“วันครู” เป็นวันที่มีความสำคัญ ไม่ยิ่งหย่อนไปว่าวันสำคัญวันอื่นๆของประเทศ เพราะถ้าประเทศไหนไม่มี “ครู” ก็หมายถึงประเทศนั้น ไม่มีการวาง “ฐานราก” ที่มั่นคง และเมื่อประเทศไม่มี “ฐานราก” ประเทศนั้นก็จะล่มสลาย ครูคือ “แม่พิมพ์” คือ “เบ้าหลอม” ในการสร้าง เยาวชน และการสร้างชาติอย่างแท้จริง
วันครูของของจังหวัดอื่นๆ หมายถึงวันที่ “ครู” ต่างจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงบูรพาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ และคุณงามความดีของครูบาอาจารย์ เป็นการจัดกิจกรรมด้วยความสุข ความชื่นมื่น
แต่สำหรับใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา “วันครู” คือวันที่ครูทุกคนระลึกถึงความสูญเสียของเพื่อรวมวิชาชีพ เพื่อนรวมชะตากรรม เนื่องจาก 8 ปีที่ผ่าน ซึ่งเกิดความไม่สงบระลอกใหม่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้สูญเสียเพื่อนรวมวิชาชีพครูไปแล้ว จำนวน 148 คน บาดเจ็บและพิการอีกจำนวนหนึ่ง
โดยครูผู้เสียชีวิต ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน แบ่งเป็นครูผู้ชาย 78 คน และเป็นครูผู้หญิงจำนวน 21 คน สาเหตุแห่งความสูญเสียมาจากการถูยิง ถูกระเบิด ถูกทำร้ายร่างกายและเสียชีวิต และที่โหดร้ายทารุณที่สุด คือการฆ่าแล้วเผา ที่สะเทือนใจแก่คนในพื้นที่และวงการครูเป็นอย่างยิ่ง
ครูคนแรกที่กลายเป็น “เหยื่อ” สังเวยคมกระสุนของ “แนวร่วม” ขบวนการแบ่งแยกดินแดน เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2547 คือ คุณครูใจ อินกะโผะ อาจารย์ 2 ระดับ 7 โรงเรียนศาสตร์สามัคคี อ.หนองจิก จ.ปัตตานี และหลังจากนั้น ชีวิตของครูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็กลายเป็น “ใบไม้ร่วง” แต่ที่สังคมไทยจดจำได้คือการเสียชีวิตของครู “จูหลิง ปงกันมูล” หรือ “ครูจุ้ย” แห่งบ้านกูจิงลือปะ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ซึ่งถูกทำร้ายอย่างทารุณ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2549 และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
สาเหตุที่ครูตกเป็น “เหยื่อ” ของ “แนวร่วม” ขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ขณะนี้เรียกตนเองว่า “นักรบปาตอนี” มาจากการที่โรงเรียนและครู คือ สัญลักษณ์ของ “รัฐไทย” ซึ่งทุกอย่างที่เป็นสัญลักษณ์ของ “รัฐไทย” คือเป้าหมายที่ขบวนการแบ่งแยกดินแดนมีเจตนาในการทำลายให้หมดสิ้น
และอีกสาเหตุหนึ่ง คือ ขบวนการแบ่งแยกดินแดนไม่ต้องการให้เยาวชนในพื้นที่ได้รับการศึกษาวิชาการภาษาไทยจากโรงเรียนของ “รัฐไทย” เพื่อง่ายในการควบคุมมวลชน โดยเฉพาะมวลชนที่ไม่มีความรู้ เมื่อไม่สามารถห้ามประชาชนในพื้นที่ส่งบุตรหลานไปเรียนหนังสือตามภาคบังคับได้ วิธีการที่ขบวนการแบ่งแยกดินแดนนำมาใช้สำหรับการ “ล้มล้าง”การจัดการศึกษาของรัฐคือ เผาโรงเรียนและฆ่าครู เพื่อสร้างความสูญเสียและความหวาดกลัวให้กับครู เพื่อที่ครูจะได้หยุดสอน และขอย้ายออกจากพื้นที่ ซึ่งหากเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ นั่นคือการล้มเหลวของรัฐในการจัดการศึกษา และเป็นความล้มเหลวในอธิปไตยในพื้นที่ด้วย
เป้าหมายของขบวนการแบ่งแยกดินแดนเกือบกระทำได้สำเร็จ เนื่องจากในช่วงแรกๆ ของความสูญเสียที่ชีวิตครูกลายเป็น “เหยื่อ” กระสุน เหยื่อ ระเบิด เป็น “ใบไม้ร่วง” ทุกครั้งที่เกิดความสูญเสีย ครูจะประกาศปิดโรงเรียน หยุดการสอน จนกว่าเจ้าหน้าที่ จะสร้างความมั่นใจให้กับครู และนอกจากจะหยุดสอน ปิดโรงเรียนแล้ว ครูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังขอย้าย หนีภัยมืด จำนวนหลายพันคน และมีส่วนหนึ่งจำนวนหนึ่งพันกว่าคนที่ได้ย้ายออกจากพื้นที่ตามที่ต้องการ
