ศูนย์ข่าวภูเก็ต - จังหวัดภูเก็ตจ้างที่ปรึกษา ศึกษาวางแผนแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในระยะยาว 20 ปี ผลศึกษาระบุปัญหาเกิดจากที่กักเก็บน้ำไม่เพียงพอ ทั้งๆ ที่ปริมาณฝนที่ตกลงมามีมากกว่า 2,500 มิลลิเมตร เสนอให้เพิ่มศักยภาพอ่างเก็บน้ำ สร้างฝายและแก้มลิงกักเก็บน้ำให้ได้มากขึ้น
วันนี้ (14 ก.ย.) ที่โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายวีระวัฒน์ จันทร์เพ็ญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการประชุม เพื่อรับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาน้ำจังหวัดภูเก็ต ซึ่งจังหวัดภูเก็ตได้ว่าจ้างบริษัท แสปม คอนซัลแตนท์ จำกัด ทำการศึกษา โดยมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการส่วนภูมิภาค และประชาชนในพื้นที่ จ.ภูเก็ต
สำหรับโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาน้ำจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากที่ผ่านมาจังหวัดภูเก็ตประสบปัญหาการใช้น้ำมาอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการจัดสรรงบประมาณ 2554 จำนวน 5 ล้านบาท จ้างบริษัทที่ปรึกษาฯ จัดทำโครงการดังกล่าว เพื่อจัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาอุทกภัย และปัญหาคุณภาพน้ำ ครอบคลุมทั้งจังหวัดภูเก็ต สำหรับให้หน่วยงานต่างๆ ใช้เป็นกรอบดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ทั้งนี้ เพื่อสอดคล้องกับสภาพทางกายภาพ การตั้งถิ่นฐาน สภาพสังคม กิจกรรมการใช้น้ำ สภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ตลอดจนเพื่อแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำของจังหวัดภูเก็ตอย่างเป็นระบบ โดยให้มีแผนแม่บทเพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำ ปัญหาภัยจากน้ำ และปัญหาคุณภาพน้ำอย่างบูรณาการให้ครอบคลุมเชิงพื้นที่ทั้งเกาะภูเก็ต รวมทั้งครอบคลุมกิจกรรมการใช้น้ำต่างๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาและได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง
นายปกรณ์ ดิษฐกิจ ผู้เชี่ยวชาญส่วนวิศวกรรมแหล่งน้ำ บริษัท แสปม คอนซัลแตนท์ จำกัด กล่าวว่า การจัดทำโครงการดังกล่าวนั้น เพื่อจัดทำแผนพัฒนาบริหารจัดการน้ำของจังหวัดในภาพรวม เพื่อแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้น 5 ปี ระยะกลาง 10 ปี และระยะยาว 20 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคมนี้ โดยจะมีการวิเคราะห์การใช้น้ำในพื้นที่ทั้งการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการท่องเที่ยว ปริมาณน้ำที่มีอยู่ แหล่งกักเก็บน้ำ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากปัจจุบันปริมาณการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการเติบโตของการท่องเที่ยว หากเป็นพื้นที่ในเขตเมืองก็จะใช้น้ำจากการประปาส่วนภูมิภาค ส่วนเขตนอกตัวเมืองแต่ละครัวเรือนจะใช้น้ำใต้ดินจากบ่อน้ำเป็นหลัก และมีบางส่วนที่ใช้บริการของประปาชุมชน
“จากการสำรวจข้อมูลในเบื้องต้นพบว่า จังหวัดภูเก็ตมีปริมาณน้ำเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะปริมาณน้ำฝนมีเฉลี่ยปีละประมาณ 2,500 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่ค่อนข้างมาก แต่แหล่งกักเก็บน้ำที่มีอยู่ไม่เพียงพอรองรับ และอ่างเก็บน้ำที่มีอยู่ทั้งอ่างเก็บน้ำบางวาดและบางเหนียวดำก็ยังไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เต็มขีดความสามารถที่มีอยู่ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแผนในการบริการจัดการตั้งแต่ต้นน้ำ ด้วยการอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำ กลางน้ำ ด้วยการบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค ส่วนปลายน้ำจะเป็นการดูแลในเรื่องของน้ำเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมด”
นายปกรณ์กล่าวว่า ทางออกในการแก้ปัญหาที่มีการกำหนดไว้เบื้องต้น สำหรับระยะสั้น เป็นโครงเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในลักษณะของโครงการย่อย ที่ท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้เอง เช่น การสร้างฝายกักเก็บน้ำ การเสริมระดับของเขื่อนที่มีอยู่ การขุดลอกคูคลองในชุมชน เป็นต้น นอกจากนั้นก็จะมีการจัดทำโครงการประปาของท้องถิ่น โดยเฉพาะที่อยู่นอกเขตบริการของการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งขณะนี้มีการยื่นความจำนงมาแล้วในส่วนของ อบต.ฉลอง อ.เมืองภูเก็ต ส่วนโครงการขนาดใหญ่จะต้องใช้เวลาและงบประมาณ เช่น การสร้างอ่างกักเก็บน้ำเพิ่มเติม การจัดทำแก้มลิงบริเวณบ้านโคกโตนด ต.เชิงทะเล อ.ถลาง เป็นต้น
