นครศรีธรรมราช - เครือข่ายปฏิเสธโรงไฟฟ้าถ่านหินนครศรีฯ ยันไม่ควรสร้างโรงไฟฟ้าประเภทนี้เพิ่มอีกแล้ว แนะ กฟผ.ขยายสร้างของเดิมที่แม่เมาะ-ระยอง แทนการลงทุนสร้างใหม่ในภาคใต้ ด้านเครือข่ายศิลปินใต้ เตรียมเดินเท้ารณรงค์ป้องทรัพยากรจากชุมพรถึงสตูล
ผู้สื่อข่าวรายงาน ความเคลื่อนไหวในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาภาคใต้ในโครงการต่างๆ จากภาครัฐยังคงมีความพยายามในการเดินหน้า โดยการปรับแผนการเคลื่อนไหวจากเดิมเน้นการสนับสนุนงบประมาณ และแจกจ่ายสิ่งของแบบเข้าถึงตัวในพื้นที่เป้าหมายก่อสร้าง เปลี่ยนเป็นการใช้งบประมาณเพื่อเน้นการสร้างมวลชนผ่าน อปท. และกลุ่มมวลชนต่างๆผ่านกิจกรรมที่ถูกจัดขึ้น
ล่าสุด มีการจัดกิจกรรมแรลลี่ ให้กับบรรดานักจัดรายการวิทยุชุมชน และเตรียมจัดกิจกรรมสัมมนาวิกฤติพลังงานในวันที่ 13 ก.ย.โดยมีหัวข้อเนื้อหาในทำนองว่าพลังงานไฟฟ้ากำลังวิกฤติ ขณะที่ฝ่ายต่อต้านเพื่อรักษาความเป็นบริบทที่ยั่งยืนของทรัพยากรและความเป็นชุมชน และท้องถิ่นได้มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน
นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์ท่าศาลาบ้านเกิดเปิดเผยว่า สำหรับกิจกรรมในวันที่ 13 ก.ย.54 ต้องถามให้ชัดๆ ว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังในการจัดอย่างแท้จริงนั้นเป็น กฟผ.ใช่หรือไม่ โดยใช้งบประมาณผ่านพลังงานจังหวัดใช่หรือไม่ แต่เดิมนั้นโครงการนี้ถูกจัดขึ้นเพียงแค่เป็นการภายในเท่านั้น ไม่ได้เปิดโอกาสให้กับผู้ที่มีความคิดเห็นไม่เอาโรงไฟฟ้าเข้าไปร่วมแสดงความคิดเห็นแต่อย่างใด โดยเฉพาะผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้บริหาร อปท.ในพื้นที่ ท่าศาลา พื้นที่รายรอบ ไม่มีการเชิญคนเหล่านี้ เมื่อมีการทวงถามไปที่เจ้าหน้าที่พลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีการเชิญบุคคลที่เขากำหนดไปแล้วหลายวัน กลับอ้างว่าผิดพลาดแล้วจึงมีการสำเนาหนังสือเหล่านั้นเชิญมาอีกครั้ง
“เมื่อดูจากวิทยากรที่เชิญมานั้นเช่น ลุงประยงค์ รณรงค์ ท่านไม่ได้มีบทบาทเกี่ยวเนื่องกับเรื่องพลังงานเลย แต่ไปเชิญท่านมาเพื่ออาศัยภาพของการเป็นปราชญ์ชาวบ้านที่ทุกคนเคารพนับถือมาใช้เป็นเครื่องมือ กฟผ. ใช้ไม้นี้มาหลายพื้นที่แล้ว และไปอาศัยนักการเมืองท้องถิ่นบางคนไปจัดระดมคนมา ซึ่งเรายืนยันว่าประชาชนจาก อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร จะเข้าไปร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ด้วยอย่างแน่นอน”
นายทรงวุฒิ กล่าวต่อว่า สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินนั้น เป็นโรงไฟฟ้าที่ไม่ควรสร้างขึ้นอีกแล้ว แต่ยังมีความพยายามในการสร้างอย่างต่อเนื่องโดย กฟผ.แม้ว่าหลายที่หลายแห่งจะมีบทเรียนในเรื่องนี้มาแล้วมากมาย
“เข้าใจได้ว่าไฟฟ้าอาจมีไม่เพียงพอแต่เมื่อจะสร้างพลังงานชนิดนี้ และ กฟผ.ยืนยันว่าอากาศที่แม่เมาะ ลำปาง สะอาด หรือที่ จ.ระยอง ไม่มีมลพิษจากไฟฟ้าถ่านหินขอเสนอให้ กฟผ.ไปสร้างโรงไฟฟ้าขยายให้อย่างยิ่งใหญ่จะกี่โรงก็แล้วแต่ ไปที่แม่เมาะ หรือ ที่ จ.ระยอง ได้เลย จะอ้างว่าเหตุผลในการขนส่งถ่านหินจากต่างประเทศ ก็ให้ไปที่ จ.