กระบี่ - สศก.จัด สัมมนากองทุน FTA ทางรอดทางเลือกสินค้าปาล์มน้ำมัน ยุคเสรีน้ำมันปาล์ม พร้อมสนับสนุนงบประมาณ 100 ล้าน เพื่อดำเนินการปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี ทดแทนสวนเก่า พื้นที่ 30,000 ไร่ใน 5 จังหวัด คือ กระบี่ สุราษฎร์ธานี ตรัง ชุมพร สตูล
วันนี้ (28 เม.ย.) ที่โรงแรมมาริไทมปาร์ค แอนด์ สปา รีสอร์ท จ.กระบี่ นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เป็นประธานเปิดการสัมมนา กองทุน FTA ทางรอด ทางเลือกสินค้าปาล์มน้ำมัน มีเกษตรกร เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ใน 5 จังหวัด กระบี่ ตรัง ชุมพร สุราษฎร์ธานี สตูล กว่า 300 คน เข้าร่วมสัมมนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน จากผลบังคับให้ประเทศไทยต้องยกเลิกโควตาและลดภาษีนำเข้าปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ทั้งนี้ กองกุนFTA เตรียมสนับสนุนงบประมาณ 100 ล้านบาท ผ่านโครงการปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีทดแทนสวนเก่า เพื่อเพิ่มปะสิทธิภาพผลผลิตปาล์มน้ำมัน และรองรับผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนที่จะมีต่อเกษตรกรชาวสวนปาล์มและอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนา ว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ตระหนักถึงผลกระทบที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันจะได้รับจากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ซึ่งมีผลบังคับให้ประเทศไทยต้องยกเลิกโควตาและลดภาษีนำเข้าปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ มกราคม 2553 จำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
เนื่องจากประเทศมาเลเซีย และ อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศกลุ่มอาเซียน มีศักยภาพการผลิตสูงกว่าไทย และหากมีการนำเข้ามาแข่งขันกับน้ำมันปาล์มที่ผลิตในประเทศจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยมากกว่า 1 แสนครัวเรือน และอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มทั้งระบบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขี้นจากการเปิดเสรีการค้าดังกล่าว และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน กองทุน FTA จึงได้เตรียมสนับสนุนงบประมาณ 100 ล้านบสารท เพื่อดำเนินการปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี ทดแทนสวนเก่า พื้นที่ 30,000 ไร่ ใน 5 จังหวัด คือ กระบี่ สุราษฎร์ธานี ตรัง ชุมพร สตูล ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันให้แก่เกษตรกร
เนื่องจากปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตสูงในช่วงอายุ 8-12 ปี หลังจากอายุ 15 ปี จะให้ผลผลิตลงต้นปาล์มมีความสูงยากในการเก็บเกี่ยว ทำให้ต้นทุนสูง ซึ่งตามหลักวิชาการแล้วเมื่อต้นปาล์มมีอายุมากกว่า 20 ปี ควรตัดทิ้ง เนื่องจากต้นปาล์มโซมและให้ผลผลิตต่ำ ซึ่งจากการสัมมนาครั้งนี้จะให้ได้รับความเห็นจากทุกภาคส่วน เกี่ยวกับโครงการดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงโครงการให้มีความเหมาะสมต่อเกษตรกรมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ดี สำหรับสินค้าเกษตรชนิดอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า สามารถขอรับการสนับสนุนจากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร FTA ได้เช่นเดียวกันโดยจัดทำเป็นโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธฺภาพการผลิตพัฒนาคุณภาพ และแปรรูปสินค้าเกษตร ตลอดจนปรับเปลี่ยนการผลิตจากสินค้าที่ไม่มีศักยภาพสู่สินค้าที่มีศักยภาพ ซึ่ง ศศก.ในฐานะฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการบริหารกองทุน พร้อมที่จะให้การช่วยเหลือและแนะนำเกษตรกร
ด้าน นายอุเทน ตัณตรีบูรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า สำหรับจังหวัดกระบี่ มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับสาขาการผลิตภาคการเกษตรเป็นหลัก มีมูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45 ของผลิตมวลรวมจังหวัด (GPT) และมีสัดส่วนการผลิตภาคเกษตรสูงที่สุดในภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน และยางพารา โดยอย่างยิ่งปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดอยู่ในหวัดกระบี่
โดยในปี 2553 จังหวัดกระบี่มีพื้นที่ปลูกปาล์มประมาณ 900,000 ไร่ และมีผลผลิตต่อไร่ประมาณ 3.30 ตันต่อไร่ เป็นสินค้าที่มีราคาค่อนข้างดี แต่ยังประสบปัญหาบ้างในเรื่องของการบริหารจัดการการปลูก การเก็บเกี่ยวและการแปรรูป ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาระบบการผลิตต่อไป
