ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เตรียมปรับปรุงท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ต ให้รองรับเรือสินค้าและเรือท่องเที่ยวได้พร้อมกัน คาด ใช้งบ 176 ล้านบาท บริษัทที่ปรึกษาจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ ส่วนใหญ่เห็นด้วย แต่ห่วงเรื่องของผลกระทบต่อประชาชน
วันนี้ (19 ต.ค.) ที่ห้องประชุมโรงแรมคาทีน่า อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายกรีฑา แซ่ตัน นายกเทศมนตรีตำบลวิชิต อ.เมืองภูเก็ต เป็นประธานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนในชุมชนโดยรอบโครงการท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต (การขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ) ซึ่งทางบริษัท เจ้าพระยาท่าเรือสากล จำกัด ในฐานะบริษัทผู้รับสัมปทานบริหารท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตจากกรมธนารักษ์ ได้มอบหมายให้บริษัท เอส ทีเอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการศึกษารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต (การขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ)
จากการรับฝังความคิดเห็นของประชาชนในครั้งนี้ ส่วนใหญ่จะเห็นด้วย แต่มีความกังวลเรื่องของผลกระทบของฝุ่นตะกอนจากการขุดลอกร่องน้ำ ผลกระทบกับวิถีชีวิตของชุมชน โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ปัญหาการจราจร ปัญหาขยะ ปัญหาของผู้ที่ประกอบอาชีพค้าขายภายในท่าเรือเดิม ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งทางบริษัทที่ปรึกษารับไปจะดำเนินการหามาตรการเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว ทั้งนี้ คาดว่า จะจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ได้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายนนี้
ขณะที่ นายณรงค์ คุ้มบ้าน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 และนายสุเทพ อเนกธรรมพินิจ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ต.วิชิต อ.เมืองภูเก็ต กล่าวว่า ในส่วนของชาวบ้านมีความห่วงใยในเรื่องของผลกระทบต่อการประกอบอาชีพ ที่เป็นผลมาจากการขุดลอกร่องน้ำ โดยเฉพาะเมื่อโครงการแล้วเสร็จ ทั้งอาชีพการทำประมงพื้นบ้าน ปัญหากลุ่มอาชีพที่ทำมาหากินอยู่บริเวณท่าเรือน้ำลึกทั้งกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าขายของที่ระลึก รถแท็กซี่และอื่นๆ รวมไปถึงปัญหาการจราจรที่จะคับคั่งมากขึ้น
ด้าน นายวัฒนชัย เรืองเลิศปัญญากุล ผู้อำนวยการท่าเรือสงขลา-ภูเก็ต บริษัท เจ้าพระยาท่าเรือสากล จำกัด กล่าวถึงโครงการปรับปรับท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ต ว่า ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต เป็นท่าเรือสินค้าเอนกประสงค์ มีสินค้าผ่านท่าเฉลี่ยปีละประมาณ 130,000 ตัน ส่วนใหญ่เป็นยางพารา และแผ่นไม้ MDF (Medium Density Fiber Board)
โดยมีเรือสินค้าเข้าเทียบเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2-3 ลำ แต่เนื่องจากชายฝั่งทะเลอันดามันในปัจจุบันยังไม่มีท่าเรือที่มีน้ำลึกเพียงพอให้เรือโดยสารระหว่างประเทศเข้าเทียบได้ จึงเข้ามาใช้ท่าเรือภูเก็ตเป็นประจำจากสถิติในอดีต พบว่า หลังจากปี 2541 ปริมาณผู้โดยสารผ่านท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตลดลงอย่างมาก จากเดิมประมาณ 5 แสนคนต่อปี คงเหลือเพียงประมาณ 1.5 แสนคนต่อปี เนื่องจากมีการสร้างท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยวขึ้นมา 2 แห่ง คือ ที่ท่าเรือฉลองกับท่าเรือรัษฎาทำให้เรือท่องเที่ยวภายในจังหวัดขนาดเล็กหันไปใช้บริการท่าเรือดังกล่าวแทน เนื่องจากมีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ แต่เรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่และเรือท่องเที่ยวระหว่างประเทศยังคงเข้ามาใช้บริการในจำนวนที่ใกล้เคียงเช่นเดิม
