นครศรีธรรมราช - เทศบาลตำบลเกาะเพชร อ.หัวไทร นครศรีธรรมราช เอาจริงตั้งเวทีสาธารณะรับฟังความเห็นไฟฟ้าถ่านหิน อนุกรรมการสิทธิ-นักวิชาการร่วมเพียบ ส่วน กฟผ.ไม่ยอมเข้าร่วมและเมินส่งหนังสือแถ “ยังไม่เลือกพื้นที่” ส่วนควันหลงเวทีวิกฤตพลังงานนครศรีฯเมินข้อสรุปพลังงานทางเลือก-มุ่งเอาถ่านหิน
ที่ จ.นครศรีธรรมราช ความเคลื่อนไหวในการเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ใน อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ยังคงเป็นไปด้วยความเข้มข้น ซึ่งมีความเคลื่อนไหวหลายฝ่ายทั้งในส่วนของฝ่ายพยายามเข้าไปก่อสร้างโดย กฟผ.ฝ่ายประชาชนที่ร่วมกันต่อต้านอย่างเข้มข้นตามลำดับ และฝ่ายที่เข้าไปหาผลประโยชน์ด้วยวิธีการต่างๆ ที่เป็นผลพวงจากโครงการนี้เช่นนักลงทุนเก็งกำไรที่ดิน นักธุรกิจประชาสัมพันธ์ด้านต่างๆ รวมทั้งนักฉกฉวยโอกาสในการแสวงหาผลประโยชน์
ความเคลื่อนไหวล่าสุดเมื่อเช้าวันนี้ (22 ก.ย.) บริเวณหน้าที่ทำการเทศบาลตำบลเกาะเพชร อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช นายเดชา แก้วเจริญ นายกเทศมนตรีตำบลเกาะเพชร ได้มีการจัดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและนักวิชาการ โดยมี นายเดชา แก้วเจริญ นายกเทศมนตรีตำบลหัวไทร, นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี อนุกรรมการด้านชุมชน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติ, รศ.ดร.เรณู เวชรัตน์พิมล นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม จากภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร, ดร.เลิศชาย ศิริชัย นักวิชาการประจำสำนักวิชาศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประชาชนชาว ต.เกาะเพชร และใกล้เคียงกว่า 300 คนซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพประมงพื้นบ้าน เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น โดยไม่ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนรายใดของ กฟผ.เข้าร่วมเวทีดังกล่าว
นายเดชา แก้วเจริญ นายกเทศมนตรีตำบลหัวไทร เปิดเผยว่า สำหรับการจัดเวทีดังกล่าวนั้นเทศบาลตำบลหัวไทรได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ถึงโครงการต่างๆ หากมีข้อขัดแย้งกับชุมชนแล้วนั้นขอให้ท้องถิ่นจัดเวทีสาธารณะขึ้นเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายอย่างรอบด้าน ซึ่งในเวทีนั้นประชาชนจะได้รับความรู้ทั้งจากด้านสิ่งแวดล้อมจะเป็นไปอย่างไร ทางด้านสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชน ประชาชนสามารถทำอะไรอย่างไรได้บ้าง และทางด้านสังคมจะเป็นไปอย่างไร
“ทิศทางการแสดงความคิดเห็นของประชาชนนั้นเป็นไปอย่างหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่นั้นไม่ต้องการให้มีโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นในพื้นที่ เนื่องจากเกรงผลกระทบ ในส่วนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตนั้นไม่ได้ส่งตัวแทนเข้ามาชี้แจง ทำให้ไม่มีข้อมูลในส่วนนี้ แต่มีหนังสือยืนยันจาก กฟผ.