โดย..บรรจง นะแส
เดวิด โรเซนบลูม และ เดอโบราห์ โกลด์แมน (David Rosenbloom and Deborah Goldman) กล่าวว่า “การคอร์รัปชัน เป็นการทรยศต่อความไว้วางใจสาธารณะ” เมื่อสาธารณะขาดความมั่นใจต่อกลไกของรัฐ หรือระแวงสงสัยต่อการดำเนินการของภาคธุรกิจในการดำเนินการพัฒนาประเทศให้ไปข้างหน้าในมิติต่างๆ แล้ว เราจะเอาพลังที่ไหนมาขับเคลื่อน เพราะมันจะเต็มไปด้วยความขัดแย้ง เต็มไปด้วยจิตใจของผู้คนในสังคมที่ปราศจากความเชื่อมั่นและไร้ซึ่งศรัทธา ไม่ต่างจากร่างกายที่เผชิญกับมะเร็งร้ายในร่างกายและจิตใจที่อ่อนแอ ซึ่งก็จะนำไปสู่ความตายสถานเดียว ไม่มีทางเลือกอื่นอีกต่อไป
ภาพที่ตำรวจนำโจรบุกปล้นบ้านปลัดกระทรวงคมนาคม นำเงินเป็นมัดๆ มากองให้นักข่าวได้ถ่ายภาพทำให้ผู้คนในสังคมคิดเห็นไปต่างๆ นานา แต่ที่คนส่วนใหญ่เห็นร่วมกันก็คือว่า ประเทศชาติของเรายังเต็มไปด้วยปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันกันอย่างมโหฬาร การทุจริตโกงกินยังเป็นเสมือนมะเร็งร้ายที่สังคมไทยยังหาทางรักษาไม่ได้ และถูกตอกย้ำอีกครั้งด้วยข้อมูลในการจัดอันดับภาพลักษณ์คอร์รัปชันโลกประจำปี 2554 โดย ดร.จุรี วิจิตรวาทการ ในฐานะเลขาธิการองค์กรฯ ระบุว่า ผลการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันประจำปี พ.ศ. 2554 พบว่า ประเทศไทยได้ 3.4 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน อยู่อันดับที่ 80 จากการจัดอันดับทั้งหมด 183 ประเทศทั่วโลก และอยู่อันดับที่ 10 จาก 26 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย มันเป็นเรื่องใหญ่ที่สังคมไทยไม่ควรมองข้ามและปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมเช่นนี้กันอีกต่อไป
ในปีนี้ประเทศไทยมีคะแนนเท่ากับประเทศโคลอมเบีย เอลซัลวาดอร์ กรีซ โมร็อกโก และเปรู โดย 5 ปีที่แล้วไทยอยู่ในอันดับ 63 ของโลก ผลการจัดอันดับประจำปีนี้ประเทศส่วนใหญ่ยังคงมีคะแนนต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง มีเพียง 49 ประเทศเท่านั้นที่ได้คะแนนตั้งแต่ 5 คะแนนขึ้นไป การลดลงจากอันดับที่ 63 จาก 163 ประเทศในปี 2549 และสุดท้ายลงมาอยู่ในอันดับที่ 80 จาก 180 ประเทศในปีนี้ บ่งบอกหายนะอะไรแก่สังคมไทย ที่เราควรจะนิ่งเฉยกันต่อไปละหรือ???
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) วิทยากร เชียงกูล (2549: 7-8) ได้กล่าวสรุปว่า การคอร์รัปชันของนักการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อให้เกิดผลเสียหายต่อปัจจุบันและอนาคตของประเทศไทยอย่างน้อย 4 ข้อ คือ
1) ทำให้คนกลุ่มน้อยคดโกงทรัพยากรของส่วนรวมไปเป็นของตนเองอย่างผิดกฎหมายและจริยธรรม การเมืองไม่ได้พัฒนาเป็นประชาธิปไตยแบบที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคอย่างแท้จริง
2) ทำให้เกิดการบิดเบือนการใช้ทรัพยากรของประเทศที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับประโยชน์สูงสุด เช่น มีงบเพื่อพัฒนาการศึกษาและสาธารณสุขน้อยลง การก่อสร้างถนนหรือถาวรวัตถุต่างๆ มีคุณภาพต่ำ ต้องซ่อมแซมบ่อย อายุใช้งานน้อยกว่าที่ควรเป็น ประชาชนได้บริการคุณภาพต่ำ ฯลฯ
3) ทำให้เกิดการผูกขาดโดยนักธุรกิจการเมืองขนาดใหญ่ ไม่ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพนำไปสู่ความอ่อนแอ ความด้อยพัฒนาล้าหลังขององค์กรทั้งภาครัฐและธุรกิจเอกชน
