ศูนย์ข่าวภูเก็ต- ภูเก็ตจัดรับฟังความเห็นจัดการน้ำในภูเก็ต ระบุ ปัญหาน้ำท่วม-ขาดแคลนน้ำ มีแนวโน้มมีปัญหามากขึ้น จำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันการบุกรุกและอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม
วันนี้ (18 ต.ค.) ที่ โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต จัดให้มีการประชุมเพื่อรับฟังความเห็น ครั้งที่ 3/2554 โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาน้ำจังหวัดภูเก็ต ซึ่งทางจังหวัดภูเก็ตได้จัดสรรงบประมาณ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีและคำของบประมาณจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2554 วงเงิน 5 ล้านบาท โดยว่าจ้างบริษัท แสปม คอนซัลแตนท์ จำกัด ทำการศึกษา
การประชุมในวันนี้ มี นายไชยวัฒน์ เทพี ปลัดจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุม มีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการส่วนภูมิภาค อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ จ.ภูเก็ต
นายปกรณ์ ดิษฐกิจ ผู้เชี่ยวชาญส่วนวิศวกรรมแหล่งน้ำ บริษัท แสปม คอนซัลแตนท์ จำกัด กล่าวว่า โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาน้ำจังหวัดภูเก็ต เพื่อจัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาอุทกภัย และปัญหาคุณภาพน้ำ ครอบคลุมทั้งจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้หน่วยงานต่างๆใช้เป็นกรอบดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกับสภาพทางกายภาพ การตั้งถิ่นฐาน สภาพสังคม กิจกรรมการใช้น้ำ สภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด
ตลอดจนเพื่อแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำของจังหวัดภูเก็ตอย่างเป็นระบบ โดยให้มีแผนแม่บทเพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำ ปัญหาภัยจากน้ำ และปัญหาคุณภาพน้ำอย่างบูรณาการให้ครอบคลุมเชิงพื้นที่ทั้งเกาะภูเก็ต รวมทั้งครอบคลุมกิจกรรมการใช้น้ำต่างๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาและได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง
ประเด็นปัญหาสำคัญ ได้แก่ การจัดการต้นน้ำ เช่น การบุกรุกพื้นที่ป่า ทำให้ปริมาณน้ำท่าเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะพื้นที่ชื้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A และ 1B พบมากในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่ประกาศเป็นเขตป่าเพื่อการอนุรักษ์ สำหรับเขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า มีการบุกรุกบริเวณเขตติดต่อ ลุ่มน้ำที่มีการบุกรุกจำนวนมากควรเร่งอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ, การชะล้างพังทลายของดิน จากการบุกรุกพื้นที่ป่า โดยไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม เป็นต้น
การจัดการกลางน้ำ-การขาดแคลนน้ำ ส่วนใหญ่เป็นการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค การขาดแคลนน้ำในการสนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่ การพัฒนาเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวแบบทันสมัยและตามเกาะต่างๆ ส่วนการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรมีน้อยมาก แม้ว่าปริมาณฝนและน้ำท่ามีมาก แต่สภาพปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของน้ำท่า โดยเฉพาะในฤดูแล้งในลุ่มน้ำย่อยเป็นสายสั้นๆ มีปริมาณไม่เพียงพอ และระดับน้ำใต้ดินระดับตื้นไม่เพียงพอในปีที่ฝนน้อยและฤดูแล้งยาวกว่าปีปกติ โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ริมทะเล
ขณะเดียวกัน ชุมชนระดับกลาง เทศบาลตำบล และเทศบาลเมือง มีแนวโน้มขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง โดยเฉพาะบริเวณที่จะมีการขยายแหล่งท่องเที่ยว การเติบโตของแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่และภาคธุรกิจต่างๆ ต้องใช้น้ำปริมาณมาก จึงต้องวางแผนจัดการน้ำให้เพียงพอ การขาดแคลนน้ำบนเกาะต่างๆ
การจัดการกลางน้ำ-ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งในอดีตไม่เป็นปัญหารุนแรงมากนัก แต่จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินต้นน้ำ และการขยายตัวของชุมชน มีแนวโน้มจะมีปัญหามากขึ้น จำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันการบุกรุกและอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม รวมทั้งต้องรักษาสภาพการระบายน้ำอย่างน้อยให้คงสภาพไว้ เพราะแนวโน้มปริมาณน้ำท่าจะสูง
ส่วนการจัดการท้ายน้ำ-การจัดการน้ำเสีย พบว่า คุณภาพน้ำในลำน้ำสายใหญ่ที่สำคัญอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่ควรมีมาตรการติดตามและเฝ้าระวัง ส่วนคุณภาพน้ำสายเล็กเริ่มเสื่อมคุณภาพโดยเฉพาะที่ผ่านชุมชนและแหล่งท่องเที่ยว ควรหามาตรการสนับสนุนการบำบัดที่แหล่งกำเนิด เช่นเดียวกับการบำบัดน้ำเสียชุมชนขนาดใหญ่ และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เพื่อลดภาระในการบำบัดน้ำเสีย ป้องกันและแก้ปัญหาการบุกรุป่าชายเลน ตลอดจนการบุกรุกป่าชายเลน ซึ่งควรจะมีการใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเข้มงวด ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุก
สุดท้ายปัญหาการบริหารจัดการ พบว่า ปัญหาด้านขององค์กรผู้ใช้น้ำในพื้นที่ยังไม่เข้มแข็ง และมีจำนวนน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับลุ่มน้ำหลักต่างๆ ของประเทศ ประชาชนบางส่วนขาดความรู้ความเข้าใจ ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและทรัพยากรอื่นๆ ทำให้มีการบุกรุกทำลายป่าอยู่บ่อยครั้ง และผู้รักษากฎหมายยังไม่เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย ทำให้ยังมีผู้ทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรอยู่เป็นประจำ