การปิดโรงเรียน การหยุดการเรียนการสอนเป็นระยะๆ และการย้ายออกจากพื้นที่ของครูจำนวนมาก ได้ส่งผลกระทบต่อ คุณภาพของนักเรียนในพื้นที่ เมื่อมีเวลาเรียนน้อยกว่า นักเรียนในพื้นที่อื่นๆ จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ของการ จัดการศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยังเป็น “โจทย์” ให้ทุกหน่วยงานทุ่มเทงบประมาณ และสติปัญหา ในการแก้ไข
แต่..สิ่งที่น่ายินดี ท่ามกลางความวิกฤต สังคมไทยยังได้เห็นโอกาส ได้เห็นถึงความร่วมมือของครูในพื้นที่ ที่วันนี้ครูได้ซึมซับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และรู้เท่าทันความต้องการของขบวนการผู้ไม่หวังดี วันนี้แม้ครูยังเป็น “เป้าหมาย” ของขบวนการ แต่ครูก็ปรับตัวที่จะต่อสู้กับสถานการณ์เลวร้าย โดยที่พร้อมที่จะเป็น “แม่พิมพ์” ให้กับเยาวชน เป็น “เทียน” ที่ส่องสว่าง เพื่อติดอาวุธทางปัญหาให้กับเยาวชน โดยจะเห็นได้ว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ครูใน 3 จังหวัด ไม่ตระหนกกับเหตุร้าย ไม่ปิดโรงเรียนหรือหยุดสอน และไม่ขอย้ายออกจากพื้นที่อย่างที่เคยเกิดขึ้น
วันนี้ครู โดยการขับเคลื่อนของสมาพันธ์ครูภาคใต้ที่มี บุญสม ทองศรีพราย เป็นประธานสมาพันธ์ เลือกที่จะร่วมมือกับ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เลือกที่จะรวมมือกับประชาชนในพื้นที่ และทุกหน่วยงาน เพื่อทำแผนคุ้มครองความปลอดภัยของครูในพื้นที่ “เสี่ยง” มีการปรับแผนคุ้มครองครู มีการประชุมร่วมกันในทุกเดือน และทุกครั้งที่เกิดช่องว่าง และสร้างความสูญเสียให้เกิดขึ้น การที่ต่างฝ่ายต่างเข้าใจและรู้บทบาทของตนเอง ทำให้ขวัญและกำลังใจของครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ในระดับที่ดีขึ้นกว่าเมื่อหลายปีก่อน
โดยเฉพาะพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งมีความห่วงใยความเป็นอยู่ของครูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ทรงเสียสละราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สร้างหมู่บ้านครูตามโครงการพระราชดำริขึ้นที่ ต.น้ำดำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เพื่อให้เป็นศูนย์รวมของครูในพื้นที่ “เสี่ยง” ที่จะได้อยู่อาศัยอย่างปลอดภัย และง่ายต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย
แม้ว่า ณ วันนี้ ชีวิตของครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังเหมือนกับ “แขวนอยู่บนเส้นด้าย” ที่เปื่อยผุ เพราะทุกวันของการเดินทางไปโรงเรียน และกลับจากโรงเรียน ยังต้องไปกันแบบ “รวมกลุ่ม” มีเจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ อส.และ อื่นๆ ให้การคุ้มกัน โรงเรียนต้องมีกำลัง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยชีวิตเป็นไปตาม “ตาราง” ที่ถูกวางเอาไว้ โดยขาดอิสระที่ควรจะเป็น แต่ครูทุกคนก็พร้อม ที่จะทำหน้าที่ “เรือจ้าง” ท่ามกลางความไม่ปลอดภัยที่ไม่ทราบว่า เสียงปืน เสียงระเบิด จะเกิดขึ้นในวินาทีได้ของการเดินทาง หรือ มัจจุราช จะมาเยือนในห้องเรียนเมื่อไหร่ แต่ครูทุกคนก็พร้อมที่จะเสียสละเพื่อนักเรียนและประเทศชาติ
วันที่ 16 มกราคม วันครูในปีนี้ สังคมไทยขอเป็นกำลังใจ ขอชื่นชมในความเป็น “ครู” ที่แท้จริงกับครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกท่าน ส่วนครูผู้เสียสละชีพที่ล่วงลับไปแล้วจากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในรอบ 8 ปี ของ “ไฟใต้” นั้น ขอให้ดวงวิญญาณของคุณครูผู้เสียสละ ผู้ล่วงลับทุกท่าน จงได้รับอานิสงส์ผลบุญแห่งความดีงามแห่งการเสียสละชีวิต เพื่อธำรงไว้ของแผ่นดิน “ด้ามขวาน” จงสถิตย์ยังสรวงสวรรค์ชั้นกวีรุจีรัตน์ทุกท่าน