4) ทำให้เยาวชนและประชาชนมีค่านิยมแบบยกย่องความร่ำรวย ความสำเร็จ โดยถือว่าการโกงเพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ เช่น การโกงข้อสอบ การใช้อภิสิทธิ์ เล่นพวก โกงเล็กโกงน้อยต่างๆ เป็นเรื่องปกติที่ใครๆ ก็ทำกัน ทำให้ประชาชนขาดจริยธรรม ศีลธรรม คิดแต่ในเชิงแก่งแย่ง แข่งขัน เอาเปรียบกันอย่างไม่เคารพกติกา ไม่มีวินัย ไม่มีจิตสำนึกที่จะทำงานร่วมกันเพื่อหมู่คณะ กลายเป็นคนเห็นแก่ได้ที่อ่อนแอ ไร้ความภาคภูมิใจ ไร้ศักดิ์ศรี ดังนั้น การจะพัฒนาคน ชุมชน และประเทศชาติ เพื่อจะร่วมมือและแข่งขันกับประเทศอื่นๆ เป็นไปได้ยาก
และจากการศึกษารูปแบบการคอร์รัปชันตามทัศนะของประชาชน ที่จัดโดยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระหว่างวันที่ 1-31 พฤษภาคม 2547 ได้ข้อสรุปว่า การทุจริตที่ประชาชนพบเห็นมากที่สุด 6 รูปแบบที่สำคัญ เรียงตามลำดับคือ
การรับสินบนและการรับของขวัญ (40.94%)
การวิ่งเต้นขอตำแหน่งในวงการราชการ (43.94%)
การรับส่วย รีดไถ (40.94%)
คอร์รัปชันเชิงนโยบาย (40.43%)
การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ (37.99%) (วิทยากร เชียงกูล, 2549 : 48)
จากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรุนแรงมากที่สุด กระทรวงการคลังคาดว่าเศรษฐกิจทั้งปี 2554 จะขยายตัวร้อยละ 1.7-2 จากเดิมที่คาดไว้ร้อยละ 2.6 แม้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะประกาศตัวเลขไปแล้วว่าจีดีพีขยายตัวร้อยละ 1.5 จากนี้ไปหลายส่วนจะเริ่มดีขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจในปี 2555 ยังคาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 5 และยังมีปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลายด้าน ผ่านการอัดฉีดเงินออกสู่ระบบของรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม ทั้งการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการและประชาชน 3.2 แสนล้านบาท
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มอบหมายให้ยึดปีหน้าเป็นปีแห่งการลงทุน เพราะการฟื้นเศรษฐกิจจะต้องใช้นโยบายการคลังเป็นหลักในการฟื้นเศรษฐกิจ โดยทำงบประมาณขาดดุลไปแล้ว 4 แสนล้านบาท แต่กฎหมายให้กรอบขาดดุลไว้ 5 แสนล้านบาท ยังกู้ได้อีก 1 แสนล้านบาท การกู้เงินต่างประเทศ พ.ร.บ.การก่อหนี้สาธารณะยังให้กรอบไว้ 2 แสนล้านบาท ขณะที่ พ.ร.บ.การค้ำประกันการกู้เงินรัฐวิสาหกิจอีกร้อยละ 10 ทำให้กู้เงินได้อีกถึง 1 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีช่องว่างสามารถกู้เงินมาใช้ในโครงการต่างๆ ได้อีกถึง 4 แสนล้านบาท ก้อนเงินจำนวนมากที่จะถมลงมาหลังสถานการณ์วิกฤตจากน้ำท่วม ไม่ได้ช่วยให้การพัฒนาประเทศดีขึ้น หากประเทศนี้ยังเต็มไปด้วยปัญหาการทุจริต การคอร์รัปชันโกงกินที่เต็มบ้านเต็มเมืองอย่างในปัจจุบัน
เมื่อการคอร์รัปชันคือการทรยศต่อความไว้วางใจสาธารณะ สิ่งที่รัฐบาลจะต้องรีบทำเร่งด่วนก็คือสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้น หามาตรการป้องกันและกำจัดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเร่งด่วน และควรเป็นมาตรการใหม่ๆ ที่ไม่ใช่รูปแบบที่มีอยู่เดิมๆ อีกต่อไป เพราะถ้ารูปแบบเดิมที่มีอยู่ทรงประสิทธิภาพ ภาพเงินก้อนโตจากบ้านปลัดกระทรวงคมนาคมก็จะไม่เกิดขึ้นและอันดับความเชื่อมั่นในความโปร่งใสของสังคมไทยก็จะไม่ลดจากอันดับที่ 63 มาอยู่ที่อันดับ 80 ให้อับอายกันทั้งสังคม หรือพวกท่านผู้มีส่วนในการปกครองบ้านเมืองทั้งหลายหน้าด้านหน้าหนาเกินกว่าที่จะรักษากันอีกแล้ว
เดวิด โรเซนบลูม และ เดอโบราห์ โกลด์แมน (David Rosenbloom and Deborah Goldman) กล่าวว่า “การคอร์รัปชัน เป็นการทรยศต่อความไว้วางใจสาธารณะ” เมื่อสาธารณะขาดความมั่นใจต่อกลไกของรัฐ หรือระแวงสงสัยต่อการดำเนินการของภาคธุรกิจในการดำเนินการพัฒนาประเทศให้ไปข้างหน้าในมิติต่างๆ แล้ว เราจะเอาพลังที่ไหนมาขับเคลื่อน เพราะมันจะเต็มไปด้วยความขัดแย้ง เต็มไปด้วยจิตใจของผู้คนในสังคมที่ปราศจากความเชื่อมั่นและไร้ซึ่งศรัทธา ไม่ต่างจากร่างกายที่เผชิญกับมะเร็งร้ายในร่างกายและจิตใจที่อ่อนแอ ซึ่งก็จะนำไปสู่ความตายสถานเดียว ไม่มีทางเลือกอื่นอีกต่อไป
ภาพที่ตำรวจนำโจรบุกปล้นบ้านปลัดกระทรวงคมนาคม นำเงินเป็นมัดๆ มากองให้นักข่าวได้ถ่ายภาพทำให้ผู้คนในสังคมคิดเห็นไปต่างๆ นานา แต่ที่คนส่วนใหญ่เห็นร่วมกันก็คือว่า ประเทศชาติของเรายังเต็มไปด้วยปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันกันอย่างมโหฬาร การทุจริตโกงกินยังเป็นเสมือนมะเร็งร้ายที่สังคมไทยยังหาทางรักษาไม่ได้ และถูกตอกย้ำอีกครั้งด้วยข้อมูลในการจัดอันดับภาพลักษณ์คอร์รัปชันโลกประจำปี 2554 โดย ดร.จุรี วิจิตรวาทการ ในฐานะเลขาธิการองค์กรฯ ระบุว่า ผลการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันประจำปี พ.ศ. 2554 พบว่า ประเทศไทยได้ 3.4 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน อยู่อันดับที่ 80 จากการจัดอันดับทั้งหมด 183 ประเทศทั่วโลก และอยู่อันดับที่ 10 จาก 26 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย มันเป็นเรื่องใหญ่ที่สังคมไทยไม่ควรมองข้ามและปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมเช่นนี้กันอีกต่อไป
ในปีนี้ประเทศไทยมีคะแนนเท่ากับประเทศโคลอมเบีย เอลซัลวาดอร์ กรีซ โมร็อกโก และเปรู โดย 5 ปีที่แล้วไทยอยู่ในอันดับ 63 ของโลก ผลการจัดอันดับประจำปีนี้ประเทศส่วนใหญ่ยังคงมีคะแนนต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง มีเพียง 49 ประเทศเท่านั้นที่ได้คะแนนตั้งแต่ 5 คะแนนขึ้นไป การลดลงจากอันดับที่ 63 จาก 163 ประเทศในปี 2549 และสุดท้ายลงมาอยู่ในอันดับที่ 80 จาก 180 ประเทศในปีนี้ บ่งบอกหายนะอะไรแก่สังคมไทย ที่เราควรจะนิ่งเฉยกันต่อไปละหรือ???
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) วิทยากร เชียงกูล (2549: 7-8) ได้กล่าวสรุปว่า การคอร์รัปชันของนักการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อให้เกิดผลเสียหายต่อปัจจุบันและอนาคตของประเทศไทยอย่างน้อย 4 ข้อ คือ
1) ทำให้คนกลุ่มน้อยคดโกงทรัพยากรของส่วนรวมไปเป็นของตนเองอย่างผิดกฎหมายและจริยธรรม การเมืองไม่ได้พัฒนาเป็นประชาธิปไตยแบบที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคอย่างแท้จริง
2) ทำให้เกิดการบิดเบือนการใช้ทรัพยากรของประเทศที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับประโยชน์สูงสุด เช่น มีงบเพื่อพัฒนาการศึกษาและสาธารณสุขน้อยลง การก่อสร้างถนนหรือถาวรวัตถุต่างๆ มีคุณภาพต่ำ ต้องซ่อมแซมบ่อย อายุใช้งานน้อยกว่าที่ควรเป็น ประชาชนได้บริการคุณภาพต่ำ ฯลฯ
3) ทำให้เกิดการผูกขาดโดยนักธุรกิจการเมืองขนาดใหญ่ ไม่ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพนำไปสู่ความอ่อนแอ ความด้อยพัฒนาล้าหลังขององค์กรทั้งภาครัฐและธุรกิจเอกชน
