ศูนย์ข่าวภูเก็ต - จังหวัดภูเก็ตเร่งจัดทำแผนป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน เน้น 2 มาตรการ คาดสามารถลดการเสียชีวิตจากอุบัติได้สัปดาห์ละ 1 ราย หรือปีละไม่น้อยกว่า 60 ราย
วันนี้ (11 ม.ค.) ที่ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต นายแพทย์ วิวัฒน์ ศีตมโนชญ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในการประชุมการจัดทำแผนป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจร โดยมีนายสันติ์ จันทรวงษ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต นายวิชิต เพชรยอด ประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
นายแพทย์ วิวัฒน์ กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีอัตราการบาดเจ็บ และการตายจากอุบัติเหตุการณ์ขนส่งสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ โดยมีจำนวนรถจักรยานยนต์และรถยนต์กว่า 329, 013 คัน เป็นรถจักรยานยนต์ถึงร้อยละ 68 สอดคล้องกับยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ซึ่งได้แก่ รถจักรยานยนต์ ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา จังหวัดภูเก็ตมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรเฉลี่ย 180 คนต่อปี
จากการศึกษาแบบแผนการเกิดอุบัติเหตุจราจรในจังหวัดภูเก็ต (Injury surveillance ปี 2551) พบว่าผู้ประสบอุบัติเหตุชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นและวัยแรงงาน รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากกว่ายานพาหนะชนิดอื่น 16.7 เท่า 2ใน 3 ของผู้เสียชีวิตเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ 1 ใน 4 ของยานพาหนะล้มเอง และอีก 1 ใน 4 เฉี่ยวหรือชนกันเอง ซึ่งจุดเกิดเหตุส่วนใหญ่เป็นจุดที่เกิดซ้ำ ๆ เช่น จากข้อมูลตำรวจพบว่าปี 2549 สี่แยกภูเก็ต-การเกิดอุบัติเหตุจราจร จำนวน 39 ครั้ง สี่แยกราชภัฎ 36 ครั้ง แยกดาราสมุทร 26 ครั้ง หน้าโรงเรียนดาวรุ่ง 24 ครั้ง ฯลฯ
ด้านนายสันติ์ จันทรวงษ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ตกล่าวว่า การดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรในจังหวัดภูเก็ต จำเป็นต้องอาศัย 2 มาตรการ คือ มาตรการเชิงป้องกัน อาทิ มาตรการด้านคน เป็นการให้ความรู้และทักษะ การบังคับใช้กฏหมายดื่มแล้วขับ การสวมหมวกกันน็อค มาตรการด้านรถ การเข้มงวดด้านการตรวจสภาพรถ รถดัดแปลง มาตรการด้านวิศวกรรมจราจร เป็นการแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยง ตลอดจนมาตรการด้านตอบสนองหลังเหตุการณ์ คือ การจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
อย่างไรก็ตาม การดำเนินแก้ไข้ปัญหาอุบัติเหตุจราจรในจังหวัดภูเก็ต ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและเร่งด่วน สิ่งที่ควรดำเนินการโดยเร่งด่วนและใช้งบประมาณน้อย ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสร้างทักษะขับขี่ปลอดภัยในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนในสถานศึกษา การรณรงค์ตรวจวัดแอลกอฮอล์และสวมหมวกกันน็อคในผู้ขับขี่ และการแก้ไขจุดเสี่ยงด้วยเทคนิคด้านวิศวกรรมจราจร ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งหากได้ผล ก็จะสามารถลดการเสียชีวิตได้ประมาณสัปดาห์ละ 1 รายหรือปีละไม่น้อยกว่า 60 ราย
วันนี้ (11 ม.ค.) ที่ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต นายแพทย์ วิวัฒน์ ศีตมโนชญ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในการประชุมการจัดทำแผนป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจร โดยมีนายสันติ์ จันทรวงษ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต นายวิชิต เพชรยอด ประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
นายแพทย์ วิวัฒน์ กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีอัตราการบาดเจ็บ และการตายจากอุบัติเหตุการณ์ขนส่งสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ โดยมีจำนวนรถจักรยานยนต์และรถยนต์กว่า 329, 013 คัน เป็นรถจักรยานยนต์ถึงร้อยละ 68 สอดคล้องกับยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ซึ่งได้แก่ รถจักรยานยนต์ ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา จังหวัดภูเก็ตมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรเฉลี่ย 180 คนต่อปี
จากการศึกษาแบบแผนการเกิดอุบัติเหตุจราจรในจังหวัดภูเก็ต (Injury surveillance ปี 2551) พบว่าผู้ประสบอุบัติเหตุชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นและวัยแรงงาน รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากกว่ายานพาหนะชนิดอื่น 16.7 เท่า 2ใน 3 ของผู้เสียชีวิตเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ 1 ใน 4 ของยานพาหนะล้มเอง และอีก 1 ใน 4 เฉี่ยวหรือชนกันเอง ซึ่งจุดเกิดเหตุส่วนใหญ่เป็นจุดที่เกิดซ้ำ ๆ เช่น จากข้อมูลตำรวจพบว่าปี 2549 สี่แยกภูเก็ต-การเกิดอุบัติเหตุจราจร จำนวน 39 ครั้ง สี่แยกราชภัฎ 36 ครั้ง แยกดาราสมุทร 26 ครั้ง หน้าโรงเรียนดาวรุ่ง 24 ครั้ง ฯลฯ
ด้านนายสันติ์ จันทรวงษ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ตกล่าวว่า การดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรในจังหวัดภูเก็ต จำเป็นต้องอาศัย 2 มาตรการ คือ มาตรการเชิงป้องกัน อาทิ มาตรการด้านคน เป็นการให้ความรู้และทักษะ การบังคับใช้กฏหมายดื่มแล้วขับ การสวมหมวกกันน็อค มาตรการด้านรถ การเข้มงวดด้านการตรวจสภาพรถ รถดัดแปลง มาตรการด้านวิศวกรรมจราจร เป็นการแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยง ตลอดจนมาตรการด้านตอบสนองหลังเหตุการณ์ คือ การจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
อย่างไรก็ตาม การดำเนินแก้ไข้ปัญหาอุบัติเหตุจราจรในจังหวัดภูเก็ต ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและเร่งด่วน สิ่งที่ควรดำเนินการโดยเร่งด่วนและใช้งบประมาณน้อย ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสร้างทักษะขับขี่ปลอดภัยในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนในสถานศึกษา การรณรงค์ตรวจวัดแอลกอฮอล์และสวมหมวกกันน็อคในผู้ขับขี่ และการแก้ไขจุดเสี่ยงด้วยเทคนิคด้านวิศวกรรมจราจร ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งหากได้ผล ก็จะสามารถลดการเสียชีวิตได้ประมาณสัปดาห์ละ 1 รายหรือปีละไม่น้อยกว่า 60 ราย