ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ติดคอ! "แก๊งแดงเผาเมืองส่อดีใจเก้อ "ธงทอง" เผยคนที่มีคดีติดตัวจะไม่ได้เงินเยียวยา เพราะกระแสสังคมต้าน รอสรุปอีกครั้ง 14 ก.พ. "ชวน" กรีด อย่ามาเอาเงินภาษีมาจ่าย ไล่ไปเอาเงิน "แม้ว" ด้าน ผบ.ทบ. ชี้เยียวยาใต้ ประชาชนได้ประโยชน์ เป็นเรื่องดี เตือนวิพากษ์วิจารณ์อะไรนึกถึงคนทำงานเสี่ยงตายบ้าง ลั่นใครสงสัยแก้ปัญหาใต้ ให้มาถามทบ.ได้ 24 ชม.
วานนี้ (6 ก.พ.) นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมตรี ในฐานะ คณะอนุกรรมการด้านการเยียวยาทางแพ่ง และการฟื้นฟูด้วยวิธีการอื่น ซึ่งเป็นการประสานงาน และติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) แถลงภายหลังการประชุมว่า จากการที่ได้มอบหมายการทำงานให้คณะกรรมการทั้ง 3 ชุด ได้แก่ 1. คณะของนางสุวนา สุวรรณจูฑะ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งมีหน้าที่เก็บข้อมูลของผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมว่าใครได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตเท่าไร 2. คณะของนางระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ รองปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีหน้าที่คิดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินและตรวจสอบรายละเอียดผู้ที่ได้รับเงินเยียวยา 3. คณะของนายวีระวงศ์ จิตต์มิตรภาพ คณะกรรมการ ปคอป. มีหน้าที่ดูรายละเอียดของภาคธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม
นายธงทองกล่าวว่า จากการรายงานของคณะทำงานชุดที่ 1 ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่าข้อมูลจากปลายปี 48 ยังมีความกะท่อนกะแท่นอยู่พอสมควร โดยมีการเก็บข้อมูล และมีการเยียวยาไปแล้วบ้าง ด้วยมาตรการของรัฐบาลในอดีตที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 51 แต่ขณะนี้ยังขาดข้อมูลบางอย่าง ที่เราต้องไปค้นต่อ คือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเสียชีวิตมีจำนวนเท่าไร บาดเจ็บทุพลภาพเท่าไร และบุคคลเหล่านั้นมีสถานะทางคดีหรือเปล่า เนื่องจากเป็นข้อถกเถียงในเวลาการทำงานของเรา ที่สังคมมีข้อวิพากษ์อยู่ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และทุพลภาพที่ยังมีชีวิตอยู่ ต้องตรวจสอบว่ามีสถานะทางคดีอยู่ หรือถูกตรวจสอบอะไรหรือไม่ และคดีที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมอยู่ในขั้นตอนใด ซึ่งทางคณะกรรมการได้เน้นย้ำให้มีการค้นหาข้อมูลโดยเร็วเพื่อความชัดเจน
ส่วนคณะที่ 2 เป็นผู้ที่วางหลักเกณฑ์ ได้ระบุว่า อยากจะทำงานร่วมกับชุดที่ 1 อย่างใกล้ชิด ตนจึงให้เวลาภายในสัปดาห์นี้ เร่งติดตามข้อมูลทุกอย่าง ซึ่งในวันนี้ได้รับความกรุณาจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนจากกระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข เก็บข้อมูลมารวมกัน อย่างน้อยข้อมูลตั้งแต่ปี 51-55 น่าจะได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกัน มีความสมบูรณ์มากที่สุด ส่วนปี 48-50 นั้น แม้ยังไม่ครบก็ไม่เป็นไร เราอยากจะเห็นกลุ่มที่เป็นประชากรกลุ่มสำคัญที่มีจำนวนมากที่สุด และดูสถานะของเรื่องทั้งหมดว่ามีใครเป็นอะไร อย่างไรบ้าง มีมิติทางคดีเกี่ยวข้องหรือไม่อย่างไร และในวันจันทร์ที่ 13 ก.พ.นี้ ประธานคณะทำงานที่ 1 และ 2 จะนัดคุยกันนอกรอบ และจะนำข้อหารือมาเสนอในที่ประชุมของคณะกรรมการ ซึ่งจะประชุมกันอีกครั้งในช่วงเช้าวันที่ 14 ก.พ.นี้ ซึ่งตนคิดว่าจะมีความชัดเจนในเรื่องหลักเกณฑ์ การจ่ายเงินเยียวยาที่ชัดเจน ในสัปดาห์หน้า
ทั้งนี้ จากตัวเลขข้างต้นของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ทุพลภาพ ขณะนี้มีจำนวน 2,000 ราย และตนคิดว่าไม่ใช่ทั้ง 2,000 ราย ที่มีสถานะทางคดีหรือเกี่ยวข้องทางคดีอาญาทั้งหมด จึงต้องขอเวลาหาข้อมูลที่ชัดเจน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้าบุคคลที่มีคดีอยู่ จะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่ นายธงทอง กล่าวว่า จะต้องทราบข้อเท็จจริงก่อน และจะมีการหารือกันในคณะกรรมการว่า การเยียวยา จะมีวิธีการอย่างไร หรือไม่ เช่น ถ้าสถานะทางคดียังไม่มีข้อยุติ ในข้ออภิปรายก็อาจจะระบุว่า ยังไม่จ่าย ให้รอไว้ก่อน แต่ก็อย่าลืมว่าสถานะทางคดี ถ้าถูกฟ้องก็ไม่ได้หมายความว่าสุดท้ายศาลจะตัดสินให้เป็นคนผิดเสมอไป หากในระหว่างการรอคำตัดสินเขามีความเดือดร้อนมาก จนวันสุดท้ายศาลตัดสินว่าเขาไม่ผิด ความเดือดร้อนตรงนี้จะทำให้เขาทวีความรุนแรงมากขึ้น เราควรจะตัดสินอย่างไร หรือในเรื่องฐานข้อหาที่ฟ้อง อาจฟ้องข้อหารุนแรง แต่ไม่ง่ายต่อการพิสูจน์ คนเหล่านั้นก็จะได้รับผลหนัก ดังนั้น ทางคณะกรรมการจึงต้องขอเวลาเก็บข้อมูล และพิสูจน์ก่อน ส่วนการเริ่มจ่ายเงินนั้น คาดว่าสัปดาห์หน้า การเก็บข้อมูลต่างๆน่าจะจบ และภายในสัปดาห์หน้า น่าจะได้ข้อสรุปรายงาน ปคอป.ได้
เมื่อถามว่า การจ่ายเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง ที่ คณะ ปคอป. แนะนำว่า อาจจะต้องมีการใช้เกณฑ์ของภาคใต้ด้วย เพราะขณะนี้หลักเกณฑ์ของเหยื่อทางการเมือง กับภาคใต้ ยังแตกต่างกันมาก นายธงทอง กล่าวว่า ตนคงตอบในส่วนนั้นไม่ได้ เพราะไม่ได้อยู่ในกรอบหน้าที่ ของอนุกรรมการชุดนี้ ที่จะให้ความเห็น เราได้รับโจทย์มาในเรื่องนี้อย่างเดียวไม่ได้รับโจทย์ให้ดูทุกเหตุการณ์ในประเทศไทย ส่วนตัวเลขโดยรวมทุกเหตุการณ์ คาดว่าผู้เสียชีวิตจะไม่เกิน 100 ราย
** ส.ว.จวกเยียวยาแดงโอเวอร์
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ขอฝากไปยังนายกฯ และรมว.มหาดไทย ในฐานะที่เป็นประธาน ปคอป. และรมว.ยุติธรรม ในฐานะที่เป็นประธานพิจารณาเรื่องการเยียวยาชายแดนภาคใต้ กรณีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะบัดนี้รัฐบาลได้ทำให้ประเทศไทยเป็นที่สุดในโลก ในเกณฑ์การให้การเยียวยา ที่ให้เงินเยียวยาถึง 30 เท่าของรายได้เฉลี่ยประชาชน ( ตัวเลข 4.5 ล้านบาท ) ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในโลก
นายสมชาย กล่าวอีกว่า เมื่อตรวจสอบต่อไป ไม่พบที่มาของการกำหนดค่าเยียวยาทางจิตใจ 3 ล้านบาท ว่า คำนวณมาจากทางวิธีใด นอกจากนี้ยังมีการจ่ายชดเชยผู้ทุพลภาพ 7.5 ล้านบาท การจ่ายให้ผู้ได้รับบาดเจ็บ และสูญเสียอวัยวะ 3.6 ล้านบาท รวมถึงการบาดเจ็บเล็กน้อยได้ 2.5 แสนบาท
ทั้งนี้ไม่รวมถึงการจ่ายเงิน เมื่อศาลสั่งยกฟ้องอีก 1.5 ล้านบาท กรณีนี้ผู้ต้องหาคดีอาญาอื่น ได้รับเงินทดแทนวันละ 200 บาท แต่ผู้ต้องหาคดีนี้ หากศาลสั่งยกฟ้องจะได้วันละ 8,333 บาท หากศาลจำคุกเกินไม่ว่ากรณีใด จะได้อีกรายละ 1 ล้านบาท สิ่งเหล่านี้เรากำลังทำให้ประเทศเข้าสู่การเป็นสองมาตรฐานอย่างจริงจัง เพราะหากย้อนดูผู้เสียหายในจังหวัดภาคใต้กว่า 4-5 พันราย หากจะจ่ายเงินทั้งหมด ยังจะต้องดูแลไปถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เ หตุการณ์ฆ่าตัดตอนยาเสพติด 2,500 ศพ และกรณีการประสบภัยอื่นรวมถึงการดูแลเยียวยาทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ชายแดน ปัจจุบันยังไม่มีขั้นตอนทางกฎหมายใดๆ มารองรับ อาจจะมีผู้นำคดีขึ้นสู่ศาล แต่หากต่อไปมีกฎหมายมารองรับ ก็ไม่เป็นอะไร
** "ชวน"ไล่ไปเอาเงิน"แม้ว"มาจ่าย
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีที่คณะกรรมการอิสลาม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกร้องให้รัฐบาลจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อเหตุการณ์กรือเซะ ตากใบ กรณีนักฟุตบอลเสียชีวิตที่ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา และเหตุยิงผู้นำศาสนาเสียชีวิต ที่มัสยิดบ้านไอร์ปาแย อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส 7.75 ล้านบาท เท่ากับคนเสื้อแดงว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดในเรื่องดังกล่าว แต่เห็นว่าจะต้องแยกแยะเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ในกรุงเทพฯ กับความสูญเสียในภาคใต้ ออกจากกัน เพราะกรณีของภาคใต้ เป็นความสูญเสียที่เกิดจากนโยบายผิดพลาด ของรัฐบาลตั้งแต่ปี 2544 ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เหตุการณ์ในกรุงเทพฯหากจะมีการชดเชย ต้องเอาเงิน พ.ต.ท.ทักษิณ มาชดเชย เพราะคนเหล่านั้นมาเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ จึงต้องแยกให้ออก ไม่ใช่มาเอาภาษีชาวบ้านไปชดเชย พวกที่ทำเพื่อตัวเองมันไม่ถูกต้อง
นายชวน กล่าวว่าความสูญเสียจากเหตุความไม่สงบในพื้นที่ภาคใตั เป็นเพราะนโยบายผิดพลาด ตั้งแต่ปี 44 ที่ใช้ระบบฆ่าทิ้ง และ นโยบายโจรกระจอก ซึ่งความเสียหายไม่ได้มีเฉพาะเหตุการณ์กรือเซะ ตากใบ แต่เป็นผลพวงของนโยบายที่ผิดพลาด จนเกิดความสูญเสีย 5 พันกว่าคน เกิดจากนโยบายรัฐบาลทั้งสิ้น ไม่เหมือนเหตุการณ์ในกรุงเทพฯ จึงต้องแยกออกจากกัน ไม่ใช่ใช้วิธีช่วยพรรคพวกตัวเอง โดยเอาที่อื่นมากลบเกลื่อน ทำอย่างนั้นไม่ได้
"จุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ หัวหน้าพรรคพูดชัดเจนแล้วว่า เราไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ และคนที่เสียหายก็ควรจะช่วยเขา แต่เขามาเพื่อคุณทักษิณ มาเพื่อพรรคเพื่อไทย เงินของพวกท่านเยอะแยะเลย ต้องเอาไปช่วยเขาเป็นการส่วนตัว ไม่ใช่มาเอาเงินภาษีประชาชนไปจ่ายแทน กับสิ่งที่เขาทำเพื่อพวกท่านทั้งหลาย " นายชวน กล่าว
***ผบ.ทบ.ชี้ผู้บริสุทธิ์ได้เงินเป็นเรื่องดี
วันเดียวกัน ที่หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.)พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลเตรียมให้การเยียวยาผู้ที่ได้ผลกระทบจากเหตุรุนแรงในภาคใต้ ว่า การเยียวยาก็ดีอยู่แล้ว จะมากจะน้อย ก็เรื่องของรัฐบาลและคณะกรรมการ อย่ามาถามตนว่าเห็นด้วยหรือไม่ ซึ่งต้องมีการเยียวยาจะมากจะน้อยก็แล้วแต่ เพราะคนได้ประโยชน์ คือประชาชน ส่วนหลักเกณฑ์ก็ให้ไปตั้งกัน อย่ามาถามตน ต้องถามใครเป็นผู้ตั้งหลักเกณฑ์ ตนไม่ได้เป็นผู้ตั้ง แต่รัฐบาลตั้ง หากเหมาะสมก็ว่ากันไป แต่ประชาชนได้ประโยชน์หรือเปล่า ทุกอย่างที่ทหารทำทุกวันนี้ เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์ทั้งสิ้น ไม่มีอย่างอื่น
ส่วนสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ทีทำงานระมัดระวังการทำหน้าที่มาโดยตลอด เพราะรู้อยู่ว่า เป็นสงครามทางความคิด แย่งชิงการนำประชาชน สร้างความเชื่อมั่น แต่สิ่งหนึ่งที่เขาทำได้อย่างเดียวคือ การใช้ความรุนแรง สิ่งที่ตนต้องการเวลานี้ ขอให้ทุกสื่อช่วยกันประณามผู้ก่อเหตุรุนแรง เขาไม่ควรกระทำตราบใดที่เขาคิดว่ายังเป็นคนไทย คนไทยทั้งนั้นที่ไปเคลื่อนไหวอยู่ ยังไม่มีหลักฐานว่ามาจากที่อื่น เป็นคนไทยและแสวงหาประโยชน์จากการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดเหตุรุนแร ง ซึ่งคนที่บาดเจ็บสูญเสียคือ ประชาชนผู้บริสุทธิ์ และเจ้าหน้าที่
ทั้งนี้ ต้องเห็นใจเจ้าหน้าที่ เพราะพื้นที่กว้างขวาง ภารกิจเชิงรับเยอะ เจ้าหน้าที่เปิดเผยตนเองมาโดยตลอด เพราะเดี๋ยวจะเข้าใจผิด เพราะทหารเจ้าหน้าที่แต่งนอกเครื่องแบบถืออาวุธไม่ได้ นอกเครื่องแบบถืออาวุธผิดกฎหมาย ตนจึงสั่งเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องแต่งเครื่องแบบ ไม่เช่นนั้นก็เกิดความเข้าใจผิดมาโดยตลอด ฝ่ายโน้นก็มาแต่งตัวคล้ายๆทหาร อย่างไรก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเพราะเป็นการเปิดเผยตนเอง แต่จะทำอย่างไรได้คงต้องระมัดระวัง งานข่าว หรือแผนการระวังป้องกันก็สำคัญ
"เราต้องพยายามให้เป็นการแก้ปัญหาของเราภายในประเทศของเราเอง เพราะสิ่งที่เขาต้องการคือไปสู่สากล เราก็พยายามไม่ให้ไปสู่สากลแต่ก็เกิดเหตุขึ้น เพราะตราบใดยังมีคนพวกนี้อยู่ ดังนั้นจะได้ชัยชนะอย่างไรก็ต้องนำคนพวกนี้มาสร้างความเข้าใจให้ได้ เรามีมาตรา 21 และยังสู้กันอยู่ ในทางความคิด โดยต้องเข้าใจว่า การแก้ไขปัญหาภาคใต้ ไม่ใช่การใช้กำลังมาสู้กัน การที่ทหารลงไป 3 - 4 หมื่นคน ไปรวมเจ้าหน้าที่ตำรวจ พลเรือน ทหาร ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) รวมประมาณ 6 หมื่นคน ไม่ใช่ลงไปเพื่อไปรบ เพราะถ้านำ 6 หมื่นคนไปรบ เดี๋ยวก็จบ คือรบกันไม่เลิก ดังนั้นทำอย่างไรถึงไม่รบ ทำอย่างไรประชาชนจะเข้าใจ งานพัฒนาถึงจะพัฒนาขึ้น ทั้งอาชีพ ความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิต การศึกษา ทั้งหมดคือ ภาพรวมที่เราเข้าไปแก้ถึง 7 ยุทธศาสตร์"
ทั้งนี้ แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะ ผอ.รมน. ภาค 4 ลงพื้นที่ภาคใต้เพื่อดูแลการทำงาน แต่กระทรวง ทบวง กรม มีงบประมาณทั้งสิ้น กอ.รมน. ส่วนหนึ่ง ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จะรับหน้าที่การพัฒนา ทหารจะทำหน้าที่ความมั่นคง โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมด กอ.รมน. 60 % เป็นเรื่องเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือน ค่าตอบแทน ค่าครองชีพ ไม่งั้นเจ้าหน้าที่ไปอยู่ในพื้นที่ไม่ได้หรอกหลายหมื่นคน ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดมีทั้งลงทุนระยะสั้นระยะยาวเฉพาะหน้าในการแก้ปัญหา อย่าไปเหมาพูดว่าการแก้ปัญหาไม่สำเร็จ
" วันนี้ 7 ปีแล้ว ถามสิว่า มีใครยึดพื้นที่เราตรงไหนได้บ้าง ชนะ แพ้ ว่ากันด้วยอะไร มีการแบ่งแยกดินแดนไปหรือยัง มีใครออกมารับผิดชอบว่า เป็นแกนนำหรือเป็นหัวหน้า มีกองกำลังยึดพื้นที่ที่ไหน มีทหารเข้าไปตรงไหนไม่ได้บ้าง นั่นคือ แพ้ชนะ ประชาชนเข้าใจทหาร เข้าใจเจ้าหน้าที่ 98 % ถึง 99 % เหลืออีก 1 % ที่ยังสู้กันอยู่ ก็จะไปให้กำลังใจเขาทำไม ไปให้เครดิตเขาทำไม ดังนั้น ต้องเข้าใจกันไม่งั้นการแก้ปัญหาจะยากขึ้นเรื่อยๆ เห็นใจเจ้าหน้าที่ด้วย เพราะเวลาวิพากษ์วิจารณ์นึกถึงเจ้าหน้าที่ที่เขาเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายทุกวัน ซึ่งลูกเมียผู้บังคับบัญชาเป็นห่วงเป็นใย ทั้งนี้ ไม่มีใครอยากได้งบประมาณ เลยเลี้ยงไข้กัน มันคิดแบบนี้ได้ไง ชีวิตคนคิดแบบนี้ไม่ได้ เขาเสียชีวิตลูกเมียก็เดือดร้อน" ผบ.ทบ.ระบุ
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า ถ้าไม่เข้าใจ มาอธิบายมาพบกัน มาตรา 21 ให้ออกมา แต่พวกนั้นก็ไปเป่าหูว่า อย่าออกมาเลย แต่หากไม่ออกมาติดคุกนะครับ หากมาเข้ารับการอบรม และเชื่อได้ว่าถูกชักจูงหลงผิด ก็อบรม และกลายเป็นผู้บริสุทธิ์ได้ นั่นคือกฎหมาย เขาช่วยอยู่แล้ว แต่ไปเชื่อพวกนั้นที่มาหลอกอยู่ได้ ตนไม่เข้าใจ
"ใครที่ติดใจสงสัยเรื่องการแก้ไขปัญหาภาคใต้ ให้มาถามที่กองทัพบกได้ตลอดเวลา 24 ชม. อย่าไปพูดเองแล้วไม่เข้าใจจนเหตุการณ์ลุกลามบานปลายแล้ว แก้ไม่ได้ภายหลัง อย่างที่เคยบอกต้องบันทึกไว้ ใครพูดอะไรต้องรับผิดชอบ"
ด้านนายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี กล่าวถึงกรณีการเยียวยา 7.5 ล้านบาทให้แก่ญาติของผู้เสียชีวิต 4 ศพว่า การเยียวยาให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบนั้นต้องมองในหลายๆ มิติ อันดับแรกที่สำคัญ คือ การเยียวยาในด้านจิตใจ โดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะไม่คำนึงทรัพย์สินเป็นอันดับแรกแต่คำนึงถึงในด้านจิตใจมากกว่า
ส่วนการมอบเงินเยียวยานั้น ตนมีความเห็นด้วยแต่เนื่องจากว่าเงินที่มอบให้มีจำนวนมากกว่าที่ทางศาสนาอิสลามได้กำหนด จึงจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจกับญาติผู้เสียชีวิต ในการที่จะนำเงินดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดซึ่งจากการสอบถามกับญาติผู้เสียชีวิต ต่างก็รู้สึกดีใจที่ทางภาครัฐได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและจะเอาเงินส่วนนี้มาเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาของบุตรหลานให้ได้จบการศึกษาระดับสูงขึ้นด้วย.
วานนี้ (6 ก.พ.) นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมตรี ในฐานะ คณะอนุกรรมการด้านการเยียวยาทางแพ่ง และการฟื้นฟูด้วยวิธีการอื่น ซึ่งเป็นการประสานงาน และติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) แถลงภายหลังการประชุมว่า จากการที่ได้มอบหมายการทำงานให้คณะกรรมการทั้ง 3 ชุด ได้แก่ 1. คณะของนางสุวนา สุวรรณจูฑะ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งมีหน้าที่เก็บข้อมูลของผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมว่าใครได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตเท่าไร 2. คณะของนางระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ รองปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีหน้าที่คิดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินและตรวจสอบรายละเอียดผู้ที่ได้รับเงินเยียวยา 3. คณะของนายวีระวงศ์ จิตต์มิตรภาพ คณะกรรมการ ปคอป. มีหน้าที่ดูรายละเอียดของภาคธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม
นายธงทองกล่าวว่า จากการรายงานของคณะทำงานชุดที่ 1 ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่าข้อมูลจากปลายปี 48 ยังมีความกะท่อนกะแท่นอยู่พอสมควร โดยมีการเก็บข้อมูล และมีการเยียวยาไปแล้วบ้าง ด้วยมาตรการของรัฐบาลในอดีตที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 51 แต่ขณะนี้ยังขาดข้อมูลบางอย่าง ที่เราต้องไปค้นต่อ คือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเสียชีวิตมีจำนวนเท่าไร บาดเจ็บทุพลภาพเท่าไร และบุคคลเหล่านั้นมีสถานะทางคดีหรือเปล่า เนื่องจากเป็นข้อถกเถียงในเวลาการทำงานของเรา ที่สังคมมีข้อวิพากษ์อยู่ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และทุพลภาพที่ยังมีชีวิตอยู่ ต้องตรวจสอบว่ามีสถานะทางคดีอยู่ หรือถูกตรวจสอบอะไรหรือไม่ และคดีที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมอยู่ในขั้นตอนใด ซึ่งทางคณะกรรมการได้เน้นย้ำให้มีการค้นหาข้อมูลโดยเร็วเพื่อความชัดเจน
ส่วนคณะที่ 2 เป็นผู้ที่วางหลักเกณฑ์ ได้ระบุว่า อยากจะทำงานร่วมกับชุดที่ 1 อย่างใกล้ชิด ตนจึงให้เวลาภายในสัปดาห์นี้ เร่งติดตามข้อมูลทุกอย่าง ซึ่งในวันนี้ได้รับความกรุณาจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนจากกระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข เก็บข้อมูลมารวมกัน อย่างน้อยข้อมูลตั้งแต่ปี 51-55 น่าจะได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกัน มีความสมบูรณ์มากที่สุด ส่วนปี 48-50 นั้น แม้ยังไม่ครบก็ไม่เป็นไร เราอยากจะเห็นกลุ่มที่เป็นประชากรกลุ่มสำคัญที่มีจำนวนมากที่สุด และดูสถานะของเรื่องทั้งหมดว่ามีใครเป็นอะไร อย่างไรบ้าง มีมิติทางคดีเกี่ยวข้องหรือไม่อย่างไร และในวันจันทร์ที่ 13 ก.พ.นี้ ประธานคณะทำงานที่ 1 และ 2 จะนัดคุยกันนอกรอบ และจะนำข้อหารือมาเสนอในที่ประชุมของคณะกรรมการ ซึ่งจะประชุมกันอีกครั้งในช่วงเช้าวันที่ 14 ก.พ.นี้ ซึ่งตนคิดว่าจะมีความชัดเจนในเรื่องหลักเกณฑ์ การจ่ายเงินเยียวยาที่ชัดเจน ในสัปดาห์หน้า
ทั้งนี้ จากตัวเลขข้างต้นของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ทุพลภาพ ขณะนี้มีจำนวน 2,000 ราย และตนคิดว่าไม่ใช่ทั้ง 2,000 ราย ที่มีสถานะทางคดีหรือเกี่ยวข้องทางคดีอาญาทั้งหมด จึงต้องขอเวลาหาข้อมูลที่ชัดเจน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้าบุคคลที่มีคดีอยู่ จะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่ นายธงทอง กล่าวว่า จะต้องทราบข้อเท็จจริงก่อน และจะมีการหารือกันในคณะกรรมการว่า การเยียวยา จะมีวิธีการอย่างไร หรือไม่ เช่น ถ้าสถานะทางคดียังไม่มีข้อยุติ ในข้ออภิปรายก็อาจจะระบุว่า ยังไม่จ่าย ให้รอไว้ก่อน แต่ก็อย่าลืมว่าสถานะทางคดี ถ้าถูกฟ้องก็ไม่ได้หมายความว่าสุดท้ายศาลจะตัดสินให้เป็นคนผิดเสมอไป หากในระหว่างการรอคำตัดสินเขามีความเดือดร้อนมาก จนวันสุดท้ายศาลตัดสินว่าเขาไม่ผิด ความเดือดร้อนตรงนี้จะทำให้เขาทวีความรุนแรงมากขึ้น เราควรจะตัดสินอย่างไร หรือในเรื่องฐานข้อหาที่ฟ้อง อาจฟ้องข้อหารุนแรง แต่ไม่ง่ายต่อการพิสูจน์ คนเหล่านั้นก็จะได้รับผลหนัก ดังนั้น ทางคณะกรรมการจึงต้องขอเวลาเก็บข้อมูล และพิสูจน์ก่อน ส่วนการเริ่มจ่ายเงินนั้น คาดว่าสัปดาห์หน้า การเก็บข้อมูลต่างๆน่าจะจบ และภายในสัปดาห์หน้า น่าจะได้ข้อสรุปรายงาน ปคอป.ได้
เมื่อถามว่า การจ่ายเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง ที่ คณะ ปคอป. แนะนำว่า อาจจะต้องมีการใช้เกณฑ์ของภาคใต้ด้วย เพราะขณะนี้หลักเกณฑ์ของเหยื่อทางการเมือง กับภาคใต้ ยังแตกต่างกันมาก นายธงทอง กล่าวว่า ตนคงตอบในส่วนนั้นไม่ได้ เพราะไม่ได้อยู่ในกรอบหน้าที่ ของอนุกรรมการชุดนี้ ที่จะให้ความเห็น เราได้รับโจทย์มาในเรื่องนี้อย่างเดียวไม่ได้รับโจทย์ให้ดูทุกเหตุการณ์ในประเทศไทย ส่วนตัวเลขโดยรวมทุกเหตุการณ์ คาดว่าผู้เสียชีวิตจะไม่เกิน 100 ราย
** ส.ว.จวกเยียวยาแดงโอเวอร์
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ขอฝากไปยังนายกฯ และรมว.มหาดไทย ในฐานะที่เป็นประธาน ปคอป. และรมว.ยุติธรรม ในฐานะที่เป็นประธานพิจารณาเรื่องการเยียวยาชายแดนภาคใต้ กรณีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะบัดนี้รัฐบาลได้ทำให้ประเทศไทยเป็นที่สุดในโลก ในเกณฑ์การให้การเยียวยา ที่ให้เงินเยียวยาถึง 30 เท่าของรายได้เฉลี่ยประชาชน ( ตัวเลข 4.5 ล้านบาท ) ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในโลก
นายสมชาย กล่าวอีกว่า เมื่อตรวจสอบต่อไป ไม่พบที่มาของการกำหนดค่าเยียวยาทางจิตใจ 3 ล้านบาท ว่า คำนวณมาจากทางวิธีใด นอกจากนี้ยังมีการจ่ายชดเชยผู้ทุพลภาพ 7.5 ล้านบาท การจ่ายให้ผู้ได้รับบาดเจ็บ และสูญเสียอวัยวะ 3.6 ล้านบาท รวมถึงการบาดเจ็บเล็กน้อยได้ 2.5 แสนบาท
ทั้งนี้ไม่รวมถึงการจ่ายเงิน เมื่อศาลสั่งยกฟ้องอีก 1.5 ล้านบาท กรณีนี้ผู้ต้องหาคดีอาญาอื่น ได้รับเงินทดแทนวันละ 200 บาท แต่ผู้ต้องหาคดีนี้ หากศาลสั่งยกฟ้องจะได้วันละ 8,333 บาท หากศาลจำคุกเกินไม่ว่ากรณีใด จะได้อีกรายละ 1 ล้านบาท สิ่งเหล่านี้เรากำลังทำให้ประเทศเข้าสู่การเป็นสองมาตรฐานอย่างจริงจัง เพราะหากย้อนดูผู้เสียหายในจังหวัดภาคใต้กว่า 4-5 พันราย หากจะจ่ายเงินทั้งหมด ยังจะต้องดูแลไปถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เ หตุการณ์ฆ่าตัดตอนยาเสพติด 2,500 ศพ และกรณีการประสบภัยอื่นรวมถึงการดูแลเยียวยาทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ชายแดน ปัจจุบันยังไม่มีขั้นตอนทางกฎหมายใดๆ มารองรับ อาจจะมีผู้นำคดีขึ้นสู่ศาล แต่หากต่อไปมีกฎหมายมารองรับ ก็ไม่เป็นอะไร
** "ชวน"ไล่ไปเอาเงิน"แม้ว"มาจ่าย
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีที่คณะกรรมการอิสลาม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกร้องให้รัฐบาลจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อเหตุการณ์กรือเซะ ตากใบ กรณีนักฟุตบอลเสียชีวิตที่ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา และเหตุยิงผู้นำศาสนาเสียชีวิต ที่มัสยิดบ้านไอร์ปาแย อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส 7.75 ล้านบาท เท่ากับคนเสื้อแดงว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดในเรื่องดังกล่าว แต่เห็นว่าจะต้องแยกแยะเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ในกรุงเทพฯ กับความสูญเสียในภาคใต้ ออกจากกัน เพราะกรณีของภาคใต้ เป็นความสูญเสียที่เกิดจากนโยบายผิดพลาด ของรัฐบาลตั้งแต่ปี 2544 ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เหตุการณ์ในกรุงเทพฯหากจะมีการชดเชย ต้องเอาเงิน พ.ต.ท.ทักษิณ มาชดเชย เพราะคนเหล่านั้นมาเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ จึงต้องแยกให้ออก ไม่ใช่มาเอาภาษีชาวบ้านไปชดเชย พวกที่ทำเพื่อตัวเองมันไม่ถูกต้อง