วันครูของของจังหวัดอื่นๆ หมายถึงวันที่ “ครู” ต่างจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงบูรพาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ และคุณงามความดีของครูบาอาจารย์ เป็นการจัดกิจกรรมด้วยความสุข ความชื่นมื่น
แต่สำหรับใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา “วันครู” คือวันที่ครูทุกคนระลึกถึงความสูญเสียของเพื่อรวมวิชาชีพ เพื่อนรวมชะตากรรม เนื่องจาก 8 ปีที่ผ่าน ซึ่งเกิดความไม่สงบระลอกใหม่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้สูญเสียเพื่อนรวมวิชาชีพครูไปแล้ว จำนวน 148 คน บาดเจ็บและพิการอีกจำนวนหนึ่ง
โดยครูผู้เสียชีวิต ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน แบ่งเป็นครูผู้ชาย 78 คน และเป็นครูผู้หญิงจำนวน 21 คน สาเหตุแห่งความสูญเสียมาจากการถูยิง ถูกระเบิด ถูกทำร้ายร่างกายและเสียชีวิต และที่โหดร้ายทารุณที่สุด คือการฆ่าแล้วเผา ที่สะเทือนใจแก่คนในพื้นที่และวงการครูเป็นอย่างยิ่ง
ครูคนแรกที่กลายเป็น “เหยื่อ” สังเวยคมกระสุนของ “แนวร่วม” ขบวนการแบ่งแยกดินแดน เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2547 คือ คุณครูใจ อินกะโผะ อาจารย์ 2 ระดับ 7 โรงเรียนศาสตร์สามัคคี อ.หนองจิก จ.ปัตตานี และหลังจากนั้น ชีวิตของครูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็กลายเป็น “ใบไม้ร่วง” แต่ที่สังคมไทยจดจำได้คือการเสียชีวิตของครู “จูหลิง ปงกันมูล” หรือ “ครูจุ้ย” แห่งบ้านกูจิงลือปะ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ซึ่งถูกทำร้ายอย่างทารุณ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2549 และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
สาเหตุที่ครูตกเป็น “เหยื่อ” ของ “แนวร่วม” ขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ขณะนี้เรียกตนเองว่า “นักรบปาตอนี” มาจากการที่โรงเรียนและครู คือ สัญลักษณ์ของ “รัฐไทย” ซึ่งทุกอย่างที่เป็นสัญลักษณ์ของ “รัฐไทย” คือเป้าหมายที่ขบวนการแบ่งแยกดินแดนมีเจตนาในการทำลายให้หมดสิ้น
และอีกสาเหตุหนึ่ง คือ ขบวนการแบ่งแยกดินแดนไม่ต้องการให้เยาวชนในพื้นที่ได้รับการศึกษาวิชาการภาษาไทยจากโรงเรียนของ “รัฐไทย” เพื่อง่ายในการควบคุมมวลชน โดยเฉพาะมวลชนที่ไม่มีความรู้ เมื่อไม่สามารถห้ามประชาชนในพื้นที่ส่งบุตรหลานไปเรียนหนังสือตามภาคบังคับได้ วิธีการที่ขบวนการแบ่งแยกดินแดนนำมาใช้สำหรับการ “ล้มล้าง”การจัดการศึกษาของรัฐคือ เผาโรงเรียนและฆ่าครู เพื่อสร้างความสูญเสียและความหวาดกลัวให้กับครู เพื่อที่ครูจะได้หยุดสอน และขอย้ายออกจากพื้นที่ ซึ่งหากเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ นั่นคือการล้มเหลวของรัฐในการจัดการศึกษา และเป็นความล้มเหลวในอธิปไตยในพื้นที่ด้วย
เป้าหมายของขบวนการแบ่งแยกดินแดนเกือบกระทำได้สำเร็จ เนื่องจากในช่วงแรกๆ ของความสูญเสียที่ชีวิตครูกลายเป็น “เหยื่อ” กระสุน เหยื่อ ระเบิด เป็น “ใบไม้ร่วง” ทุกครั้งที่เกิดความสูญเสีย ครูจะประกาศปิดโรงเรียน หยุดการสอน จนกว่าเจ้าหน้าที่ จะสร้างความมั่นใจให้กับครู และนอกจากจะหยุดสอน ปิดโรงเรียนแล้ว ครูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังขอย้าย หนีภัยมืด จำนวนหลายพันคน และมีส่วนหนึ่งจำนวนหนึ่งพันกว่าคนที่ได้ย้ายออกจากพื้นที่ตามที่ต้องการ
