นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (ปค.อป. ) กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้จ่ายเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ รายละ 7.75 ล้านบาท เท่ากับ ผู้ชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ปี 2548–2553 ว่า ถ้าหลักเกณฑ์ตรงตามเงื่อนไขในกรณีที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ก็ถืออยู่ว่าในหลักเกณฑ์เดียวกัน
ส่วนกรณีผู้เสียชีวิต 4 ศพ จากเหตุปะทะกันที่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี นั้น หากพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ และไม่ได้เป็นคนที่กระทำความผิด ก็ถือว่าอยู่ในหลักเกณฑ์
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะต้องแก้ มติครม.หรือไม่ เนื่องจากในมติครม.ดังกล่าว ระบุว่า จะให้จ่ายเงินชดเชยเยียวยาจนถึงแค่ในปี 2553 เท่านั้น นายยงยุทธ กล่าวว่า คนละส่วนกัน เพราะในพื้นที่ภาคใต้ จะมีการพิจารณาระเบียบคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภายใต้ ( กพต. ) เอาไว้ต่างหาก
เมื่อถามว่า คอป. ตั้งข้อสงสัยว่า ครม.ใช้หลักเกณฑ์ใด ในการจ่ายเงินเยียวยาทางด้านจิตใจกับผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองจำนวน 3 ล้านบาท นายยงยุทธ กล่าวว่า จำนวนเงินนั้น คอป.ไม่ได้เสนอมาจริง แต่ในฐานะที่ตนเป็นประธานปค.อป. ไม่สามารถไปตัดสินราคาชีวิตมนุษย์ได้ ซึ่งไม่กล้าจะเอาความสำคัญตัวเองไปตีราคาชีวิตของมนุษย์ได้ ว่าเท่าไร ซึ่งปค.อป.ได้ใช้หลักเกณฑ์สากลตามที่ คอป.เสนอ โดยใช้รายได้ประชาชาติต่อคน เมื่อปี 2543 จำนวน 150,000 บาท คูณกับจำนวน 30 ปี ที่บุคคลดังกล่าวควรจะได้ทำงานอยู่ จึงเป็น 4.5 ล้านบาท ส่วนค่าเยียวยาด้านจิตใจ 3 ล้านบาทนั้น เราต้องการเยียวยาให้กับคนที่สูญเสียบุคคลในครอบครัว
" ไม่เกิดขึ้นกับตัวเราเอง ไม่ทราบหรอก วิญญาณของผู้สูญเสียเขาก็รอ เรียกร้องความยุติธรรม เขาก็เป็นห่วงคนที่ยังอยู่ ปคอป. ก็คิดในเรื่องพวกนี้มาก ผมก็ไม่สามารถตีราคามนุษย์ได้ ว่าคนนี้แพงไป คนนั้นแพงไป ผมทำไม่ได้" นายยงยุทธ กล่าว
เมื่อถามว่าใช้เกณฑ์อะไรในการเยียวยาด้านจิตใจ 3 ล้านบาท รองนายกฯกล่าวว่า "ใช้เกณฑ์ความรู้สึก เพราะมีหลายฝ่ายในที่ประชุมก็มาจากราชการ และคนหลายกลุ่ม ซึ่งดูแล้วว่า น่าจะเป็นราคาที่เหมาะสม เมื่อเราประกาศการเยียวยานี้ออกไป กลุ่มคนที่เสียหายจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหน ก็พอใจ จะมีเพียงส่วนหนึ่งที่ไม่พอใจก็รับฟังด้วยความเคารพ แต่ความเห็นของ ปค.อป. เป็นอย่างนี้"
เมื่อถามว่า คนที่ได้รับเงินเยียวยา จะต้องได้รับการพิสูจน์แล้วใช่หรือไม่ ว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ รองนายกฯ กล่าวว่า ได้ระบุเอาไว้ชัดเจน โดยนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ กำลังพิจารณาอยู่
เมื่อถามย้ำว่า แสดงว่าต้องรอให้ศาลตัดสินก่อน ว่าบุคคลเหล่านี้ถูกกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ รองนายกฯ กล่าวว่า สำหรับ 91 ศพ เรามีรายละเอียดหมดแล้ว ส่วนรายอื่นก็ต้องตรวจสอบเป็นรายๆ ไป ซึ่งตอนนี้เรามีหมดแล้วว่าผู้เสียหายเป็นใคร เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ใด เสียชีวิตด้วยสาเหตุใด