อ้างถึงโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดว่า ในส่วนของนครศรีธรรมราชนั้นยังอยู่ในช่วงขั้นตอนที่ 1 และ 2 จาก 7 ขั้นตอน และยืนยันว่า ยังไม่มีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดในพื้นที่นครศรีธรรมราช และอ้างว่ายังไม่มีข้อมูลที่จะชี้แจงในเวทีนี้ และบอกด้วยว่าหาก กฟผ.พบว่า หัวไทรเป็นที่ที่มีศักยภาพในการก่อสร้าง จะมีการแจ้งให้ประชาชนทราบอีกครั้ง ซึ่งลงนามโดย นายสุมิต วงศ์แสงจันทร์ ผช.ผู้ว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ทำการแทนผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย” นายเดชา กล่าวและว่า
นายกเทศมนตรีตำบลหัวไทร กล่าวต่อว่า กฟผ.ไม่ได้ส่งตัวแทนมาอ้างว่าไม่มีข้อมูลและยังไม่เลือกพื้นที่ แต่ภาพที่ออกมามันค่อนข้างขัดกันป้ายรณรงค์ถ่านหินสะอาดขึ้นเต็มพื้นที่หัวไทร แล้วในเมื่อไม่เลือกจะขึ้นป้ายเหล่านี้ไปด้วยเหตุใด
ดร.เลิศชาย ศิริชัย นักวิชาการประจำสำนักวิชาศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่าเวทีที่เกิดขึ้นในวันนี้เป็นเวทีที่ต้องการความรู้และความเท่าทัน แต่ กฟผ.เขาทำงานแบบใต้ดินแบบกลุ่มๆ คนไปเรื่อยๆ แต่เวทีลักษณะเช่นนี้เขาจะไม่มา เพราะไม่สามารถตอบการซักถาม หรือการโต้แย้งในข้อมูลได้ ประชาชนต้องติดตามและพูดคุยกันต่อหลังจากนี้
“ประชาชนต้องจับตาต่อไป คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีการพูดถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจะมีการพ่วงเอาเรื่องสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญไปด้วย ไปทำลายอำนาจชุมชน อำนาจประชาชนรัฐบาลนี้ถนัด และยิ่งชัดเจนว่ารัฐบาลจะลุยเอาในเรื่องโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในภาคใต้ หากแก้ไขได้เขาอาจใช้กำลังเข้ามาควบคุมคุ้มครองในการสร้างโครงการขนาดใหญ่ขอให้จับตาเรื่องนี้กันให้ดี” ดร.เลิศชาย กล่าว
อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ ยังมีรายงานเพิ่มเติมว่า กฟผ.ยังคงมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่มีเวทีสัมมนาในหัวข้อ “วิกฤติพลังงานชาติ นครศรีธรรมราชจะเอาอย่างไร” ซึ่งในการสัมมนานั้นได้มีความเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมราว 500 คนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ไม่เอาไฟฟ้าถ่านหิน และนิวเคลียร์
ปรากฏว่า ล่าสุด นั้นเว็บไซต์สำนักงานพลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้นำเอาข้อความประชาสัมพันธ์มาขึ้นบน http://nakhonsithammarat.energy.go.th ในทำนองสรุปผลการสัมมนาว่าผู้เข้าร่วม ได้แสดงความคิดเห็น เพื่อกำหนดรูปแบบ แนวทางแก้ปัญหา วิกฤตพลังงานชาติในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยให้ภาครัฐส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ การพัฒนาทดแทนที่มีศักยภาพในพื้นที่ เช่น พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานขยะ เป็นต้น
และได้มีถ้อยแถลงสรุปอ้างคำพูดอ้าง นายสุทธิพงษ์ เทิดรัตนพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวว่า การสัมมนาในวันนี้ เป็นนิมิตหมายที่ดี ได้รับการร่วมมือจากทุกฝ่าย ช่วยคิดแสดงความคิดเห็นร่วมกันหาทางออก ในการจัดการพลังงาน โดยไม่มีการประท้วง และการเรียกร้อง คัดค้าน เหมือนเช่นที่ผ่านมา ทำให้เราทราบว่าประชาชนที่เข้าร่วมสัมมนาในวันนี้ ต้องการพัฒนาพลังงานทดแทน
แต่พลังงานทดแทนถึงเป็นทางเลือกหนึ่ง แต่คงไม่ใช่ทางออกหรือวิธีการแก้ไขปัญหาทั้งหมด เชื่อว่าอย่างไรก็คงต้องพึ่งพลังงานหลักที่ผลิตจากถ่านหิน และแก๊สธรรมชาติอยู่ วันนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้คิด แต่ไม่ใช่เวทีตัดสินใจ หรือการลงมติอะไรทั้งสิ้น ควรจะต้องมีเวทีให้แสดงเห็นถึงปัจจัย ผลกระทบในรอบด้าน เช่นราคาต้นทุนในการลงทุน จากพลังงานทดแทนและการลงทุนพลังงานขนาดใหญ่กันต่อไป
ด้าน นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา เปิดเผยว่า มีความเข้าใจผิดและคลาดเคลื่อนหลายประการ ด้วยความตั้งใจและเจตนาบิดเบือนข้อเท็จจริงเวทีนี้ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นถือเป็นกลายเป็นมติอย่างท่วมท้น มีผู้หลักผู้ใหญ่หลายคนนับแต่รองปลัดกระทรวงพลังงาน รองผู้ว่าราชการจังหวัด พลังงานจังหวัด ลุงประยงค์ รณรงค์ และ ผศ.พยอม รัตนมณี รวมทั้งผู้แสดงความเห็นทั้งหมด ในเวทีย้ำให้เห็นว่ามีแนวโน้มพลังงานขาดแคลนในอนาคตข้างหน้า ทางเลือกที่ออกจากวิกฤตในครั้งนี้ของนครศรีธรรมราช คือ ใช้พลังงานหมุนเวียน จากนั้นในเวทีถกเรื่องนี้มาตลอด
“แต่หลังจากเวทีเสร็จสิ้น มีการให้สัมภาษณ์ รวมทั้งข้อความประชาสัมพันธ์ในเวปไซต์พลังงานจังหวัด ก็ย้ำถึงประเด็นนี้ แต่แอบเอาบ้องกัญชาไปด้วย คือ ไฟฟ้าถ่านหินควรเป็นพลังงานหลักไปอย่างหน้าตาเฉยทำนองว่าตั้งวงพี้กัญชากันไม่กี่คนจนเมาได้ที่แล้วชวนคนอื่นไปนั่งแล้วให้เขาเมาด้วย แต่ความจริงนั้นเขารู้ว่ากัญชามันคือยาเสพติดเขาไม่เอา ไม่เมาไปด้วยแต่มาเหมารวมว่าทุกคนเมาเหมือนกันมันไม่ใช่” นายทรงวุฒิ กล่าว
ที่ จ.นครศรีธรรมราช ความเคลื่อนไหวในการเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ใน อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ยังคงเป็นไปด้วยความเข้มข้น ซึ่งมีความเคลื่อนไหวหลายฝ่ายทั้งในส่วนของฝ่ายพยายามเข้าไปก่อสร้างโดย กฟผ.ฝ่ายประชาชนที่ร่วมกันต่อต้านอย่างเข้มข้นตามลำดับ และฝ่ายที่เข้าไปหาผลประโยชน์ด้วยวิธีการต่างๆ ที่เป็นผลพวงจากโครงการนี้เช่นนักลงทุนเก็งกำไรที่ดิน นักธุรกิจประชาสัมพันธ์ด้านต่างๆ รวมทั้งนักฉกฉวยโอกาสในการแสวงหาผลประโยชน์
ความเคลื่อนไหวล่าสุดเมื่อเช้าวันนี้ (22 ก.ย.) บริเวณหน้าที่ทำการเทศบาลตำบลเกาะเพชร อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช นายเดชา แก้วเจริญ นายกเทศมนตรีตำบลเกาะเพชร ได้มีการจัดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและนักวิชาการ โดยมี นายเดชา แก้วเจริญ นายกเทศมนตรีตำบลหัวไทร, นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี อนุกรรมการด้านชุมชน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติ, รศ.ดร.เรณู เวชรัตน์พิมล นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม จากภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร, ดร.เลิศชาย ศิริชัย นักวิชาการประจำสำนักวิชาศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประชาชนชาว ต.เกาะเพชร และใกล้เคียงกว่า 300 คนซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพประมงพื้นบ้าน เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น โดยไม่ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนรายใดของ กฟผ.เข้าร่วมเวทีดังกล่าว
