xs
xsm
sm
md
lg

สถาบันวิจัยฯภูเก็ตจับลูกเต่าทะเลติดเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวภูเก็ต -สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน จ.ภูเก็ต ติดเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียม ติดตามการดำรงชีวิตในลูกเต่าทะเลครั้งแรกของฝั่งอันดามัน ปล่อยกลับสู่ทะเลค่ำนี้ที่หาดใต้เหมือง จ.พังงา

วันนี้ (28 ธ.ค.) ที่บ่ออนุบาลเต่าทะเล สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน จ.ภูเก็ต เจ้าหน้าที่ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก และอาสาสมัคร ได้ติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องส่งสัญญาณดาวเทียมบนหลังเต่าตะนุ จำนวน 2 ตัว เพื่อติดตามการอพยพย้ายถิ่นระยะไกล การเคลื่อนที่ของเต่า และศึกษาการดำรงชีวิตของเต่าทะเลหลังปล่อยกลับสู่ทะเล ซึ่งเป็นการติดตั้งระบบดาวเทียมติดตามชีวิตของเต่าทะเลในเต่าขนาดเล็กเป็นครั้งแรกในฝั่งทะเลอันดามัน

นายสุพจน์ จันทราภรณ์ศิลป์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน จ.ภูเก็ต กล่าวว่า ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการตั้งสัญญาณดาวเทียมในเต่าขนาดเล็กในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อศึกษาการดำรงชีวิตของเต่าทะเลที่นำมาอนุบาลจนอายุได้ 2 ปี และปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ว่าโอกาสรอดของเต่าจะมีมากน้อยแค่ไหน

เครื่องที่ติดตั้งนั้นเป็นเครื่องที่มีขนาดเล็ก และจะส่งข้อมูลกลับไปยังบริษัทแม่ หลังจากนั้นทางบริษัทจะส่งข้อมูลกลับมายังสถาบัน ซึ่งจะทำให้ทราบว่าเต่าทะเลที่ปล่อยไปนั้นอยู่จุดไหน โดยครั้งนี้จะทำการปล่อยลูกเต่าทะเล ที่ติดตั้งสัญญาณดาวเทียมจำนวน 2 ตัว ซึ่งจะทำการปล่อยเต่าทะเลในช่วงค่ำวันนี้ (28 ธ.ค.)ที่บริเวณชายหาดท้ายเหมือง อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา

นายสุพจน์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับติดสัญญาณดาวเทียมที่เต่าขนาดเล็ก นออกจากจะศึกษาการเดินทางของเต่าทะเลแล้ว ยังเป็นการศึกษาเกี่ยวกับโอกาสรอดของเต่าที่ปล่อยกลับสู่ทะเล ซึ่งปัจจุบันนี้เต่าทะเลที่ออกจากไข่ตามธรรมชาติมีโอกาสรอดเพียง 1% เท่านั้น และเต่าทะเลที่นำไปปล่อยในการจัดงานแต่ละครั้ง ซึ่งเป็นการปล่อยเต่าที่มีขนาดเล็กอายุ 4-5 เดือนโอกาสรอดน้อยมากกว่าเต่าที่เกิดจากธรรมชาติ เนื่องจากเต่าเหล่านี้จะไม่ออกจากชายฝั่งทำให้กลายเป็นอาหารของสัตว์ทะเลอื่น เพราะฉะนั้นการติดสัญญาณดาวเทียมที่เต่าขนาดเล็กลงมาจึงเป็นการศึกษาอายุของเต่าที่เหมาะสม ก่อนที่จะปล่อยกลับสู่ธรรมชาติเพราะต้องการที่จะเห็นอนาคตเต่ารอดชีวิตมากขึ้น

สำหรับการติดสัญญาติในเต่าทะเล ได้ศึกษามาแล้วประมาณ 10 ปี แต่เป็นการติดในพ่อ-แม่พันธ์ ซึ่งจากติดพบว่ามีเต่าที่ปล่อยไปกลับมาวางไข่ยังที่เดิม ส่วนการติดเครื่องสัญญาณดาวเทียมในลูกเต่าขนาดเล็กได้ดำเนินการติดตั้งไปแล้วในฝั่งอ่าวไทยโดยติดตั้ง 3 รอบ จำนวน 8 ตัว รอบล่าสุดติดตั้งจำนวน 4 ตัวและปล่อยกลับสู่ทะเลเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2552 ที่บริเวณเกาะมันใน จ.ชลบุรี และเครื่องได้ส่งสัญญาณกลับมาโดยมีเต่า 2 ตัว ที่ไปอยู่ที่จังนครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี และอีก 1 ตัว รับสัญญาณที่ประกัมพูชา และได้รับการยืนยันว่าเต่าทะเลที่ปล่อยไปในช่วงอายุประมาณ 2 ปีมีโอกาสรอดชีวิตสูงถึง 50%






กำลังโหลดความคิดเห็น