ปัตตานี - องค์กรเครือข่ายด้านศาสนาอิสลามออกแถลงการณ์เรียกร้องกลุ่มก่อเหตุ ให้ยุติการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ และควรตระหนักต่อสิทธิของประชาชน ขณะที่ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สรุปเหตุรุนแรง เดือน มี.ค.55 มากถึง 73 ครั้ง ตาย เจ็บ กว่าครึ่งพัน
นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำ จ.ปัตตานี เปิดเผยจากเหตุการณ์ระเบิดที่ จ.ยะลา จนมีผู้เสียชีวิต 11 ราย บาดเจ็บ 109 ราย และเหตุระเบิดที่โรงแรม ลี การ์เดนส์ พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จนมีผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บกว่า 400 ราย และเหตุการณ์ระเบิดที่ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมากนั้น ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในวันเดียวกัน คือ วันที่ 31 มี.ค.
และจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์เป็นจำนวนมาก อีกทั้งส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของภูมิภาค ประชาชนไม่มีความเชื่อมั่น หวาดกลัวในความปลอดภัยที่จะดำรงชีวิตอย่างปกติ และจากเหตุการณ์ดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบและเป็นอุปสรรคต่อการแสวงหาวิธีการในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่เป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำ จ.ปัตตานี มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม และองค์กรเครือข่าย จึงออกแถลงการณ์ขอแสดงความเสียใจต่อญาติพี่น้องและครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้ในแถลงการณ์ยังขอเรียกร้องให้กลุ่มผู้ก่อเหตุยุติการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ และขอให้ตระหนักถึงสิทธิของประชาชนผู้บริสุทธิ์ในการใช้ชีวิต และประกอบอาชีพอย่างปกติสุข และขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันแสวงหาทางออกร่วมกัน ขจัดความขัดแย้งไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางความคิด หรือความขัดแย้งทางการเมือง เพื่อให้เกิดความสงบสุขและสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้กลับมาดั้งเดิม
ขณะที่ ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า ทางศูนย์ได้จัดทำสรุปตัวเลขเหตุความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 มี.ค. ที่ผ่านมา พบว่ามีเหตุการณ์มากถึง 73 ครั้ง แยกเป็น จนท.พบวัตถุระเบิดและเก็บกู้ได้ 3 ครั้ง ขว้างและวางระเบิด 19 ครั้ง รถยนต์คาร์บอมบ์ จยย.บอมบ์ รวม 6 ครั้ง โจมตีฐาน 2 ครั้ง ซุ่มยิง 1 ครั้ง ปิดล้อมตรวจค้น และปะทะ 1 ครั้ง วางเพลิง 7 ครั้ง ก่อเหตุยิง จนท.และประชาชน ร่วม 34 ครั้ง
โดยมีผู้เสียชีวิตรวม 56 ราย บาดเจ็บ 547 ราย แยกเป็นราษฎร เสียชีวิต 29 ราย บาดเจ็บ 489 ราย ตร. ตชด. นปพ. เสียชีวิต 3 นาย บาดเจ็บ 10 นาย ทหารเสียชีวิต 9 นาย บาดเจ็บ 36 นาย ชรบ. อส. อปพร. เสียชีวิต 5 ราย บาดเจ็บ 1 ราย ครูบาดเจ็บ 3 ราย ไม่มีเสียชีวิต นักเรียนเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 3 ราย อบต.เสียชีวิต 1 ราย ไม่มีบาดเจ็บ กำนันผู้ใหญ่บ้าน เสียชีวิตรวม 3 ราย ไม่มีบาดเจ็บ ลูกจ้างของรัฐเสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 1 ราย ลูกจ้างเอกชน เสียชีวิต 1 ราย ไม่มีบาดเจ็บ ต่างด้าวเสียชีวิต 1 ราย เจ็บ 1 ราย เยาวชนอายุไม่เกิน 15 ปี บาดเจ็บ 2 ราย ส่วนคนร้ายเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 1 ราย รวมผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บทั้งหมด 603 ราย
นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำ จ.ปัตตานี เปิดเผยจากเหตุการณ์ระเบิดที่ จ.ยะลา จนมีผู้เสียชีวิต 11 ราย บาดเจ็บ 109 ราย และเหตุระเบิดที่โรงแรม ลี การ์เดนส์ พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จนมีผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บกว่า 400 ราย และเหตุการณ์ระเบิดที่ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมากนั้น ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในวันเดียวกัน คือ วันที่ 31 มี.ค.
และจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์เป็นจำนวนมาก อีกทั้งส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของภูมิภาค ประชาชนไม่มีความเชื่อมั่น หวาดกลัวในความปลอดภัยที่จะดำรงชีวิตอย่างปกติ และจากเหตุการณ์ดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบและเป็นอุปสรรคต่อการแสวงหาวิธีการในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่เป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำ จ.ปัตตานี มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม และองค์กรเครือข่าย จึงออกแถลงการณ์ขอแสดงความเสียใจต่อญาติพี่น้องและครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้ในแถลงการณ์ยังขอเรียกร้องให้กลุ่มผู้ก่อเหตุยุติการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ และขอให้ตระหนักถึงสิทธิของประชาชนผู้บริสุทธิ์ในการใช้ชีวิต และประกอบอาชีพอย่างปกติสุข และขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันแสวงหาทางออกร่วมกัน ขจัดความขัดแย้งไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางความคิด หรือความขัดแย้งทางการเมือง เพื่อให้เกิดความสงบสุขและสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้กลับมาดั้งเดิม
ขณะที่ ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า ทางศูนย์ได้จัดทำสรุปตัวเลขเหตุความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 มี.ค. ที่ผ่านมา พบว่ามีเหตุการณ์มากถึง 73 ครั้ง แยกเป็น จนท.พบวัตถุระเบิดและเก็บกู้ได้ 3 ครั้ง ขว้างและวางระเบิด 19 ครั้ง รถยนต์คาร์บอมบ์ จยย.บอมบ์ รวม 6 ครั้ง โจมตีฐาน 2 ครั้ง ซุ่มยิง 1 ครั้ง ปิดล้อมตรวจค้น และปะทะ 1 ครั้ง วางเพลิง 7 ครั้ง ก่อเหตุยิง จนท.และประชาชน ร่วม 34 ครั้ง
โดยมีผู้เสียชีวิตรวม 56 ราย บาดเจ็บ 547 ราย แยกเป็นราษฎร เสียชีวิต 29 ราย บาดเจ็บ 489 ราย ตร. ตชด. นปพ. เสียชีวิต 3 นาย บาดเจ็บ 10 นาย ทหารเสียชีวิต 9 นาย บาดเจ็บ 36 นาย ชรบ. อส. อปพร. เสียชีวิต 5 ราย บาดเจ็บ 1 ราย ครูบาดเจ็บ 3 ราย ไม่มีเสียชีวิต นักเรียนเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 3 ราย อบต.เสียชีวิต 1 ราย ไม่มีบาดเจ็บ กำนันผู้ใหญ่บ้าน เสียชีวิตรวม 3 ราย ไม่มีบาดเจ็บ ลูกจ้างของรัฐเสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 1 ราย ลูกจ้างเอกชน เสียชีวิต 1 ราย ไม่มีบาดเจ็บ ต่างด้าวเสียชีวิต 1 ราย เจ็บ 1 ราย เยาวชนอายุไม่เกิน 15 ปี บาดเจ็บ 2 ราย ส่วนคนร้ายเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 1 ราย รวมผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บทั้งหมด 603 ราย