วันนี้ (18 ต.ค.) ที่ โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต จัดให้มีการประชุมเพื่อรับฟังความเห็น ครั้งที่ 3/2554 โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาน้ำจังหวัดภูเก็ต ซึ่งทางจังหวัดภูเก็ตได้จัดสรรงบประมาณ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีและคำของบประมาณจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2554 วงเงิน 5 ล้านบาท โดยว่าจ้างบริษัท แสปม คอนซัลแตนท์ จำกัด ทำการศึกษา
การประชุมในวันนี้ มี นายไชยวัฒน์ เทพี ปลัดจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุม มีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการส่วนภูมิภาค อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ จ.ภูเก็ต
นายปกรณ์ ดิษฐกิจ ผู้เชี่ยวชาญส่วนวิศวกรรมแหล่งน้ำ บริษัท แสปม คอนซัลแตนท์ จำกัด กล่าวว่า โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาน้ำจังหวัดภูเก็ต เพื่อจัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาอุทกภัย และปัญหาคุณภาพน้ำ ครอบคลุมทั้งจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้หน่วยงานต่างๆใช้เป็นกรอบดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกับสภาพทางกายภาพ การตั้งถิ่นฐาน สภาพสังคม กิจกรรมการใช้น้ำ สภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด
ตลอดจนเพื่อแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำของจังหวัดภูเก็ตอย่างเป็นระบบ โดยให้มีแผนแม่บทเพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำ ปัญหาภัยจากน้ำ และปัญหาคุณภาพน้ำอย่างบูรณาการให้ครอบคลุมเชิงพื้นที่ทั้งเกาะภูเก็ต รวมทั้งครอบคลุมกิจกรรมการใช้น้ำต่างๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาและได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง
ประเด็นปัญหาสำคัญ ได้แก่ การจัดการต้นน้ำ เช่น การบุกรุกพื้นที่ป่า ทำให้ปริมาณน้ำท่าเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะพื้นที่ชื้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A และ 1B พบมากในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่ประกาศเป็นเขตป่าเพื่อการอนุรักษ์ สำหรับเขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า มีการบุกรุกบริเวณเขตติดต่อ ลุ่มน้ำที่มีการบุกรุกจำนวนมากควรเร่งอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ, การชะล้างพังทลายของดิน จากการบุกรุกพื้นที่ป่า โดยไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม เป็นต้น
การจัดการกลางน้ำ-การขาดแคลนน้ำ ส่วนใหญ่เป็นการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค การขาดแคลนน้ำในการสนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่ การพัฒนาเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวแบบทันสมัยและตามเกาะต่างๆ ส่วนการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรมีน้อยมาก แม้ว่าปริมาณฝนและน้ำท่ามีมาก แต่สภาพปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของน้ำท่า โดยเฉพาะในฤดูแล้งในลุ่มน้ำย่อยเป็นสายสั้นๆ มีปริมาณไม่เพียงพอ และระดับน้ำใต้ดินระดับตื้นไม่เพียงพอในปีที่ฝนน้อยและฤดูแล้งยาวกว่าปีปกติ โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ริมทะเล
ขณะเดียวกัน ชุมชนระดับกลาง เทศบาลตำบล และเทศบาลเมือง มีแนวโน้มขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง โดยเฉพาะบริเวณที่จะมีการขยายแหล่งท่องเที่ยว การเติบโตของแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่และภาคธุรกิจต่างๆ ต้องใช้น้ำปริมาณมาก จึงต้องวางแผนจัดการน้ำให้เพียงพอ การขาดแคลนน้ำบนเกาะต่างๆ
การจัดการกลางน้ำ-ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งในอดีตไม่เป็นปัญหารุนแรงมากนัก แต่จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินต้นน้ำ และการขยายตัวของชุมชน มีแนวโน้มจะมีปัญหามากขึ้น จำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันการบุกรุกและอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม รวมทั้งต้องรักษาสภาพการระบายน้ำอย่างน้อยให้คงสภาพไว้ เพราะแนวโน้มปริมาณน้ำท่าจะสูง
ส่วนการจัดการท้ายน้ำ-การจัดการน้ำเสีย พบว่า คุณภาพน้ำในลำน้ำสายใหญ่ที่สำคัญอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่ควรมีมาตรการติดตามและเฝ้าระวัง ส่วนคุณภาพน้ำสายเล็กเริ่มเสื่อมคุณภาพโดยเฉพาะที่ผ่านชุมชนและแหล่งท่องเที่ยว ควรหามาตรการสนับสนุนการบำบัดที่แหล่งกำเนิด เช่นเดียวกับการบำบัดน้ำเสียชุมชนขนาดใหญ่ และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เพื่อลดภาระในการบำบัดน้ำเสีย ป้องกันและแก้ปัญหาการบุกรุป่าชายเลน ตลอดจนการบุกรุกป่าชายเลน ซึ่งควรจะมีการใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเข้มงวด ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุก
สุดท้ายปัญหาการบริหารจัดการ พบว่า ปัญหาด้านขององค์กรผู้ใช้น้ำในพื้นที่ยังไม่เข้มแข็ง และมีจำนวนน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับลุ่มน้ำหลักต่างๆ ของประเทศ ประชาชนบางส่วนขาดความรู้ความเข้าใจ ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและทรัพยากรอื่นๆ ทำให้มีการบุกรุกทำลายป่าอยู่บ่อยครั้ง และผู้รักษากฎหมายยังไม่เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย ทำให้ยังมีผู้ทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรอยู่เป็นประจำ