สุราษฎร์ธานี- บสย.สุราษฏร์ธานี วางเป้าอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อให้ผู้ประกอบการภาคใต้ตอนบนปีนี้กว่า 4 พันล้านบาท เน้นธุรกิจอุตสาหกรรมด้านการเกษตร ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและบริการ เหตุมีการขยายตัวต่อเนื่อง
นายเทียบจิตต์ จันทรภูติพลากร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขา บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) สำนักงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งพื้นที่รับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้ตอนบน 7 จังหวัด ได้แก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง กระบี่ พังงา และภูเก็ต เปิดเผยว่า ในปี 2553 มีอนุมัติค้ำประกันจำนวน 1,034 ราย วงเงินอนุมัติค้ำประกันรวม 3,254.49 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ที่ 2,200 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงานในระบบจำนวนประมาณ 29,363 ราย รวมถึงก่อให้เกินสินเชื่อในระบบอีก 11,000 ล้านบาท
สำหรับจังหวัดที่ได้รับผลการค้ำประกันสูงสุด ได้แก่ จ.สุราษฎร์ธานี อนุมัติค้ำประกันจำนวน 385 ราย วงเงิน 1,183.54 ล้านบาท ภูเก็ต อนุมัติค้ำประกันจำนวน 173 ราย วงเงิน 770.75 ล้านบาท กระบี่ อนุมัติค้ำประกัน จำนวน 109 ราย วงเงิน 299.12 ล้านบาท ระนอง อนุมัติค้ำประกันจำนวน 93 ราย วงเงิน 278.44 ล้านบาท ชุมพร อนุมัติค้ำประกันจำนวน 122 ราย วงเงิน 278.26 ล้านบาท ประจวบคีรีขันธ์ อนุมัติค้ำประกันจำนวน 107 ราย วงเงิน 244.04 ล้านบาท และ พังงา อนุมัติค้ำประกันจำนวน 55 ราย วงเงิน 203.34 ล้านบาท
ขณะที่ประเภทธุรกิจส่วนใหญ่ที่มีการอนุมัติค้ำประกัน ได้แก่ ธุรกิจการบริการ ธุรกิจการเกษตร ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจเคมีภัณฑ์/เวชภัณฑ์ และธุรกิจยานยนต์
สำหรับในปีนี้ 2554 บสย.จังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้กำหนดเป้าหมายวงเงินอนุมัติค้ำประกันจำนวนประมาณ 4,400 ล้านบาท ขณะที่ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-10 มี.ค. บสย.สุราษฏร์ธานีได้ อนุมัติค้ำประกันแล้วจำนวน 191 ราย วงเงินจำนวน 460.50 ล้านบาท
นายเทียบจิตต์ กล่าวอีกว่า สำหรับศักยภาพพื้นที่ของจังหวัดภาคใต้ตอนบน ธุรกิจอุตสาหกรรมด้านการเกษตร และธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและบริการมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นธุรกิจที่ บสย. ตั้งเป้าเข้าไปค้ำประกันสินเชื่อเป็นส่วนใหญ่ในปีนี้ เพราะพื้นที่ภาคใต้ตอนบนมีการลงทุนด้านท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมด้านเกษตรเป็นหลัก โดยเฉพาะการลงทุนด้านการท่องเที่ยว มีการขยายตัวทั้ง 2 ฝั่งทะเล ทั้งด้านอันดามัน และอ่าวไทย ซึ่งแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเดินทางแวะเวียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก
นายเทียบจิตต์ จันทรภูติพลากร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขา บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) สำนักงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งพื้นที่รับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้ตอนบน 7 จังหวัด ได้แก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง กระบี่ พังงา และภูเก็ต เปิดเผยว่า ในปี 2553 มีอนุมัติค้ำประกันจำนวน 1,034 ราย วงเงินอนุมัติค้ำประกันรวม 3,254.49 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ที่ 2,200 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงานในระบบจำนวนประมาณ 29,363 ราย รวมถึงก่อให้เกินสินเชื่อในระบบอีก 11,000 ล้านบาท
สำหรับจังหวัดที่ได้รับผลการค้ำประกันสูงสุด ได้แก่ จ.สุราษฎร์ธานี อนุมัติค้ำประกันจำนวน 385 ราย วงเงิน 1,183.54 ล้านบาท ภูเก็ต อนุมัติค้ำประกันจำนวน 173 ราย วงเงิน 770.75 ล้านบาท กระบี่ อนุมัติค้ำประกัน จำนวน 109 ราย วงเงิน 299.12 ล้านบาท ระนอง อนุมัติค้ำประกันจำนวน 93 ราย วงเงิน 278.44 ล้านบาท ชุมพร อนุมัติค้ำประกันจำนวน 122 ราย วงเงิน 278.26 ล้านบาท ประจวบคีรีขันธ์ อนุมัติค้ำประกันจำนวน 107 ราย วงเงิน 244.04 ล้านบาท และ พังงา อนุมัติค้ำประกันจำนวน 55 ราย วงเงิน 203.34 ล้านบาท
ขณะที่ประเภทธุรกิจส่วนใหญ่ที่มีการอนุมัติค้ำประกัน ได้แก่ ธุรกิจการบริการ ธุรกิจการเกษตร ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจเคมีภัณฑ์/เวชภัณฑ์ และธุรกิจยานยนต์
สำหรับในปีนี้ 2554 บสย.จังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้กำหนดเป้าหมายวงเงินอนุมัติค้ำประกันจำนวนประมาณ 4,400 ล้านบาท ขณะที่ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-10 มี.ค. บสย.สุราษฏร์ธานีได้ อนุมัติค้ำประกันแล้วจำนวน 191 ราย วงเงินจำนวน 460.50 ล้านบาท
นายเทียบจิตต์ กล่าวอีกว่า สำหรับศักยภาพพื้นที่ของจังหวัดภาคใต้ตอนบน ธุรกิจอุตสาหกรรมด้านการเกษตร และธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและบริการมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นธุรกิจที่ บสย. ตั้งเป้าเข้าไปค้ำประกันสินเชื่อเป็นส่วนใหญ่ในปีนี้ เพราะพื้นที่ภาคใต้ตอนบนมีการลงทุนด้านท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมด้านเกษตรเป็นหลัก โดยเฉพาะการลงทุนด้านการท่องเที่ยว มีการขยายตัวทั้ง 2 ฝั่งทะเล ทั้งด้านอันดามัน และอ่าวไทย ซึ่งแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเดินทางแวะเวียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก