พัทลุง - น้ำท่วมหนักพัทลุง ติดต่อกันหลายเดือน ทำให้สวนปาล์มเสียหายตายแล้วเกือบ 5,000 ไร่ โดยจะต้องใช้เวลาฟื้นฟูไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ด้านเกษตรกรจังหวัด แนะวิธีดูแลปาล์มเพื่อฟื้นฟู และชะลอความเสียหายจากเหตุน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน
สถานการณ์น้ำท่วมในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา ส่งให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มในจังหวัดพัทลุง ที่เป็นพื้นที่ลุ่มทะเลสาบสงขลา ทั้งอำเภอควนขนุน อำเภอเมือง อำเภอเขาชัยสน อำเภอบางแก้ว และอำเภอปากปากพะยูน จมน้ำและทยอยตายลงอย่างต่อเนื่อง จากพื้นที่ปลูก จำนวน 12,989 ไร่ ได้จมน้ำตายไปแล้วกว่า 4,500 ไร่ ทั้งปาล์มขนาดเล็กและปาล์มขนาดใหญ่ ขณะเดียวกัน ต้นปาล์มน้ำมันขนาดใหญ่ที่ให้ผลผลิตแล้วก็เกิดความเสียหาย เพราะผลทะลายเน่าหรือฝ่ออย่างรุนแรง จนทำให้เจ้าของยังขาดรายได้ ซึ่งทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูไม่น้อยกว่า 3 เดือนขึ้นไป
ในขณะที่เกษตรจังหวัดพัทลุง เตือนเกษตรกรเจ้าของสวนปาล์มน้ำมัน หลังจากประสบอุทกภัย ทำให้ต้นปาล์มน้ำมันเสียหายหรือชะงักการเจริญเติบโต ควรปฏิบัติ ดังนี้
1.ในขณะน้ำท่วมขังหรือดินยังมีความชื้นสูง ห้ามนำเครื่องจักรกลหนักเข้าไปในแปลงปลูก รวมทั้งคนและสัตว์เลี้ยงเข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นปาล์มโดยเด็ดขาด เพราะหน้าดินที่ถูกน้ำขังจะมีโครงสร้างง่ายต่อการถูกทำลาย และเกิดการอัดแน่นได้ง่าย จึงเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ และการระบายอากาศ รวมทั้งจะกระทบกระเทือนต่อระบบรากพืช อาจทำให้ต้นไม้ทรุดโทรมหรือตายได้
2.หาทางระบายน้ำออกจากบริเวณโคนต้นพืชโดยเร็ว โดยรักษาระดับน้ำให้ต่ำกว่าบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมัน 50 เซนติเมตร
3.ในสภาพน้ำท่วมที่มีการชะล้างนำเอาหน้าดินหรือทราย มาทับถมบริเวณแปลงปลูกปาล์มน้ำมัน หลังน้ำลดและดินแห้งแล้วควรทำการขุด หรือปรับดินเหล่านั้นออกจากโคนต้นปาล์ม นอกจากนี้ต้นปาล์มน้ำมันที่ล้มหรือเอนเอียง ควรจัดการให้ต้นปาล์มน้ำมันตั้งตรงเช่นเดิม
4.ต้นปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว หากน้ำท่วมทะลายเป็นเวลานาน จะทำให้ทะลายเน่า เจ้าของสวนจะต้องตัดทะลายที่เน่าทิ้ง เพราะถ้าปล่อยคาต้นไว้จะทำให้เชื้อราเข้ามาทำลาย และจะลุกลามไปถึงทะลายอื่นๆ หรืออาจจะทำให้ยอดเน่าถึงกับตายได้
5.เพื่อช่วยให้ต้นปาล์มน้ำมันฟื้นตัวเร็วขึ้น ควรมีการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้บ้าง เพราะระบบรากของพืชยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ โดยใช้ปุ๋ยน้ำสูตร 12-12-12 หรือ 19-9-6 หรือปุ๋ยเกร็ดสูตร 21-21-21 และ 16-21-27 ละลายฉีดพ่นให้แก่ต้นปาล์มน้ำมัน
6.ภายหลังน้ำท่วม มักเกิดปัญหาโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ทะลายเน่า รากเน่า ควรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราช่วย เช่น เมตาเลคซิล (ริโดมิล) หรือ อีไฟโซล-อลูมินัม (อาลีเอท) และเมื่อดินแห้งแล้ว ควรมีการพรวนดิน เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่พืช จะทำให้รากพืชแตกใหม่ได้ดีขึ้น