โดยจากสถิติย้อนหลังตั้งแต่ปี 2548-2553 มีเรือโดยสารระหว่างประเทศประมาณ 1-2 ลำ ต่อสัปดาห์ มีผู้โดยสารผ่านท่าเรือระหว่าง 122,680-212,988 คนต่อปี หรือเฉลี่ยปีละประมาณ 150,000 คน
จากข้อจำกัดของท่าเรือซึ่งมีความยาวหน้าท่า 360 เมตร ลึก 10 เมตร ไม่สามารถที่จะจอดเรือขนาดใหญ่ได้พร้อมกัน และเมื่อมีเรือท่องเที่ยวเข้ามาจอด เรือสินค้าก็ต้องทอดสมอรอ ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น รวมทั้งยังไม่มีความปลอดภัย ประกอบกับท่าเรือภูเก็ตเดิมไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรับผู้โดยสารจึงไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมารองรับผู้โดยสาร นอกจากนี้การใช้พื้นที่หน้าท่าร่วมกันระหว่างการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารมีความเสี่ยงในเรื่องของความปลอดภัย
ด้วยเหตุผลดังกล่าวกรมธนารักษ์จึงได้ริเริ่มโครงการปรับปรุงท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตขึ้นใหม่ จากที่ได้เคยทำการศึกษาไว้เมื่อปี 2546 โดยปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน ประกอบด้วย สร้างหลักผูกเรือ (Berth Dolphins) จำนวน 2 ตัวพร้อมสะพานเชื่อม (Access Bridge) สร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร ลักษณะเป็นอาคาร 1 ชั้น ขนาด 45x20 เมตร หรือมีพื้นที่ใช้สอย 900 ตารางเมตร ภายในประกอบด้วย Duty free shop, ห้องสุขา, พื้นที่ทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่ ICQ (Immigration, Customs, Quarantine), พื้นที่นั่งพักสำหรับผู้โดยสาร,พื้นที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม,ห้องโถงและทางเดิน และพื้นที่จำหน่ายของที่ระลึก
นอกจากนี้ จะมีการปรับปรุงถนนทางเข้าสู่อาคารที่พักผู้โดยสารและที่จอดรถ ขนาด 8,500 ตารางเมตร รองรับรถยนต์ได้ 45 คัน และรถโดยสารขนาดใหญ่ได้ 40 คัน ขุดลอกบริเวณหลักผูกเรือใหม่ จัดทำพื้นที่สีเขียว เนื้อที่ประมาณ 650 ตารางเมตร และจัดทำระบบสาธารณูปโภคประกอบโครงการ คาดว่า จะใช้งบดำเนินการประมาณ 176 ล้านบาท
วันนี้ (19 ต.ค.) ที่ห้องประชุมโรงแรมคาทีน่า อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายกรีฑา แซ่ตัน นายกเทศมนตรีตำบลวิชิต อ.เมืองภูเก็ต เป็นประธานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนในชุมชนโดยรอบโครงการท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต (การขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ) ซึ่งทางบริษัท เจ้าพระยาท่าเรือสากล จำกัด ในฐานะบริษัทผู้รับสัมปทานบริหารท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตจากกรมธนารักษ์ ได้มอบหมายให้บริษัท เอส ทีเอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการศึกษารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต (การขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ)
จากการรับฝังความคิดเห็นของประชาชนในครั้งนี้ ส่วนใหญ่จะเห็นด้วย แต่มีความกังวลเรื่องของผลกระทบของฝุ่นตะกอนจากการขุดลอกร่องน้ำ ผลกระทบกับวิถีชีวิตของชุมชน โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ปัญหาการจราจร ปัญหาขยะ ปัญหาของผู้ที่ประกอบอาชีพค้าขายภายในท่าเรือเดิม ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งทางบริษัทที่ปรึกษารับไปจะดำเนินการหามาตรการเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว ทั้งนี้ คาดว่า จะจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ได้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายนนี้