เมื่อถามว่า เชื่อว่าการจ่ายเงินเยียวยาที่สูงขนาดนี้ จะช่วยสร้างความปรองดองในประเทศได้หรือไม่ รองนายกฯกล่าวว่า ได้ระดับหนึ่งแน่นอน ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ซึ่งเวลาข้อเสนอแนะออกมา มันมีครั้งเดียว และหาก นปช.ระบุว่า ไม่เอาความปรองดองก็มีปัญหา
เมื่อถามต่อว่า หากต่อไปมีจำนวนผู้เสียชีวิตเยอะขึ้น รัฐบาลจะนำเงินจากไหนไปให้ รองนายกฯกล่าวว่า ไม่มีใครอยากตาย ไม่มีอยากมาชุมนุม ซึ่ง ปค.อป.พิจารณาตามหลักเกณฑ์ของสหประชาชาติ และตนก็ไม่เชื่อว่า เงินจะสามารถเรียกให้คนมาตาย
นายยงยุทธ กล่าวว่า สำหรับการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ จะออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี โดยจะมีเงื่อนไขกำหนดเอาไว้ โดยเราจะประกาศใช้ เพื่อให้มีผลย้อนหลัง อาทิ เหตุการณ์ถล่มมัสยิดกรือเซะ จ.ปัตตานี และเหตุการณ์ล้อมปราบม็อบตากใบ ที่ จ.นราธิวาส ส่วนจะย้อนไปปีใดนั้น คงต้องหารือในรายละเอียดก่อน ว่ารัฐเริ่มทำให้คนต้องสูญเสียตั้งแต่เมื่อไร ขณะที่ประเด็นการฆ่าตัดตอนยาเสพติดนั้น ไม่เกี่ยวกัน เพราะคดีดังกล่าวมีการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นการฆ่าตัดตอนโดยรัฐ
ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่มีเจ้าหน้าที่บางคนเข้าไปเกี่ยวข้อง นายยงยุทธ กล่าวว่า เป็นเรื่องเฉพาะตัวที่เขาไปวิสามัญ ฆ่าประชาชน เป็นเรื่องของกฎหมายอื่น ไม่ใช่เรื่องการเยียวยา
ทั้งนี้ การช่วยเหลือจะประกอบด้วยกรณีต่างๆ ดังนี้ 1. กรณีถึงแก่ความตาย 2. กรณีถูกบังคับให้สูญหาย 3. การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจ 4.การช่วยเหลือเยียวยาจากการขาดประโยชน์หามาได้ระหว่างที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ 5. ค่าช่วยเหลือเยียวยาผู้ต้องหาหรือจำเลย หรือผู้ต้องขังที่ศาลพิจารณายกฟ้อง 6. ค่าใช้จ่ายการดำเนินการทางกฎหมายของผู้ได้รับความเดือดร้อน และไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐ
ส่วนกรณีผู้เสียชีวิต 4 ศพ จากเหตุปะทะกันที่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี นั้น หากพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ และไม่ได้เป็นคนที่กระทำความผิด ก็ถือว่าอยู่ในหลักเกณฑ์
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะต้องแก้ มติครม.หรือไม่ เนื่องจากในมติครม.ดังกล่าว ระบุว่า จะให้จ่ายเงินชดเชยเยียวยาจนถึงแค่ในปี 2553 เท่านั้น นายยงยุทธ กล่าวว่า คนละส่วนกัน เพราะในพื้นที่ภาคใต้ จะมีการพิจารณาระเบียบคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภายใต้ ( กพต. ) เอาไว้ต่างหาก
เมื่อถามว่า คอป. ตั้งข้อสงสัยว่า ครม.ใช้หลักเกณฑ์ใด ในการจ่ายเงินเยียวยาทางด้านจิตใจกับผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองจำนวน 3 ล้านบาท นายยงยุทธ กล่าวว่า จำนวนเงินนั้น คอป.ไม่ได้เสนอมาจริง แต่ในฐานะที่ตนเป็นประธานปค.อป. ไม่สามารถไปตัดสินราคาชีวิตมนุษย์ได้ ซึ่งไม่กล้าจะเอาความสำคัญตัวเองไปตีราคาชีวิตของมนุษย์ได้ ว่าเท่าไร ซึ่งปค.อป.ได้ใช้หลักเกณฑ์สากลตามที่ คอป.เสนอ โดยใช้รายได้ประชาชาติต่อคน เมื่อปี 2543 จำนวน 150,000 บาท คูณกับจำนวน 30 ปี ที่บุคคลดังกล่าวควรจะได้ทำงานอยู่ จึงเป็น 4.5 ล้านบาท ส่วนค่าเยียวยาด้านจิตใจ 3 ล้านบาทนั้น เราต้องการเยียวยาให้กับคนที่สูญเสียบุคคลในครอบครัว
