นครศรีธรรมราช - กระทรวงพลังงานมาแปลกเตรียมจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “วิกฤตพลังงานนครศรีจะเอาอย่างไร” แกมขู่ไฟฟ้ากำลังมีจุดอ่อนต้องสร้างความมั่นคงแบะท่ารอถ่านหิน รอง ผวจ.ลั่นรับการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบ-นักวิชาการ สับแค่สร้างมายาคติกดดันผู้ได้รับผลกระทบซ้ำ
วันนี้ (5 ก.ย.) นายอำนวย ทองสถิตย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน นายสุทธิพงศ์ เทิดรัตนพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช นายอุทัย ภูริพงศธร พลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ร่วมกันแถลงข่าวถึงโครงการจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “วิกฤตพลังงานชาติ นครศรีธรรมราช จะเอาอย่างไร” ซึ่งจะมีขึ้นในวันอังคารที่ 13 กันยายน 54 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ซึ่งในการแถลงดังกล่าวนั้นได้มีนายสัณห์ เงินถาวร หัวหน้าศูนย์ข้อมูลพัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช (ศูนย์เตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน) และทีมงานเข้าร่วมรับฟังสังเกตการ
นายอำนวย ทองสถิต หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่าในการจัดกิจกรรมดังกล่าวนั้นเพื่อมาดูกันว่าปัญหาวิกฤตการพลังงานทิศทางแนวโน้มในอนาคตจะเป็นอย่างไร โดยการเข้ามามีส่วนร่วม และข้อเสนอแนวทางของพลังงานทางเลือก เช่น โรงไฟฟ้าชุมชน จะต้องมีการสานต่อให้เกิดโรงไฟฟ้าชุมชนเป็นเจ้าของรวมไปถึงพลังงานน้ำ ลม ชีวมวล รวมไปถึงการพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่ๆ ในภาคใต้จะทำได้หรือไม่อย่างไร
ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน ยังกล่าวต่อว่า ไฟฟ้าถือเป็นพลังงานหลักที่ต้องใช้โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ผลิตไฟฟ้ารองรับ และนอกจากนั้นอาจเป็นโรงไฟฟ้ารองที่ใช้น้ำตก พลังงานน้ำ ลม แสงอาทิตย์ แต่การเติบโต เทคโนโลยี และการใช้พลังงานยังต้องพึ่งพาพลังงานที่เต็มรูปแบบ พลังงานทดแทนยังไม่เพียงพอที่จะป้อนภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การเกษตรทั้งหลาย การเติบโตของการใช้พลังงานสูงมากภาคไฟฟ้าที่พึ่งพากันอยู่นั้น 70 เปอร์เซ็นต์ และถือเป็นจุดอ่อนที่ต้องเพิ่มความเข้มแข็งของเชื้อเพลิง ขณะเดียวกัน นครศรีธรรมราชใช้พลังงานเป็นลำดับต้นๆ ภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง แต่วิกฤตดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาพลังงานและการมีส่วนร่วม ดังนั้นนครศรีธรรมราชจะเอาอย่างไร
“ภาคใต้มีการใช้กำลังไฟฟ้าในอัตราที่สูงถึงประมาณ 2 พันเมกะวัตต์ ประมาณ 400-500 เมกะวัตต์ ผลิตจากน้ำมันเตาและดีเซล ที่เหลือ 1 พันเศษนั้นไม่เพียงพอต้องดึงจากภาคกลางมาช่วยด้วย เฉพาะนครศรีธรรมราชต้องใช้ราว 500-600 เมกะวัตต์ ในส่วนของการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทดแทนนั้นยังติดปัญหาเรื่องของพื้นที่ที่ไปอยู่ในเขตป่า เขตอนุรักษ์ ต้องใช้เวลานานในการดำเนินการ” ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงานกล่าว
