เมื่อเวลา 13.30 น. วานนี้ (15 มี.ค. ) นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี นำคณะกรรมการอิสลาม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าพบพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พล.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่ทำเนียบรัฐบาล
พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า จากการที่นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ตนดูแลปัญหาภาคใต้ ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ 6 ประการ รวมทั้งยึดตามแนวทางพระราชดำรัส เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ในการแก้ไขปัญหา โดยจะเน้นทำงานในภาคของศูนย์อำนวยบริหารชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)ให้มากกว่า กอ.รมน. โดยจะผลักดันเรื่องการพัฒนาต่างๆ มากกว่าใช้กำลังทางทหาร จะ ผลักดันแต่ละกระทรวงให้ลงไปทำงานในพื้นที่ และภายใน 3-6 เดือนนี้ หากทำได้ จะเห็นผล และการเปลี่ยนแปลง หากอะไรที่ยังทำไม่ได้ ก็จะลงไปดูแล แก้ไข
พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ตนจะลงไปดูทุกๆ เดือน อย่างเช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรฯ อย่างที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้งบประมาณ 200 ล้านบาท ในการสร้างโรงเรียนใน 3 จังหวัด ซึ่งจะทำในรูปแบบของโรงเรียน ตชด. โดยให้กระทรวงศึกษาธิการไปดูในเรื่องของจุดที่จะก่อสร้าง และตนจะเชิญนายกฯ ลงพื้นที่
ส่วนการดูแลความเรียบร้อยในพื้นที่ ก็ไม่ได้หยุด พยายามทำให้อยู่ดีกินดี ขยายการศึกษา และเรื่องความยุติธรรม ความเป็นธรรมในพื้นที่ ปัญหาการเกษตร และสินค้าราคาแพง
ขณะที่ประธานคณะกรรมการกลางยะลา ขอให้มีการเร่งจัดหางานให้คนพื้นได้มีงานทำ ไม่ไปทำงานที่มาเลเซีย เพราะปัจจุบันไปทำงานที่มาเลเซียกว่า 2 แสนคน จนพื้นที่ภาคใต้ ขาดแรงงาน และขอให้รัฐบาลเร่งสนับสนุนการศึกษา เนื่องจากไม่มีใครกล้าลงไปสอนในพื้นที่ ทำให้เด็กไม่ได้รับการศึกษาที่เป็นมาตรฐาน และอยากให้ตั้งมหาวิทยาลัยอิหม่ามมากขึ้น และตั้งสำนักงานตัวแทนมัสยิด ในการประสานงานกับส่วนราชการ และศาสนาด้วย
จากนั้น พล.อ.ยุทธศักดิ์ ให้สัมภาษณ์ว่า จากการลงพื้นที่ทำให้เห็นว่า คนในพื้นที่ยังเป็นคนของเราอยู่ มีการจัดการระวังป้องกัน ต่อการศึกษา ความเป็นอยู่ดีขึ้น ความรู้สึกดีขึ้น ปัญหายาเสพติดลดน้อยลง ซึ่งแนวทางบูรณาการ โดยให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาจะลงไปพร้อมกันหมด และมีกำหนดระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาว่า จะต้องแล้วเสร็จเมื่อไร และจะมีการประเมินการทำงาน
ทั้งนี้จะมีการกำหนดว่า หากภายใน 3 เดือนหน่วยงานนั้นๆไม่มีความคืบหน้าในการทำงาน ก็จะรายงานไปที่ ผอ.กอ.รมน. ซึ่งก็คือนายกรัฐมนตรี เพื่อให้นายกฯบัญชาการโดยตรง ให้เกิดการกระตุ้นในการทำงาน
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาเก่า แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ครั้งนี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่ประชาชนกล้ามาคุย มาบอก และเราก็ลงไปหาเขาจริงๆ
ส่วนปัญหายาเสพติด จะแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวทหาร ตำรวจ ร่วมกันทำงานอย่างจริงจัง โดยเฉพาะต้องเคลียร์ผู้มีอิทธิพลให้ได้ ไม่สร้างอาณาจักรของตัวเอง แล้วไปเลี้ยงผู้ก่อการร้ายมาสร้างปัญหาให้กับประชาชน พวกนี้เราจะไม่ให้เกิดขึ้นอีกแล้ว คอยดู