วันนี้ (14 ก.ย.) ที่โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายวีระวัฒน์ จันทร์เพ็ญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการประชุม เพื่อรับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาน้ำจังหวัดภูเก็ต ซึ่งจังหวัดภูเก็ตได้ว่าจ้างบริษัท แสปม คอนซัลแตนท์ จำกัด ทำการศึกษา โดยมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการส่วนภูมิภาค และประชาชนในพื้นที่ จ.ภูเก็ต
สำหรับโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาน้ำจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากที่ผ่านมาจังหวัดภูเก็ตประสบปัญหาการใช้น้ำมาอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการจัดสรรงบประมาณ 2554 จำนวน 5 ล้านบาท จ้างบริษัทที่ปรึกษาฯ จัดทำโครงการดังกล่าว เพื่อจัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาอุทกภัย และปัญหาคุณภาพน้ำ ครอบคลุมทั้งจังหวัดภูเก็ต สำหรับให้หน่วยงานต่างๆ ใช้เป็นกรอบดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ทั้งนี้ เพื่อสอดคล้องกับสภาพทางกายภาพ การตั้งถิ่นฐาน สภาพสังคม กิจกรรมการใช้น้ำ สภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ตลอดจนเพื่อแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำของจังหวัดภูเก็ตอย่างเป็นระบบ โดยให้มีแผนแม่บทเพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำ ปัญหาภัยจากน้ำ และปัญหาคุณภาพน้ำอย่างบูรณาการให้ครอบคลุมเชิงพื้นที่ทั้งเกาะภูเก็ต รวมทั้งครอบคลุมกิจกรรมการใช้น้ำต่างๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาและได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง
นายปกรณ์ ดิษฐกิจ ผู้เชี่ยวชาญส่วนวิศวกรรมแหล่งน้ำ บริษัท แสปม คอนซัลแตนท์ จำกัด กล่าวว่า การจัดทำโครงการดังกล่าวนั้น เพื่อจัดทำแผนพัฒนาบริหารจัดการน้ำของจังหวัดในภาพรวม เพื่อแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้น 5 ปี ระยะกลาง 10 ปี และระยะยาว 20 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคมนี้ โดยจะมีการวิเคราะห์การใช้น้ำในพื้นที่ทั้งการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการท่องเที่ยว ปริมาณน้ำที่มีอยู่ แหล่งกักเก็บน้ำ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากปัจจุบันปริมาณการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการเติบโตของการท่องเที่ยว หากเป็นพื้นที่ในเขตเมืองก็จะใช้น้ำจากการประปาส่วนภูมิภาค ส่วนเขตนอกตัวเมืองแต่ละครัวเรือนจะใช้น้ำใต้ดินจากบ่อน้ำเป็นหลัก และมีบางส่วนที่ใช้บริการของประปาชุมชน
“จากการสำรวจข้อมูลในเบื้องต้นพบว่า จังหวัดภูเก็ตมีปริมาณน้ำเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะปริมาณน้ำฝนมีเฉลี่ยปีละประมาณ 2,500 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่ค่อนข้างมาก แต่แหล่งกักเก็บน้ำที่มีอยู่ไม่เพียงพอรองรับ และอ่างเก็บน้ำที่มีอยู่ทั้งอ่างเก็บน้ำบางวาดและบางเหนียวดำก็ยังไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เต็มขีดความสามารถที่มีอยู่ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแผนในการบริการจัดการตั้งแต่ต้นน้ำ ด้วยการอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำ กลางน้ำ ด้วยการบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค ส่วนปลายน้ำจะเป็นการดูแลในเรื่องของน้ำเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมด”
นายปกรณ์กล่าวว่า ทางออกในการแก้ปัญหาที่มีการกำหนดไว้เบื้องต้น สำหรับระยะสั้น เป็นโครงเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในลักษณะของโครงการย่อย ที่ท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้เอง เช่น การสร้างฝายกักเก็บน้ำ การเสริมระดับของเขื่อนที่มีอยู่ การขุดลอกคูคลองในชุมชน เป็นต้น นอกจากนั้นก็จะมีการจัดทำโครงการประปาของท้องถิ่น โดยเฉพาะที่อยู่นอกเขตบริการของการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งขณะนี้มีการยื่นความจำนงมาแล้วในส่วนของ อบต.ฉลอง อ.เมืองภูเก็ต ส่วนโครงการขนาดใหญ่จะต้องใช้เวลาและงบประมาณ เช่น การสร้างอ่างกักเก็บน้ำเพิ่มเติม การจัดทำแก้มลิงบริเวณบ้านโคกโตนด ต.เชิงทะเล อ.ถลาง เป็นต้น