สถานการณ์น้ำท่วมในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา ส่งให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มในจังหวัดพัทลุง ที่เป็นพื้นที่ลุ่มทะเลสาบสงขลา ทั้งอำเภอควนขนุน อำเภอเมือง อำเภอเขาชัยสน อำเภอบางแก้ว และอำเภอปากปากพะยูน จมน้ำและทยอยตายลงอย่างต่อเนื่อง จากพื้นที่ปลูก จำนวน 12,989 ไร่ ได้จมน้ำตายไปแล้วกว่า 4,500 ไร่ ทั้งปาล์มขนาดเล็กและปาล์มขนาดใหญ่ ขณะเดียวกัน ต้นปาล์มน้ำมันขนาดใหญ่ที่ให้ผลผลิตแล้วก็เกิดความเสียหาย เพราะผลทะลายเน่าหรือฝ่ออย่างรุนแรง จนทำให้เจ้าของยังขาดรายได้ ซึ่งทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูไม่น้อยกว่า 3 เดือนขึ้นไป
ในขณะที่เกษตรจังหวัดพัทลุง เตือนเกษตรกรเจ้าของสวนปาล์มน้ำมัน หลังจากประสบอุทกภัย ทำให้ต้นปาล์มน้ำมันเสียหายหรือชะงักการเจริญเติบโต ควรปฏิบัติ ดังนี้
1.ในขณะน้ำท่วมขังหรือดินยังมีความชื้นสูง ห้ามนำเครื่องจักรกลหนักเข้าไปในแปลงปลูก รวมทั้งคนและสัตว์เลี้ยงเข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นปาล์มโดยเด็ดขาด เพราะหน้าดินที่ถูกน้ำขังจะมีโครงสร้างง่ายต่อการถูกทำลาย และเกิดการอัดแน่นได้ง่าย จึงเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ และการระบายอากาศ รวมทั้งจะกระทบกระเทือนต่อระบบรากพืช อาจทำให้ต้นไม้ทรุดโทรมหรือตายได้
2.หาทางระบายน้ำออกจากบริเวณโคนต้นพืชโดยเร็ว โดยรักษาระดับน้ำให้ต่ำกว่าบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมัน 50 เซนติเมตร
3.ในสภาพน้ำท่วมที่มีการชะล้างนำเอาหน้าดินหรือทราย มาทับถมบริเวณแปลงปลูกปาล์มน้ำมัน หลังน้ำลดและดินแห้งแล้วควรทำการขุด หรือปรับดินเหล่านั้นออกจากโคนต้นปาล์ม นอกจากนี้ต้นปาล์มน้ำมันที่ล้มหรือเอนเอียง ควรจัดการให้ต้นปาล์มน้ำมันตั้งตรงเช่นเดิม
4.ต้นปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว หากน้ำท่วมทะลายเป็นเวลานาน จะทำให้ทะลายเน่า เจ้าของสวนจะต้องตัดทะลายที่เน่าทิ้ง เพราะถ้าปล่อยคาต้นไว้จะทำให้เชื้อราเข้ามาทำลาย และจะลุกลามไปถึงทะลายอื่นๆ หรืออาจจะทำให้ยอดเน่าถึงกับตายได้
5.เพื่อช่วยให้ต้นปาล์มน้ำมันฟื้นตัวเร็วขึ้น ควรมีการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้บ้าง เพราะระบบรากของพืชยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ โดยใช้ปุ๋ยน้ำสูตร 12-12-12 หรือ 19-9-6 หรือปุ๋ยเกร็ดสูตร 21-21-21 และ 16-21-27 ละลายฉีดพ่นให้แก่ต้นปาล์มน้ำมัน
6.ภายหลังน้ำท่วม มักเกิดปัญหาโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ทะลายเน่า รากเน่า ควรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราช่วย เช่น เมตาเลคซิล (ริโดมิล) หรือ อีไฟโซล-อลูมินัม (อาลีเอท) และเมื่อดินแห้งแล้ว ควรมีการพรวนดิน เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่พืช จะทำให้รากพืชแตกใหม่ได้ดีขึ้น