วันนี้ (28 เม.ย.) ที่โรงแรมมาริไทมปาร์ค แอนด์ สปา รีสอร์ท จ.กระบี่ นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เป็นประธานเปิดการสัมมนา กองทุน FTA ทางรอด ทางเลือกสินค้าปาล์มน้ำมัน มีเกษตรกร เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ใน 5 จังหวัด กระบี่ ตรัง ชุมพร สุราษฎร์ธานี สตูล กว่า 300 คน เข้าร่วมสัมมนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน จากผลบังคับให้ประเทศไทยต้องยกเลิกโควตาและลดภาษีนำเข้าปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ทั้งนี้ กองกุนFTA เตรียมสนับสนุนงบประมาณ 100 ล้านบาท ผ่านโครงการปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีทดแทนสวนเก่า เพื่อเพิ่มปะสิทธิภาพผลผลิตปาล์มน้ำมัน และรองรับผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนที่จะมีต่อเกษตรกรชาวสวนปาล์มและอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนา ว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ตระหนักถึงผลกระทบที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันจะได้รับจากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ซึ่งมีผลบังคับให้ประเทศไทยต้องยกเลิกโควตาและลดภาษีนำเข้าปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ มกราคม 2553 จำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
เนื่องจากประเทศมาเลเซีย และ อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศกลุ่มอาเซียน มีศักยภาพการผลิตสูงกว่าไทย และหากมีการนำเข้ามาแข่งขันกับน้ำมันปาล์มที่ผลิตในประเทศจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยมากกว่า 1 แสนครัวเรือน และอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มทั้งระบบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขี้นจากการเปิดเสรีการค้าดังกล่าว และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน กองทุน FTA จึงได้เตรียมสนับสนุนงบประมาณ 100 ล้านบสารท เพื่อดำเนินการปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี ทดแทนสวนเก่า พื้นที่ 30,000 ไร่ ใน 5 จังหวัด คือ กระบี่ สุราษฎร์ธานี ตรัง ชุมพร สตูล ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันให้แก่เกษตรกร
เนื่องจากปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตสูงในช่วงอายุ 8-12 ปี หลังจากอายุ 15 ปี จะให้ผลผลิตลงต้นปาล์มมีความสูงยากในการเก็บเกี่ยว ทำให้ต้นทุนสูง ซึ่งตามหลักวิชาการแล้วเมื่อต้นปาล์มมีอายุมากกว่า 20 ปี ควรตัดทิ้ง เนื่องจากต้นปาล์มโซมและให้ผลผลิตต่ำ ซึ่งจากการสัมมนาครั้งนี้จะให้ได้รับความเห็นจากทุกภาคส่วน เกี่ยวกับโครงการดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงโครงการให้มีความเหมาะสมต่อเกษตรกรมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ดี สำหรับสินค้าเกษตรชนิดอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า สามารถขอรับการสนับสนุนจากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร FTA ได้เช่นเดียวกันโดยจัดทำเป็นโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธฺภาพการผลิตพัฒนาคุณภาพ และแปรรูปสินค้าเกษตร ตลอดจนปรับเปลี่ยนการผลิตจากสินค้าที่ไม่มีศักยภาพสู่สินค้าที่มีศักยภาพ ซึ่ง ศศก.ในฐานะฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการบริหารกองทุน พร้อมที่จะให้การช่วยเหลือและแนะนำเกษตรกร
ด้าน นายอุเทน ตัณตรีบูรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า สำหรับจังหวัดกระบี่ มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับสาขาการผลิตภาคการเกษตรเป็นหลัก มีมูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45 ของผลิตมวลรวมจังหวัด (GPT) และมีสัดส่วนการผลิตภาคเกษตรสูงที่สุดในภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน และยางพารา โดยอย่างยิ่งปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดอยู่ในหวัดกระบี่
โดยในปี 2553 จังหวัดกระบี่มีพื้นที่ปลูกปาล์มประมาณ 900,000 ไร่ และมีผลผลิตต่อไร่ประมาณ 3.30 ตันต่อไร่ เป็นสินค้าที่มีราคาค่อนข้างดี แต่ยังประสบปัญหาบ้างในเรื่องของการบริหารจัดการการปลูก การเก็บเกี่ยวและการแปรรูป ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาระบบการผลิตต่อไป