xs
xsm
sm
md
lg

สถาบันวิจัยทางทะเลฯบินสำรวจสัตว์ทะเลหายากฝั่งอันดามัน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ศูนย์ข่าวภูเก็ต -กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลนภูเก็ต สำรวจสัตว์ทะเลหายากฝั่งอันดามัน นำผลเปรียบเทียบกับข้อมูลจากเครือข่ายอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก

นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ นักวิชาการประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลนภูเก็ต เปิดเผย ว่า ขณะนี้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กลุ่มสัตว์ทะเลหายากร่วมกับสมาคมนักบินพลเรือออกบินสำรวจประชากรสัตว์ทะเลหายากฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไปจนถึงจังหวัดสตูล เพื่อสำรวจจำนวนสัตว์ทะเลทั้ง จำนวนพะยูน โลมา และเต่าทะเล

การสำรวจนั้นดำเนินการสำรวจปีละ 1 ครั้ง เพื่อนำข้อมูลการสำรวจทางอากาศไปเปรียบเทียบกับข้องมูลของเครือข่าวอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญในการวางแผนการอนุรักษ์ต่อไป ซึ่งการบินสำรวจในครั้งนี้ดำเนินการจำนวน 5 วัน ขณะนี้การสำรวจผ่านมาแล้ว 3 วันซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถรวบรวมข้อมูลได้ระดับหนึ่งแล้ว

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจในเบื้องต้นพบสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่ ที่มีการสำรวจหลายชนิด ทั้งพะยูน โลมา และเต่าทะเล ซึ่งในส่วนของพะยูนยั้นพบว่ามีอยู่ประมาณ 6-7 ตัว ซึ่งแหล่งหญ้าทะเลในพื้นที่จังหวัดสตูลและกระบี่ผืนไม่ใหญ่มากนัก เมื่อเทียบกับที่จังหวัดตรังที่ได้มีการบินสำรวจไปก่อนหน้านี้ และคิดว่าพะยูนดังกล่าวน่าจะเป็นกลุ่มที่แยกมาจากจากหวัดตรังเพื่อหากินในจุดใหม่

ขณะที่สัตว์อื่นๆโดยเฉพาะโลมาพบว่าในพื้นที่ที่มีการบินสำรวจมีโลมาชนิดต่างๆอาศัยอยู่ เช่นโลมาหัวโหนก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และโลมาอิระวดี ซึ่งในส่วนของโลมาอิราวดีนั้นอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงเนื่องจากมีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับโลมาชนิดอื่นๆที่บินสำรวจพบ

นายก้องเกียรติ กล่าวต่อไปว่า นอกจากจะมีการบินสำรวจประชากรสัตว์ทะเลหายากในฝั่งทะเลอันดามันแล้ว หลังจากสำรวจเสร็จจะนำข้อมูลทั้งหมดไปพูดคุยกับเครือข่ายอนุรักษ์ในพื้นที่ โดยจะเริ่มที่เกาะสาหร่าย จ.สตูล ซึ่งเป็นเครื่องข่ายที่เข้มแข็งเพื่อให้ข้อมูลและบูรณาการความร่วมมือระหว่างกัน ในการช่วยกันดูแลสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน
กำลังโหลดความคิดเห็น