ขณะที่ นายณรงค์ คุ้มบ้าน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 และนายสุเทพ อเนกธรรมพินิจ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ต.วิชิต อ.เมืองภูเก็ต กล่าวว่า ในส่วนของชาวบ้านมีความห่วงใยในเรื่องของผลกระทบต่อการประกอบอาชีพ ที่เป็นผลมาจากการขุดลอกร่องน้ำ โดยเฉพาะเมื่อโครงการแล้วเสร็จ ทั้งอาชีพการทำประมงพื้นบ้าน ปัญหากลุ่มอาชีพที่ทำมาหากินอยู่บริเวณท่าเรือน้ำลึกทั้งกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าขายของที่ระลึก รถแท็กซี่และอื่นๆ รวมไปถึงปัญหาการจราจรที่จะคับคั่งมากขึ้น
ด้าน นายวัฒนชัย เรืองเลิศปัญญากุล ผู้อำนวยการท่าเรือสงขลา-ภูเก็ต บริษัท เจ้าพระยาท่าเรือสากล จำกัด กล่าวถึงโครงการปรับปรับท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ต ว่า ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต เป็นท่าเรือสินค้าเอนกประสงค์ มีสินค้าผ่านท่าเฉลี่ยปีละประมาณ 130,000 ตัน ส่วนใหญ่เป็นยางพารา และแผ่นไม้ MDF (Medium Density Fiber Board)
โดยมีเรือสินค้าเข้าเทียบเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2-3 ลำ แต่เนื่องจากชายฝั่งทะเลอันดามันในปัจจุบันยังไม่มีท่าเรือที่มีน้ำลึกเพียงพอให้เรือโดยสารระหว่างประเทศเข้าเทียบได้ จึงเข้ามาใช้ท่าเรือภูเก็ตเป็นประจำจากสถิติในอดีต พบว่า หลังจากปี 2541 ปริมาณผู้โดยสารผ่านท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตลดลงอย่างมาก จากเดิมประมาณ 5 แสนคนต่อปี คงเหลือเพียงประมาณ 1.5 แสนคนต่อปี เนื่องจากมีการสร้างท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยวขึ้นมา 2 แห่ง คือ ที่ท่าเรือฉลองกับท่าเรือรัษฎาทำให้เรือท่องเที่ยวภายในจังหวัดขนาดเล็กหันไปใช้บริการท่าเรือดังกล่าวแทน เนื่องจากมีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ แต่เรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่และเรือท่องเที่ยวระหว่างประเทศยังคงเข้ามาใช้บริการในจำนวนที่ใกล้เคียงเช่นเดิม
โดยจากสถิติย้อนหลังตั้งแต่ปี 2548-2553 มีเรือโดยสารระหว่างประเทศประมาณ 1-2 ลำ ต่อสัปดาห์ มีผู้โดยสารผ่านท่าเรือระหว่าง 122,680-212,988 คนต่อปี หรือเฉลี่ยปีละประมาณ 150,000 คน
จากข้อจำกัดของท่าเรือซึ่งมีความยาวหน้าท่า 360 เมตร ลึก 10 เมตร ไม่สามารถที่จะจอดเรือขนาดใหญ่ได้พร้อมกัน และเมื่อมีเรือท่องเที่ยวเข้ามาจอด เรือสินค้าก็ต้องทอดสมอรอ ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น รวมทั้งยังไม่มีความปลอดภัย ประกอบกับท่าเรือภูเก็ตเดิมไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรับผู้โดยสารจึงไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมารองรับผู้โดยสาร นอกจากนี้การใช้พื้นที่หน้าท่าร่วมกันระหว่างการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารมีความเสี่ยงในเรื่องของความปลอดภัย
ด้วยเหตุผลดังกล่าวกรมธนารักษ์จึงได้ริเริ่มโครงการปรับปรุงท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตขึ้นใหม่ จากที่ได้เคยทำการศึกษาไว้เมื่อปี 2546 โดยปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน ประกอบด้วย สร้างหลักผูกเรือ (Berth Dolphins) จำนวน 2 ตัวพร้อมสะพานเชื่อม (Access Bridge) สร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร ลักษณะเป็นอาคาร 1 ชั้น ขนาด 45x20 เมตร หรือมีพื้นที่ใช้สอย 900 ตารางเมตร ภายในประกอบด้วย Duty free shop, ห้องสุขา, พื้นที่ทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่ ICQ (Immigration, Customs, Quarantine), พื้นที่นั่งพักสำหรับผู้โดยสาร,พื้นที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม,ห้องโถงและทางเดิน และพื้นที่จำหน่ายของที่ระลึก
นอกจากนี้ จะมีการปรับปรุงถนนทางเข้าสู่อาคารที่พักผู้โดยสารและที่จอดรถ ขนาด 8,500 ตารางเมตร รองรับรถยนต์ได้ 45 คัน และรถโดยสารขนาดใหญ่ได้ 40 คัน ขุดลอกบริเวณหลักผูกเรือใหม่ จัดทำพื้นที่สีเขียว เนื้อที่ประมาณ 650 ตารางเมตร และจัดทำระบบสาธารณูปโภคประกอบโครงการ คาดว่า จะใช้งบดำเนินการประมาณ 176 ล้านบาท