมิดเอ็มโอยูซึ่งรัฐเป็นผู้ลงนาม รัฐบาลทำไม่ได้
พัฒนาการของโฉนดชุมชนมาถึงวันนี้ เป็นอย่างไร
ผมพอใจนะครับ พื้นที่ที่ได้โฉนดชุมชนไปแล้วมีความก้าวหน้าในเชิงการจัดการที่ดิน เป้าหมายหนึ่งที่วางเอาไว้ของโฉนดชุมชนก็คือ โฉนดชุมชนควรเป็นแค่วิธีการ แต่เป้าหมายจริงๆ คือการรวมตัวกันของชุมชนในการจัดการพื้นที่ของตัวเอง ทั้ง 2 แห่ง ได้ผลลัพธ์ที่ลงตัวในการรวมตัวของชุมชนในการจัดการพื้นที่ของตัวเอง ซึ่งหลักการนี้ เมืองไทยไม่เคยปรากฏมาก่อน
จริงๆ แล้วที่คลองโยง เราถึงขั้นไปริเริ่มไว้เลยว่า ถ้าให้ชุมชนอยู่กันเองแล้วรัฐไม่ส่งเสริม เช่น สาธารณูปโภคก็ดี อาชีพก็ดี ช่องทางการตลาดของภาคเกษตรก็ดี เขาอยู่ไม่ได้ วันที่เราไปเยี่ยมพื้นที่โฉนดชุมชนคลองโยง เราจึงจัดสัมมนาร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดให้นำแผนพัฒนาพื้นที่โฉนดชุมชน มาร่วมกับแผนพัฒนาจังหวัด เนื่องจากมีงบพัฒนาจังหวัดอยู่แล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมขณะนั้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็น
คลองโยงวางตัวเองเป็นชุมชนเกษตรอินทรีย์ สิ่งที่เขาต้องการคือ ตลาดขายพืชผักเกษตรอินทรีย์ วันนี้เขาเดินได้ดี พื้นที่แม่อาวก็เช่นกัน ผมเห็นพัฒนาการทั้ง 2 แห่ง ผมเสียดายที่พื้นที่อื่นๆ ไม่ทันได้เดินเต็มรูปแบบ ถ้าได้เดินเต็มรูปแบบทุกจังหวัด ทั้งแผนพัฒนาชุมชน แผนพัฒนาโฉนดชุมชน แผนพัฒนาจังหวัด จะมีส่วนเกื้อหนุนกันและกัน ผมว่าตรงนี้จะตอบโจทย์ได้ว่า เมื่อได้ที่ดินไปแล้วชาวบ้านจะไม่ทิ้งที่ดินทำกินก็ต่อเมื่อที่ดินทำกินตรงนั้นสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เขา ถ้ารัฐบาลทอดทิ้งชาวบ้านตามยถากรรม เหมือนกับที่ให้เอกสารสิทธิ ส.ป.ก. วันหนึ่งที่ดินก็หลุดมือ พื้นที่ป่าก็หมด