การปิดโรงเรียน การหยุดการเรียนการสอนเป็นระยะๆ และการย้ายออกจากพื้นที่ของครูจำนวนมาก ได้ส่งผลกระทบต่อ คุณภาพของนักเรียนในพื้นที่ เมื่อมีเวลาเรียนน้อยกว่า นักเรียนในพื้นที่อื่นๆ จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ของการ จัดการศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยังเป็น “โจทย์” ให้ทุกหน่วยงานทุ่มเทงบประมาณ และสติปัญหา ในการแก้ไข
แต่..สิ่งที่น่ายินดี ท่ามกลางความวิกฤต สังคมไทยยังได้เห็นโอกาส ได้เห็นถึงความร่วมมือของครูในพื้นที่ ที่วันนี้ครูได้ซึมซับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และรู้เท่าทันความต้องการของขบวนการผู้ไม่หวังดี วันนี้แม้ครูยังเป็น “เป้าหมาย” ของขบวนการ แต่ครูก็ปรับตัวที่จะต่อสู้กับสถานการณ์เลวร้าย โดยที่พร้อมที่จะเป็น “แม่พิมพ์” ให้กับเยาวชน เป็น “เทียน” ที่ส่องสว่าง เพื่อติดอาวุธทางปัญหาให้กับเยาวชน โดยจะเห็นได้ว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ครูใน 3 จังหวัด ไม่ตระหนกกับเหตุร้าย ไม่ปิดโรงเรียนหรือหยุดสอน และไม่ขอย้ายออกจากพื้นที่อย่างที่เคยเกิดขึ้น
วันนี้ครู โดยการขับเคลื่อนของสมาพันธ์ครูภาคใต้ที่มี บุญสม ทองศรีพราย เป็นประธานสมาพันธ์ เลือกที่จะร่วมมือกับ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เลือกที่จะรวมมือกับประชาชนในพื้นที่ และทุกหน่วยงาน เพื่อทำแผนคุ้มครองความปลอดภัยของครูในพื้นที่ “เสี่ยง” มีการปรับแผนคุ้มครองครู มีการประชุมร่วมกันในทุกเดือน และทุกครั้งที่เกิดช่องว่าง และสร้างความสูญเสียให้เกิดขึ้น การที่ต่างฝ่ายต่างเข้าใจและรู้บทบาทของตนเอง ทำให้ขวัญและกำลังใจของครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ในระดับที่ดีขึ้นกว่าเมื่อหลายปีก่อน
โดยเฉพาะพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งมีความห่วงใยความเป็นอยู่ของครูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ทรงเสียสละราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สร้างหมู่บ้านครูตามโครงการพระราชดำริขึ้นที่ ต.น้ำดำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เพื่อให้เป็นศูนย์รวมของครูในพื้นที่ “เสี่ยง” ที่จะได้อยู่อาศัยอย่างปลอดภัย และง่ายต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย
แม้ว่า ณ วันนี้ ชีวิตของครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังเหมือนกับ “แขวนอยู่บนเส้นด้าย” ที่เปื่อยผุ เพราะทุกวันของการเดินทางไปโรงเรียน และกลับจากโรงเรียน ยังต้องไปกันแบบ “รวมกลุ่ม” มีเจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ อส.และ อื่นๆ ให้การคุ้มกัน โรงเรียนต้องมีกำลัง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยชีวิตเป็นไปตาม “ตาราง” ที่ถูกวางเอาไว้ โดยขาดอิสระที่ควรจะเป็น แต่ครูทุกคนก็พร้อม ที่จะทำหน้าที่ “เรือจ้าง” ท่ามกลางความไม่ปลอดภัยที่ไม่ทราบว่า เสียงปืน เสียงระเบิด จะเกิดขึ้นในวินาทีได้ของการเดินทาง หรือ มัจจุราช จะมาเยือนในห้องเรียนเมื่อไหร่ แต่ครูทุกคนก็พร้อมที่จะเสียสละเพื่อนักเรียนและประเทศชาติ
วันที่ 16 มกราคม วันครูในปีนี้ สังคมไทยขอเป็นกำลังใจ ขอชื่นชมในความเป็น “ครู” ที่แท้จริงกับครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกท่าน ส่วนครูผู้เสียสละชีพที่ล่วงลับไปแล้วจากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในรอบ 8 ปี ของ “ไฟใต้” นั้น ขอให้ดวงวิญญาณของคุณครูผู้เสียสละ ผู้ล่วงลับทุกท่าน จงได้รับอานิสงส์ผลบุญแห่งความดีงามแห่งการเสียสละชีวิต เพื่อธำรงไว้ของแผ่นดิน “ด้ามขวาน” จงสถิตย์ยังสรวงสวรรค์ชั้นกวีรุจีรัตน์ทุกท่าน