นายชวน กล่าวว่าความสูญเสียจากเหตุความไม่สงบในพื้นที่ภาคใตั เป็นเพราะนโยบายผิดพลาด ตั้งแต่ปี 44 ที่ใช้ระบบฆ่าทิ้ง และ นโยบายโจรกระจอก ซึ่งความเสียหายไม่ได้มีเฉพาะเหตุการณ์กรือเซะ ตากใบ แต่เป็นผลพวงของนโยบายที่ผิดพลาด จนเกิดความสูญเสีย 5 พันกว่าคน เกิดจากนโยบายรัฐบาลทั้งสิ้น ไม่เหมือนเหตุการณ์ในกรุงเทพฯ จึงต้องแยกออกจากกัน ไม่ใช่ใช้วิธีช่วยพรรคพวกตัวเอง โดยเอาที่อื่นมากลบเกลื่อน ทำอย่างนั้นไม่ได้
"จุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ หัวหน้าพรรคพูดชัดเจนแล้วว่า เราไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ และคนที่เสียหายก็ควรจะช่วยเขา แต่เขามาเพื่อคุณทักษิณ มาเพื่อพรรคเพื่อไทย เงินของพวกท่านเยอะแยะเลย ต้องเอาไปช่วยเขาเป็นการส่วนตัว ไม่ใช่มาเอาเงินภาษีประชาชนไปจ่ายแทน กับสิ่งที่เขาทำเพื่อพวกท่านทั้งหลาย " นายชวน กล่าว
***ผบ.ทบ.ชี้ผู้บริสุทธิ์ได้เงินเป็นเรื่องดี
วันเดียวกัน ที่หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.)พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลเตรียมให้การเยียวยาผู้ที่ได้ผลกระทบจากเหตุรุนแรงในภาคใต้ ว่า การเยียวยาก็ดีอยู่แล้ว จะมากจะน้อย ก็เรื่องของรัฐบาลและคณะกรรมการ อย่ามาถามตนว่าเห็นด้วยหรือไม่ ซึ่งต้องมีการเยียวยาจะมากจะน้อยก็แล้วแต่ เพราะคนได้ประโยชน์ คือประชาชน ส่วนหลักเกณฑ์ก็ให้ไปตั้งกัน อย่ามาถามตน ต้องถามใครเป็นผู้ตั้งหลักเกณฑ์ ตนไม่ได้เป็นผู้ตั้ง แต่รัฐบาลตั้ง หากเหมาะสมก็ว่ากันไป แต่ประชาชนได้ประโยชน์หรือเปล่า ทุกอย่างที่ทหารทำทุกวันนี้ เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์ทั้งสิ้น ไม่มีอย่างอื่น
ส่วนสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ทีทำงานระมัดระวังการทำหน้าที่มาโดยตลอด เพราะรู้อยู่ว่า เป็นสงครามทางความคิด แย่งชิงการนำประชาชน สร้างความเชื่อมั่น แต่สิ่งหนึ่งที่เขาทำได้อย่างเดียวคือ การใช้ความรุนแรง สิ่งที่ตนต้องการเวลานี้ ขอให้ทุกสื่อช่วยกันประณามผู้ก่อเหตุรุนแรง เขาไม่ควรกระทำตราบใดที่เขาคิดว่ายังเป็นคนไทย คนไทยทั้งนั้นที่ไปเคลื่อนไหวอยู่ ยังไม่มีหลักฐานว่ามาจากที่อื่น เป็นคนไทยและแสวงหาประโยชน์จากการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดเหตุรุนแร ง ซึ่งคนที่บาดเจ็บสูญเสียคือ ประชาชนผู้บริสุทธิ์ และเจ้าหน้าที่
ทั้งนี้ ต้องเห็นใจเจ้าหน้าที่ เพราะพื้นที่กว้างขวาง ภารกิจเชิงรับเยอะ เจ้าหน้าที่เปิดเผยตนเองมาโดยตลอด เพราะเดี๋ยวจะเข้าใจผิด เพราะทหารเจ้าหน้าที่แต่งนอกเครื่องแบบถืออาวุธไม่ได้ นอกเครื่องแบบถืออาวุธผิดกฎหมาย ตนจึงสั่งเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องแต่งเครื่องแบบ ไม่เช่นนั้นก็เกิดความเข้าใจผิดมาโดยตลอด ฝ่ายโน้นก็มาแต่งตัวคล้ายๆทหาร อย่างไรก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเพราะเป็นการเปิดเผยตนเอง แต่จะทำอย่างไรได้คงต้องระมัดระวัง งานข่าว หรือแผนการระวังป้องกันก็สำคัญ