ทั้งนี้ตนจะประสานกับร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อีกครั้งหนึ่ง ในการส่งสัญญาณปราบปราบยาเสพติดในพื้นที่ภาคใต้ ที่ถึงแม้จะน้อยกว่าภาคเหนือ แต่เราจะดูแลไม่ยอมให้มีเลย เพราะเป็นภัยแทรกซ้อนของการก่อความไม่สงบ
ขณะที่นายแวดือราแม กล่าวว่า มาคาราวะ และแสดงความยินดีที่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ได้รับตำแหน่งรองนายกฯ พร้อมมารับฟังนโยบายด้านความมั่นคง ที่จะไปดูแลความสงบใน 3 จว.ใต้ และ 4 อำเภอ จ.สงขลา นอกจากนี้ยังได้รับทราบว่า พล.อ.ยุทธศักดิ์ จะลงไปในพื้นที่ด้วยตนเองทุกเดือน รวมทั้งให้รมต.ทุกกระทรวง ลงพื้นที่ เพื่อให้กำลังใจส่วนยุทธศาสตร์ปี 2555-2557 ที่นำไปใช้ในพื้นที่ ต้องดูว่าความตั้งใจของรัฐบาล ถ้าตั้งใจ จริงจัง จริงใจในการทำงาน ผู้นำศาสนายินดีร่วมมือ ยอมรับว่าปัญหาในพื้นที่มีมากมาย ทั้งด้านสังคม การศึกษา ยาเสพติด ที่กำลังระบาดมาก ซึ่งรัฐบาลได้รับการชื่นชมเรื่องการปราบยา
ทั้งนี้สถานการณ์บางช่วงความรุนแรงเพิ่มขึ้น บางช่วงก็ลดลง อยู่ที่สถานการณ์ ตนไม่อยากให้หน่วยงานราชการในพื้นที่สร้างเงื่อนไข ตราบใดที่มีการสร้างเงื่อนไขมากจะทำให้ความรุนแรง การตอบโต้มีสูงขึ้น เช่น การสร้างเงื่อนไขกรณี 4 ศพหนองจิก จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ระหว่างสอบสวนข้อเท็จจริง โดยกรณีดังกล่าวจะจะมีการประชุมที่อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ต้อง ในวันที่ 16 มี.ค.จะได้ข้อสรุปและจะมีการแถลงข่าว โดยแม่ทัพภาคที่ 4โดย ส่วนการชดเชยเยียวยาต้องได้เท่ากับเหยื่อการเมืองหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการที่รับผิดชอบเรื่องนี้เป็นผู้พิจารณา อาจจะได้เท่ากันก็ได้ แต่เรื่องเงินไม่ใช่โจทย์หลัก อย่าเอาเงินเป็นที่ตั้ง ต้องพัฒนาอาชีพ การศึกษา ต้องเยียวยาจิตใจมากกว่า
พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า จากการที่นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ตนดูแลปัญหาภาคใต้ ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ 6 ประการ รวมทั้งยึดตามแนวทางพระราชดำรัส เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ในการแก้ไขปัญหา โดยจะเน้นทำงานในภาคของศูนย์อำนวยบริหารชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)ให้มากกว่า กอ.รมน. โดยจะผลักดันเรื่องการพัฒนาต่างๆ มากกว่าใช้กำลังทางทหาร จะ ผลักดันแต่ละกระทรวงให้ลงไปทำงานในพื้นที่ และภายใน 3-6 เดือนนี้ หากทำได้ จะเห็นผล และการเปลี่ยนแปลง หากอะไรที่ยังทำไม่ได้ ก็จะลงไปดูแล แก้ไข
พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ตนจะลงไปดูทุกๆ เดือน อย่างเช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรฯ อย่างที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้งบประมาณ 200 ล้านบาท ในการสร้างโรงเรียนใน 3 จังหวัด ซึ่งจะทำในรูปแบบของโรงเรียน ตชด. โดยให้กระทรวงศึกษาธิการไปดูในเรื่องของจุดที่จะก่อสร้าง และตนจะเชิญนายกฯ ลงพื้นที่
ส่วนการดูแลความเรียบร้อยในพื้นที่ ก็ไม่ได้หยุด พยายามทำให้อยู่ดีกินดี ขยายการศึกษา และเรื่องความยุติธรรม ความเป็นธรรมในพื้นที่ ปัญหาการเกษตร และสินค้าราคาแพง