4) ทำให้เยาวชนและประชาชนมีค่านิยมแบบยกย่องความร่ำรวย ความสำเร็จ โดยถือว่าการโกงเพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ เช่น การโกงข้อสอบ การใช้อภิสิทธิ์ เล่นพวก โกงเล็กโกงน้อยต่างๆ เป็นเรื่องปกติที่ใครๆ ก็ทำกัน ทำให้ประชาชนขาดจริยธรรม ศีลธรรม คิดแต่ในเชิงแก่งแย่ง แข่งขัน เอาเปรียบกันอย่างไม่เคารพกติกา ไม่มีวินัย ไม่มีจิตสำนึกที่จะทำงานร่วมกันเพื่อหมู่คณะ กลายเป็นคนเห็นแก่ได้ที่อ่อนแอ ไร้ความภาคภูมิใจ ไร้ศักดิ์ศรี ดังนั้น การจะพัฒนาคน ชุมชน และประเทศชาติ เพื่อจะร่วมมือและแข่งขันกับประเทศอื่นๆ เป็นไปได้ยาก
และจากการศึกษารูปแบบการคอร์รัปชันตามทัศนะของประชาชน ที่จัดโดยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระหว่างวันที่ 1-31 พฤษภาคม 2547 ได้ข้อสรุปว่า การทุจริตที่ประชาชนพบเห็นมากที่สุด 6 รูปแบบที่สำคัญ เรียงตามลำดับคือ
การรับสินบนและการรับของขวัญ (40.94%)
การวิ่งเต้นขอตำแหน่งในวงการราชการ (43.94%)
การรับส่วย รีดไถ (40.94%)
คอร์รัปชันเชิงนโยบาย (40.43%)
การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ (37.99%) (วิทยากร เชียงกูล, 2549 : 48)
จากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรุนแรงมากที่สุด กระทรวงการคลังคาดว่าเศรษฐกิจทั้งปี 2554 จะขยายตัวร้อยละ 1.7-2 จากเดิมที่คาดไว้ร้อยละ 2.6 แม้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะประกาศตัวเลขไปแล้วว่าจีดีพีขยายตัวร้อยละ 1.5 จากนี้ไปหลายส่วนจะเริ่มดีขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจในปี 2555 ยังคาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 5 และยังมีปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลายด้าน ผ่านการอัดฉีดเงินออกสู่ระบบของรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม ทั้งการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการและประชาชน 3.2 แสนล้านบาท
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มอบหมายให้ยึดปีหน้าเป็นปีแห่งการลงทุน เพราะการฟื้นเศรษฐกิจจะต้องใช้นโยบายการคลังเป็นหลักในการฟื้นเศรษฐกิจ โดยทำงบประมาณขาดดุลไปแล้ว 4 แสนล้านบาท แต่กฎหมายให้กรอบขาดดุลไว้ 5 แสนล้านบาท ยังกู้ได้อีก 1 แสนล้านบาท การกู้เงินต่างประเทศ พ.ร.บ.การก่อหนี้สาธารณะยังให้กรอบไว้ 2 แสนล้านบาท ขณะที่ พ.ร.บ.การค้ำประกันการกู้เงินรัฐวิสาหกิจอีกร้อยละ 10 ทำให้กู้เงินได้อีกถึง 1 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีช่องว่างสามารถกู้เงินมาใช้ในโครงการต่างๆ ได้อีกถึง 4 แสนล้านบาท ก้อนเงินจำนวนมากที่จะถมลงมาหลังสถานการณ์วิกฤตจากน้ำท่วม ไม่ได้ช่วยให้การพัฒนาประเทศดีขึ้น หากประเทศนี้ยังเต็มไปด้วยปัญหาการทุจริต การคอร์รัปชันโกงกินที่เต็มบ้านเต็มเมืองอย่างในปัจจุบัน
เมื่อการคอร์รัปชันคือการทรยศต่อความไว้วางใจสาธารณะ สิ่งที่รัฐบาลจะต้องรีบทำเร่งด่วนก็คือสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้น หามาตรการป้องกันและกำจัดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเร่งด่วน และควรเป็นมาตรการใหม่ๆ ที่ไม่ใช่รูปแบบที่มีอยู่เดิมๆ อีกต่อไป เพราะถ้ารูปแบบเดิมที่มีอยู่ทรงประสิทธิภาพ ภาพเงินก้อนโตจากบ้านปลัดกระทรวงคมนาคมก็จะไม่เกิดขึ้นและอันดับความเชื่อมั่นในความโปร่งใสของสังคมไทยก็จะไม่ลดจากอันดับที่ 63 มาอยู่ที่อันดับ 80 ให้อับอายกันทั้งสังคม หรือพวกท่านผู้มีส่วนในการปกครองบ้านเมืองทั้งหลายหน้าด้านหน้าหนาเกินกว่าที่จะรักษากันอีกแล้ว