ระยอง อยู่ริมทะเลไปที่นั่นเลยแล้วสร้างให้ใหญ่กี่ร้อยหรือกี่พันเมกกะวัตถ์ก็แล้วแต่สะดวก เพราะที่นั่นเป็นที่มีโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว และปลอดมลพิษสามารถควบคุมได้อย่ามาสร้างที่ภาคใต้เพิ่มอีกเลย” นายทรงวุฒิ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องโรงไฟฟ้าเดียวกันนี้นายสุทัศน์ ปัทมะสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เปิดเผยผ่านสื่อแห่งหนึ่งว่า ได้รายงานต่อ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รับทราบถึงสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าในภาคใต้ ซึ่งขณะนี้การผลิตและการใช้ไฟฟ้าอยู่ในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน โดยมีกำลังผลิตประมาณ 2.2 พันเมกะวัตต์ ในขณะที่ความต้องการอยู่ที่ประมาณ 1.9 พันเมกะวัตต์ และหากรัฐบาลจะดำเนินโครงการแลนด์บริดจ์ ก็จะต้องตัดสินใจก่อสร้างโรงไฟฟ้ารองรับการลงทุนธุรกิจ
นอกจากนี้ จากปัญหาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ระดับประเทศ ที่ล่าช้าและยังรอคอยนโยบายจากรัฐบาล หากรัฐบาลไม่เร่งตัดสินใจ อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านไฟฟ้า โดยปริมาณสำรองไฟฟ้าในปี 2557 จะลดลงอยู่ที่ 9% ซึ่งเป็นปริมาณที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากปริมาณสำรองของประเทศที่ควรจะเป็นควรอยู่ที่ 15 - 20%
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในการรณรงค์ต่อต้านแผนพัฒนาภาคใต้ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งมีโครงการที่หลายหลายโดยเฉพาะแลนบริดจ์ เครือข่ายศิลปินภาคใต้ เช่น “ตุด นาคอน” และผองเครือข่ายศิลปินที่มีการแสดงความจำนงเข้าร่วมแล้วกว่า 20 ราย จะร่วมกันรณรงค์ต่อต้านโครงการเหล่านี้ ด้วยวิธีการเดินเท้าโดยมีจุดเริ่มต้นจาก จ.ชุมพร และเดินเท้ามุ่งหน้าไปยัง จ.สตูล ซึ่งตลอดเส้นทางนั้นจะมีการรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันต่อต้านโครงการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ทรัพยากรชุมชนและสิ่งแวดล้อมตลอดเส้นทาง ซึ่งจะมีกำหนดในการเดินทางในเร็วๆนี้
ผู้สื่อข่าวรายงาน ความเคลื่อนไหวในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาภาคใต้ในโครงการต่างๆ จากภาครัฐยังคงมีความพยายามในการเดินหน้า โดยการปรับแผนการเคลื่อนไหวจากเดิมเน้นการสนับสนุนงบประมาณ และแจกจ่ายสิ่งของแบบเข้าถึงตัวในพื้นที่เป้าหมายก่อสร้าง เปลี่ยนเป็นการใช้งบประมาณเพื่อเน้นการสร้างมวลชนผ่าน อปท. และกลุ่มมวลชนต่างๆผ่านกิจกรรมที่ถูกจัดขึ้น
ล่าสุด มีการจัดกิจกรรมแรลลี่ ให้กับบรรดานักจัดรายการวิทยุชุมชน และเตรียมจัดกิจกรรมสัมมนาวิกฤติพลังงานในวันที่ 13 ก.ย.โดยมีหัวข้อเนื้อหาในทำนองว่าพลังงานไฟฟ้ากำลังวิกฤติ ขณะที่ฝ่ายต่อต้านเพื่อรักษาความเป็นบริบทที่ยั่งยืนของทรัพยากรและความเป็นชุมชน และท้องถิ่นได้มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน
นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์ท่าศาลาบ้านเกิดเปิดเผยว่า สำหรับกิจกรรมในวันที่ 13 ก.ย.54 ต้องถามให้ชัดๆ ว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังในการจัดอย่างแท้จริงนั้นเป็น กฟผ.ใช่หรือไม่ โดยใช้งบประมาณผ่านพลังงานจังหวัดใช่หรือไม่ แต่เดิมนั้นโครงการนี้ถูกจัดขึ้นเพียงแค่เป็นการภายในเท่านั้น ไม่ได้เปิดโอกาสให้กับผู้ที่มีความคิดเห็นไม่เอาโรงไฟฟ้าเข้าไปร่วมแสดงความคิดเห็นแต่อย่างใด โดยเฉพาะผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้บริหาร อปท.ในพื้นที่ ท่าศาลา พื้นที่รายรอบ ไม่มีการเชิญคนเหล่านี้ เมื่อมีการทวงถามไปที่เจ้าหน้าที่พลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีการเชิญบุคคลที่เขากำหนดไปแล้วหลายวัน กลับอ้างว่าผิดพลาดแล้วจึงมีการสำเนาหนังสือเหล่านั้นเชิญมาอีกครั้ง