ขณะที่ประธานคณะกรรมการกลางยะลา ขอให้มีการเร่งจัดหางานให้คนพื้นได้มีงานทำ ไม่ไปทำงานที่มาเลเซีย เพราะปัจจุบันไปทำงานที่มาเลเซียกว่า 2 แสนคน จนพื้นที่ภาคใต้ ขาดแรงงาน และขอให้รัฐบาลเร่งสนับสนุนการศึกษา เนื่องจากไม่มีใครกล้าลงไปสอนในพื้นที่ ทำให้เด็กไม่ได้รับการศึกษาที่เป็นมาตรฐาน และอยากให้ตั้งมหาวิทยาลัยอิหม่ามมากขึ้น และตั้งสำนักงานตัวแทนมัสยิด ในการประสานงานกับส่วนราชการ และศาสนาด้วย
จากนั้น พล.อ.ยุทธศักดิ์ ให้สัมภาษณ์ว่า จากการลงพื้นที่ทำให้เห็นว่า คนในพื้นที่ยังเป็นคนของเราอยู่ มีการจัดการระวังป้องกัน ต่อการศึกษา ความเป็นอยู่ดีขึ้น ความรู้สึกดีขึ้น ปัญหายาเสพติดลดน้อยลง ซึ่งแนวทางบูรณาการ โดยให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาจะลงไปพร้อมกันหมด และมีกำหนดระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาว่า จะต้องแล้วเสร็จเมื่อไร และจะมีการประเมินการทำงาน
ทั้งนี้จะมีการกำหนดว่า หากภายใน 3 เดือนหน่วยงานนั้นๆไม่มีความคืบหน้าในการทำงาน ก็จะรายงานไปที่ ผอ.กอ.รมน. ซึ่งก็คือนายกรัฐมนตรี เพื่อให้นายกฯบัญชาการโดยตรง ให้เกิดการกระตุ้นในการทำงาน
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาเก่า แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ครั้งนี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่ประชาชนกล้ามาคุย มาบอก และเราก็ลงไปหาเขาจริงๆ
ส่วนปัญหายาเสพติด จะแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวทหาร ตำรวจ ร่วมกันทำงานอย่างจริงจัง โดยเฉพาะต้องเคลียร์ผู้มีอิทธิพลให้ได้ ไม่สร้างอาณาจักรของตัวเอง แล้วไปเลี้ยงผู้ก่อการร้ายมาสร้างปัญหาให้กับประชาชน พวกนี้เราจะไม่ให้เกิดขึ้นอีกแล้ว คอยดู
ทั้งนี้ตนจะประสานกับร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อีกครั้งหนึ่ง ในการส่งสัญญาณปราบปราบยาเสพติดในพื้นที่ภาคใต้ ที่ถึงแม้จะน้อยกว่าภาคเหนือ แต่เราจะดูแลไม่ยอมให้มีเลย เพราะเป็นภัยแทรกซ้อนของการก่อความไม่สงบ
ขณะที่นายแวดือราแม กล่าวว่า มาคาราวะ และแสดงความยินดีที่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ได้รับตำแหน่งรองนายกฯ พร้อมมารับฟังนโยบายด้านความมั่นคง ที่จะไปดูแลความสงบใน 3 จว.ใต้ และ 4 อำเภอ จ.สงขลา นอกจากนี้ยังได้รับทราบว่า พล.อ.ยุทธศักดิ์ จะลงไปในพื้นที่ด้วยตนเองทุกเดือน รวมทั้งให้รมต.ทุกกระทรวง ลงพื้นที่ เพื่อให้กำลังใจส่วนยุทธศาสตร์ปี 2555-2557 ที่นำไปใช้ในพื้นที่ ต้องดูว่าความตั้งใจของรัฐบาล ถ้าตั้งใจ จริงจัง จริงใจในการทำงาน ผู้นำศาสนายินดีร่วมมือ ยอมรับว่าปัญหาในพื้นที่มีมากมาย ทั้งด้านสังคม การศึกษา ยาเสพติด ที่กำลังระบาดมาก ซึ่งรัฐบาลได้รับการชื่นชมเรื่องการปราบยา
ทั้งนี้สถานการณ์บางช่วงความรุนแรงเพิ่มขึ้น บางช่วงก็ลดลง อยู่ที่สถานการณ์ ตนไม่อยากให้หน่วยงานราชการในพื้นที่สร้างเงื่อนไข ตราบใดที่มีการสร้างเงื่อนไขมากจะทำให้ความรุนแรง การตอบโต้มีสูงขึ้น เช่น การสร้างเงื่อนไขกรณี 4 ศพหนองจิก จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ระหว่างสอบสวนข้อเท็จจริง โดยกรณีดังกล่าวจะจะมีการประชุมที่อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ต้อง ในวันที่ 16 มี.ค.จะได้ข้อสรุปและจะมีการแถลงข่าว โดยแม่ทัพภาคที่ 4โดย ส่วนการชดเชยเยียวยาต้องได้เท่ากับเหยื่อการเมืองหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการที่รับผิดชอบเรื่องนี้เป็นผู้พิจารณา อาจจะได้เท่ากันก็ได้ แต่เรื่องเงินไม่ใช่โจทย์หลัก อย่าเอาเงินเป็นที่ตั้ง ต้องพัฒนาอาชีพ การศึกษา ต้องเยียวยาจิตใจมากกว่า