"เราต้องพยายามให้เป็นการแก้ปัญหาของเราภายในประเทศของเราเอง เพราะสิ่งที่เขาต้องการคือไปสู่สากล เราก็พยายามไม่ให้ไปสู่สากลแต่ก็เกิดเหตุขึ้น เพราะตราบใดยังมีคนพวกนี้อยู่ ดังนั้นจะได้ชัยชนะอย่างไรก็ต้องนำคนพวกนี้มาสร้างความเข้าใจให้ได้ เรามีมาตรา 21 และยังสู้กันอยู่ ในทางความคิด โดยต้องเข้าใจว่า การแก้ไขปัญหาภาคใต้ ไม่ใช่การใช้กำลังมาสู้กัน การที่ทหารลงไป 3 - 4 หมื่นคน ไปรวมเจ้าหน้าที่ตำรวจ พลเรือน ทหาร ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) รวมประมาณ 6 หมื่นคน ไม่ใช่ลงไปเพื่อไปรบ เพราะถ้านำ 6 หมื่นคนไปรบ เดี๋ยวก็จบ คือรบกันไม่เลิก ดังนั้นทำอย่างไรถึงไม่รบ ทำอย่างไรประชาชนจะเข้าใจ งานพัฒนาถึงจะพัฒนาขึ้น ทั้งอาชีพ ความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิต การศึกษา ทั้งหมดคือ ภาพรวมที่เราเข้าไปแก้ถึง 7 ยุทธศาสตร์"
ทั้งนี้ แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะ ผอ.รมน. ภาค 4 ลงพื้นที่ภาคใต้เพื่อดูแลการทำงาน แต่กระทรวง ทบวง กรม มีงบประมาณทั้งสิ้น กอ.รมน. ส่วนหนึ่ง ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จะรับหน้าที่การพัฒนา ทหารจะทำหน้าที่ความมั่นคง โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมด กอ.รมน. 60 % เป็นเรื่องเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือน ค่าตอบแทน ค่าครองชีพ ไม่งั้นเจ้าหน้าที่ไปอยู่ในพื้นที่ไม่ได้หรอกหลายหมื่นคน ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดมีทั้งลงทุนระยะสั้นระยะยาวเฉพาะหน้าในการแก้ปัญหา อย่าไปเหมาพูดว่าการแก้ปัญหาไม่สำเร็จ
" วันนี้ 7 ปีแล้ว ถามสิว่า มีใครยึดพื้นที่เราตรงไหนได้บ้าง ชนะ แพ้ ว่ากันด้วยอะไร มีการแบ่งแยกดินแดนไปหรือยัง มีใครออกมารับผิดชอบว่า เป็นแกนนำหรือเป็นหัวหน้า มีกองกำลังยึดพื้นที่ที่ไหน มีทหารเข้าไปตรงไหนไม่ได้บ้าง นั่นคือ แพ้ชนะ ประชาชนเข้าใจทหาร เข้าใจเจ้าหน้าที่ 98 % ถึง 99 % เหลืออีก 1 % ที่ยังสู้กันอยู่ ก็จะไปให้กำลังใจเขาทำไม ไปให้เครดิตเขาทำไม ดังนั้น ต้องเข้าใจกันไม่งั้นการแก้ปัญหาจะยากขึ้นเรื่อยๆ เห็นใจเจ้าหน้าที่ด้วย เพราะเวลาวิพากษ์วิจารณ์นึกถึงเจ้าหน้าที่ที่เขาเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายทุกวัน ซึ่งลูกเมียผู้บังคับบัญชาเป็นห่วงเป็นใย ทั้งนี้ ไม่มีใครอยากได้งบประมาณ เลยเลี้ยงไข้กัน มันคิดแบบนี้ได้ไง ชีวิตคนคิดแบบนี้ไม่ได้ เขาเสียชีวิตลูกเมียก็เดือดร้อน" ผบ.ทบ.ระบุ
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า ถ้าไม่เข้าใจ มาอธิบายมาพบกัน มาตรา 21 ให้ออกมา แต่พวกนั้นก็ไปเป่าหูว่า อย่าออกมาเลย แต่หากไม่ออกมาติดคุกนะครับ หากมาเข้ารับการอบรม และเชื่อได้ว่าถูกชักจูงหลงผิด ก็อบรม และกลายเป็นผู้บริสุทธิ์ได้ นั่นคือกฎหมาย เขาช่วยอยู่แล้ว แต่ไปเชื่อพวกนั้นที่มาหลอกอยู่ได้ ตนไม่เข้าใจ
"ใครที่ติดใจสงสัยเรื่องการแก้ไขปัญหาภาคใต้ ให้มาถามที่กองทัพบกได้ตลอดเวลา 24 ชม. อย่าไปพูดเองแล้วไม่เข้าใจจนเหตุการณ์ลุกลามบานปลายแล้ว แก้ไม่ได้ภายหลัง อย่างที่เคยบอกต้องบันทึกไว้ ใครพูดอะไรต้องรับผิดชอบ"
ด้านนายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี กล่าวถึงกรณีการเยียวยา 7.5 ล้านบาทให้แก่ญาติของผู้เสียชีวิต 4 ศพว่า การเยียวยาให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบนั้นต้องมองในหลายๆ มิติ อันดับแรกที่สำคัญ คือ การเยียวยาในด้านจิตใจ โดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะไม่คำนึงทรัพย์สินเป็นอันดับแรกแต่คำนึงถึงในด้านจิตใจมากกว่า
ส่วนการมอบเงินเยียวยานั้น ตนมีความเห็นด้วยแต่เนื่องจากว่าเงินที่มอบให้มีจำนวนมากกว่าที่ทางศาสนาอิสลามได้กำหนด จึงจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจกับญาติผู้เสียชีวิต ในการที่จะนำเงินดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดซึ่งจากการสอบถามกับญาติผู้เสียชีวิต ต่างก็รู้สึกดีใจที่ทางภาครัฐได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและจะเอาเงินส่วนนี้มาเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาของบุตรหลานให้ได้จบการศึกษาระดับสูงขึ้นด้วย.