นายเดชา แก้วเจริญ นายกเทศมนตรีตำบลหัวไทร เปิดเผยว่า สำหรับการจัดเวทีดังกล่าวนั้นเทศบาลตำบลหัวไทรได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ถึงโครงการต่างๆ หากมีข้อขัดแย้งกับชุมชนแล้วนั้นขอให้ท้องถิ่นจัดเวทีสาธารณะขึ้นเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายอย่างรอบด้าน ซึ่งในเวทีนั้นประชาชนจะได้รับความรู้ทั้งจากด้านสิ่งแวดล้อมจะเป็นไปอย่างไร ทางด้านสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชน ประชาชนสามารถทำอะไรอย่างไรได้บ้าง และทางด้านสังคมจะเป็นไปอย่างไร
“ทิศทางการแสดงความคิดเห็นของประชาชนนั้นเป็นไปอย่างหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่นั้นไม่ต้องการให้มีโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นในพื้นที่ เนื่องจากเกรงผลกระทบ ในส่วนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตนั้นไม่ได้ส่งตัวแทนเข้ามาชี้แจง ทำให้ไม่มีข้อมูลในส่วนนี้ แต่มีหนังสือยืนยันจาก กฟผ.อ้างถึงโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดว่า ในส่วนของนครศรีธรรมราชนั้นยังอยู่ในช่วงขั้นตอนที่ 1 และ 2 จาก 7 ขั้นตอน และยืนยันว่า ยังไม่มีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดในพื้นที่นครศรีธรรมราช และอ้างว่ายังไม่มีข้อมูลที่จะชี้แจงในเวทีนี้ และบอกด้วยว่าหาก กฟผ.พบว่า หัวไทรเป็นที่ที่มีศักยภาพในการก่อสร้าง จะมีการแจ้งให้ประชาชนทราบอีกครั้ง ซึ่งลงนามโดย นายสุมิต วงศ์แสงจันทร์ ผช.ผู้ว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ทำการแทนผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย” นายเดชา กล่าวและว่า
นายกเทศมนตรีตำบลหัวไทร กล่าวต่อว่า กฟผ.ไม่ได้ส่งตัวแทนมาอ้างว่าไม่มีข้อมูลและยังไม่เลือกพื้นที่ แต่ภาพที่ออกมามันค่อนข้างขัดกันป้ายรณรงค์ถ่านหินสะอาดขึ้นเต็มพื้นที่หัวไทร แล้วในเมื่อไม่เลือกจะขึ้นป้ายเหล่านี้ไปด้วยเหตุใด
ดร.เลิศชาย ศิริชัย นักวิชาการประจำสำนักวิชาศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่าเวทีที่เกิดขึ้นในวันนี้เป็นเวทีที่ต้องการความรู้และความเท่าทัน แต่ กฟผ.เขาทำงานแบบใต้ดินแบบกลุ่มๆ คนไปเรื่อยๆ แต่เวทีลักษณะเช่นนี้เขาจะไม่มา เพราะไม่สามารถตอบการซักถาม หรือการโต้แย้งในข้อมูลได้ ประชาชนต้องติดตามและพูดคุยกันต่อหลังจากนี้
“ประชาชนต้องจับตาต่อไป คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีการพูดถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจะมีการพ่วงเอาเรื่องสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญไปด้วย ไปทำลายอำนาจชุมชน อำนาจประชาชนรัฐบาลนี้ถนัด และยิ่งชัดเจนว่ารัฐบาลจะลุยเอาในเรื่องโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในภาคใต้ หากแก้ไขได้เขาอาจใช้กำลังเข้ามาควบคุมคุ้มครองในการสร้างโครงการขนาดใหญ่ขอให้จับตาเรื่องนี้กันให้ดี” ดร.เลิศชาย กล่าว
อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ ยังมีรายงานเพิ่มเติมว่า กฟผ.ยังคงมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่มีเวทีสัมมนาในหัวข้อ “วิกฤติพลังงานชาติ นครศรีธรรมราชจะเอาอย่างไร” ซึ่งในการสัมมนานั้นได้มีความเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมราว 500 คนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ไม่เอาไฟฟ้าถ่านหิน และนิวเคลียร์
ปรากฏว่า ล่าสุด นั้นเว็บไซต์สำนักงานพลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้นำเอาข้อความประชาสัมพันธ์มาขึ้นบน http://nakhonsithammarat.energy.go.th ในทำนองสรุปผลการสัมมนาว่าผู้เข้าร่วม ได้แสดงความคิดเห็น เพื่อกำหนดรูปแบบ แนวทางแก้ปัญหา วิกฤตพลังงานชาติในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยให้ภาครัฐส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ การพัฒนาทดแทนที่มีศักยภาพในพื้นที่ เช่น พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานขยะ เป็นต้น
และได้มีถ้อยแถลงสรุปอ้างคำพูดอ้าง นายสุทธิพงษ์ เทิดรัตนพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวว่า การสัมมนาในวันนี้ เป็นนิมิตหมายที่ดี ได้รับการร่วมมือจากทุกฝ่าย ช่วยคิดแสดงความคิดเห็นร่วมกันหาทางออก ในการจัดการพลังงาน โดยไม่มีการประท้วง และการเรียกร้อง คัดค้าน เหมือนเช่นที่ผ่านมา ทำให้เราทราบว่าประชาชนที่เข้าร่วมสัมมนาในวันนี้ ต้องการพัฒนาพลังงานทดแทน
แต่พลังงานทดแทนถึงเป็นทางเลือกหนึ่ง แต่คงไม่ใช่ทางออกหรือวิธีการแก้ไขปัญหาทั้งหมด เชื่อว่าอย่างไรก็คงต้องพึ่งพลังงานหลักที่ผลิตจากถ่านหิน และแก๊สธรรมชาติอยู่ วันนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้คิด แต่ไม่ใช่เวทีตัดสินใจ หรือการลงมติอะไรทั้งสิ้น ควรจะต้องมีเวทีให้แสดงเห็นถึงปัจจัย ผลกระทบในรอบด้าน เช่นราคาต้นทุนในการลงทุน จากพลังงานทดแทนและการลงทุนพลังงานขนาดใหญ่กันต่อไป
ด้าน นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา เปิดเผยว่า มีความเข้าใจผิดและคลาดเคลื่อนหลายประการ ด้วยความตั้งใจและเจตนาบิดเบือนข้อเท็จจริงเวทีนี้ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นถือเป็นกลายเป็นมติอย่างท่วมท้น มีผู้หลักผู้ใหญ่หลายคนนับแต่รองปลัดกระทรวงพลังงาน รองผู้ว่าราชการจังหวัด พลังงานจังหวัด ลุงประยงค์ รณรงค์ และ ผศ.พยอม รัตนมณี รวมทั้งผู้แสดงความเห็นทั้งหมด ในเวทีย้ำให้เห็นว่ามีแนวโน้มพลังงานขาดแคลนในอนาคตข้างหน้า ทางเลือกที่ออกจากวิกฤตในครั้งนี้ของนครศรีธรรมราช คือ ใช้พลังงานหมุนเวียน จากนั้นในเวทีถกเรื่องนี้มาตลอด
“แต่หลังจากเวทีเสร็จสิ้น มีการให้สัมภาษณ์ รวมทั้งข้อความประชาสัมพันธ์ในเวปไซต์พลังงานจังหวัด ก็ย้ำถึงประเด็นนี้ แต่แอบเอาบ้องกัญชาไปด้วย คือ ไฟฟ้าถ่านหินควรเป็นพลังงานหลักไปอย่างหน้าตาเฉยทำนองว่าตั้งวงพี้กัญชากันไม่กี่คนจนเมาได้ที่แล้วชวนคนอื่นไปนั่งแล้วให้เขาเมาด้วย แต่ความจริงนั้นเขารู้ว่ากัญชามันคือยาเสพติดเขาไม่เอา ไม่เมาไปด้วยแต่มาเหมารวมว่าทุกคนเมาเหมือนกันมันไม่ใช่” นายทรงวุฒิ กล่าว