ขณะที่ นายสุทธิพงศ์ เทิดรัตนพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า พลังงานถือเป็นวิถีชีวิตในสังคมทุกส่วน และเหตุใดนครศรีธรรมราชต้องมาเล่นเรื่องนี้ เพราะนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดใหญ่ใช้พลังงานมากในการขับเคลื่อน อย่างไรก็ตาม คิดว่า คนนครศรีธรรมราช มีเหตุผล
“การจัดกิจกรรมนี้ใช่ว่าจะเอาหรือไม่เอา สร้างหรือไม่สร้างโรงไฟฟ้า แต่ต้องการหลอมความรู้ความเข้าใจให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน หากกิจกรรมนี้เป็นไปด้วยดีจะได้ข้อสรุปประเด็นของความเหมาะสม คนนครศรีธรรมราชมีเหตุผลยอมรับการปรับเปลี่ยนแปลงที่อาจมีผลกระทบเกิดขึ้น” รอง ผวจ.นครศรี กล่าว
ส่วน ดร.เลิศชาย ศิริชัย อาจารย์ประจำสำนักวิชาศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แสดงความเห็นต่อกิจกรรมดังกล่าวว่าเป็นกระบวนการหนึ่งเพื่อผลักดันให้สังคมเกิดความตื่นกลัว เป็นการสร้างมายาคติว่ามีเรื่องสำคัญ และเกิดวิตกว่าจะมีความเดือดร้อนโดยเฉพาะคนส่วนใหญ่จะไม่มีไฟฟ้าใช้ และทำให้คนที่ไม่ได้เดือดร้อนอะไรด้วยมาเดือดร้อนแล้วหันไปกดดันคนส่วนน้อยที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการ
“ผู้ที่เดือดร้อนจากผลกระทบจะถูกบีบบังคับไม่ให้มีสิทธิมีเสียง ไม่ให้มีพื้นที่ในการใช้สิทธิใช้เสียง แท้จริงคนเหล่านี้ใช้ไฟฟ้าแค่เล็กน้อยเท่านั้น แล้วคนที่จะไม่มีไฟฟ้าใช้คือใครเป็นนักลงทุน เป็นนายทุน การที่จะบอกว่าสังคมจะเดือดร้อนนั้นเป็นมายาคติที่รุกรานผู้ที่ต้องรับผลกระทบเพิ่มเท่านั้น”
วันนี้ (5 ก.ย.) นายอำนวย ทองสถิตย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน นายสุทธิพงศ์ เทิดรัตนพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช นายอุทัย ภูริพงศธร พลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ร่วมกันแถลงข่าวถึงโครงการจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “วิกฤตพลังงานชาติ นครศรีธรรมราช จะเอาอย่างไร” ซึ่งจะมีขึ้นในวันอังคารที่ 13 กันยายน 54 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ซึ่งในการแถลงดังกล่าวนั้นได้มีนายสัณห์ เงินถาวร หัวหน้าศูนย์ข้อมูลพัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช (ศูนย์เตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน) และทีมงานเข้าร่วมรับฟังสังเกตการ
นายอำนวย ทองสถิต หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่าในการจัดกิจกรรมดังกล่าวนั้นเพื่อมาดูกันว่าปัญหาวิกฤตการพลังงานทิศทางแนวโน้มในอนาคตจะเป็นอย่างไร โดยการเข้ามามีส่วนร่วม และข้อเสนอแนวทางของพลังงานทางเลือก เช่น โรงไฟฟ้าชุมชน จะต้องมีการสานต่อให้เกิดโรงไฟฟ้าชุมชนเป็นเจ้าของรวมไปถึงพลังงานน้ำ ลม ชีวมวล รวมไปถึงการพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่ๆ ในภาคใต้จะทำได้หรือไม่อย่างไร
ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน ยังกล่าวต่อว่า ไฟฟ้าถือเป็นพลังงานหลักที่ต้องใช้โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ผลิตไฟฟ้ารองรับ และนอกจากนั้นอาจเป็นโรงไฟฟ้ารองที่ใช้น้ำตก พลังงานน้ำ ลม แสงอาทิตย์ แต่การเติบโต เทคโนโลยี และการใช้พลังงานยังต้องพึ่งพาพลังงานที่เต็มรูปแบบ พลังงานทดแทนยังไม่เพียงพอที่จะป้อนภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การเกษตรทั้งหลาย การเติบโตของการใช้พลังงานสูงมากภาคไฟฟ้าที่พึ่งพากันอยู่นั้น 70 เปอร์เซ็นต์ และถือเป็นจุดอ่อนที่ต้องเพิ่มความเข้มแข็งของเชื้อเพลิง ขณะเดียวกัน นครศรีธรรมราชใช้พลังงานเป็นลำดับต้นๆ ภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง แต่วิกฤตดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาพลังงานและการมีส่วนร่วม ดังนั้นนครศรีธรรมราชจะเอาอย่างไร
“ภาคใต้มีการใช้กำลังไฟฟ้าในอัตราที่สูงถึงประมาณ 2 พันเมกะวัตต์ ประมาณ 400-500 เมกะวัตต์ ผลิตจากน้ำมันเตาและดีเซล ที่เหลือ 1 พันเศษนั้นไม่เพียงพอต้องดึงจากภาคกลางมาช่วยด้วย เฉพาะนครศรีธรรมราชต้องใช้ราว 500-600 เมกะวัตต์ ในส่วนของการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทดแทนนั้นยังติดปัญหาเรื่องของพื้นที่ที่ไปอยู่ในเขตป่า เขตอนุรักษ์ ต้องใช้เวลานานในการดำเนินการ” ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงานกล่าว
ขณะที่ นายสุทธิพงศ์ เทิดรัตนพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า พลังงานถือเป็นวิถีชีวิตในสังคมทุกส่วน และเหตุใดนครศรีธรรมราชต้องมาเล่นเรื่องนี้ เพราะนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดใหญ่ใช้พลังงานมากในการขับเคลื่อน อย่างไรก็ตาม คิดว่า คนนครศรีธรรมราช มีเหตุผล
“การจัดกิจกรรมนี้ใช่ว่าจะเอาหรือไม่เอา สร้างหรือไม่สร้างโรงไฟฟ้า แต่ต้องการหลอมความรู้ความเข้าใจให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน หากกิจกรรมนี้เป็นไปด้วยดีจะได้ข้อสรุปประเด็นของความเหมาะสม คนนครศรีธรรมราชมีเหตุผลยอมรับการปรับเปลี่ยนแปลงที่อาจมีผลกระทบเกิดขึ้น” รอง ผวจ.นครศรี กล่าว
ส่วน ดร.เลิศชาย ศิริชัย อาจารย์ประจำสำนักวิชาศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แสดงความเห็นต่อกิจกรรมดังกล่าวว่าเป็นกระบวนการหนึ่งเพื่อผลักดันให้สังคมเกิดความตื่นกลัว เป็นการสร้างมายาคติว่ามีเรื่องสำคัญ และเกิดวิตกว่าจะมีความเดือดร้อนโดยเฉพาะคนส่วนใหญ่จะไม่มีไฟฟ้าใช้ และทำให้คนที่ไม่ได้เดือดร้อนอะไรด้วยมาเดือดร้อนแล้วหันไปกดดันคนส่วนน้อยที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการ
“ผู้ที่เดือดร้อนจากผลกระทบจะถูกบีบบังคับไม่ให้มีสิทธิมีเสียง ไม่ให้มีพื้นที่ในการใช้สิทธิใช้เสียง แท้จริงคนเหล่านี้ใช้ไฟฟ้าแค่เล็กน้อยเท่านั้น แล้วคนที่จะไม่มีไฟฟ้าใช้คือใครเป็นนักลงทุน เป็นนายทุน การที่จะบอกว่าสังคมจะเดือดร้อนนั้นเป็นมายาคติที่รุกรานผู้ที่ต้องรับผลกระทบเพิ่มเท่านั้น”