“เมื่อดูจากวิทยากรที่เชิญมานั้นเช่น ลุงประยงค์ รณรงค์ ท่านไม่ได้มีบทบาทเกี่ยวเนื่องกับเรื่องพลังงานเลย แต่ไปเชิญท่านมาเพื่ออาศัยภาพของการเป็นปราชญ์ชาวบ้านที่ทุกคนเคารพนับถือมาใช้เป็นเครื่องมือ กฟผ. ใช้ไม้นี้มาหลายพื้นที่แล้ว และไปอาศัยนักการเมืองท้องถิ่นบางคนไปจัดระดมคนมา ซึ่งเรายืนยันว่าประชาชนจาก อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร จะเข้าไปร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ด้วยอย่างแน่นอน”
นายทรงวุฒิ กล่าวต่อว่า สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินนั้น เป็นโรงไฟฟ้าที่ไม่ควรสร้างขึ้นอีกแล้ว แต่ยังมีความพยายามในการสร้างอย่างต่อเนื่องโดย กฟผ.แม้ว่าหลายที่หลายแห่งจะมีบทเรียนในเรื่องนี้มาแล้วมากมาย
“เข้าใจได้ว่าไฟฟ้าอาจมีไม่เพียงพอแต่เมื่อจะสร้างพลังงานชนิดนี้ และ กฟผ.ยืนยันว่าอากาศที่แม่เมาะ ลำปาง สะอาด หรือที่ จ.ระยอง ไม่มีมลพิษจากไฟฟ้าถ่านหินขอเสนอให้ กฟผ.ไปสร้างโรงไฟฟ้าขยายให้อย่างยิ่งใหญ่จะกี่โรงก็แล้วแต่ ไปที่แม่เมาะ หรือ ที่ จ.ระยอง ได้เลย จะอ้างว่าเหตุผลในการขนส่งถ่านหินจากต่างประเทศ ก็ให้ไปที่ จ.ระยอง อยู่ริมทะเลไปที่นั่นเลยแล้วสร้างให้ใหญ่กี่ร้อยหรือกี่พันเมกกะวัตถ์ก็แล้วแต่สะดวก เพราะที่นั่นเป็นที่มีโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว และปลอดมลพิษสามารถควบคุมได้อย่ามาสร้างที่ภาคใต้เพิ่มอีกเลย” นายทรงวุฒิ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องโรงไฟฟ้าเดียวกันนี้นายสุทัศน์ ปัทมะสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เปิดเผยผ่านสื่อแห่งหนึ่งว่า ได้รายงานต่อ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รับทราบถึงสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าในภาคใต้ ซึ่งขณะนี้การผลิตและการใช้ไฟฟ้าอยู่ในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน โดยมีกำลังผลิตประมาณ 2.2 พันเมกะวัตต์ ในขณะที่ความต้องการอยู่ที่ประมาณ 1.9 พันเมกะวัตต์ และหากรัฐบาลจะดำเนินโครงการแลนด์บริดจ์ ก็จะต้องตัดสินใจก่อสร้างโรงไฟฟ้ารองรับการลงทุนธุรกิจ
นอกจากนี้ จากปัญหาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ระดับประเทศ ที่ล่าช้าและยังรอคอยนโยบายจากรัฐบาล หากรัฐบาลไม่เร่งตัดสินใจ อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านไฟฟ้า โดยปริมาณสำรองไฟฟ้าในปี 2557 จะลดลงอยู่ที่ 9% ซึ่งเป็นปริมาณที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากปริมาณสำรองของประเทศที่ควรจะเป็นควรอยู่ที่ 15 - 20%
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในการรณรงค์ต่อต้านแผนพัฒนาภาคใต้ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งมีโครงการที่หลายหลายโดยเฉพาะแลนบริดจ์ เครือข่ายศิลปินภาคใต้ เช่น “ตุด นาคอน” และผองเครือข่ายศิลปินที่มีการแสดงความจำนงเข้าร่วมแล้วกว่า 20 ราย จะร่วมกันรณรงค์ต่อต้านโครงการเหล่านี้ ด้วยวิธีการเดินเท้าโดยมีจุดเริ่มต้นจาก จ.ชุมพร และเดินเท้ามุ่งหน้าไปยัง จ.สตูล ซึ่งตลอดเส้นทางนั้นจะมีการรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันต่อต้านโครงการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ทรัพยากรชุมชนและสิ่งแวดล้อมตลอดเส้นทาง ซึ่งจะมีกำหนดในการเดินทางในเร็วๆนี้