" ไม่เกิดขึ้นกับตัวเราเอง ไม่ทราบหรอก วิญญาณของผู้สูญเสียเขาก็รอ เรียกร้องความยุติธรรม เขาก็เป็นห่วงคนที่ยังอยู่ ปคอป. ก็คิดในเรื่องพวกนี้มาก ผมก็ไม่สามารถตีราคามนุษย์ได้ ว่าคนนี้แพงไป คนนั้นแพงไป ผมทำไม่ได้" นายยงยุทธ กล่าว
เมื่อถามว่าใช้เกณฑ์อะไรในการเยียวยาด้านจิตใจ 3 ล้านบาท รองนายกฯกล่าวว่า "ใช้เกณฑ์ความรู้สึก เพราะมีหลายฝ่ายในที่ประชุมก็มาจากราชการ และคนหลายกลุ่ม ซึ่งดูแล้วว่า น่าจะเป็นราคาที่เหมาะสม เมื่อเราประกาศการเยียวยานี้ออกไป กลุ่มคนที่เสียหายจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหน ก็พอใจ จะมีเพียงส่วนหนึ่งที่ไม่พอใจก็รับฟังด้วยความเคารพ แต่ความเห็นของ ปค.อป. เป็นอย่างนี้"
เมื่อถามว่า คนที่ได้รับเงินเยียวยา จะต้องได้รับการพิสูจน์แล้วใช่หรือไม่ ว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ รองนายกฯ กล่าวว่า ได้ระบุเอาไว้ชัดเจน โดยนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ กำลังพิจารณาอยู่
เมื่อถามย้ำว่า แสดงว่าต้องรอให้ศาลตัดสินก่อน ว่าบุคคลเหล่านี้ถูกกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ รองนายกฯ กล่าวว่า สำหรับ 91 ศพ เรามีรายละเอียดหมดแล้ว ส่วนรายอื่นก็ต้องตรวจสอบเป็นรายๆ ไป ซึ่งตอนนี้เรามีหมดแล้วว่าผู้เสียหายเป็นใคร เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ใด เสียชีวิตด้วยสาเหตุใด
เมื่อถามว่า เชื่อว่าการจ่ายเงินเยียวยาที่สูงขนาดนี้ จะช่วยสร้างความปรองดองในประเทศได้หรือไม่ รองนายกฯกล่าวว่า ได้ระดับหนึ่งแน่นอน ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ซึ่งเวลาข้อเสนอแนะออกมา มันมีครั้งเดียว และหาก นปช.ระบุว่า ไม่เอาความปรองดองก็มีปัญหา
เมื่อถามต่อว่า หากต่อไปมีจำนวนผู้เสียชีวิตเยอะขึ้น รัฐบาลจะนำเงินจากไหนไปให้ รองนายกฯกล่าวว่า ไม่มีใครอยากตาย ไม่มีอยากมาชุมนุม ซึ่ง ปค.อป.พิจารณาตามหลักเกณฑ์ของสหประชาชาติ และตนก็ไม่เชื่อว่า เงินจะสามารถเรียกให้คนมาตาย
นายยงยุทธ กล่าวว่า สำหรับการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ จะออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี โดยจะมีเงื่อนไขกำหนดเอาไว้ โดยเราจะประกาศใช้ เพื่อให้มีผลย้อนหลัง อาทิ เหตุการณ์ถล่มมัสยิดกรือเซะ จ.ปัตตานี และเหตุการณ์ล้อมปราบม็อบตากใบ ที่ จ.นราธิวาส ส่วนจะย้อนไปปีใดนั้น คงต้องหารือในรายละเอียดก่อน ว่ารัฐเริ่มทำให้คนต้องสูญเสียตั้งแต่เมื่อไร ขณะที่ประเด็นการฆ่าตัดตอนยาเสพติดนั้น ไม่เกี่ยวกัน เพราะคดีดังกล่าวมีการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นการฆ่าตัดตอนโดยรัฐ
ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่มีเจ้าหน้าที่บางคนเข้าไปเกี่ยวข้อง นายยงยุทธ กล่าวว่า เป็นเรื่องเฉพาะตัวที่เขาไปวิสามัญ ฆ่าประชาชน เป็นเรื่องของกฎหมายอื่น ไม่ใช่เรื่องการเยียวยา
ทั้งนี้ การช่วยเหลือจะประกอบด้วยกรณีต่างๆ ดังนี้ 1. กรณีถึงแก่ความตาย 2. กรณีถูกบังคับให้สูญหาย 3. การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจ 4.การช่วยเหลือเยียวยาจากการขาดประโยชน์หามาได้ระหว่างที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ 5. ค่าช่วยเหลือเยียวยาผู้ต้องหาหรือจำเลย หรือผู้ต้องขังที่ศาลพิจารณายกฟ้อง 6. ค่าใช้จ่ายการดำเนินการทางกฎหมายของผู้ได้รับความเดือดร้อน และไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